หนอนตัวแบน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หนอนตัวแบน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 270–0Ma[1] น่าจะมีบันทึกในยุคแคมเบรียน, ออร์โดวิเชียน และดีโวเนียน[2][3] | |
---|---|
Pseudobiceros bedfordi | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
อาณาจักรย่อย: | ยูเมทาซัว |
เคลด: | พาราฮอกโซซัว |
เคลด: | ไบลาทีเรีย |
เคลด: | เนโฟรซัว |
ไม่ได้จัดลำดับ: | โพรโทสโทเมีย |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Spiralia |
เคลด: | Rouphozoa |
ไฟลัม: | Platyhelminthes Claus, 1887 |
ชั้น | |
ดั้งเดิม: วิวัฒนาการชาติพันธุ์: | |
ชื่อพ้อง | |
|
หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Platyhelminthes) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก
ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร
ลักษณะ
[แก้]Platyhelminthes มาจากภาษากรีกสองคำคือ platy (แปลว่า แบน) และ helminth (แปลว่า หนอน) ซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่น
หนอนตัวแบน เป็นสัตว์จำพวกแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม มีโซเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม แต่ยังไม่มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง ยกเว้นอาจจะพบได้ใน กึ๋น (gut)
ผิวหนังด้านนอก (ectoderm) แตกต่างกันไปโดย พวก Turbellaria มีลักษณะเป็นซีเลียปกคลุม แต่พวก Cestoda และ Trematoda จะเป็นลักษณะของ Culticle ปกคลุมแทน เอ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เป็นเนื้อเยื่อแรกที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย เกิดขึ้นมาเป็นชั้นแรกและอยู่ชั้นนอกสุดของ germ layer กล่าวโดยทั่วไป เอ็กโทเดิร์มเจริญไปเป็นระบบประสาท, หนังกำพร้า, และส่วนนอกของระบบปกคลุมร่างกาย ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เอ็กโทเดิร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ external ectoderm (หรือ surface ectoderm) , นิวรัล เครสต์ (neural crest) , และนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งสองอันหลังนี้เรียกรวมกันว่า นิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm) เมโซเดิร์ม (mesoderm) เจริญขึ้นภายในเอ็มบริโอของสัตว์จำพวกไตรโพลบลาสติก ในระหว่างกระบวนการแกสตรูเลชัน เซลล์บางส่วนที่เคลื่อนที่เข้าไปด้านในจะเจริญไปเป็นเมโซเดิร์มซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเอ็กโทเดิร์มและเอนโดเดิร์มวิวัฒนาการของเมโซเดิร์มเกิดขึ้นมาเมื่อหลายร้อยล้านปีมาแล้วซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่สำคัญที่ทำให้สัตว์มีโครงสร้างที่ซับซ้อนอย่างมาก การเกิดเมโซเดิร์มทำให้มีการเจริญของช่องตัว (coelom) อวัยวะที่สร้างขึ้นภายในช่องตัวสามารถเคลื่อนที่ เจริญเติบโตได้อย่างอิสระโดยไม่มีผนังลำตัวจำกัดและยังมีของเหลวหุ้มช่วยในการป้องกันอันตรายด้วย เมโซเดิร์มเจริญไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง, โครงกระดูก, ชั้นหนังแท้ของผิวหนัง, คริสตัลเลนส์ของตา, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, ระบบสืบพันธุ์และขับถ่ายปัสสาวะ, หัวใจ, เลือด (เซลล์น้ำเหลือง) และม้าม เอนโดเดิร์ม (endoderm) เป็นหนึ่งใน germ layer ที่สร้างขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอของสัตว์ เกิดจากเซลล์เดินทางเข้าด้านในผ่านอาร์เคนเทอรอน (archenteron; ส่วนเจริญเป็นทางเดินอาหาร) เกิดเป็นชั้นด้านในของแกสตรูลา ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเอนโดเดิร์ม ในระยะแรกเอนโดเดิร์มประกอบด้วยชั้นเซลล์แบน ๆ ซึ่งต่อมาจะมีรูปทรงกระบอก (columnar) เนื้อเยื่อชั้นนี้จะสร้างเป็นเนื้อเยื่อบุผิวของท่อทางเดินอาหารทั้งหมด ยกเว้นส่วนปาก คอหอย และส่วนปลายของไส้ตรง (ซึ่งดาดโดยส่วนหวำของเอ็กโทเดิร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างเป็นเซลล์บุของต่อมทั้งหมดที่เปิดออกสู่ท่อทางเดินอาหาร รวมทั้งตับและตับอ่อน เนื้อเยื่อบุผิวของท่อหู (auditory tube) และโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) ได้แก่ ท่อลม, หลอดลม, และถุงลมภายในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, และส่วนของท่อปัสสาวะ ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์และต่อมไทมัส
ระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (digestive system) มีแต่ปาก ไม่มีทวารหนัก
ใช้แฟลมเซลล์ (flame cell) ในการขับถ่าย
ไม่มีระบบหายใจ (Respiratory system) การแลกเปลี่ยนก๊าซใช้การแพร่ผ่านผนังลำตัว
ระบบประสาทแบบวงแหวน (Nerve ring) หรือแบบขั้นบันได แล้วแต่วงศ์ มีปมประสาท (ganglion) บริเวณส่วนหัวมีจุดรวมประสาท และ photorecetor อยู่ในบางชนิด
ไม่มีระบบโครงค้ำจุน
ไม่มีระบบหมุนเวียน (Circulatory system) อาศัยการแลกเปลี่ยนก๊าซและของเสียทางผิวหนังโดยตรง ดังนั้นผิวหนังจึงสร้างความชุ่มชื้นอยู่เสมอ บางชนิดอาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการกำจัดของเสียที่เรียก เนฟิเดีย (nephridia flame cell)
สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยอาศัยการงอกใหม่ (regeneration) และโดยมีอาศัยเพศ แบบสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphodise) และสามารถผสมข้ามตัว หรือผสมภายในตัวเอง แล้วแต่วงศ์ ไข่มีขนาดเล็ก เมื่อผสมแล้วจะปล่อยออกภายนอกตัว มีทั้งที่หากินเป็นอิสระและเป็นปรสิต
การจัดจำแนก
[แก้]ปัจจุบันจำแนกสัตว์ในกลุ่มนี้ออกเป็น 4 ชั้น คือ
- ชั้นทรีมาโตดา (Trematoda) ได้แก่ พยาธิใบไม้ ทุกชนิด ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง เป็นปรสิตทั้งในสัตว์และคน มีหอยน้ำจืดเป็นสื่อกลางในการแพร่พันธุ์
- กลุ่มพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini) ฟักตัวในเลือด
- กลุ่มพยาธิใบไม้ในลำไส้ (Fasciolopsis buski) ตัวอ่อนของพยาธิ (cercaria) อาศัยอยู่ในน้ำ
- กลุ่มพยาธิใบไม้ในปอด (Paragonimus westermani)
- ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Turbellaria) ได้แก่
- พลานาเรีย พบในน้ำจืดตามสระและคูน้ำ หนอนหัวขวาน พบในที่ชื้นตามป่าและสวน ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง คล้ายพวกพยาธิใบไม้ ส่วนใหญ่อยู่อาศัยอย่างอิสระ
- ชั้นเซสโตดา (Cestoda) ได้แก่ พยาธิตัวตืด ทุกชนิด ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้องต่างๆ แต่ละปล้องสามารถเจริญสืบพันธุ์เป็นตัวใหมได้ ระยะตัวอ่อนจะฝังตัวในกล้ามเนื้อของสัตว์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เม็ดสาคู ส่วนหัวซึ่งเรียกว่า สโคเลกซ์ (Scolex) มีอวัยวะยึดเกาะที่เรียกว่า Sucker
- กลุ่มพยาธิตืดหมู (Taenia solium)
- กลุ่มพยาธิตืดวัว (Taenia saginata)
- ชั้นโมโนจีเนีย (Monogenea) หนอนตัวแบนโบราณ เช่น ปลิงใส หรือ Opisthaptor พบ definitive host เป็นปลาน้ำจืดแค่ host เดียวเท่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dentzien-Dias, PC; Poinar, G Jr; de Figueiredo, AE; Pacheco, AC; Horn, BL; Schultz, CL (30 January 2013). "Tapeworm eggs in a 270 million-year-old shark coprolite". PLOS ONE. 8 (1): e55007. Bibcode:2013PLoSO...855007D. doi:10.1371/journal.pone.0055007. PMC 3559381. PMID 23383033.
- ↑ Tang, F.; Song, S.; Zhang, G.; Chen, A.; Liu, J. (2021). "Enigmatic ribbon-like fossil from Early Cambrian of Yunnan, China". China Geology. 4 (2): 205–214. doi:10.31035/cg2020056.
- ↑ Dirk Knaust; André Desrochers (2019). "Exceptionally preserved soft-bodied assemblage in Ordovician carbonates of Anticosti Island, eastern Canada". Gondwana Research. 71: 117–128. Bibcode:2019GondR..71..117K. doi:10.1016/j.gr.2019.01.016.
- ↑ Ehlers, U.; Sopott-Ehlers, B. (June 1995). Plathelminthes or Platyhelminthes?. Hydrobiologia. Vol. 305. pp. 1–2. doi:10.1007/BF00036354. ISBN 9789401100458. S2CID 45170603.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Campbell, Neil A. (1996). Biology (Fourth ed.). New York: Benjamin/Cummings Publishing. p. 599. ISBN 0-8053-1957-3.
- Crawley, John L.; van de Graff, Kent M., บ.ก. (2002). A Photographic Atlas for the Zoology Laboratory (Fourth ed.). Colorado: Morton Publishing Company. ISBN 0-89582-613-5.
- The Columbia Electronic Encyclopedia (6th ed.). Columbia University Press. 2004. สืบค้นเมื่อ 8 February 2005.
- Evers, Christine A.; Starr, Lisa (2006). Biology: Concepts and Applications (6th ed.). United States: Thomson. ISBN 0-534-46224-3.
- Saló, E.; Pineda, D.; Marsal, M.; Gonzalez, J.; Gremigni, V.; Batistoni, R. (2002). "Genetic network of the eye in Platyhelminthes: Expression and functional analysis of some players during planarian regeneration". Gene. 287 (1–2): 67–74. doi:10.1016/S0378-1119(01)00863-0. PMID 11992724.
- หลักชีววิทยา ฉบับสมบูรณ์ ปสพ.
- เพทาย บุณยรัตพันธุ์ และ รัตน์สุณี สุขพณิชนันท์. ชีววิทยา 1 (แอคทีฟพริ้นท์, กรุงเทพฯ; 2557; หน้า 148)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Marine flatworms of the world".
- "Phylum Platyhelminthes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-07-15.