นาย ธนวัฒน์ ละออง ชั้น6/8 เลขที่5

 สรุปความรู้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

ปัญญาประดิษฐ์ เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความฉลาดของเครื่องจักร (machine intelligence) ให้สามารถเรียนรู้ คิดเป็นเหตุเป็นผล และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ที่ต้องใช้ทักษะมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยอัจฉริยะ (Intelligent personal assistant) อย่าง Siri ของ Apple, Cortana ของ Microsoft, Alexa ของ Amazon, Google Assistant ของ Google ที่สามารถรับคำสั่งเสียงของมนุษย์ ไปประมวลผลแล้วตอบคำถาม จัดการสิ่งต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับ หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่สามารถแล่นไปยังจุดหมายปลายทางโดยที่ผู้โดยสารบนรถไม่ต้องขับขี่เอง

ลำดับเวลาของปัญญาประดิษฐ์ (AI Timeline)

Artificial Intelligence Timeline Infographic – From Eliza to Tay and beyond
Artificial Intelligence Timeline Infographic – From Eliza to Tay and beyond

  • 1950 TURING TEST – อลัน ทัวริ่ง (Alan Turing) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ เสนอการทดสอบความฉลาดของเครื่องจักร โดยถ้าเครื่องจักรทำให้มนุษย์เข้าใจว่าเป็นมนุษย์ แสดงว่าเป็นเครื่องจักรที่มีความฉลาด
  • 1955 A.I. BORN –  คำว่าปัญญาประดิษฐ์ ถูกตั้งขึ้นครั้งแรกโดยจอห์น แมคคาร์ธี (John McCarthy) ในปี พ.ศ.2499 โดยให้คำนิยามว่า วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่สร้างความฉลาดให้กับเครื่องจักร (“The science and engineering of making intelligent machines”)
  • 1961 UNIMATE – หุ่นยนต์อุตสาหกรรมตัวแรกที่ทำงานแทนมนุษย์ในสายการผลิต
  • 1964 ELIZA – แชตบอตยุคบุกเบิกที่สามารถสนทนากับมนุษย์ได้
  • 1966 SHAKEY – หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ยุคแรก เคลื่อนที่ได้หลายรูปแบบ และรับรู้การกระทำของตัวเอง
  • 1997 DEEP BLUE – คอมพิวเตอร์จาก IBM ที่เล่นหมากรุกเอาชนะแชมป์โลกหมากรุกที่เป็นมนุษย์
  • 1998 KISMET – หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดเกี่ยวกับอารมณ์ สามารถรับรู้และตอบสนองอารมณ์ของมนุษย์
  • 1999 AIBO – หุ่นยนต์สุนัขที่มีลักษณะและแสดงออกความคล้ายสุนัขจริง
  • 2002 ROOMBA – หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัตโนมัติตัวแรก ที่เรียนรู้เส้นทางในบ้านระหว่างทำความสะอาด
  • 2011 SIRI – ผู้ช่วยอัจฉริยะจากแอปเปิลที่ตอบสนองการทำงานจากคำสั่งเสียงผู้ใช้
  • 2011 WATSON – ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จาก IBM ที่ชนะเลิศแข่งขันตอบคำถามจากรายการเกมโชว์ เจพาร์ดี (Jeopardy) ได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์
  • 2014 EUGENE – แชตบอตที่ผ่านการทดสอบทัวริ่ง ที่ทำให้ผู้พิพากษา 1 ใน 3 เชื่อว่าเป็นมนุษย์
  • 2014 ALEXA – ผู้ช่วยเสมือนจาก Amazon ที่เข้าใจคำสั่งเสียงและดำเนินการสั่งซื้อสินค้าได้
  • 2016 TAY – แชตบอตจาก Microsoft ที่สร้างความปั่นป่วนบนทวิตเตอร์ โดยโพสต์เนื้อหารุนแรงและเหยียดสีผิว ซึ่งเป็นเกิดจากการที่แชตบอตซึมซับข้อมูลด้านมืดบนโลกออนไลน์
  • 2017 ALPHAGO – ปัญญาประดิษฐ์ จาก Google ที่เล่นหมากล้อมเอาชนะแชมป์โลกหมากล้อมที่เป็นมนุษย์

แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์

มนุษย์มีแนวโน้มที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยทั้งในด้านการทำงานและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเรียนรู้การเรียนรู้แนวคิดของปัญญาประดิษฐ์จึงมีความสำคัญ โดยองค์กรที่ชื่อว่า AI for K-12 ได้นำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า แนวคิดสำคัญ 5 ประการสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (Five Big Ideas in AI) ในงานประชุมวิชาการของสมาคมครูด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science Teachers Association: CSTA) ดังนี้

  1. การรับรู้ (perception) – ปัญญาประดิษฐ์จะเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เซนเซอร์ เช่น กล้อง ไมโครโฟน เพื่อนำไปประมวลผล และต้องเข้าใจสิ่งที่รับรู้นั้นด้วย
  2. การแทนความรู้และการให้เหตุผล (representation and reasoning) – ปัญญาประดิษฐ์สามารถเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบของตัวแทนความรู้ (knowledge representation) ตัวอย่างคือ กฎการตัดสินใจจากความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ จากนั้นใช้ตัวแทนความรู้ที่มีอยู่นี้มาหาข้อสรุป โดยใช้การอนุมาน (inference) เช่น ปัญญาประดิษฐ์มีตัวแทนความรู้ของการข้ามถนน (คู่มือการข้ามถนน) เมื่อมีการรับข้อมูลนำเข้ามา ปัญญาประดิษฐ์ จะไปตรวจสอบว่าข้อมูลนำเข้าตรงกับตัวแทนความรู้ใด (สถานการณ์ตรงกับกฎการข้ามถนนข้อใดในคู่มือ) จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะข้ามถนนหรือไม่ข้ามถนน
  3. การเรียนรู้ (learning) – ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) จะเรียนรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสร้างตัวแบบ (model) จากข้อมูลฝึกสอน (training data) ที่มนุษย์นำเข้าไป หรือเป็นข้อมูลจากเครื่องจักรที่สร้างข้อมูลฝึกสอนเองได้ เช่น การพัฒนาตัวแบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้จำแนกเพศจากรูปภาพใบหน้าคน โดยอาศัยข้อมูลฝึกสอนที่เป็นรูปใบหน้าคนเพศชาย-หญิง จำนวนมากๆ
  4. การปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ (natural interaction) – ปัญญาประดิษฐ์ต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพื่อสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้มีปฏิสัมพันธิ์กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  5. ผลกระทบทางสังคม (social impact) – ปัญญาประดิษฐ์ต้องคำนึงถึงจริยธรรม (ethics) ความปลอดภัย (security) และความเป็นส่วนตัว (privacy) เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์อาจตัดสินใจหรือทำในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นาย ธนวัฒน์ ละออง ชั้น6/8 เลขที่5

นาย ธนวัฒน์ ละออง ชั้น6/8 เลขที่5

นาย ธนวัฒน์ ละออง ชั้น6/8 เลขที่5