มอลลัสกา
มอลลัสกา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian Stage 2–Recent | |
---|---|
หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana) จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลโปดา | |
หอยแครง (Anadara granosa) จัดอยู่ในชั้นไบวาลเวีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
อาณาจักรย่อย: | ยูเมทาซัว Eumetazoa |
เคลด: | พาราฮอกโซซัว ParaHoxozoa |
เคลด: | ไบลาทีเรีย Bilateria |
เคลด: | เนโฟรซัว Nephrozoa |
ไม่ได้จัดลำดับ: | โพรโทสโทเมีย Protostomia |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Spiralia Spiralia |
ไฟลัมใหญ่: | Lophotrochozoa Lophotrochozoa |
ไฟลัม: | มอลลัสกา Mollusca Linnaeus, 1758 |
Classes | |
ความหลากหลาย[1] | |
85,000 recognized living species. |
มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน: /mɒˈlʌskə/) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้านบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk)
ลักษณะรูปร่าง
[แก้]สัตว์ในกลุ่มนี้มีเนื้อเยื่อสามชั้น triploblastic ในระยะ embryo เป็นแบบ protostomes มีช่องว่างของร่างกาย (body cavity) เป็นโพรงลำตัว (hemocoel) ที่ถูกเติมด้วยเลือด และมีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง สัตว์ในกลุ่มนี้จะมีชั้นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า แมนเทิล ซึ่งในบางชนิดชั้นเนื้อเยื่อนี้จะสามารถสร้างเปลือก ที่เป็นองค์ประกอบของ calcium carbonate มีเท้าใช้ในการเคลื่อนที่ซึ่งมีความแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สูง และสามารถใช้ลักษณะของฟัน (radula) ในการแบ่งแยกชนิดได้ด้วย สัตว์ในกลุ่มนี้ไม่มีลักษณะลำตัวที่เป็นข้อปล้อง (segment) การเจริญเติบโตนั้นจะมีการผ่านระยะที่เรียกว่า trochophore larva 1 - 2 ครั้ง, ซึ่งจะเรียกช่วงหนึ่งว่า veliger larva ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ในกลุ่มไส้เดือน (Annelida) ซากฟอสซิลของสัตว์ในกลุ่มนี้พบมาในยุคแคมเบรียน Cambrian โดยฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดมีชื่อว่า Odontogriphus พบที่ Burgess Shale โดยเชื่อว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 500 ล้านปี
การจัดจำแนก
[แก้]- ชั้นแกสโทรโปดา หอยฝาเดียว ส่วนที่ห่อหุ้มเป็นชิ้นเดียวขดเป็นเกลียว เช่น หอยเป๋าฮื้อ เต้าปูน ทากเปลือย ทากทะเล หอยทาก
- ชั้นมอโนพลาโคฟอรา มีเปลือกแข็งชิ้นเดียวรูปร่างคล้ายฝาชี เช่น Neopilina sp.
- ชั้นพอลิพลาโคฟอรา มีเปลือกแข็งซ้อนเป็นแผ่นตามลำตัว ช่วยให้มวนตัวเป็นลูกบอลได้ เช่น ลิ่นทะเล
- ชั้นอะพลาโคฟอรา ไม่มีเปลือกแข็ง แต่มีโครงสร้างที่เป็นหินปูนแทรกตามผนังลำตัว
- ชั้นไบวาลเวีย หอยสองฝา มีเปลือกแข็งสองฝายึดติดกันโดยมีบานพับเป็นเอ็น เช่น หอยแมลงภู่ หอยมือเสือ หอยเสียบ หอยนางรม
- ชั้นสแคโฟโปดา เช่น หอยงาช้าง เปลือกยาวเรียว โค้งเล็กน้อยคล้ายงาช้าง
- ชั้นเซฟาโลโปดา เช่น หมึกและหอยงวงช้าง มีเปลือกเป็นแผ่นแบนใส หรือเป็นเปลือกแข็งหุ้มตัว แบ่งเป็นช่องๆ
- Class † Rostroconchia พบเพียงแต่ฟอสซิลคาดว่าน่าจะมีมากกว่า และเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของพวกหอยสองฝา; 1,000 ชนิด (species) ;
- Class † Helcionelloida พบในรูปของฟอสซิลรูปร่างคล้ายหอยทากอาทิเช่น Latouchella
ลำดับวิวัฒนาการของสัตว์ในไฟลั่ม มอลัสกา
Caudofoveata (?) | |||||
Aplacophora | |||||
hypothetical | Polyplacophora | ||||
ancestral | Monoplacophora | ||||
mollusk | หอยฝาเดียว (Gastropoda) | ||||
หมึก (Cephalopoda) | |||||
หอยสองฝา (Bivalvia) | |||||
Scaphopoda |
ในการจัดจำแนกในระดับ ไฟลั่มนั้นสามารถแบ่งสัตว์นี้ออกได้ตามลักษณะของชั้นเนื้อ
- ระบบประสาท (Nervous System) มีสมอง
- ระบบขับถ่าย (Excretory System) ใช้ เนฟริเดียม (nephridium)
- ระบบไหลเวียนเลือดเป็นแบบเปิด (Open Circulatory System) ยกเว้นปลาหมึก จะเป็นระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด (Close Circulatory System)
- ระบบการหายใจ (Respiratory System) ใช้เหงือก หรือ ปอด (ในพวกที่อาศัยบนบก)
- ระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) เป็นแบบสมบูรณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChapman 2009
- Brusca & Brusca (1990). Invertebrates. Sunderland, Mass.: Sinauer Associates.
- Starr & Taggart (2002). Biology: The Unity and Diversity of Life. Pacific Grove, California: Thomson Learning.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มอลลัสกา ภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์