อำเภอปลาปาก
ปลาปาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม
อำเภอปลาปาก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pla Pak |
คำขวัญ: พระธาตุมหาชัยล้ำค่า ห้าเผ่าไทย หลายหลาก ถิ่นปลาปากเขียวขจี ยึดประเพณีศรีโคตรบูรณ์ | |
แผนที่จังหวัดนครพนม เน้นอำเภอปลาปาก | |
พิกัด: 17°10′50″N 104°31′34″E / 17.18056°N 104.52611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครพนม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 546.915 ตร.กม. (211.165 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 54,304 คน |
• ความหนาแน่น | 99.52 คน/ตร.กม. (257.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 48160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4802 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปลาปาก ถนนกุรุคุ-หนองฮี ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม 48160 |
เว็บไซต์ | http://www.plapak.net |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยทีเดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตประเทศลาวที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิศรธรรมิการาม
คำว่า “เว้า” นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มีประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลาตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า(ปลาพูด) คำว่า “ปาก” นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยา หมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูดหรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา[1]
- วันที่ 15 มิถุนายน 2508 แยกพื้นที่ตำบลปลาปาก ตำบลกุตาไก้ และตำบลหนองฮี อำเภอเมืองนครพนม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปลาปาก[2] ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองนครพนม
- วันที่ 20 กันยายน 2509 ตั้งตำบลนามะเขือ แยกออกจากตำบลกุตาไก้ ตั้งตำบลมหาชัย แยกออกจากตำบลปลาปาก ตั้งตำบลโคกสว่าง แยกออกจากตำบลปลาปาก และตำบลหนองฮี[3]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะกิ่งอำเภอปลาปาก อำเภอเมืองนครพนม เป็น อำเภอปลาปาก[4]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลโคกสูง แยกออกจากตำบลมหาชัย[5]
- วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลหนองเทาใหญ่ แยกออกจากตำบลโคกสว่าง[6]
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลปลาปาก ในท้องที่บางส่วนของตำบลปลาปาก[7]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลปลาปาก เป็นเทศบาลตำบลปลาปาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอปลาปากมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครพนม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครพนมและอำเภอเรณูนคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก และอำเภอวังยาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพนนาแก้วและอำเภอกุสุมาลย์ (จังหวัดสกลนคร)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอปลาปากแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[8] |
---|---|---|---|---|
1. | ปลาปาก | Pla Pak | 16
|
10,920
|
2. | หนองฮี | Nong Hi | 12
|
7,930
|
3. | กุตาไก้ | Kutakai | 12
|
9,085
|
4. | โคกสว่าง | Khok Sawang | 8
|
4,807
|
5. | โคกสูง | Khok Sung | 10
|
5,472
|
6. | มหาชัย | Maha Chai | 8
|
6,253
|
7. | นามะเขือ | Na Makhuea | 11
|
6,617
|
8. | หนองเทาใหญ่ | Nong Thao Yai | 8
|
3,398
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอปลาปากประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลปลาปาก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปลาปาก
- องค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาปาก (นอกเขตเทศบาลตำบลปลาปาก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฮีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุตาไก้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุตาไก้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสว่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสูงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาชัยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนามะเขือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเทาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเทาใหญ่ทั้งตำบล
สถานศึกษา
แก้โรงเรียนรัฐบาล
แก้- โรงเรียนปลาปากวิทยา
- โรงเรียนโคกสว่างประชาสรรค์
- โรงเรียนธรรมโฆษิตวิทยา
- โรงเรียนกุตาไก้วิทยา
- โรงเรียนมหาชัยวิทยา
- วิทยาลัยการอาชีพวัดโฆสมังคลาราม
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วัดพระธาตุมหาชัย
- วัดโฆสมังคลาราม
- ศูนย์วัฒนธรรมวัดคณิศรธรรมิการาม
- สวนรุกขชาติวังปอพาน
- ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทันสมัยในพระบรมราชินูปถัมภ์
- วัดจอมแจ้ง บ้านศรีธน
- โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านนาสีนวล
- วัดป่ามหาชัย
- สวนหย่อมสาธารณะ
- ต้นจามจุรียักษ์ วัดจอมศรี บ้านนามะเขือ
ประเพณี
แก้- เทศกาลกินแตงไทย แตงโมหวาน
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- ↑ [1] เก็บถาวร 2020-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมา-อำเภอปลาปาก
- ↑ [2] เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม อำเภอมุกดาหาร อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม กิ่งอำเภอดอนตาล กิ่งอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
- ↑ [4] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปลาปาก และอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีสงคราม อำเภอปลาปาก อำเภอมุกดาหาร กิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.