ข้ามไปเนื้อหา

วอมแบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอมแบต
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เพลสโตซีน-ปัจจุบัน
วอมแบตธรรมดา (Vombatus ursinus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Marsupialia
อันดับ: Diprotodontia
อันดับย่อย: Vombatiformes
วงศ์: Vombatidae
Burnett, 1829
สกุล และ ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของวอมแบต

วอมแบต (อังกฤษ: wombat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในวงศ์ Vombatidae มีทั้งหมด 3 ชนิด ใน 2 สกุล

มีรูปร่างโดยรวม อ้วนป้อม มีขนนุ่มละเอียด มีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาหรือดำ หางสั้น มีส่วนขาที่สั้น ขาหน้าที่มีเล็บแหลมคมและข้อขาที่แข็งแรง ใช้สำหรับขุดโพรงเพื่ออยู่อาศัย ซึ่งโพรงมีทางยาวและมีหลายห้องหลายทาง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ในยามปกติตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันอยู่ จะอยู่ด้วยกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเกือบ 40 กิโลกรัม กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะหญ้าที่เป็นอาหารหลัก มูลเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ มีฟันที่แหลมคม ที่เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

วอมแบตเป็นสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องคว่ำ เพื่อป้องกันลูกตกลงมา ให้ลูกครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ใช้เวลาตั้งท้องนาน 22 วัน [1]

มีทั้งหมด 3 ชนิด 2 สกุล พบในประเทศออสเตรเลียทางตอนใต้และเกาะแทสเมเนียเท่านั้น ได้แก่

สำหรับในประเทศไทย มีวอมแบตถูกเลี้ยงในสวนสัตว์ คือ สวนสัตว์ดุสิต โดยได้รับมาจากรัฐบาลออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550[2]

นอกจากนี้แล้ว ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังมีสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอีกจำพวกหนึ่ง ที่มีรูปร่างคล้ายวอมแบตในปัจจุบันนี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว คือ ไดโปรโตดอน ที่มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 2 เมตร ลำตัวยาว 3 เมตร น้ำหนักราว 3 ตัน [3]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]