ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพอากาศ (แวร์มัคท์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Luftwaffe)
ลุฟท์วัฟเฟอ
อินทรีลุฟท์วัฟเฟอ
ประจำการ1935–1945
ประเทศ ไรช์เยอรมัน
รูปแบบกองทัพอากาศ
กำลังรบอากาศยาน: 119,871[1]
กำลังพล: 3.4 ล้าน[2]
ขึ้นกับแวร์มัคท์
กองบัญชาการกองบัญชาการใหญ่กองทัพอากาศ
ปฏิบัติการสำคัญสงครามกลางเมืองสเปน
สงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญจอมพลไรช์ แฮร์มันน์ เกอริง
จอมพล โรแบร์ท ฟอน ไกรม์
เครื่องหมายสังกัด
บัลเคินคร็อยซ์
(ตำแหน่งบนปีก)[3]
ฮันเคินคร็อยซ์
(ตำแหน่งครีบหาง)[4]

ลุฟท์วัฟเฟอ (เยอรมัน: Luftwaffe) คือกองทัพอากาศของนาซีเยอรมนี จัดตั้งในปี 1935 นับเป็นกองทัพอากาศแรกของเยอรมนีในรอบสิบห้าปีนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากสนธิสัญญาแวร์ซายห้ามเยอรมนีมีกองกำลังทางอากาศ

ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม นักบินเยอรมันได้รับการฝึกฝนกันอย่างลับๆโดยละเมิดสนธิสัญญาที่ฐานทัพอากาศลีแพ็ส (Lipetsk) การก้าวขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซีและละเลยสนธิสัญญาแวร์ซาย ลุฟท์วัฟเฟอได้ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1935, หน่วยทหารนกแร้ง หน่วยกองกำลังย่อยของลุฟท์วัฟเฟอซึ่งได้ถูกส่งออกไปเพื่อช่วยเหลือกองกำลังฝ่ายชาตินิยมในสงครามกลางเมืองสเปน ได้มีข้อกำหนดบังคับกับการทดสอบที่มีประโยชน์สำหรับกฏเกณฑ์ใหม่และเครื่องบินรบ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์การสู้รบครั้งนี้ ลุฟท์วัฟเฟอได้กลายเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่มีความซับซ้อน เทคโนโลยีชั้นสูง และมีประสบการณ์การสู้รบมากที่สุดในโลกเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้อุบัติขึ้นในปี ค.ศ. 1939 ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1939 ลุฟท์วัฟเฟอได้มีอยู่ทั้งหมด 28 เกสวาเดอร์ (Geschwader) (ปีก) ลุฟท์วัฟเฟอยังได้มีหน่วยทหารโดดร่มฟัลเชียร์มเยเกอร์

ลุฟท์วัฟเฟอได้แสดงพิสูจน์ให้เห็นถึงชัยชนะเหนือโปแลนด์และยุโรปตะวันตกในปี ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1940 ในช่วงยุทธการที่บริเตน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF) และในช่วงภายหลังเดอะบลิตซ์ ได้ทำลายล้างเมืองอังกฤษหลายแห่ง กองทัพอากาศเยอรมันได้ล้มเหลวในการรบเร้าอังกฤษเพื่อที่จะให้ยอมจำนนแต่โดยดี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 การทัพทางอากาศเพื่อทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ค่อยๆทำลายเครื่องบินรบขับไล่ของลุฟท์วัฟเฟอ ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 ลุฟท์วัฟเฟอได้ใช้กองกำลังทางภาคพื้นดินที่มีเหลือ หน่วยสนับสนุนและบุคลากรอื่นๆเพื่อจัดตั้งกองพลสนามลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe Field Division)

นอกเหนือจากได้ทำหน้าที่ในด้านตะวันตก ลุฟท์วัฟเฟอได้ออกปฏิบัติการตั้งแต่สหภาพโซเวียต แอฟริกาเหนือ และยุโรปทางตอนใต้ แม้ว่าจะมีความล่าช้าในการใช้เทอร์โบเจ็ทขั้นสูงและเครื่องบินรบขับเคลื่อนไอพ่นเพื่อทำลายฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร ลุฟท์วัฟเฟอต้องพบความพ่ายแพ่โดยจำนวนที่เหนือกว่าของฝ่ายสัมพันธมิตร และกลยุทธ์ที่ดีขึ้น และขาดแคลนการฝึกนักบินและเชื้อเพลิงเครื่องบิน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ในช่วงการปิดฉากของยุทธการตอกลิ่ม ลุฟท์วัฟเฟอได้พยายามเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อที่จะเอาชนะทางอากาศที่เหนือกว่าและต้องพบกับความล้มเหลว ด้วยทรัพยากรที่เหลือได้หมดลงอย่างรวดเร็วของเชื้อเพลิงปิโตเลียม น้ำมัน และน้ำมันหล่อลื่นภายหลังการทัพครั้งนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่มีเหลือทั้งหมดของแวร์มัคท์ ลุฟท์วัฟเฟอได้สิ้นสุดของการเป็นกองกำลังสู้รบที่มีประสิทธิภาพ หลังความปราชัยของเยอรมนี ลุฟท์วัฟเฟอได้ถูกยุบในปี ค.ศ. 1946 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นักบินเยอรมันได้กล่าวอ้างว่าได้รับชัยชนะทางอากาศมาประมาณ 70,000 ครั้ง ในขณะที่เครื่องบินรบของลุฟท์วัฟเฟอทั้งหมด 75,000 ลำได้ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในส่วนนี้, จำนวนเกือบ 40,000 นายได้สูญหายไปทั้งหมด ลุฟท์วัฟเฟอได้มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงสองคนในประวัติศาตร์ตลอดกาล: แฮร์มันน์ เกอริง และ คนสุดท้าย จอมพลไรช์ โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์ กองบัญชาการใหญ่กองทัพอากาศเยอรมัน (Oberkommando der Luftwaffe-OKL) ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองมนุษย์ของนาซี และทหารทางภาคพื้นดินของลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการสังหารหมู่ในอิตาลี กรีซ และโปแลนด์

ยศทหารอากาศแวร์มัคท์

[แก้]

ชั้นนายพล (Generäle)

[แก้]

ชั้นสัญญาบัตร (Offiziere)

[แก้]
  • พันเอก (Oberst)
  • พันโท (Oberstleutnant)
  • พันตรี (Major)
  • ร้อยเอก (Hauptmann)
  • ร้อยโท (Oberleutnant)
  • ร้อยตรี (Leutnant)

ชั้นประทวนคาดกระบี่ (Unteroffiziere mit Portepee)

[แก้]
  • จ่าสิบเอก (Stabsfeldwebel)
  • จ่าสิบโท (Oberfeldwebel)
  • จ่าสิบตรี (Feldwebel)

ชั้นประทวนไม่คาดกระบี่ (Unteroffiziere ohne Portepee)

[แก้]
  • สิบเอกพิเศษ (Unterfeldwebel)
  • สิบเอก (Unteroffizier)

ชั้นกองประจำการ (Mannschaften)

[แก้]
  • สิบโทกองประจำการ (Stabsgefreiter)
  • สิบตรีพิเศษกองประจำการ (Hauptgefreiter) (เลิกใช้ในปี 1944)
  • สิบตรีกองประจำการ (Obergefreiter)
  • สิบจัตวากองประจำการ (Gefreiter)
  • พลทหารอากาศ (Flieger)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tom Philo. "WWII production figures". Taphilo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-09. สืบค้นเมื่อ April 26, 2014.
  2. Jason Pipes (2008). "Statistics and Numbers". Feldgrau.com. สืบค้นเมื่อ April 26, 2014.
  3. Hartmann, Bert. "Luftarchiv.de - Kennzeichen - Allgemein, Abb.4 - Balkenkreuz auf Flügeloberseite". Luftarchiv.de. สืบค้นเมื่อ April 15, 2018.
  4. Hartmann, Bert. "Luftarchiv.de - Kennzeichen - Varianten des Hakenkreuzes, Abb.2". Luftarchiv.de. สืบค้นเมื่อ April 14, 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bekkerm Cajus. Angriffshohe 4000 (in German). Munich, Germany: Heyne, 1964.
  • Bergström, Christer, Barbarossa: The Air Battle: July–December 1941. London: Chevron/Ian Allan, 2007. ISBN 978-1-85780-270-2.
  • Bergstrom, Christer. Stalingrad: The Air Battle: November 1942 – February 1943. London: Chevron/Ian Allan, 2008. ISBN 978-1-85780-276-4.
  • Bergström, Christer, Kursk: The Air Battle: July 1943. London: Chevron/Ian Allan, 2008. ISBN 978-1-903223-88-8.
  • Bergström, Christer and Andrey Mikhailov. Black Cross/Red Star-Vol. 1, Operation Barbarossa 1941. London:


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]