ยุทธการที่วีแลร์-บอกาฌ

ยุทธการที่วีแลร์-บอกาฌ เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1944 หนึ่งสัปดาห์หลังการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกที่เริ่มพิชิตฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของเยอรมัน การสู้รบเป็นผลมาจากความพยายามของอังกฤษเพื่อฟื้นฟูตำแหน่งของพวกเขาโดยการใช้ช่องว่างในแนวป้องกันของเยอรมันทางด้านตะวันตกของเมืองก็อง ภายหลังหนึ่งวันของการสู้รบทั้งในและรอบๆของเมืองเล็กของวีแลร์-บอกาฌและวันที่สอง การป้องกันตำแหน่งด้านนอกของเมือง กองทัพอังกฤษได้ถอนกำลัง

ยุทธการที่วีแลร์-บอกาฌ
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการเพิช

รถถังครอมเวลล์ของอังกฤษที่ได้ถ่ายภาพสังเกตการณ์รถถังบนถนนหลักของวีแลร์-บอกาฌ; หนึ่งในยานพาหนะจำนวนมากกว่าหนึ่งโหลที่ถูกทำลายโดยมิชาเอิล วิทท์มันน์. รถถังนี้ภายใต้การบัญชาการโดยร้อยเอก Paddy Victory จากกองปืนใหญ่ทหารม้าที่ 5.
วันที่13 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่
วีแลร์-บอกาฌ, ฝรั่งเศส
ผล See Aftermath section
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร George Erskine
สหราชอาณาจักร William Hinde
นาซีเยอรมนี Fritz Bayerlein
นาซีเยอรมนี Heinz von Westernhagen
กำลัง
One Brigade group
ป. 60 tanks
2 ad-hoc battle groups
Elements of 1 heavy tank battalion
31–41 tanks
ความสูญเสีย
~217 casualties
23–27 tanks
Unknown total casualties
8–15 tanks
Several civilians

ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมันได้ถือว่าการควบคุมเมืองก็องเป็นส่วนสำคัญในการรบนอร์ม็องดีในวันหลังการยกพลขึ้นบกดีเดย์ในวันที่ 6 มิถุนายน เยอรมันได้สร้างแนวป้องกันอย่างรวดเร็วในด้านหน้าของเมือง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ความพยายามสองครั้งของอังกฤษในการโอบรอบและเข้ายึดครองก็องต้องพบความปราชัย บนด้านปีกขวาของกองทัพที่สองของอังกฤษ กองพลทหารราบที่ 1 ของสหรัฐได้บีบบังคับให้กองพลทหารราบที่ 352 ของเยอรมันล่าถอยและเปิดช่องว่างในแนวรบของเยอรมัน ได้คว้าโอกาศเพื่อที่หลีกเลี่ยงการปิดกั้นของกองพลพันเซอร์ เลือร์บนเส้นทางตรงทางตอนใต้ในพื้นที่ของ Tilly-sur-Seulles กองกำลังผสมของรถถัง ทหารราบ และปืนใหญ่ พื้นฐานมาจากกองพลน้อยยานเกราะที่ 22 ของกองพลยานเกราะที่ 7 ได้รุกผ่านช่องว่างในขบวนปีกไปยังวีแลร์-บอกาฌ ผู้บัญชาการของอังกฤษได้คาดหวังว่าการปรากฏของกองกำลังที่แข็งแกร่งในทางด้านหลังของพวกเขาจะบีบบังคับของกองพลพันเซอร์ เลือร์ให้ถอนกำลังหรือไม่ก็ถูกล้อม

ภายใต้การบัญชาการของหัวหน้ากอง William "Loony" Hinde กลุ่มกองพลน้อยยานเกราะที่ 22 ได้เดินทางมาถึงวีแลร์-บอกาฌโดยไม่มีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในช่วงเช้าของวันที่ 13 มิถุนายน การนำส่วนหนึ่งเข้ารุกไปยังทางด้านตะวันออกจากเมืองบนถนนก็องไปยังจุด 213 ที่พวกเขาถูกซุ่มโจมตีโดยรถถังทีเกอร์ 1 ของกองพันยานเกราะพันเซอร์หนักเอ็สเอ็สที่ 101 ในเวลาไม่ถึง 15 นาที รถถัง ปืนต่อสู้รถถัง และยานพาหนะขนส่งจำนวนมากถูกทำลาย ส่วนใหญ่โดยเอ็สเอ็ส-ฮอฟท์ชตูร์มฟือเรอร์ (ร้อยเอก) มิชาเอิล วิทท์มันน์ เยอรมันก็ได้เข้าโจมตีเมืองและถูกขับไล่ เสียรถถังทีเกอร์ 1 และรถถังพันเซอร์ 4 หลายคัน หลังหกชั่วโมง Hindeได้ออกคำสั่งให้ถอนกำลังไปยังตำแหน่งที่สามารถป้องกันได้มากขึ้นบนเนินเขาทางด้านตะวันตกของวีแลร์-บอกาฌ วันต่อมาเยอรมันได้โจมตีกองพลน้อยที่รักษาการณ์ ได้จัดการเพื่อการป้องกันทุกรอบ, ในการสู้รบที่เกาะกลางถนน อังกฤษได้จัดการขับไล่เยอรมันได้อย่างยากลำบากและถอนกำลังออกจากจุดยื่นเด่น ยุทธการที่ก็องได้ดำเนินไปทางด้านตะวันออกของวีแลร์-บอกาฌ ซากปรักหักพังของเมืองได้ถูกยึดครอง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม หลังการตีโฉบฉวยสองครั้งโดยการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศหลวง (Royal Air Force)

อังกฤษได้ดำเนินการในยุทธการที่วีแลร์-บอกาฌได้มีการถกเถียงกัน, เพราะการถอนกำลังของพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าเป็นการสิ้นสุดของการโพสต์ดีเดย์ "การแย่งชิงจากภาคพื้นดิน" และการเริ่มต้นของยุทธการที่ก็องที่อ่อนแอลง นักประวัติศาสตร์บางคนได้เขียนไว้ว่าการโจมตีของอังกฤษได้ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความเชื่อมั่นในท่ามกลางหมู่ผู้บัญชาการระดับชั้นอาวุโสบางส่วน มากกว่าพลังการสู้รบของกองทัพเยอรมัน ในขณะที่คนอื่นๆได้ตัดสินว่ากองทัพอังกฤษขาดแคลนกำลังคนจากภารกิจนี้ "การลุยเดี่ยว"ที่โจมตีโดยวิทท์มันน์ตั้งแต่ตอนต้น ได้มีการแต่งเติมจินตนาการที่ตื่นเต้นเร้าใจในขอบเขตที่นักประวัติศาสตร์และนักเขียนบางคนได้สรุปว่าได้ครอบงำบันทึกประวัติศาสตร์ในระดับไม่สมเหตุสมผลและในขณะที่"ความโดดเด่น", บทบาทของวิทท์มันน์ในการสู้รบได้มีการพูดถึงแบบเกินความเป็นจริง