การฝึกงาน
การฝึกงาน เป็นช่วงเวลาหาประสบการณ์ทำงานที่องค์การเสนอให้เป็นระยะเวลาจำกัด[1] คำว่า intern เดิมจำกัดเฉพาะบัณฑิตแพทย์ (หมายถึง "แพทย์จบใหม่") แต่ปัจจุบันคำนี้มีใช้แพร่หลายในธุรกิจ องค์การไม่แสวงหาผลกำไร และหน่วยงานราชการ โดยทั่วไปนักเรียนนักศึกษาและบัณฑิตเข้าฝึกงานเพื่อมุ่งได้รับทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชานั้น ๆ นายจ้างได้รับประโยชน์จากตำแหน่งเหล่านี้เพราะมักรับสมัครลูกจ้างจากพนักงานฝึกงานที่ดีที่สุด ซึ่งมีสมรรถภาพที่ทราบกันอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงประหยัดเวลาและเงินได้ในระยะยาว ปกติองค์การภายนอกเป็นผู้จัดการการฝึกงาน ซึ่งรับสมัครพนักงานฝึกงานในนามของกลุ่มอุตสาหกรรม มีกฎต่างกันในแต่ละประเทศว่าพนักงานฝึกงานควรถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ระบบการฝึกงานอาจเปิดช่องให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างบางคน
การฝึกงานในวิชาชีพมีความคล้ายกันในบางด้าน แต่ไม่เข้มงวดเท่ากับการเป็นลูกมือฝึกหัด (apprenticeship) สำหรับวิชาชีพ การค้าและงานอาชีวะ[2] ด้วยเหตุที่ไม่มีการวางมาตรฐานและการกำกับดูแล คำให้คำว่า "การฝึกงาน" เปิดช่องให้ตีความอย่างกว้างขวาง พนักงานฝึกงานอาจเป็นได้ทั้งนักเรียนไฮสกูลหรือมัธยม นักศึกษาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย หรือผู้ใหญ่หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ตำแหน่งเหล่านี้อาจได้หรือไม่ได้รับค่าจ้าง และเป็นตำแหน่งชั่วคราว[3]
ตรงแบบการฝึกงานประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนบริการกับประสบการณ์ระหว่างพนักงานฝึกงานและองค์การ การฝึกงานยังใช้ตัดสินว่าพนักงานฝึกงานผู้นั้นยังมีความสนใจในสาขานั้นหรือไม่หลังได้ประสบการณ์ชีวิตจริงหรือไม่ นอกจากนี้ การฝึกงานยังสามารถใช้สร้างเครือข่ายวิชาชีพที่สามารถช่วยเหลือเรื่องจดหมายแนะนำหรือนำไปสู่โอกาสการจ้างงานในอนาคต ประโยชน์ของการนำพนักงานฝึกงานเข้าสู่การจ้างงานเต็มเวลา คือ พนักงานฝึกงานจะมีความคุ้นเคยกับบริษัทและตำแหน่งเดิมอยู่แล้ว และโดยทั่วไปแล้วต้องการการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องการเลย การฝึกงานให้นักศึกษาปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในสาขาที่ตนเลือกเพื่อรับการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในอนาคต และเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานเต็มเวลาหลังสำเร็จการศึกษา[3][4]
ประเภท
แก้มีการฝึกงานในอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมหลากหลาย การฝึกงานมีทั้งได้รับค่าจ้าง ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับค่าจ้างบางส่วน (ในรูปค่าครองชีพ)[5] การฝึกงานอาจเป็นแบบไม่เต็มเวลาหรือเต็มเวลาก็ได้ และมักยืดหยุ่นกับตารางเวลาของนักศึกษา การฝึกงานทั่วไปกินเวลาประมาณหนึ่งถึงสี่เดือน แต่อาจสั้นหรือยาวกว่านั้นขึ้นอยู่กับองค์การที่เกี่ยวข้อง การให้ติดตามการทำงาน (job shadowing) อาจถือเป็นการฝึกงานด้วย[6]
- การฝึกงานที่ได้รับค่าจ้าง พบปกติในสาขาวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ธุรกิจ (โดยเฉพาะการบัญชีและการเงิน) เทคโนโลยี และการโฆษณา[7] การฝึกงานเพื่อประสบการณ์การทำงานปกติจัดขึ้นในช่วงปีที่สองหรือสามของการเล่าเรียน การฝึกงานประเภทนี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ของผู้ฝึกงานทั้งในการศึกษาในโรงเรียนและในบริษัทด้วย คาดหมายว่าพนักงานฝึกงานจะนำความคิดและความรู้จากสถาบันการศึกษาเข้าสู่บริษัท[8][9]
- การทำงานวิจัย การวิจัยเสมือน (สำเร็จการศึกษา) หรือวาทนิพนธ์: ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปีสุดท้าย การฝึกงานประเภทนี้ นักศึกษาต้องทำวิจัยให้แก่บริษัทหนึ่ง ๆ[10] บริษัทอาจมีบางด้านที่รู้สึกว่าจำเป็นต้องปรับปรุง หรือนักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อในบริษัทนั้นเอง ผลการศึกษาวิจัยจะมีการเตรียมเป็นรายงานและมักต้องนำเสนอ[10]
- การฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ปกติมักผ่านงานการกุศลไม่แสวงผลกำไร และ think tank มักเป็นตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างหรืออาสาสมัคร กฎหมายรัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐอาจกำหนดข้อกำหนดต่อโครงการการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างภายใต้รัฐบัญญัติค่าจ้างขั้นต่ำ โครงการจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จึงจำแนกอย่างเหมาะสมว่าเป็นการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
- การฝึกงานแบบได้รับค่าจ้างบางส่วน คือ เมื่อนักศึกษาได้รับค่าจ้างในรูปค่าครองชีพ ซึ่งปกติเป็นเงินจำนวนตามที่กำหนดซึ่งจ่ายเป็นประจำ ปกติ พนักงานฝึกงานที่ได้รับค่าจ้างแบบนี้จะได้รับค่าจ้างตามตารางที่องค์การกำหนด
การฝึกงานอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น คือ การฝึกงานเสมือน ซึ่งพนักงานฝึกงานทำงานทางไกล คือ ไม่ได้มาฝึกงานด้วยตัวเอง นับเป็นการมอบความสามารถในการหาประสบการณ์อาชีพโดยไม่ต้องกำหนดว่ามาทำงานด้วยตัวเองที่สำนักงาน การฝึกงานดังกล่าวดำเนินการด้วยวิธีเสมือน เช่น โทรศัพท์ อีเมลและการสื่อสารทางเว็บ พนักงานฝึกงานเสมือนโดยทั่วไปมีโอกาสเลือกจังหวะการทำงานของตนเองได้
ค่าธรรมเนียมการฝึกงาน
แก้บริษัทที่มองหาพนักงานฝึกงานมักค้นหาและมอบหมายนักศึกษาในตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างโดยมีค่าธรรมเนียม[11] บริษัทเหล่านี้เรียกเก็บเงินจากนักศึกษาเพื่อช่วยในการวิจัยโดยสัญญาว่าจะคืนเงินค่าธรรมเนียมหากไม่พบการฝึกงาน[12] โปรแกรมดังกล่าวมีหลากหลายและมุ่งจัดการหาพนักงานฝึกงานให้แก่บริษัทที่มีชื่อเสีงย บางบริษัทอาจให้การเคหะที่มีการควบคุมในนครใหม่ ระบบพี่เลี้ยง การสนับสนุน เครือข่าย กิจกรรมสุดสัปดาห์หรือหน่วยกิตวิชาการ[5]
บางบริษัทเจาะจงจัดหาทุนการศึกษาและเงินอุดหนุนแก่ผู้สมัครรายได้น้อย นักวิจารณ์การฝึกงานวิจารณ์ว่าระบบต้องการหน่วยกิตมหาวิทยาลัยซึ่งจะได้มาต่อเมื่อการฝึกงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเท่านั้น[13] ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของโรงเรียน พฤติการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติที่ไร้จริยธรรม เพราะกำหนดให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนหน่วยกิตค่าเล่าเรียนที่ต้องเสียเงินและมักมีจำกัดเพื่อทำงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน[14] การจ่ายค่าหน่วยกิตวิชาการเป็นวิธีรับประกันว่านักศึกษาสำเร็จระยะเวลาของการฝึกงาน เพราะพวกเขามีสถาบันวิชาการรับผิดชอบอยู่ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาอาจได้รับหน่วยกิตวิชาการเฉพาะหลังมหาวิทยาลัยได้รับบทปฏิทัศน์ททางบวกจากผู้ควบคุมดูแลของพนักงานฝึกงานที่องค์การผู้สนับสนุน[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ Definition of Internship (as set forth in the Ohio State University Department of Political Science, accessed January 22, 2013
- ↑ "The difference between Internships and Apprenticeships" เก็บถาวร 2016-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. internstars.co.uk.
- ↑ 3.0 3.1 Perlin, Ross (2013). "Internships". Sociology of Work: An Encyclopedia. doi:10.4135/9781452276199.n165. ISBN 9781452205069.
- ↑ Dailey, Stephanie L. (2016-08-07). "What Happens Before Full-Time Employment? Internships as a Mechanism of Anticipatory Socialization" (PDF). Western Journal of Communication. 80 (4): 453–480. doi:10.1080/10570314.2016.1159727. hdl:2152/24733. ISSN 1057-0314.
- ↑ 5.0 5.1 "Unpaid internships face legal, ethical scrutiny" เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Bowdoin Orient, Bowdoin College, April 30, 2004
- ↑ "Job Shadow". FVHCA. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- ↑ [ต้องการอ้างอิง]
- ↑ "Insight Programs". Morgan Stanley (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
- ↑ "Goldman Sachs | Student Programs - Insight Series". Goldman Sachs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
- ↑ 10.0 10.1 "Five principles for research ethics". American Psychological Association (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- ↑ Sue Shellenbarger (January 28, 2009). "Do You Want An Internship? It'll Cost You". The Wall Street Journal.
- ↑ Timothy Noah (January 28, 2009). "Opportunity for Sale; Psst! Wanna buy an internship?".
- ↑ Yglesias, Matthew (2013-12-04). "Two Cheers for Unpaid Internships". Slate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1091-2339. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- ↑ Discenna, Thomas A. (2016-08-07). "The Discourses of Free Labor: Career Management, Employability, and the Unpaid Intern". Western Journal of Communication. 80 (4): 435–452. doi:10.1080/10570314.2016.1162323. ISSN 1057-0314.
- ↑ "Unpaid Internships: Unfair and Unethical | The Bottom Line". The Bottom Line (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.