สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์
สมเด็จพระราชินีฟารีดา (อาหรับ: الملكة فريده; พระราชสมภพ: 5 กันยายน พ.ศ. 2464 – สวรรคต: 16 ตุลาคม พ.ศ. 2531) หรือพระนามเดิม ซาฟินาซ ษูลฟิการ (อาหรับ: صافيناز ذوالفقار Sāfināz Dhū l-Fiqār) เป็นอดีตพระราชินีในพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์ | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ | |
ประสูติ | 5 กันยายน พ.ศ. 2464 อะเล็กซานเดรีย รัฐสุลต่านอียิปต์ |
สวรรคต | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (67 ปี) ไคโร ประเทศอียิปต์ |
พระราชสวามี | พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์ (2481–2491; หย่า) |
พระราชบุตร | เจ้าหญิงเฟริยาล เจ้าหญิงเฟาซียะห์ เจ้าหญิงฟาดียะห์ |
ราชวงศ์ | มุฮัมมัดอะลี |
พระราชบิดา | ยูซุฟ ษูลฟิการ พาชา |
พระราชมารดา | ซัยนับ ซัยยิด คานุม |
ลายพระอภิไธย |
พระราชประวัติ
แก้พระประวัติตอนต้น
แก้สมเด็จพระราชินีฟารีดา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2464[1] ณ เมืองอะเล็กซานเดรีย รัฐสุลต่านอียิปต์ ในครอบครัวขุนนางอียิปต์เชื้อสายเซอร์แคเซีย (Circassia)[2] เป็นธิดาของยูซุฟ ษูลฟิการ พาชา (Youssef Zulficar Pasha) เป็นรองประธานผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ผสมแห่งอะเล็กซานเดรีย[3] กับซัยนับ ซัยยิด คานุม (Zainab Said Khanum) นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชินีนาซลี[4] และเป็นหลานตาของมุฮัมมัด ซัยยิด พาชา (Muhammad Said Pasha) อดีตนายกรัฐมนตรีอียิปต์ที่มีเชื้อสายตุรกี[5]
เบื้องต้นสมเด็จพระราชินีฟารีดาทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยน็อทร์-ดาม เดอ ซียง (Collège Notre Dame de Sion) ซึ่งเป็นโรงเรียนคริสต์ศาสนาที่ดูแลโดยคณะนางชีชาวฝรั่งเศส[6]
อภิเษกสมรส
แก้พระเจ้าฟารูกทรงพบปะและมีปฏิสันถารกับสมเด็จพระราชินีฟารีดาครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จประพาสลอนดอนในปี พ.ศ. 2480[2] จนนำไปสู่พระราชพิธีหมั้นช่วงฤดูร้อนภายในปีนั้น[2] ก่อนมีพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 20 มกราคมในปีถัดมา ณ พระราชวังกุบบาในไคโร[7] พระองค์ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานพระนามใหม่ว่า "ฟารีดา" เพื่อให้สอดคล้องกับพระนามของกษัตริย์ฟุอาดตามพระราชนิยม ส่วนฉลองพระองค์ในพระราชพิธีดังกล่าวตัดเย็บโดยเฮาส์ออฟเวิร์ท (House of Worth) ในปารีส[8]
สมเด็จพระราชินีฟารีดา มีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ ได้แก่:
- เจ้าหญิงเฟริยาล (17 พฤศจิกายน 2475 – 29 พฤศจิกายน 2552) เสกสมรสและหย่ากับฌ็อง-ปิแยร์ เปรร์ตอง (Jean-Pierre Perreten) มีพระธิดาเพียงคนเดียว
- เจ้าหญิงเฟาซียะห์ (7 เมษายน 2483 – 27 มกราคม 2548)
- เจ้าหญิงฟาดียะห์ (15 ธันวาคม 2480 – 26 ธันวาคม 2545) เสกสมรสกับปิแยร์ อะเล็กซีวิตช์ ออร์ลอฟฟ์ (Pierre Alexievitch Orloff) มีพระโอรสสองคน
แต่จากการที่พระองค์มิได้ประสูติกาลพระราชโอรสสมดั่งพระราชประสงค์ พระเจ้าฟารูกจึงทรงหย่ากับสมเด็จพระราชินีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 หลังการหย่าพระเจ้าฟารูกจะทรงได้สิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชธิดาพระองค์ใหญ่กับพระองค์รอง ส่วนสมเด็จพระราชินีฟารีดาทรงมีสิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชธิดาพระองค์เล็ก[9]
หลังทรงหย่าและการสวรรคต
แก้หลังสิ้นการหย่าเป็นต้นมา สมเด็จพระราชินีฟารีดายังคงประทับอยู่พระตำหนักในตำบลอัสซามาลิก (Zamalek) ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำไนล์[10] ประเทศอียิปต์จนถึงปี พ.ศ. 2507[2] หลังจากนั้นได้ย้ายไปประทับอยู่ในประเทศเลบานอนเพื่อดูแลพระราชธิดาในสิบปีให้หลัง[11] ครั้นพระเจ้าฟารูกอดีตพระราชสวามีเสด็จสวรรคตในโรม พระองค์และพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ได้เสด็จไปเคารพพระบรมศพ[12] ในช่วงปี พ.ศ. 2511–17 พระองค์ประทับในปารีส และนิวัตกลับมาตุภูมิช่วงรัฐบาลอันวัร อัสซาดาต ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยหลังจากการหย่าพระองค์ก็มิได้เสกสมรสใหม่แต่อย่างใด[13] ช่วงปี พ.ศ. 2503 พระองค์สนพระทัยและมีผลงานจิตรกรรมการเขียน (painting) ซึ่งในฐานะศิลปินจึงทรงจัดนิทรรศการส่วนพระองค์ทั้งในยุโรปและอเมริกา และเคยจัดในไคโร ประเทศอียิปต์ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[11]
สมเด็จพระราชินีฟารีดา ทรงเข้ารับถวายการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 จากพระอาการประชวรด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว, พระปับผาสะอักเสบ และพระยกนะอักเสบ[14] วันที่ 2 ตุลาคม พระองค์ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์อย่างใกล้ชิดแต่ยังทรงอยู่ในพระอาการโคม่า และที่สุดในวันที่ 16 ตุลาคม พระองค์ได้สวรรคตด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว สิริพระชนมายุ 67 พรรษา[14]
พระราชกรณียกิจ
แก้สมเด็จพระราชินีฟารีดาเป็นเจ้านายฝ่ายในที่ความสำคัญให้การประสูติกาลพระราชโอรสสืบราชสมบัติ และจากการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา บทบาทของสตรีเพศจึงเพิ่มสูงขึ้น พระองค์จึงมีบทบาทในฐานะผู้นำเพศหญิงในประเทศโดยทรงรับเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในมูลนิธิเพื่อการกุศลต่าง ๆ อาทิ เป็นองค์นายิกาสภาเสี้ยววงเดือนแดงอียิปต์, เป็นประธานกิตติมศักดิ์สหภาพสตรี (Feminist Union) และองค์กรสตรียุคใหม่ (New Woman Alliance) รวมทั้งทรงอุปถัมภ์กิจการเนตรนารีอียิปต์ อันมีบทบาทสำคัญต่อกิจการในชุมชน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Consorts of Monogamous Egyptian Heads of State". Egy. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Hassan, Maher (20 January 2010). "Queen Farida, King Farouk's first wife". Egypt Independent. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ Charles Brice, William (1981). An Historical atlas of Islam. BRILL. p. 299. ISBN 90-04-06116-9.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Royal Ark
- ↑ Goldschmidt, Arthur (2000). Biographical dictionary of modern Egypt. Lynne Rienner Publishers. p. 178. ISBN 1555872298.
- ↑ 6.0 6.1 Raafat, Samir (March 2005). "Egypt's first ladies" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-07. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
- ↑ "Queen Farida hides beauty with veil". The Pittsburgh Press. Cairo. UPI. 21 January 1938. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ Hargrove, Rosette (21 January 1938). "Dressed to the King's taste". The Telegraph Herald. Paris. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ "Ex-queen Farida of Egypt". The Indian Express. Cairo. 22 November 1948. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ "Former Queen pens message to Farouk". Reading Eagle. 20 January 1952. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ 11.0 11.1 Balouny, Lisette (31 May 1980). "Queen Farida living in dignified exile". The Day. Cairo. AP. p. 20. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ "Cold, lonely end comes to Farouk". Lodi News Sentinel. Rome. UPI. 20 March 1965. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ "Queen Farida of Egypt Dies at 68". The New York Times. 17 October 1988. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
- ↑ 14.0 14.1 "Ex-Queen Farida of Egypt; First Wife of King Farouk". Los Angeles Times. 17 October 1988. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 The Muhammad 'Ali Dynasty Royal Ark
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีฟารีดาแห่งอียิปต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นาซลี ซาบรี | สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ (พ.ศ. 2481–2491) |
นาร์รีมาน ซาเดก |