อาลิยา อิเซ็ตเบกอวิช
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาลิยา อิเซ็ตเบกอวิช | |
---|---|
ประธานคณะประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม 1990 – 14 มีนาคม 1996 | |
นายกรัฐมนตรี | Jure Pelivan Mile Akmadžić Haris Silajdžić Hasan Muratović |
ก่อนหน้า | Obrad Piljak (ยูโกสลาเวีย) |
ถัดไป | Živko Radišić |
สมาชิกชาวบอสเนียของคณะประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม 1996 – 15 ตุลาคม 2000 | |
ถัดไป | Halid Genjac |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 08 สิงหาคม ค.ศ. 1925 Bosanski Šamac, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย |
เสียชีวิต | 19 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ซาราเยโว, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | (78 ปี)
เชื้อชาติ | บอสเนีย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | SDA |
คู่สมรส | Halida Repovac (สมรส 1949–2003) |
วิชาชีพ | นักการเมือง นักจัดกิจกรรม ทนายความ นักเขียน และนักปรัชญา |
อาลิยา อิเซ็ตเบกอวิช (บอสเนีย: Alija Izetbegović; 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเป็นประธานาธิบดีบอสเนียในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวมุสลิมของชาวคริสต์ในเรปูบลิกาเซิร์ปสกา อาลิยาจึงต้องรับภาระในการต่อสู้กับเรปูบลิกาเซิร์ปสกา เขานับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีและเสียชีวิตในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยอายุ 73 ปี ที่กรุงซาราเยโว
ชีวิตและวัยเด็ก จนถึงวัยทำงาน
[แก้]อาลิยาเกิดวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ที่บอซานสกา ซามัช[1] ในครอบครัวที่เคร่งศาสนาอิสลาม แนวคิดอุดมการณ์ชาตินิยมมุสลิมบอสเนียได้เข้าสู่ตัวอาลิยา และในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 อาลิยาออกต้องจากกรุงเบลเกรด เพราะกฎหมายที่ประกาศห้ามมุสลิมบอสเนียเข้าอาศัยในเมืองดังกล่าว เขาจึงเข้ามาอยู่ในกรุงซาราเยโวและศึกษาเรื่องรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง ในมหาวิทยาลัยซาราเยโว ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีบุกยึดกรุงซาราเยโว ฟาสซิสต์เยอรมนีได้ก่อตั้งขบวนการต่อต้านยิวและชาวเซิร์บและสนับสนุนชาวมุสลิมนามว่า ยุวชนมุสลิมบอสเนีย[2] อาลิยาได้เข้าร่วมองค์กรและเข้าร่วมการต่อต้านเซิร์บ แต่ในค.ศ. 1943 พวกเซิร์บได้ยึดซาราเยโวและสังหารหมู่ชาวมุสลิมบอสเนีย ยุวชนมุสลิมบอสเนียได้เข้าต่อต้านแต่แพ้ราบคาบ กระนั้นบอสเนียในอำนาจของฮิตเลอร์จึงจบลง ยุวชนมุสลิมบอสเนียก็หายไป บอสเนียได้กลายเป็นส่วนหนึงของยูโกสลาเวียอีกครั้ง
อาชีพการงาน
[แก้]หลังสงครามโลก อาลิยาได้เข้าเป็นทนาย นักเขียน อายุ 21 ปี ในปี 1946 อาลิยาได้เขียน หนังสือ "ประกาศแห่งอิสลาม" ซึ่งกำลังถูกตีพิมพ์แต่ทางการคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียสั่งห้ามพิมพ์และจับกุมเขา 3 ปี ข้อหาเป็นสมาชิกยุวชนมุสลิมบอสเนีย กระนั้นในหนังสือของเขากล่าวไว้ว่า "ไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นระหว่างศรัทธาในอิสลามกับสังคมและสถาบันการเมืองที่มิใช่อิสลาม" หลังจากพ้นโทษ อาลิยาก็ได้เริ่มรณรงค์ให้ชาวบอสเนียขึ้นสู่เพื่อปลดปล่อยอิสลาม เขาจัดกิจกรรมและก่อตั้งพรรคประชาธิปไตยแอกชันขึ้นเพื่อเป็นแกนนำการเมืองของชาวบอสเนีย ในปี 1974 ประกาศแห่งอิสลามถูกจัดพิมพ์อีกครั้งและตีโต้เล่งเห็นว่าอำนาจมุสลิมบอสเนียกำลังก้าวสู่อำนาจทางการเมืองยูโกสลาเวีย แต่ในปี 1980 เขาตีพิมพ์หนังสืออิสลามระหว่างตะวันออกและตะวันตกทำให้เขาถูกต้องโทษ 14 ปี แต่ก็ถูกปล่อยใน 5 ปีต่อมาเขารณรงค์ปลุกมวลชนมุสลิมบอสเนียจนในที่สุดการเมืองท้องถิ่นของสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ก็ตกเป็นของพรรคประชาธิปไตยแอกชัน ซึ่งทำให้บอสเนียเข้าสู่การกุมอำนาจยูโกสลาเวีย เมื่ออาลิยาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
[แก้]สมัชชาบอสเนียได้ขึ้นอยู่ใน 3 อำนาจหลักของยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบไปด้วย สมัชชาโครเอเชีย (คริสต์คาทอลิก),สมัชชาเซอร์เบีย (ออทอด็อกซ์) และสมัชชาบอสเนีย (มุสลิม) แต่สมัชชาเซอร์เบียกลับพยายามควบคุมอำนาจประเทศเบ็ดเสร็จทำให้สมัชชาโครเอเชียในตำแหน่งประธานาธิบดียูโกสลาเวียไม่พอใจจึงประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวีย สมัชชาเซอร์เบียหรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียจึงรุกราน สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย / สาธารณรัฐโครเอเชีย ในขณะนั้นบอสเนียเป็นกลาง แต่ในสภาที่กรุงซาราเยโว พวกเซิร์บพยายามขัดขวางอำนาจของบอสเนีย อาลิยาจึงเลือกเข้าข้างโครเอเชียในปี 1992 สมัชชาเซอร์เบียได้ขัดขวางพลังมวลชนบอสเนียนับแสนคนในซาราเยโวด้วยการกราดยิง รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียได้ประกาศสงครามกับเซอร์เบียและทำให้ยูโกสลาเวียลjมสลายอย่างสมบูรณ์
สงครามบอสเนีย
[แก้]ในปีวันที่ 6 เมษายน 1992 ทหารเซอร์เบียบุกกราดยิงมวลชนบอสเนีย ทำให้ทหารบอสเนียต้องเข้าต่อต้าน รัฐบาลบอสเนียแยกตัวเป็นอิสระ และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยเขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ปลุกกระแสชาตินิยมมุสลิมบอสเนียขึ้นมาและกำจัดพวกโครแอตและเซิร์บออกจากแผ่นดินบอสเนีย สงครามในบอสเนียจึงอุบัติเป็นสงครามสามฝ่าย อาลิยาพยายามเรียกร้องให้นานาชาติยุตินโยบายไม่ขายอาวุธให้บอสเนียเพื่อสนับสนุนให้โครเอเชียยึดบอสเนีย อาลิยาจึงหันไปหาประเทศมุสลิม ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซียและอื่นๆจึงหันมาให้ความช่วยเหลือและเมื่อเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์บอสเนีย ตุรกี และพันธมิตรมุสลิมจึงส่งทหารเข้ามายังบอสเนีย แตกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็บีบทุกวิถีทางให้บอสเนียยอมรับให้ประเทศตนเป็นประเทศพหุสังคมและยุติการขับไล่ชาวเซิร์บและโครแอท ในปี 1995 บอสเนียจำยอมรับข้อเสนอที่ไม่ยุติธรรม อาลิยาได้กล่าวกับประชาชนว่า ความยุติธรรมของบอสเนียหายไปแล้ว เมื่อสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกวางหมากให้เราเป็นประเทศพหุสังคมโดยแบ่งประเทศ 4 ส่วน 2ส่วนเป็นของเซิร์บและ 1 ส่วนเป็นของโครแอท ส่วนบอสเนียมีแค่ 1 ส่วน นับว่าเป็นความอัปยศของบอสเนีย
หลังสงครามบอสเนียและการเสียชีวิต
[แก้]หลังสงคราม อาลิยาอาจจะยอมรับสนธิสัญญาเดย์ตันที่เปลี่ยนบอสเนียเป็นรัฐพหุสังคมอย่างไม่เต็มใจหนัก อาลิยาได้ระบุกับชาวบอสเนียว่าประเทศบอสเนียใหม่กลับไม่ใช่ของเรา ถึงกระนั้นอาลิยายังคงเป็นประธานาธิบดีสลับกับพวกโครแอตและเซิร์บจนในที่สุดอาลิยาจำต้องลาออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งบุตรชายเป็นคนสืบทอดอำนาจด้วยปัญหาสุขภาพของเขา อย่างไรก็ตามบอสเนียที่อาลิยาวาดเอาไว้ไม่สามารถเป็นจริงได้ รัฐอิสลามใจกลางทวีปยุโรปเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้แล้ว ในวันที่ 19 ตุลาคม 2003 อาลิยาได้เสียชีวิต นานาชาติมุสลิมได้แสดงความเสียใจและลดธงเหลือครึ่งเสาไว้อาลัยชายผู้อุ้มชูอิสลามแห่งยุโรป
มรดก
[แก้]ในปี 2015 ประธานาธิบดีตุรกี เรเยป ไตยิป เอร์โดกัน ได้ระบุว่า อาลิยาคือวีรบุรุษแห่งอิสลามแห่งศตวรรษ 21 นอกจากนี้กระแส่อิสลามบอสเนียไม่เคยดับชาวบอสเนียพยายามที่จะวาดฝันของอาลิยาให้เป็นจริงให้ได้ ปัจจุบันบอสเนียจึงมีปัญหาการเมืองเมื่องชาวบอสเนียกำลังเรียกร้องอิสรภาพในการตั้งรัฐอิสลามบอสเนีย แม้จะถูกต่อต้านจากตะวันตก แต่ตุรกี ได้ให้การสนับสนุนบุตรชายของอาลิยาในการเล่นเกมการเมืองบอสเนียทุกด้าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Izetbegović: Moja porodica je posjedovala Adu Ciganliju, a dedo je tokom Prvog svjetskog rata spasio niz Srba". https://depo.ba (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ Cuvalo, Ante (2010-04-08). The A to Z of Bosnia and Herzegovina (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. ISBN 978-1-4616-7178-7.