สิบสองจุไทย
สหพันธรัฐไท สิบสองจุไทย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17–ค.ศ. 1954 | |||||||||
สหพันธรัฐไทตอนปลายใน ค.ศ. 1950 | |||||||||
สถานะ | รัฐในอารักขาฝรั่งเศส ส่วนหนึ่งของตังเกี๋ย, อินโดจีนของฝรั่งเศส (1889–1948) สหพันธรัฐปกครองตนเองในสหภาพฝรั่งเศส (1948–50) ที่ดินหลวงของจักรพรรดิเวียดนาม (1950–54) | ||||||||
เมืองหลวง | ไม่มี (ก่อน ค.ศ. 1948) Lai Châu (1948–54) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ฝรั่งเศส, เวียดนาม, กลุ่มภาษาไท | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | จักรวรรดินิยมใหม่ | ||||||||
• ก่อตั้ง | ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17 | ||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 1954 | ||||||||
สกุลเงิน | French Indochinese piastre | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, ประเทศเวียดนาม |
สิบสองจุไทย, สิบสองจุไท หรือ สิบสองเจ้าไท (เวียดนาม: Mười hai xứ Thái; ลาว: ສິບສອງຈຸໄຕ หรือ ສິບສອງເຈົ້າໄຕ; จีน: 泰族十二州; ไทดำ: ꪵꪠ꪿ꪙꪒꪲꪙꪼꪕ "สหพันธรัฐไท"[1]) เป็นสมาพันธรัฐของชาวไทดำ, ไทขาว และไทแดงในเขตภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามในปัจจุบันที่สืบต้นกำเนิดไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[2]
บริเวณนี้กลายเป็นเขตปกครองตนเองในรัฐในอารักขาตังเกี๋ยของฝรั่งเศส และจากนั้นใน ค.ศ. 1889 ก็เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1948 ช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง บริเวณนี้เปลี่ยนรูปเป็นสหพันธรัฐไท (ฝรั่งเศส: Fédération Thaï) ที่ยอมรับเป็นเขตปกครองตนเองของสหภาพฝรั่งเศส[3] ใน ค.ศ. 1950 บริเวณนี้กลายเป็นที่ดินหลวงของจักรวรรดิบ๋าว ดั่ยแห่งเวียดนาม โดยไม่รวมเข้ากับรัฐเวียดนาม[4][5] บริเวณนี้ถูกยุบหลังมีการลงนามในการประชุมเจนีวาเมื่อ ค.ศ. 1954
ชื่อ
[แก้]คำว่า สิบสอง เป็นคำในกลุ่มภาษาไทสำหรับเลขสิบสอง เช่นเลขสิบสองของไทย (12, ๑๒, สิบสอง) ตัวเลขสิบสองยังพบในสถานที่อย่างสิบสองปันนา (เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา) ในประเทศจีน ส่วน เจ้า หมายถึงดินแดน (คล้ายกับอักษรจีน-เวียดนามว่า 州 และไม่ควรสับสนกับคำที่มีเสียงคล้ายกันในภาษาไทย (เจ้า)) และไต๋ (ไท, จีน 傣)[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ p. 324 of Baccam, D., Baccam F., Baccam H., & Fippinger, D. (1989). Tai Dam-English, English-Tai Dam Vocabulary Book. Summer Institute of Linguistics.
- ↑ Jean Michaud (2000). "A Historical Panorama of the Montagnards in Northern Vietnam under French Rule". ใน Michaud, Jean (บ.ก.). Turbulent Times and Enduring Peoples: Mountain Minorities in the South-East Asian Massif. Curzon Press. pp. 53–54. ISBN 0-7007-1180-5.
In the north-western highlands ... the loose federation of Sip Song Chau Tai, the Twelve Tai Cantons, had been formalized around it [Muang Lay (Lai Châu)] since at least the 17th century.
- ↑ Jean Michaud (2000). "A Historical Panorama of the Montagnards in Northern Vietnam under French Rule". ใน Michaud, Jean (บ.ก.). Turbulent Times and Enduring Peoples: Mountain Minorities in the South-East Asian Massif. Curzon Press. p. 67. ISBN 0-7007-1180-5.
An accord was finally promulgated in July 1948, creating an independent Tai Federation in the Union française, a Federation grouping together the provinces of Lai Chau, Phong Tho and Son La.
- ↑ Virginia Thompson; Richard Adloff (1955). Minority Problems in Southeast Asia. Stanford University Press. p. 216.
- ↑ Andrew Hardy (2003). State Visions, Migrant Decisions: Population Movements since the End of the Vietnam War. Postwar Vietnam: Dynamics of a Transforming Society. Rowman & Littlefield. p. 134.
- ↑ 臨溪路 Issue 70, editor 鹿憶鹿 2006 Page 84 "西雙版納(傣文意為十二州國)未成為台灣報導的旅遊名勝前,在我們心目中仍相當陌生,出發前的心情是恐懼多於好奇。"
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tai Autonomous Territory