สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี
สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี (อังกฤษ: Right to a healthy environment) หรือสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนเป็นสิทธิมนุษยชนที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนเพื่อปกป้องระบบนิเวศที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์[1][2][3] สิทธินี้เชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่นสิทธิมนุษยชนในน้ำและการสุขาภิบาล (human right to water and sanitation), สิทธิในอาหาร (right to food) และสิทธิในสุขภาพ[4] สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นแนวทางการปกป้องคุณภาพของสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่างจากทฤษฎีทางกฎหมายที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับสิทธิของธรรมชาติ (rights of nature) ซึ่งพยายามขยายแนวคิดเรื่องสิทธิจากสิทธิของมนุษย์หรือนิติบุคคลไปสู่สิทธิของธรรมชาติ[5]
สิทธินี้บังคับหรือผูกมัดให้รัฐควบคุมและบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะคุ้มครองและให้ความยุติธรรมต่อชุมชนที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม[6] สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นสิทธิที่สำคัญในการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายสำหรับการฟ้องร้องคดีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change litigation) และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมประเด็นอื่น[7][8]
สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นส่วนสำคัญในแนวทางของประชาคมนานาชาติต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (human rights and climate change) มีความตกลงระหว่างประเทศที่สนับสนุนสิทธินี้ซึ่งรวมไปถึงปฏิญญาการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment), ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) และไม่นานมานี้คือข้อตกลงโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม (Global Pact for the Environment)[1] กว่า 150 รัฐในสหประชาชาติยอมรับสิทธินี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยทางนิติบัญญัติ, การฟ้องร้องคดี, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กฎหมายสนธิสัญญาหรืออำนาจทางกฎหมายอื่น ๆ[4] กฎบัตรแอฟริกันว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และประชาชน (African Charter on Human and Peoples' Rights), อนุสัญญาอเมริกันว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (American Convention on Human Rights) และความตกลงเอสกาซู (Escazu Agreement) ล้วนรวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย[9][10] ขอบข่ายด้านสิทธิมนุษยชนอื่นเช่นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กกล่าวถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องเพราะมีความเกี่ยวข้องกับจุดสนใจของขอบข่ายซึ่งในที่นี้คือสิทธิเด็ก (Children's rights)[9]
ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ (United Nations special rapporteur) ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม จอห์น เอช. น็อกซ์ (John H. Knox) (ค.ศ. 2012–2018) และ เดวิด อาร์. บอยด์ (David R. Boyd) (ค.ศ. 2018–) ได้แนะนำวิธีการทำให้สิทธิเหล่านี้เป็นทางการอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศ[11] โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการระดับสหประชาชาติต่าง ๆ รวมไปถึงสมาคมกฎหมายระดับท้องถิ่นด้วยเช่นเนติบัณฑิตยสภาเมืองนิวยอร์ก (New York City Bar Association) ในปี ค.ศ. 2020[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "The Case for a Right to a Healthy Environment". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "The Time is Now for the UN to Formally Recognize the Right to a Healthy and Sustainable Environment". Center for International Environmental Law (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ Knox, John H. (2020-10-13). "Constructing the Human Right to a Healthy Environment". Annual Review of Law and Social Science (ภาษาอังกฤษ). 16 (1): 79–95. doi:10.1146/annurev-lawsocsci-031720-074856. ISSN 1550-3585. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
- ↑ 4.0 4.1 "OHCHR | Good practices on the right to a healthy environment". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ Halpern, Gator. "Rights to Nature vs Rights of Nature" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ Boyle, Alan (2012-08-01). "Human Rights and the Environment: Where Next?". European Journal of International Law (ภาษาอังกฤษ). 23 (3): 613–642. doi:10.1093/ejil/chs054. ISSN 0938-5428.
- ↑ Atapattu, Sumudu (2018), Knox, John H.; Pejan, Ramin (บ.ก.), "The Right to a Healthy Environment and Climate Change: Mismatch or Harmony?", The Human Right to a Healthy Environment, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 252–268, ISBN 978-1-108-42119-5, สืบค้นเมื่อ 2021-02-10
- ↑ Varvastian, Sam (2019-04-10). "The Human Right to a Clean and Healthy Environment in Climate Change Litigation" (ภาษาอังกฤษ). Rochester, NY. SSRN 3369481.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 9.0 9.1 Shelton, Dinah (2002). Human Rights, Health & Environmental Protection: Linkages in Law & Practice. Health and Human Rights Working Paper Series No 1. World Health Organization.
- ↑ "Regional Agreement on Access to Information, Public Participation and Justice in Environmental Matters in Latin America and the Caribbean" (PDF). CEPAL. 4 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ "OHCHR | Right to a healthy and sustainable environment". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "Human Right to a Healthy Environment: UN Formal Recognition". nycbar.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.