ข้ามไปเนื้อหา

วิลลาพาร์ก

พิกัด: 52°30′33″N 1°53′5″W / 52.50917°N 1.88472°W / 52.50917; -1.88472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Villa Park)
แม็คโทมิเนย์ ปาร์ค
McTominay Park
แผนที่
ชื่อเดิมAston Lower Grounds
ที่ตั้งถนนทรินิทรี เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษB6 6HE
พิกัด52°30′33″N 1°53′5″W / 52.50917°N 1.88472°W / 52.50917; -1.88472
ขนส่งมวลชนNational Rail Aston
National Rail Witton
7 and 11 bus routes[1]
เจ้าของแอสตันวิลลา[2]
ผู้ดำเนินการแอสตันวิลลา
ความจุ42,682 ที่นั่ง[4][5][6]
ขนาดสนาม105 เมตร × 68 เมตร[2]
พื้นผิวเดสโซ กราสมาสเตอร์[2]
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามค.ศ. 1897[2]
งบประมาณในการก่อสร้าง25 ล้านปอนด์[3]
การใช้งาน
แอสตันวิลลา (1897–ปัจจุบัน)[2]

แม็คโทมิเนย์ ปาร์ค (อังกฤษ: McTominay Park) เป็นสนามฟุตบอลในย่านแอสตัน เบอร์มิงแฮม มีความจุ 42,682 ที่นั่ง[6] เป็นสนามเหย้าของแอสตันวิลลา มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 สนามอยู่ห่างจากสถานีรถไฟ Witton และ Aston ไม่ถึง 1 ไมล์ และเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอังกฤษในระดับทีมชุดใหญ่มาแล้ว 16 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1899 และครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2005 วิลลาพาร์กเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ 55 ครั้ง มากกว่าสนามอื่น ๆ

ในปี ค.ศ. 1897 แอสตันวิลลาได้ย้ายเข้าไปที่แอสตัน โลเวอร์ กราวด์ ซึ่งเป็นสนามกีฬาในสวนสนุกสไตล์วิกตอเรียนในพื้นที่เดิมของแอสตัน ฮอลล์ ซึ่งเป็นบ้านโอ่อ่าสไตล์จาโคเบียน สนามได้ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาหลายครั้ง ส่งผลให้อัฒจันทร์เป็นแบบปัจจุบันคือ Holte End, Trinity Road Stand, North Stand และ Doug Ellis Stand

ก่อนปี ค.ศ. 1914 มีลู่จักรยานอยู่รอบสนามเพื่อใช้แข่งขันกีฬาจักรยานเป็นประจำ นอกเหนือจากการใช้งานเกี่ยวกับฟุตบอลแล้ว สนามแห่งนี้ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ ควบคู่ไปกับการแข่งขันกีฬาอื่น ๆ รวมถึงการแข่งขันชกมวย การแข่งขันรักบี้ลีกระหว่างประเทศและการแข่งขันรักบี้ยูเนียน ในปี ค.ศ. 1999 รอบชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่วิลลาพาร์ก นอกจากนี้ยังใช้จัดเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2012 เนื่องจากสนามกีฬาเวมบลีย์ถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกรอบชิงชนะเลิศ[7]

แอสตันวิลลามีแผนที่จะปรับปรุงอัฒจันทร์ฝั่งเหนือ ซึ่งจะเพิ่มความจุของวิลลาพาร์กจาก 42,682 เป็น 50,065 ที่นั่ง แผนดังกล่าวยังรวมถึงการก่อสร้างสถานบันเทิงและการค้าที่มีชื่อว่า "Villa Live"[8] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 แผนดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสภาเมืองเบอร์มิงแฮม[9]

ประวัติ

[แก้]

แอสตัน โลเวอร์ กราวด์ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวิลลาพาร์กไม่ใช่สนามเหย้าแห่งแรกของสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา สนามเดิมของพวกเขาคือเวลลิงตันโรด ประสบปัญหาสนามที่ไม่สม่ำเสมอ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ชมที่ไม่ดี และค่าเช่าที่สูงเกินไป[10][11][12]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "Local Bus Routes". NXBUS. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Villa's plan to rebuild North Stand". Express and Star. 14 May 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  3. Inglis, Simon (1997), p.84
  4. "Villa held by 10 man United (match attendance at top)". Sky Sports. 10 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 11 February 2010.
  5. "Aston Villa 1 – 1 Man Utd (match attendance at bottom)". BBC Sport. 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 February 2010.
  6. 6.0 6.1 "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-02. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Community Shield switched to Villa Park as Wembley hosts Olympics". The Daily Telegraph. London. 18 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 1 June 2012.
  8. "Villa Park redevelopment plans could increase seating to more than 50,000". ITV News (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-15. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
  9. Club, Aston Villa Football. "Aston Villa welcomes planning approval for Villa Park redevelopment". Aston Villa Football Club. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
  10. Paul Smith & Shirley Smith (2005) The Ultimate Directory of English & Scottish Football League Grounds Second Edition 1888–2005, Yore Publications, p143, ISBN 0-9547830-4-2
  11. Inglis, Simon (1997), p.26
  12. Holt, Frank; Bishop, Rob, p.124

อ้างอิง

[แก้]
  • Brittle, Paul; Brown, Danny (2006). Villains. Preston: Milo Books. ISBN 1-903854-59-8.
  • Hayes, Dean (1997). The Villa Park Encyclopedia: A-Z of Aston Villa. Edinburgh: Mainstream Publishing. ISBN 1-85158-959-7.
  • Holt, Frank Lee; Rob Bishop (2010). Aston Villa: The Complete Record. Derby: Derby Books Publishing. ISBN 978-1-85983-805-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Inglis, Simon (1983). The football grounds of England and Wales. Beverley: Willow. ISBN 0-00-218024-3.
  • Inglis, Simon (1997). Villa Park: 100 Years. Birmingham: Sports Projects Ltd. ISBN 0-946866-43-0.