ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาพุทธกับศาสนาเชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาสนาพุทธและศาสนาเชน)

ศาสนาพุทธและศาสนาเชน เป็นศาสนาอินเดียเก่าแก่ที่มีวิวัฒนาการขึ้นในมคธ (รัฐพิหารในปัจจุบัน) และมีผู้นับถือปฏิบัติรวมถึงได้รับการศึกษาในสมัยปัจจุบัน การศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างพระมหาวีระ และ พระโคตมพุทธเจ้า ถือว่าศาสดาทั้งสองพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาร่วมสมัยกัน[1][2] ศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน มีลักษณะ, อภิธานศัพท์ และหลักการทางจริยธรรมหลายประการที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองเลือกเน้นความสำคัญในประเด็นที่ต่างกัน[2] ทั้งสองศาสนามีธรรมเนียมเกี่ยวข้องกับนักบวชที่เป็นรูปแบบสมณะ ซึ่งเชื่อว่าบุคคลหนึ่ง ๆ สามารถหลุดพ้นจากวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด (สังสาระ) ได้ด้วยการปฏิบัติตนตามแนวทางจริยธรรมและจิตวิญญาณ[3] ทั้งสองศาสนามีหลักกลางสำคัญของศาสนาที่ต่างกัน เช่น มุมมองต่อพรตนิยม ที่ซึ่งพุทธยึดถือทางสายกลาง ส่วนเชนยึดถือ อเนกานตวาท และระหว่าง ชีวา กับ อัตตา-อนัตตา[2][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dundas, Paul (2003). Jainism and Buddhism, in Buswell, Robert E. ed. Encyclopedia of Buddhism, New York: Macmillan Reference Lib. ISBN 0028657187; p. 383
  2. 2.0 2.1 2.2 Damien Keown; Charles S. Prebish (2013). Encyclopedia of Buddhism. Routledge. pp. 127–130. ISBN 978-1-136-98588-1.
  3. Zimmer 1953, p. 266.
  4. [a] Christmas Humphreys (2012). Exploring Buddhism. Routledge. pp. 42–43. ISBN 978-1-136-22877-3.
    [b] Brian Morris (2006). Religion and Anthropology: A Critical Introduction. Cambridge University Press. pp. 47, 51. ISBN 978-0-521-85241-8., Quote: "...anatta is the doctrine of non-self, and is an extreme empiricist doctrine that holds that the notion of an unchanging permanent self is a fiction and has no reality. According to Buddhist doctrine, the individual person consists of five skandhas or heaps—the body, feelings, perceptions, impulses and consciousness. The belief in a self or soul, over these five skandhas, is illusory and the cause of suffering."
    [c] Richard Gombrich (2006). Theravada Buddhism. Routledge. p. 47. ISBN 978-1-134-90352-8., Quote: "...Buddha's teaching that beings have no soul, no abiding essence. This 'no-soul doctrine' (anatta-vada) he expounded in his second sermon."