บิกุญญา
บิกุญญา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Camelidae |
เผ่า: | Lamini |
สกุล: | Vicugna |
สปีชีส์: | V. vicugna |
ชื่อทวินาม | |
Vicugna vicugna (Molina, 1782) | |
ถิ่นที่อยู่อาศัยของบิกุญญา |
บิกุญญา (สเปน: vicuña; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicugna vicugna) เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าวงศ์อูฐ (camelid) สองชนิดซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงมากบนเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ (อีกชนิดหนึ่งคือกวานาโก) บิกุญญาเป็นญาติกับยามา และทุกวันนี้เชื่อกันว่าบิกุญญาเป็นบรรพบุรุษป่าของอัลปากาซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อเอาขน บิกุญญาให้ขนที่มีเส้นใยละเอียดมากแต่ก็มีราคาแพง เพราะเราสามารถตัดขนของมันได้ทุก ๆ สามปีเท่านั้น และต้องจับมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยธรรมชาติ เมื่อถักเข้าด้วยกัน ผลผลิตที่ได้จากขนบิกุญญาจะมีความนุ่มและอุ่นมาก ชาวอินคาให้คุณค่ากับบิกุญญาเป็นอย่างสูงเนื่องจากขนคุณภาพดีของพวกมัน การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มจากขนบิกุญญาถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายหากผู้สวมใส่มิใช่ราชนิกุล
บิกุญญาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทั้งในสมัยจักรวรรดิอินคาและในสมัยปัจจุบัน แต่พวกมันก็ถูกล่าอย่างหนักในช่วงเวลาระหว่างสมัยทั้งสอง โดยก่อนที่จะได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในปี ค.ศ. 1974 นั้น มีบิกุญญาหลงเหลืออยู่เพียงประมาณ 6,000 ตัว ทุกวันนี้ ประชากรบิกุญญาได้รับการฟื้นฟูขึ้นจนมีจำนวนประมาณ 350,000 ตัว[1] และแม้ว่าองค์กรอนุรักษ์ต่าง ๆ จะลดระดับสถานะภัยคุกคามของบิกุญญาลงแล้ว แต่ก็ยังคงเรียกร้องให้มีแผนการอนุรักษ์อย่างแข็งขันเพื่อปกป้องบิกุญญาจากการบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ การสูญเสียถิ่นที่อยู่ และภัยคุกคามอื่น ๆ
บิกุญญาเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเปรู มีการนำตราสัญลักษณ์รูปบิกุญญาไปใช้ในตราแผ่นดินของประเทศด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Baldi, R. & Wheeler, J. (2008). Vicugna vicugna. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 3 January 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Viva Vicuña: Light & Shadow documentary film about Vicuñas in the Andes เก็บถาวร 2012-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Alpaca Fiber News – The vicuña animal – Archived ตุลาคม 21, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Bayly, Andres and Enrique Pasquel. Privaticemos las vicuñas [1] เก็บถาวร 2009-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน