ชั่วรุ่น
ชั่วรุ่น (อังกฤษ: generation) หมายถึง "ทุกคนที่เกิดและมีชีวิตอยู่ในเวลาเดียวกัน โดยเรียกรวมกัน" สามารถอธิบายได้ว่าเป็น "ช่วงเวลาเฉลี่ยซึ่งมีเด็กเกิดและเติบโตขึ้น กลายเป็นผู้ใหญ่ และเริ่มมีบุตรของตนเอง โดยทั่วไปถือว่าประมาณสามสิบปี"[1] ในศัพท์ด้านเครือญาติ คำนี้เป็นคำโครงสร้างที่ใช้เรียกความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต, การสืบพันธุ์ หรือ การให้กำเนิดในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
คำว่า ชั่วรุ่น ยังมักใช้สมนัยกับคำว่า รุ่น (cohort) ในวิชาสังคมศาสตร์ ภายใต้การบัญญัตินี้หมายถึง "คนที่อยู่ในกลุ่มประชากรที่อธิบายซึ่งประสบเหตุการณ์สำคัญเดียวกันภายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ"[2] ชั่วรุ่นในความหมายของรุ่นการเกิดนี้ หรือเรียก "ชั่วรุ่นสังคม" มีการใช้อย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมสมัยนิยม และเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา การวิเคราะห์ชั่วรุ่นอย่างจริงจังเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยถือกำเนิดจากมีความตื่นตัวต่อโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถาวรเพิ่มขึ้น และความคิดกบฏเยาวชนต่อระเบียบสังคมที่สถาปนาแล้ว นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าชั่วรุ่นเป็นประเภททางสังคมหลักมูลอย่างหนึ่งในสังคม บ้างก็มองว่าความสำคัญของชั่วรุ่นมีน้อยกว่าปัจจัยอื่นอย่างชนชั้น เพศ เชื้อชาติ การศึกษา เป็นต้น
ทฤษฎีชั่วรุ่น
[แก้]แม้มโนทัศน์ชั่วรุ่นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และพบได้ในวรรณกรรมสมัยโบราณ[3] แต่ยังมีมิติทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาในแง่ของความเป็นส่วนหนึ่งและอัตลักษณ์ที่อาจใช้นิยามชั่วรุ่น มโนทัศน์ชั่วรุ่นสามารถใช้เพื่อหารุ่นเกิดหนึ่ง ๆ ในพฤติการณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจำเพาะได้ เช่น "เบบีบูมเมอร์"[3]
นักประวัติศาสตร์ ฮันส์ เยเกอร์ แสดงให้เห็นว่าในประวัติศาสตร์อันยาวนานนี้ มีสำนักคิดสองแห่งรวมกันเกี่ยวกับการเกิดชั่วรุ่น คือ "สมมติฐานอัตราชีพจร" และ "สมมติฐานประทับ"[4] สมมติฐานอัตราชีพจรระบุว่า ประชากรทั้งหมดของสังคมหนึ่งสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มรุ่นที่ไม่ซ้อนทับกัน ซึ่งแต่ละรุ่นมี "บุคลิกภาพเสมอกัน" ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะรุ่นเพราะช่วงเวลาที่แต่ละรุ่นบรรลุนิติภาวะ[5] การเคลื่อนไหวของรุ่นเหล่านี้จากช่วงชีวิตหนึ่งไปอีกช่วงหนึ่งจะสร้างวัฏจักรเวียนซ้ำซึ่งก่อกำเนิดประวัติศาสตร์ของสังคมนั้น ปัจจุบันตัวอย่างทฤษฎีชั่วรุ่นแบบอัตราชีพจรที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ ทฤษฎีชั่วรุ่นสเตราส์-ฮาว
นักสังคมศาสตร์มักปฏิเสธสมมติฐานอัตราชีพจร โดยเยเกอร์อธิบายว่า "ผลลัพธ์รูปธรรมของทฤษฎีอัตราชีพจรสากลของประวัติศาสตร์นั้นมีน้อยมาก โดยมีข้อยกเว้นน้อย และเหตุผลเดียวกันกับทฤษฎีอัตราชีพจรบางส่วน เนื่องจากทฤษฎีทั้งสองโดยทั่วไปเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่มีความรู้หลักการสถิติศาสตร์ใด ๆ ผู้ประพันธ์มักสังเกตได้น้อยถึงขอบเขตของป่าชื่อและจำนวนที่ทฤษฎีนำเสนอขาดการจัดระเบียบตามชั่วรุ่นที่น่าเชื่อถือ"[6]
นักสังคมศาสตร์ยึดถือ "สมมติฐานรอยประทับ" ของชั่วรุ่น ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงทฤษฎีชั่วรุ่นของคาร์ล มันน์ไฮม์ สมมิตฐานรอยประทับกล่าวว่า ชั่วรุ่นเกิดจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เจาะจงซึ่งทำให้คนหนุ่มสาวรับรู้โลกแตกต่างจากผู้สูงอายุในเวลานั้น ฉะนั้นทุกคนอาจไม่เป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่น แต่เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์สังคมและชีวประวัติที่ไม่เหมือนชั่วรุ่นอื่นของช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ร่วมกันเท่านั้นที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "ชั่วรุ่นตามที่เป็นจริง"[7] เมื่อยึดถือสมมติฐานรอยประทับ นักสังคมศาสตร์เผชิญกับความท้าทายหลายประการ พวกเขาไม่สามารถยอมรับการติดชื่อและขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นที่มาจากสมมติฐานอัตาชีพจรได้ (เช่น เจนะเรชันเอ็กซ์หรือมิลเลเนียล) แต่ขอบเขตลำดับเวลาของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินแบบอุปนัยและการจัดว่าผู้ใดเป็นส่วนหนึ่งของชั่วรุ่นจะต้องตัดสินผ่านการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ[8]
ทุกชั่วรุ่นมีความเหมือนและต่างกัน รายงานสำนักวิจัยพิวปี 2550 ชื่อ "Millennials: Confident. Connected. Open to Change" สังเกตความท้าทายของชั่วรุ่นที่กำลังศึกษา โดยว่า "การวิเคราะห์ชั่วรุ่นมีที่ทางอย่างยาวนานและพิเศษในวิชาสังคมศาสตร์ และเราเข้าร่วมกับนักวิชาการเหล่านั้นที่เชื่อว่าไม่เพียงแต่เป็นไปได้เท่านั้น แต่มักให้ความกระจ่างอย่างสูง ในการค้นหาคุณลักษณะเอกลักษณ์และใช้แยกแยะกลุ่มอายุชาวอเมริกันใด ๆ แต่เรายังรู้ว่านี่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่แน่นอน เราให้ความสนใจว่ามีความแตกต่างมากในทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรมและวิถีชีวิตภายในชั่วรุ่นหนึ่งเช่นเดียวกับมีความแตกต่างระหว่างชั่วรุ่น แต่เราเชื่อว่าความเป็นจริงนี้ไม่ลดทอนคุณค่าของการวิเคราะห์ชั่วรุ่น เพียงแต่เพิ่มความน่าพึงใจและความซับซ้อนของชั่วรุ่นเท่านั้น"[9] ทฤษฎีชั่วรุ่นอีกส่วนหนึ่งคือการรับรู้วิธีที่เยาวชนมีประสบการณ์ต่อชั่วรุ่นของตนเอง และวิธีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโลกส่วนที่พวกเขาอาศัยอยู่ "การวิเคราะห์ประสบการณ์ของเยาวชนในสถานที่มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจกระบวนการแยกปัจเจก ความไม่เสมอภาคและของชั่วรุ่นที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น"[10] การสามารถมองอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในวัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อยของเยาวชนในต่างกาละและเทศะเพิ่มส่วนเพิ่มเติมในการทำความเข้าใจชีวิตประจำวัรของเยาวชน ซึ่งทำให้ทำความเข้าใจเยาวชนได้ดีขึ้น และวิธีที่ชั่วรุ่นและสถานที่มีบทบาทในพัฒนาการของพวกเขา[11]
สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าลากขอบเขตรุ่นการเกิดที่ใด แต่สำคัญที่ปัจเจกและสังคมตีความขอบเขตดังกล่าวอย่างไร และการแบ่งอาจก่อให้เกิดกระบวนการและผลลัพธ์อย่างไร ทว่า การจัดหมวดรุ่นอายุมีประโยชน์ต่อนักวิจัยเพื่อประโยชน์ในการสร้างขอบเขตในงานของตน[12]
ความตึงเครียดของชั่วรุ่น
[แก้]นอร์แมน ไรเดอร์ เขียนใน บทปฏิทัศน์สังคมวิทยาอเมริกา ในปี 2508 เผยแพร่แก่วิชาสังคมวิทยาในเรื่องความขัดแย้งระหว่างชั่วรุ่นโดยเสนอว่าสังคม "ยังคงอยู่แม้สมาชิกปัจเจกของสังคมเสียชีวิต ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมประชากรศาสตร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มรุ่นเกิดประจำปี" เขาแย้งว่าชั่วรุ่นบางทีอาจเป็น "ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพ" แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของ "โอกาสสำหรับการแปลงสภาพสังคม"[13] ไรเดอร์พยายามเข้าใจพลวัตที่มีบทบาทระหว่างชั่วรุ่น
ในเรียงความปี 2550 ที่ตีพิมพ์ใน วารสารปัญหาสังคม อะแมนดา เกรนิเยร์เสนอคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความตึงเครียดของชั่วรุ่น เกรนิเยร์ยืนยันว่าชั่วรุ่นต่าง ๆ พัฒนาแบบจำลองภาษาของตนเองซึ่งเอื้อต่อความเข้าใจผิดระหว่างรุ่นอายุ "คนสูงอายุและอายุน้อยมีวิธีพูดต่างกัน และอาจอธิบายบางส่วนได้จากจุดอ้างอิงในประวัติศาสตร์สังคม ประสบการณ์ที่ตัดสินทางวัฒนธรรมและการตีความของปัจเจก"[14]
คาร์ล มันน์ไฮม์ เขียนในหนังสือ เรียงความว่าด้วยสังคมวิทยาแห่งความรู้ เมื่อปี 2495 ยืนยันความเชื่อว่าบุคคลก่อรูปร่างขึ้นจากประสบการณ์มีชีวิตอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ฮาวและสเตราส์ยังเขียนเรื่องความคล้ายกันของบุคคลในชั่วรุ่นหนึ่งว่ามีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากวิธีที่ประสบการณ์มีชีวิตเหล่านี้ก่อกำเนิดชั่วรุ่นในแง่ค่านิยม ผลคือชั่วรุ่นใหม่จะคัดค้านค่านิยมของชั่วรุ่นเก่ากว่าทำให้เกิดความตึงเครียด การคัดค้านดังกล่าวระหว่างรุ่นและความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นจุดนิยามสำหรับการทำความเข้าใจชั่วรุ่นและสิ่งที่แยกชั่วรุ่นต่าง ๆ[15]
รายการของรุ่น
[แก้]โลกตะวันตก
[แก้]"โลกตะวันตก" สามารถนับรวมทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ อาจมีการแปรผันได้มากในภูมิภาคเหล่านี้ทั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม หมายความว่า รายการนี้กล่าวโดยรวม ๆ เท่านั้น การระบุลักษณะร่วมสมัยของรุ่นเหล่านี้มีใช้ในสื่อและโฆษณายืมไปใช้ โดยทั่วไปถือตรรกะของสมมติฐานอัตราชีพจร[16]
- ลอสเจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นที่สาบสูญ") หรือเรียก เจเนอเรชัน ค.ศ. 1914 ในทวีปยุโรป[17] เป็นคำที่เกอร์ทรูด สไตน์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบายผู้ที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกลอสเจเนอรชันตรงแบบเกิดระหว่างปี 2426 ถึง 2443 สมาชิกทั้งหมดของรุ่นนี้เท่าที่ทราบเสียชีวิตแล้ว
- เกรติสต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นยิ่งใหญ่ที่สุด") หรือเรียก "จีไอเจเนอเรชัน"[18] ได้แก่บุคคลที่รวมทหารผ่านศึกที่รบในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดระหว่างปี 2444 ถึง 2470[19] และบรรลุนิติภาวะระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นักหนังสือพิมพ์ ทอม โบรคอ เขียนเกี่ยวกับสมาชิกอเมริกันของรุ่นนี้ในหนังสือ เดอะเกรติสต์เจเนอเรชัน ซึ่งทำให้คำนี้แพร่หลาย[20]
- ไซเลนต์เจเนอเรชัน ("ชั่วรุ่นเงียบ") หรือเรียก ลักกีฟิว (คนส่วนน้อยผู้โชคดี) ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2468 ถึง 2485[21] ประกอบด้วยบางคนที่ต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เข้าร่วมสงครามเกาหลีส่วนใหญ่ และอีกหลายคนในช่วงสงครามเวียดนาม
- เบบีบูมเมอร์ ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันดับเบิลยู[22] หรือ มีเจเนอเรชัน เป็นรุ่นที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตรงแบบเกิดตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2507 อัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้นถูกพบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้พวกเขาเป็นรุ่นประชากรศาสตร์ที่ค่อนข้างใหญ่[23][24]
- เจเนอเรชันเอกซ์ มักย่อเป็น เจ็นเอ็กซ์ เป็นรุ่นต่อจากเบบีบูมเมอร์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ปีเกิดช่วงตั้งแต่ต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 และสิ้นสุดปีเกิดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 คำดังกล่าวมีใช้ในต่างกาละและเทศะสำหรับวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมต่อต้านต่าง ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950
- ในสหรัฐ บางคนเรียกคนชั่วรุ่นนี้ว่า รุ่น "เบบีบัสต์" เนื่องจากอัตราการเกิดลดลงหลังเบบีบูม[25] อัตราการมีบุตรของประชากรในสหรัฐเริ่มลดลงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 แต่นักประพันธ์ วิลเลียม สเตราส์ และนีล ฮาว (ซึ่งใช้นิยามช่วงปีเกิดยี่สิบปี ตั้งแต่ปี 2504 ถึง 2524) โดย 2534 มีรุ่นเอ็กซ์ประมาณ 88.5 ล้านคนในสหรัฐ[26]
- มิลเลนเนียล ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม เจเนอเรชันวาย[27] เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังเจเนอเรชันเอ็กซ์ นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นปีเกิดตั้งต้น จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดสิ้นสุด สำนักวิจัยพิวระบุว่า มิลเลเนียลจะมีจำนวนมากกว่าเบบีบูมเมอร์ในสหรัฐในปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะมีรุ่นบูมเมอร์ 72 ล้านคนและมิลเลนเนียล 73 ล้านคน[28]
- เจเนอเรชันซี เป็นรุ่นประชากรที่เกิดหลังมิลเลนเนียล นักประชากรศาสตร์และนักวิจัยมักใช้ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นปีเกิดตั้งต้น[29] แต่แทบไม่มีความเห็นตรงกันในเรื่องปีเกิดสิ้นสุด
พื้นที่อื่น
[แก้]- ในเช็กเกียและสโลวาเกีย ชั่วรุ่นประชากรที่เกิดในเชโกสโลวาเกียระหว่างสมัยเบบีบูม ซึ่งเริ่มในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ระหว่างสมัย "การทำให้เป็นปรกติ" ชั่วรุ่นนี้เรียก "บุตรฮูซาก" ซึ่งเป็นชื่อของประธานาธิบดีและผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ดำรงตำแหน่งอย่างยาวนานของเชโกสโลวาเกีย[30]
- ในสาธารณรัฐประชาชนจีน "ปาหลิงโฮ่ว" (八零后, หลังปี 80) หมายถึงผู้ที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในเขตเมืองของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยเติบโตขึ้นในประเทศจีนสมัยใหม่ คนชั่วรุ่นนี้จึงมีลักษณะมองอนาคตในแง่ดี มีความตื่นเต้นที่พบใหม่ต่อลัทธิบริโภคนิยมและการเป็นผู้ประกอบการ และยอมรับบทบาทประวัติศาสตร์ของพวกตนในการเปลี่ยนสภาพจีนสมัยใหม่ให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ[31] นอกจากนี้ยังมี "จิ่วหลิงโฮ่ว" (九零后, หลังปี 90) ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นและนักศึกษามหาวิทยาลัยสมัยใหม่ การจำแนกชั่วรุ่นในวงกว้างขึ้นอาจเป็น "ชั่วรุ่นลูกคนเดียว" ที่เกิดระหว่างการใช้นโยบายลูกคนเดียวในปี 2523 ก่อนมีการผ่อนปรนเป็น "นโยบายลูกสองคน" ในปี 2556 การขาดพี่น้องมีผลทางจิตวิทยาใหญ่หลวงในชั่วรุ่นนี้ อย่างเช่น อัตนิยมเนื่องจากเป็นจุดสนใจของบิดามารดาเสมอ เช่นเดียวกับความเครียดของการเป็นผู้ดูแลบิดามารดายามเกษียณคนเดียวด้วย
- ในประเทศโรมาเนีย ประชากรที่เกิดในปี 2532 เรียก "ชั่วรุ่นปฏิวัติ" เพราะคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปีนั้น และยังมีกลุ่มประชากรเรียก "Decrețeii" หมายถึงผู้ที่เกิดระหว่างที่ระบอบคอมมิวนิสต์ใช้กฤษฎีกา 770 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2532
- ในเกาหลีใต้ รุ่นชั่วรุ่นมักนิยามตามการทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย โดยมีการเสนอการนับหลายอย่างรวมทั้งชื่ออย่าง "ชั่วรุ่นประชาธิปไตย" ชั่วรุ่น 386[32][33] (ซึ่งได้ชื่อตามคอมพิวเตอร์อินเทล 386 ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ใช้อธิบายบุคคลที่มีอายุปลาย 30 และต้น 40 ซึ่งเกิดในคริสต์ทศวรรษ 1960 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในคริสต์ทศวรรษ 1980 หรือเรียก "ชั่วรุ่น 3 มิถุนายน 1987") ซึ่งรู้เห็นการก่อการกำเริบเดือนมิถุนายน "ชั่วรุ่น 19 เมษายน" (ซึ่งต่อสู้กับระบอบซึง-มัน รีในปี 2503), "ชั่วรุ่น 3 กรกฎาคม" (ซึ่งต่อสู้กับสนธิสัญญาการทำให้ปรกติกับญี่ปุ่นในปี 2507), "ชั่วรุ่น 2512" (ซึ่งต่อสู้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้สามสมัย) และชั่วรุ่นชิน-เซ-แด ("ใหม่")[33][34][35]
- ในประเทศไต้หวัน คำว่า "สตรอว์เบอร์รีเจเนอเรชัน" หมายถึงชาวไต้หวันที่เกิดหลังปี 2524 ซึ่ง "บอบช้ำง่าย" เหมือนกับสตรอว์เบอร์รี หมายความว่า พวกเขาไม่สามารถทนแรงกดดันทางสังคมหรือทำงานหนักได้เหมือนกับชั่วรุ่นบิดามารดา คำนี้ใช้กับผู้ที่ไม่ยอมอยู่ใต้บัญชา ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ เห็นแก่ตัว โอหัง และทำงานแบบขี้เกียจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ generation. Dictionary.com. Dictionary.com Unabridged. Random House, Inc. http://www.dictionary.com/browse/generation (accessed: 22 December 2016).
- ↑ Pilcher, Jane (September 1994). "Mannheim's Sociology of Generations: An undervalued legacy" (PDF). British Journal of Sociology. 45 (3): 481–495. doi:10.2307/591659. JSTOR 591659. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ 3.0 3.1 Biggs, Simon (2007). "Thinking about generations: Conceptual positions and policy implications". Journal of Social Issues. 63 (4): 695–711. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00531.x.
- ↑ Jaeger, Hans (1985). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept" (PDF). History and Theory. 24 (3): 273–292. doi:10.2307/2505170. JSTOR 2505170.
- ↑ Strauss, William; Howe, Neil (1991). Generations: The History of America's Future, 1584–2069. New York: Harper.
- ↑ Jaeger, Hans (1885). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept" (PDF). History and Theory. 24 (3): 283.
- ↑ Mannheim, Karl (1952). "The Problem of Generations". ใน Kecskemeti, Paul (บ.ก.). Essays on the Sociology of Knowledge: Collected Works, Volume 5. New York: Routledge. p. 276–322.
- ↑ Hart-Brinson, Peter (2018). The Gay Marriage Generation: How the LGBTQ Movement Transformed American Culture. New York: NYU Press.
- ↑ Taylor, P. & Keeter, S. (Eds.) (24 กุมภาพันธ์ 2010). "The Millennials. Confident, Connected. Open to Change". p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Dan Woodman, Johanna Wyn (2015). Youth and Generation. Los Angeles, London, New Delhi, Singapore, Washington DC: Sage. p. 164. ISBN 978-1-4462-5904-7.
- ↑ Woodman, Dan; Wyn, Johanna (2015). Youth and Generation Rethinking Change and Inequity in the Lives of Young People. London: Sage Publications Ltd. p. 122. ISBN 978-1-4462-5904-7.
- ↑ Grenier, Amanda (2007). "Crossing age and generational boundaries: Exploring intergenerational research encounters". Journal of Social Issues. 63 (4): 713–727. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00532.x.
- ↑ Ryder, Norman (1965). "The cohort as a concept in the study of social change". American Sociological Review. 30 (6): 843–861. doi:10.2307/2090964. JSTOR 2090964.
- ↑ Grenier, Amanda (2007). "Crossing age and generational boundaries: Exploring intergenerational research encounters". Journal of Social Issues. 63 (4): 718. doi:10.1111/j.1540-4560.2007.00532.x.
- ↑ Mannheim, Karl. (1952) 'The problem of generations', in K. Mannheim, Essays on the Sociology of Knowledge, London: RKP
- ↑ Jaeger, Hans (1985). "Generations in History: Reflections on a Controversial Concept". History and Theory. 24 (3): 273–292. doi:10.2307/2505170. JSTOR 2505170.
- ↑ Wohl, Robert (1979). The generation of 1914. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-34466-2.
- ↑ Safire, William (28 November 2008). "Generation What?". The New York Times Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ "The Generation Gap in American Politics" (PDF). Pew Research Center. March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Hunt, Tristram (6 June 2004). "One last time they gather, the Greatest Generation". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 24 August 2009.
- ↑ Strauss, William; Neil Howe (1991). Generations: The History of Americas Future, 1584 to 2069. New York: Harper Perennial. p. 279. ISBN 978-0-688-11912-6.
- ↑ https://books.google.ca/books?id=_xuFDwAAQBAJ&pg=PT182
- ↑ See:
- Brandon, Emily. "The Youngest Baby Boomers Turn 50". US News & World Report. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
- "Baby Boomers". History.com. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
- Fry, Richard. "This year, Millennials will overtake Baby Boomers". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
- Howe, Neil; Strauss, William (1991). Generations: The History of Americas Future, 1584 to 2069. New York: William Morrow. pp. 299–316. ISBN 978-0-688-11912-6.
- Owram, Doug (1997). Born at the Right Time. Toronto: Univ Of Toronto Press. p. xiv. ISBN 978-0-8020-8086-8.
- Jones, Landon (1980). Great Expectations: America and the Baby Boom Generation. New York: Coward, McCann and Geoghegan.
- ↑ U.S. Census Bureau
- ↑ Encyclopedia of Identity By Ronald L. Jackson, II
- ↑ William Strauss, Neil Howe (1991). Generations. New York: Harper Perennial. p. 318. ISBN 978-0-688-11912-6.
- ↑ Horovitz, Bruce (4 May 2012). "After Gen X, Millennials, what should next generation be?". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-20. สืบค้นเมื่อ 24 November 2012.
- ↑ "Pew Research Center, from Statistics Provided by US Dept. Health and Human Services". Millennials projected to overtake Baby Boomers as America’s largest generation. Pew Research Center. 1 March 2018. สืบค้นเมื่อ 9 August 2018.
- ↑ Dimock, Michael. "Defining generations: Where Millennials end and Generation Z begins". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
- ↑ "Baby boom and immigration prop up Czech population | Aktuálně.cz". Aktuálně.cz - Víte, co se právě děje (ภาษาเช็ก). 2007-09-20. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
- ↑ Yan, Yunxiang (2006). "Little Emperors or Frail Pragmatists? China's '80ers Generation". Current History: A Journal of Contemporary World Affairs. 105 (692): 255–262.
- ↑ "Fiasco of 386 Generation". The Korea Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
- ↑ 33.0 33.1 "Shinsedae: Conservative Attitudes of a 'New Generation' in South Korea and the Impact on the Korean Presidential Election". Eastwestcenter.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
- ↑ "Social cohesion Ideological differences divide generations". The Korea Herald. 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2010.
- ↑ Korea Journal http://www.ekoreajournal.net/upload/pdf/PDF4033M. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Fry, Richard (January 16, 2015). "This Year, Millennials Will Overtake Baby Boomers". Pew Center.
- Ialenti, Vincent (April 6, 2016). "Generation". Cultural Anthropology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
- Ulrike Jureit: Generation, Generationality, Generational Research, version: 2, in: Docupedia Zeitgeschichte, 09. August 2017
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Generations and Population Doublings". optusnet.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
- "Resources on the Generations". McCrindle.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
- "What is Generation Jones?". Wisegeek.com.