ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาจีนกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mandarin Chinese)
ภาษาจีนกลาง
官话/官話 กวานฮว่า
汉语/漢語 ฮั่นยวี่
华语/華語 ฮวายวี่
กวานฮว่า (แมนดาริน) เขียนด้วยอักษรจีน (ซ้ายอักษรจีนตัวย่อ ขวาอักษรจีนตัวเต็ม)
ประเทศที่มีการพูดสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และชุมชนจีนอื่นทั่วโลก
ภูมิภาคตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ ของจีน
จำนวนผู้พูด920 ล้านคน  (2017)
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ผู้วางระเบียบในสาธารณรัฐประชาชนจีน: องค์กรต่าง ๆ
ในสาธารณรัฐจีน: Mandarin Promotion Council
ในสิงคโปร์: Promote Mandarin Council/Speak Mandarin Campaign [1]
รหัสภาษา
ISO 639-1zh
ISO 639-2chi (B)
zho (T)
ISO 639-3cmn

ภาษาจีนกลาง (จีนตัวย่อ: 官话; จีนตัวเต็ม: 官話; พินอิน: Guānhuà) หรือ ภาษาแมนดาริน อังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก

ภาษาจีนกลาง

[แก้]

ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 华语/華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 华人/華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 汉语/漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันเป็นภาษาของชาวฮั่น

ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกสว่า Mandarim (มันดาริม), จากคำในภาษามลายูว่า Menteri (เมินเตอรี), และจากคำในภาษาสันสกฤตว่า Mantrin (มันตริน) หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官话/官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 话/話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น

ในวงแคบคำว่า ภาษาจีนกลาง ในทางภาษาจีนกลางเองเรียก ผู่ทงฮว่า (普通话) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศจีน และ กว๋ออวี่ (國語) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไต้หวันและใช้เป็นภาษากลางในกลุ่มจีนโพ้นทะเลในประเทศมาเลเซีย, สิงค์โปร์ เป็นต้น ในวงกว้างคำว่า เป่ยฟางฮว่า (北方話; "ภาษาพูดทางเหนือ") คือคำประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ทงฮว่าและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียกภาษาประเภทเป่ยฟางฮว่ามีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮว่าก็เป็นพื้นฐานของผู่ทงฮว่าและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮว่าครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮว่าส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮว่าจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อาศัยอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ

เหมือนกับภาษาอื่น ๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin, คำว่า "ผู่ทงฮว่า" ในภาษาอังกฤษเรียกแบบเต็ม ว่า Standard Chinese หรือ Standard Mandarin และ "กั๋วอวี่" เรียกว่า Standard Taiwanese Mandarin

ภาษาถิ่น

[แก้]

นักภาษาศาสตร์หลี่หยง ได้จำแนกภาษาจีนกลางไว้ทั้งหมดเป็นแปดถิ่นใหญ่ โดยแบ่งเอาไว้ดังนี้

กลุ่มภาษาถิ่น พื้นที่ที่ใช้
ภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเหลียวหนิงตอนในและตอนเหนือ, มณฑลเฮย์หลงเจียงและมณฑลจี๋หลินส่วนใหญ่, เขตปกครองตนเองมองโกเลียในฝั่งตะวันออก
ภาษาจีนมาตรฐาน ปักกิ่ง, เทียนจิน (บริเวณอำเภอต้ากัง), มณฑลเหอเป่ย์จากเป่าติ้งถึงโบซู (ยกเว้นจางเจี๋ยโกว), มณฑลเหลียวหนิงตะวันตก, เขตปกครองตนเองมองโกเลียในบริเวณชีเฟิงและพื้นที่อื่น ๆ
ภาษาจีนกลางเจียวเหลียว มณฑลเหลียวหนิงบริเวณคาบสมุทรเหลียวตง, มณฑลชานตงบริเวณคาบสมุทรเหลียวตง
ภาษาจีนกลางจี้หลู่ เทียนจินบริเวณอำเภอต้ากัง, มณฑลเหอเป่ย์จากฉือเจียจวงถึงชางโจว (ยกเว้นเมืองฮานดัง), มณฑลชานตงตะวันตก(รวมถึงจี่หนานและเต๋อโจว)
ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลกานซู่ตอนเหนือ, เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยตอนเหนือ, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
ภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง มณฑลเหอหนาน, มณฑลชานตงตะวันตกเฉียงใต้, มณฑลอานฮุยตอนเหนือ, มณฑลเจียงซูภูมิภาคซูโจว, มณฑลฉ่านซีรวมถึงกว่างซง และพื้นที่ส่วนใหญ่ของช่านัน, มณฑลชานซีตะวันตกเฉียงใต้, เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย, มณฑลกานซู่ตอนใต้, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ตะวันตกเฉียงใต้, มณฑลชิงไห่ตะวันออก
ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ มณฑลเสฉวน, ฉงชิ่ง, มณฑลยูนนาน, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลหูเป่ย์ส่วนใหญ่, มณฑลหูหนานฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงตอนเหนือ, มณฑลฉ่านซีตอนใต้
ภาษาจีนกลางใต้แม่น้ำแยงซี มณฑลอานฮุยตอนกลาง, มณฑลเจียงซูตอนกลาง, มณฑลหูเป่ย์ตะวันออก, มณฑลเจียงซีในเขตหยานเจียง

อ้างอิง

[แก้]
  • Chao, Yuen Ren (1968). A Grammar of Spoken Chinese. University of California Press. ISBN 0-520-00219-9.
  • Norman, Jerry (1988). Chinese. Cambridge University Press. ISBN 0-521-29653-6.
  • Rahgffmsey, S. Robert (1987). The Languages of China. Princeton University Press. ISBN 0-691-01468-X.