ข้ามไปเนื้อหา

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อังค์ถัด)
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
ชื่อย่อUNCTAD; อังค์ถัด
ก่อตั้ง30 ธันวาคม 1964; 59 ปีก่อน (1964-12-30)
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เลขาธิการ
เรเบกา กรินส์ปัน
องค์กรปกครอง
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
เว็บไซต์unctad.org

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (อังกฤษ: United Nations Conference on Trade and Development ย่อว่า UNCTAD) เป็นองค์การระหว่างประเทศในสำนักเลขาธิการสหประชาชาติที่สนับสนุนความสนใจต่อประเทศที่กำลังพัฒนาในการค้าโลก[1] องค์นี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1964 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในฐานะ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา แต่เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีใน ค.ศ. 2024[2] โดยรายงานทั้งในสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ[3] อังค์ถัดมีรัฐสมาชิก 195 ประเทศและทำงานร่วมกับองค์การนอกภาครัฐทั่วโลก[4] สำนักงานใหญ่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เป้าหมายขององค์กรนี้คือ "การเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนา และช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นในการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ในพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม" (จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ)

การประชุมอังค์ถัดจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยครั้งแรกจัดที่เจนีวาใน ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นมาการจัดการประชุม 15 ครั้งทั่วโลก ครั้งล่าสุดจัดที่บริดจ์ทาวน์ ประเทศบาร์เบโดสในวันที่ 3–8 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (แม้ว่าจะเป็นการประชุมแบบเสมือน เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19)

อังค์ถัดมีเจ้าหน้าที่ประจำ 400 คนและมีงบประมาณครั้งละ 2 ปี (2010–2011) ในรายจ่ายหลักที่ 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และงบเพิ่มเติมช่วยเหลือด้านเทคนิคอีก 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ องค์นี้เป็นสมาชิกในกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติที่เป็นกลุ่มองค์กรของสหประชาชาติที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน[5]

สมาชิก

[แก้]
  สมาชิกอังค์ถัด
  สมาชิกอังค์ถัดในคณะกรรมการการค้าและการพัฒนา
UNCTAD List ABCD
  สมาชิก รายการ A
  สมาชิก รายการ B
  สมาชิก รายการ C
  สมาชิก รายการ D
  สมาชิก รอระบุรายการ

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 อังค์ถัดมีสมาชิก 195 ประเทศ[6] ได้แก่รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดกับรัฐสังเกตการณ์ปาเลสไตน์กับสันตะสำนัก สมาชิกอังค์ถัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามกลุ่มภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ[6] โดยมี 6 รัฐสมาชิกที่ยังไม่ได้จัดเรียง คือ คิริบาส นาอูรู ซูดานใต้ ทาจิกิสถาน ตูวาลู รายการ A ประกอบด้วยสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มแอฟริกาและกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก รายการ B ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ รายการ C ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มละตินอเมริกากับรัฐแคริบเบียน (GRULAC) รายการ D ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก

สมาชิกล่าสุดคือปาเลสไตน์[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oatley, Thomas (2019). International Political Economy: Sixth Edition (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 185. ISBN 978-1-351-03464-7.
  2. "UN Trade and Development brand materials". UNCTAD. สืบค้นเมื่อ 18 May 2024.
  3. "About UNCTAD | UNCTAD". unctad.org.
  4. "List of non-governmental organizations participating in the activities of UNCTAD" (PDF). UNCTAD. สืบค้นเมื่อ 30 January 2024.
  5. "UNDG Members". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 May 2012.
  6. 6.0 6.1 "Membership of UNCTAD and membership of the Trade and Development Board" (PDF). unctad.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022.
  7. "Palestinians join 2 UN agencies, chemical weapons pact", Ynetnews, 24 May 2018

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]