ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาเล็กซานดาร์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย
ครองราชย์3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 - 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934
ถัดไปเปตาร์ที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่ง
ปวงชนชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ครองราชย์16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929
ก่อนหน้าเปตาร์ที่ 1
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งเซอร์เบีย และ
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ระหว่าง24 มิถุนายน ค.ศ. 1914 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921
พระมหากษัตริย์เปตาร์ที่ 1
พระราชสมภพ16 ธันวาคม ค.ศ. 1888(1888-12-16)
เซทินเจ ราชรัฐมอนเตเนโกร
สวรรคต9 ตุลาคม ค.ศ. 1934(1934-10-09) (45 ปี)
มาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส
ฝังพระศพOplenac โทโพลา ประเทศเซอร์เบีย
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย
เจ้าชายโทมิสลาฟแห่งยูโกสลาเวีย
เจ้าชายแอนดรูว์แห่งยูโกสลาเวีย
ราชวงศ์การาจอร์เจวิช
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย
พระราชมารดาเจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หรือ อาเล็กซานดาร์ที่ 1 การาจอร์เจวิช (เซอร์เบีย-โครเอเชีย: Aleksandar I Karađorđević) (16 ธันวาคม ค.ศ. 1888 - 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934) ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเซิร์บ,โครแอทและสโลวีน

ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ

[แก้]
มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์แห่งเซอร์เบีย

เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ การาจอร์เจวิชประสูติที่เมืองเซทินเจ ราชรัฐมอนเตเนโกรในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1888 พระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย พระมารดาของพระองค์คือ เจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร พระธิดาองค์โตในพระเจ้านิกอลาที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร ที่เมืองเบลเกรด ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1922 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย ผู้ซึ่งเป็นพระธิดาของ เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย เจ้าชายอเล็กซานเดอร์มีพระโอรส 3 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย, เจ้าชายโทมิสลาฟแห่งยูโกสลาเวีย และ เจ้าชายแอนดรูว์แห่งยูโกสลาเวีย

พระองค์ทรงใช้ชีวิตในช่วงต้นที่มอนเตเนโกร ทรงศึกษาที่เมืองเจนีวา พระองค์ทรงศึกษาต่อด้านการทหารที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซียแต่พระองค์ทรงออกจากโรงเรียนมาศึกษาที่เบลเกรด เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงไม่ใช่รัชทายาทอันดับแรกของราชบัลลังก์ เนื่องจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจอร์จ มกุฎราชกุมารแห่งเซอร์เบียทรงปฏิเสธที่จะครองราชย์ เจ้าชายอาเล็กซานดาร์จึงดำรงเป็นรัชทายาทต่อ

สงครามบอลข่านและสงครามโลกครั้งที่ 1

[แก้]

ในสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1912 ทรงเป็นผู้บัญชาการของกองทัพที่ 1 มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ทรงชนะในสมรภูมิคูมาโนโวและสมรภูมิบีโตลา และหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1913 ระหว่างสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ในสมรภูมิเบรกาลนิกา ผลที่ตามมาของสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงมีอิทธิพลในการต่อสู้เหนือมาซิโดเนีย เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ทรงชนะพันเอกดรากูทิน ดิมิทีเจวิค ทำให้พระราชบิดาทรงมอบอำนาจให้ ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เจ้าชายอเล็กซานดาร์ทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งเซอร์เบีย

เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียกับมกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์ที่ 1

การประทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเซอร์เบียแต่เพียงในนาม อำนาจในการสั่งการอยู่ที่หัวหน้าเสนาธิการทางทหารสูงสุดคือ สเตปา สเตปาโนวิช (ในช่วงระหว่างการเคลื่อนไหวของสงคราม),ราโดเมอ พุทนิก (ค.ศ. 1914-1915), เปตรา บอจอวิช (ค.ศ. 1916-1917) และซิวอจิน มิซิก (ค.ศ. 1918) กองทัพเซอร์เบียแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในสมรภูมิเชอร์และดรีนา (สมรภูมิคูลูบารา) ในปี ค.ศ. 1914 ได้ชัยชนะต่อการโจมตีของกองทัพจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและได้ขับไล่ออกจากประเทศจนหมด

ในปี ค.ศ. 1915 กองทัพเซอร์เบียกับพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 และมกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ต้องประสบแก่ความปราชัยหลายครั้งโดยพันธมิตรแห่งเยอรมนี,ออสเตรีน-ฮังการีและบัลแกเรีย จนต้องถอยร่นไปจากช่องเขาที่มอนเตเนโกรและทางตอนเหนือของแอลเบเนียไปที่เกาะคอร์ฟูของกรีซที่ซึ่งได้จัดระบบทัพใหม่ หลังจากกองทัพหนุนจากพันธมิตรได้เข้าช่วย ทำให้สามารถชนะกองทัพฝ่ายไตรภาคีที่แนวหน้ามาร์ซิโดเนีย บริเวณคัจมักคาลาน กองทัพเซอร์เบียเป็นส่วนสำคัญมากในการบุกไปในเขตข้าศึกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918

กษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย

[แก้]
สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย

ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ในการจัดเตรียมรางวัลเกียรติยศไว้ล่วงหน้า มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการ ทรงได้รับเกียรติเป็นผู้แทนสภาแห่งประชาชนของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ และพระองค์ได้ตอบรับเป็นผู้แทน เป็นการพิจารณาการกำเนิดของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน

ในปี ค.ศ. 1921 พระราชบิดาเสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ขึ้นครองราชอาณาจักรเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน ที่ซึ่งก่อตั้งอย่างไม่เป็นทางการจากราชอาณาจักรและส่วนที่เหลือของยุโรปเช่นเดียวกับยูโกสลาเวีย

ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1929 ในการตอบสนองวิกฤตทางการเมืองที่มีแรงกระตุ้นจากการลอบสังหารสเตฟาน ราดิกนักการเมืองชาวโครแอตในรัฐสภา พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญและปิดการประชุมรัฐสภาและเริ่มนำการปกครองระบอบเผด็จการ(เป็นที่รู้จักในชื่อ"6 มกราคม ระบอบเผด็จการ":Šestojanuarska diktatura) พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และทรงเปลี่ยนการปกครองภายในจาก 33 ออบเบรสท์(แคว้น)เป็น 9 บูนอฟวินา(เขต)ในวันที่ 3 ตุลาคม

ในเดือนเดียวกันพระองค์ทรงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการใช้อักษรเซอร์เบีย ซีริลลิกที่ยกระดับการใช้อักษรละตินในเขตยูโกสลาเวีย

ในปี ค.ศ. 1931 พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ซึ่งเป็นการถ่ายโอนอำนาจทางการบริหารให้แก่กษัตริย์ การเลือกตั้งสำหรับสิทธิ์แก่บุรุษในการออกเสียงเลือกตั้ง การเลือกตั้งได้ถูกละทิ้งและเกิดแรงกดดันจากลูกจ้างคนงานทั่วไปที่จะลงคะแนนเพื่อพรรคในการปกครองโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของพระเจ้าอาเล็กซานดาร์

การลอบปลงพระชนม์

[แก้]

ในบันทึกการเสียชีวิตของสมาชิกในราชวงศ์ของพระองค์ 3 พระองค์ในวันอังคาร พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ทรงปฏิเสธการทำหน้าที่ทางการในวันนั้นแต่พระองค์ไม่มีทางเลือก ในวันอังคารที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เสด็จมาถึงเมืองมาร์เซย์และเริ่มพบปะกับเหล่าคณะรัฐบาลของฝรั่งเศสเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในพันธมิตรทวิภาคีน้อย ทรงประทับรถพระที่นั่งเปิดประทุนแล่นไปตามถนนยาวโดยมีประชาชนต้อนรับ 2 ข้างทาง ทรงประทับกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส หลุยส์ บาร์ทเทา ผู้ลอบสังหารคือ วาโด เชอนอเซมสกี ได้ก้าวจากถนนได้ยิงพระองค์กับคนขับรถพระที่นั่ง ส่วนหลุยส์ บาร์ทเทาได้ถูกยิงโดยบังเอิญจากตำรวจชาวฝรั่งเศสและจากนั้นเขาก็เสียชีวิต

การลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1

การลอบสังหารครั้งนี้เป็นการลอบสังหารครั้งแรกที่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ทางวิดีโอ เนื่องจากการลอบสังหารได้เกิดขึ้นต่อหน้าช่างภาพพอดี และได้บันทึกภาพร่างของผู้ขับรถและพระบรมศพพระเจ้าอาเล็กซานดาร์หลังจากทรงถูกลอบสังหารแล้ว

วาโด เชอนอเซมสกี เป็นสมาชิกในองค์การปฏิวัติภายในมาซิโดเนียน (Internal Macedonian Revolutionary Organization; IMRO) และเขาเป็นนักแม่นปืนที่มีประสบการณ์สูง โดยทันทีหลังจากการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ พระบรมศพทรงมีบาดแผลโดยดาบของตำรวจฝรั่งเศสและฝูงชนที่เบียดเสียดเข้ามาดูพระบรมศพ พระบรมศพได้ถูกนำออกไปจากบริเวณนั้น กลุ่มปฏิวัติได้ทำการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนวาร์ดามาซิโดเนียให้ออกจากยูโกสลาเวีย กลุ่มปฏิวัตินี้ได้ปฏิบัติการร่วมกับพันธมิตรอย่างขบวนการปฏิวัติโครเอเชีย – อูสตาซี (Ustaše) ที่นำโดยอานเต ปาเวลิช ภายใต้การสนับสนุนอย่างลับๆ ของผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี

การถ่ายทอดการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้เป็นผลให้มีการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย, พระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย, พระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซที่ 1 แห่งออสเตรีย และการลอบสังหารประธานาธิบดีอเมริกาจอห์น เอฟ. เคนเนดี

พระบรมศพของพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ได้ฝังที่โบสถ์ความทรงจำแห่งเซนต์จอห์น ที่ซึ่งสร้างโดยพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นพระราชโอรสของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ยังทรงพระเยาว์ พระญาติของพระองค์เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวีย ได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระราชอิสริยยศ

[แก้]
  • 16 ธันวาคม 1888 – 15 มกราคม 1903: เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ คาราจอร์เจวิช
  • 15 มกราคม 1903 – 27 มีนาคม 1909: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ แห่งเซอร์เบีย
  • 27 มีนาคม 1909 – 1 ธันวาคม 1918: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย
  • 1 ธันวาคม 1918 – 16 สิงหาคม 1921: His Royal Highness เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งชนชาวเซิร์บ โครแอท และ สโลวีน
  • 16 สิงหาคม 1921 – 6 มกราคม 1929: His Majesty สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งชนชาวเซิร์บ โครแอท และ สโลวีน
  • 6 มกราคม 1929 – 9 ตุลาคม 1934: His Majesty สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทหารเซอร์เบีย-ยูโกสลาเวีย
ประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญเจ้าชายลาซา, สายสร้อย (สำหรับเชื้อพระวงศ์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งคาราดอร์เดวิค
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งคาราดอร์เดวิคประกอบดาบ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีขาว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีขาวประกอบดาบ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งยูโกสลาเวีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ซาวา
เหรียญที่ระลึกเซอร์เบีย
Gold Bravery Medal, 1912
Gold Bravery Medal, 1913
Commemorative Medal of the first Balkan War, 1912
Commemorative Medal of the second Balkan War, 1913
Commemorative Medal of the Election of Peter I as King of Serbia
Commemorative Medal of the Albanian Campaign
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
 เบลเยียม เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์,
War Cross 1914-1918
 บัลแกเรีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชิริล และ Methodius, ชั้นสายสร้อย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอเล็กซานเดอร์ประกอบดาบ, ชั้นสายสร้อย
 เชโกสโลวาเกีย เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตขาว, ชั้นสายสร้อย
กางเขนสงคราม 1914-1918
 เดนมาร์ก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง, ชั้นประถมาภรณ์
 ฝรั่งเศส เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์, ชั้นประถมาภรณ์
Médaille militaire,
War Cross 1914-1918,
 กรีซ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ผู้ไถ่บาป, ชั้นประถมาภรณ์
War Cross 1914-1918
 อิตาลี เครื่องราชอิสริยาภรณ์แม่พระรับสาร, ชั้นสายสร้อย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซารัส, ชั้นมหาปรมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งอิตาลี, ชั้นมหาปรมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทางทหารซาวอย, ชั้นมหาปรมาภรณ์
 [[|]] Order of the Wendish Crown, ชั้นประถมาภรณ์
แม่แบบ:Country data ราชอาณาจักรมอนเตรเนโกร เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญปีเตอร์แห่งเซทินเจ ชั้นอัศวิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เจ้าชายแดเนียโลที่ 1, ชั้นมหาปรมาภรณ์
Order of the Orthodox Church of Jerusalem, Knight of the Collar (Orthodox Church of Jerusalem)
 โปแลนด์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีขาว, ชั้นประถมาภรณ์
Order of Polonia Restituta, ชั้นประถมาภรณ์
 โปรตุเกส เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์, ชั้นประถมาภรณ์
 โรมาเนีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์มิเชลผู้กล้าหาญ, ชั้นประถมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์คาโรลที่ 1 ชั้นมหาปรมาภรณ์ประกอบสายสร้อย [1][2]
 รัสเซีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอันดรูว์, ชั้นทุติยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอเล็กซานเดอร์ เนฟสกี,
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีขาว, ชั้นประถมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอร์จ, ชั้นตริตาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอร์จ, ชั้นจตุรถาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญแอนนา, ชั้นประถมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญStanislaus, ชั้นประถมาภรณ์ (Russia)
 ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก, ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
 บริเตนใหญ่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาท, ชั้นมหาปรมาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียนเชน, ชั้นมหาปรมาภรณ์
King George V Coronation Medal

พระราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
อาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย พระชนก:
ปีเตอร์ที่ 1 แห่งปวงชนชาวเซิร์บ,โครแอทและสโลวีน
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
อเล็กซานเดอร์ คาราดอร์เดวิค
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
คาราดอร์ เปโทรวิช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจเลนา เจวานนอวิช
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เพรสินา เนนาโนวิช
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจฟเรม เนนาโนวิช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
ไม่ปรากฏพระนาม
พระราชชนนี:
ซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
นิโคลัสที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
แกรนด์ดยุคเมอร์โก เปโทรวิช-นีเยกอช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
อนาสตาซีรา มาร์ทติโนวิช
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
มิเลนา วูคอวิช
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เปตรา วูคอวิช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจเรนา วอยโววิช

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2017-02-02.
  2. https://www.pinterest.com/pin/363313894911423476/


ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ถัดไป
ปีเตอร์ที่ 1 แห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน
ตำแหน่ง
พระมหากษัตริย์แห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอตและสโลวีน
(คาราดอร์เดวิค)

(16 สิงหาคม ค.ศ. 1921 – 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929)
สถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
ตำแหน่งใหม่
พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย
(คาราดอร์เดวิค)

(3 ตุลาคม ค.ศ. 1929 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934)
ปีเตอร์ที่ 2