ข้ามไปเนื้อหา

เราะมะฎอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รอมฎอน)
เราะมะฎอน
رَمَضَان
ดวงจันทร์เสี้ยวเหนือต้นปาล์มที่มานามา ในวันเริ่มต้นเดือนเราะมะฎอนของศาสนาอิสลามที่ประเทศบาห์เรน
ชื่ออื่น
จัดขึ้นโดยมุสลิม
ประเภทศาสนา
การเฉลิมฉลองการละศีลอดและละหมาดร่วม
การถือปฏิบัติ
เริ่มคืนสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน[1]
สิ้นสุดคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน[1]
วันที่เราะมะฎอน
ความถี่ทุกปี (ปฏิทินจันทรคติ)[2][3]
ส่วนเกี่ยวข้องอีดิลฟิฏร์, ลัยละตุลก็อดร์

เราะมะฎอน (อาหรับ: رَمَضَان, อักษรโรมัน: Ramaḍān, [ra.ma.dˤaːn];[note 1] บางครั้งสะกดเป็น Ramzan, Ramadhan หรือ Ramathan) เป็นเดือนที่เก้าของปฏิทินอิสลาม[4] ที่ถือปฏิบัติโดยมุสลิมทั่วโลกในฐานะ เดือนแห่งการถือศีลอด, ละหมาด, การครุ่นคิดใคร่ครวญ และการร่วมในประชุมชน[5] เป็นเดือนระลึกถึงโองการแรกของศาสดามุฮัมมัด,[6] การรับนับถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนทุกปีถือเป็นหนึ่งในห้าหลักการอิสลาม[7] โดยเดือนเราะมะฎอนจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน นับจากการเห็นดวงจันทร์เสี้ยวครั้งหนึ่งไปยังครั้งต่อไป[8][9]

การถือศีลอดตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกเป็น วาญิบ (จำเป็น) ต่อมุสลิมวัยผู้ใหญ่ทุกคนที่ไม่ป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง, เดินทาง, ชรา, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, เบาหวาน และมีประจำเดือน[10] การรับประทานอาหารก่อนย่ำรุ่งคือ ซะฮูร และการกินเพื่อละศีลอดในช่วงค่ำคือ อิฟฏอร[11][12] ถึงแม้จะมี ฟัตวา ว่ามุสลิมที่อาศัยในแถบขั้วโลกที่มีดวงอาทิตย์เที่ยงคืนหรือกลางคืนแถบขั้วโลกควรตามตารางเวลาของมักกะฮ์[13] แต่ส่วนใหญ่จะตามตารางเวลาของประเทศใกล้ที่สุดที่มีกลางวันหรือกลางคืน[14][15][16]

ผลตอบแทนทางจิตวิญญาณ (ษะวาบ) ของการถือศีลอดเชื่อว่าจะทวีคูณในเดือนเราะมะฎอน[17] ตามรายงานแล้ว มุสลิมไม่ได้ห้ามแค่อาหารกับน้ำ แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ, เพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่เป็นบาป[18][19] โดยทุ่มเทไปกับ การละหมาด และอ่านอัลกุรอานแทน[20][21]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า เราะมะฎอน มาจากรากภาษาอาหรับว่า R-M-Ḍ (ر-م-ض‎) "ร้อนจัด"[22] โดยเราะมะฎอนเป็นหนึ่งในพระนามของพระเจ้าในศาสนาอิสลาม และมีรายงานในหลายฮะดีษว่า ห้ามพูดแค่ "เราะมะฎอน" ในการเรียกชื่อเดือน และจำเป็นต้องเรียกว่า "เดือนแห่งเราะมะฎอน" ตามรายงานของซุนนี,[23][24][25][26][27][28][29] ชีอะฮ์[30][31][32][33][34][35] และซัยดี[36]

ในภาษาเปอร์เซีย อักษร ض (ฎ๊อด) ออกเสียงเป็น /z/ ประเทศมุสลิมบางประเทศที่มีอิทธิพลของเปอร์เซีย เช่น อาเซอร์ไบจาน, อิหร่าน, อินเดีย, ปากีสถาน และตุรกี ใช้คำว่า Ramazan หรือ Ramzan คำว่า Romjan ถูกใช้ในบังกลาเทศ[37]

ประวัติ

[แก้]
ซูเราะฮ์ที่ 2 อายะฮ์ที่ 185 ในภาษาอาหรับ

มุสลิมถือว่าคัมภีร์ทั้งหมดถูกประทานในเดือนเราะมะฎอน ทั้งม้วนกระดาษของอิบรอฮีม, เตารอต, ซะบูร, อินญีล และอัลกุรอานถูกประทานในวันที่ 1, 6, 12, 13 (บางรายงานคือวันที่ 18)[38] และ 24 เราะมะฎอนตามลำดับ[39] ศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า ท่านได้รับโองการแรกของอัลกุรอานในคืน ลัยละตุลก็อดร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคืนคี่ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน[40]

ถึงแม้ว่ามุสลิมถูกสั่งให้ถือศีลอดในปีที่ 2 ของ ฮิจเราะฮ์ (ค.ศ. 624)[41] แต่พวกเขาก็เชื่อว่าการถือศีลอดไม่ได้เป็นนวัตกรรมของเอกเทวนิยม[42]แต่อย่างใด แต่อาจเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาเพื่อ ตักวา (ความกลัวต่อพระเจ้า)[43][อัลกุรอาน 2:183] พวกเขาเห็นว่าพวกลัทธินอกศาสนาก่อนการมาของอิสลามในมักกะฮ์ก็ถือศีลอดมาก่อนแล้ว ในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม เพื่อชะล้างบาปและเลี่ยงภัยแล้ง[44] ฟิลิป เจนกินส์โต้แย้งว่าการยึดถือปฏิบัติศีลอดเดือนเราะมะฎอน เติบโตอย่างรวดเร็วจาก "กฎระเบียบการบวชอย่างเคร่งครัดของคริสตจักรซีเรีย" สัจพจน์นี้เป็นที่ยืนยันโดยนักวิชาการท่านอื่น เช่น Paul-Gordon Chandler นักเทววิทยา[45][46] แต่ยังเป็นที่โต้แย้งโดยนักวิชาการมุสลิมบางท่าน[47]

วันสำคัญ

[แก้]

วันแรกและวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนถูกกำหนดโดยปฏิทินอิสลามแบบจันทรคติ[3]

เริ่มต้น

[แก้]
ช่วงเริ่มต้นของเราะมะฎอนในช่วงปีเกรกอเรียนที่ 1938 ถึง 2038

เนื่องจาก ฮิลาล หรือดวงจันทร์เสี้ยว มักเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากจันทร์ดับ มุสลิมมักคาดการณ์จุดเริ่มต้นของเดือนเราะมะฎอนได้;[48] อย่างไรก็ตาม การเริ่มเดือนเราะมะฎอนอาจประกาศโดยการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวโดยตรง[49]

คืนแห่งพลัง

[แก้]

ลัยละตุลก็อดร์ ถือเป็นคืนที่ศักดิ์สิทธิ์ของปี[50][51] โดยทั่วไปเชื่อว่า เป็นคืนที่เกิดขึ้นในคืนคี่ของช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ดะวูลี โบะฮ์ราเชื่อว่า คืนลัยละตุลก็อดร์ อยู่ในคืนที่ 23 ของเดือนเราะมะฎอน[52][53]

อีด

[แก้]

วันหยุด อีดิลฟิฎร์ (عيد الفطر) ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเดือนเราะมะฎอน และเป็นจุดเริ่มต้นของ เชาวาล เดือนต่อไปทางจันทรคติ โดยการประกาศเห็นเสี้ยวหนึ่งของจันทร์ดับ หรือถ้าไม่เห็นดวงจันทร์ ก็ต้องถือศีลอดเป็นวันที่ 30 การฉลอง อีด คือการกลับมาของนิสัย (ฟิฏเราะฮ์) การกิน, ดื่ม และความสัมพันธ์ทางเพศตามธรรมชาติ[54]

วัตรปฏิบัติทางศาสนา

[แก้]
เราะมะฎอนของคนยากจน วาดโดยอาซิม อาซิมซาดะ ค.ศ. 1938

การปฏิบัติศาสนกิจโดยทั่วไปคือถือศีลอดตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตก โดยมื้ออาหารก่อนย่ำรุ่งคือ ซะฮูร ในขณะที่มื้อในช่วงพระอาทิตย์ตกเพื่อละศีลอดคือ อิฟฏอร[55]

มุสลิมอุทิศเวลาในเดือนนี้ต่อการละหมาดและการบริจาค โดยทนหิวเพื่อพัฒนาระเบียบวินัยของตัวเอง ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากฮะดีษ:[56][57] "เมื่อเราะมะฎอนมาถึง ประตูสวรรค์จะถูกเปิด และประตูนรกจะถูกปิด และชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่"[58]

การถือศีลอด

[แก้]

เราะมะฎอนเป็นช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ, การพัฒนาตนเอง ความจงรักภักดีและการสักการะที่สูงส่งยิ่งกว่าเดิม มุสลิมจะพยายามทำตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามให้มากกว่าเดิม การถือศีลอดเริ่มตั้งแต่ย่ำรุ่งจนสิ้นสุดที่พระอาทิตย์ตกดิน นอกจากหยุดกินและดื่มแล้ว มุสลิมจะเลี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์[3] aและพฤติกรรมกับคำพูดที่เป็นบาปในช่วงเดือนเราะมะฎอน การถือศีลอดเป็นการทำให้หัวใจออกห่างจากกิจกรรมทางโลก ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ทำจิตวิญญาณให้ความสะอาดโดยการปลดปล่อยจากสิ่งสกปรกที่เป็นอันตราย มุสลิมเชื่อว่าเราะมะฎอนสอนให้พวกเขาบังคับตนเอง, ควบคุมตนเอง,[59] เสียสละ และร่วมรู้สึกแก่ผู้ที่ไม่ค่อยโชคดี จึงทำให้มีความเอื้ออาทรและเป็นการกุศลภาคบังคับ (ซะกาต)[60]

มุสลิมเชื่อว่าคนจนที่ไม่มีอะไรกินควรถือศีลอด ซึ่งทำให้พวกเขามีอาหารเพียงพอที่จะกิน โดยทำให้พวกเขารู้ว่าคนจนรู้สึกอย่างไรในตอนที่กำลังหิว จุดประสงค์หลักของการถือศีลอดให้มีความเห็นอกเห็นใจแก่คนยากจน[61]

ข้อยกเว้นสำหรับผู้ถือศีลอดคือคนที่เดินทาง, มีประจำเดือน, เจ็บไข้ได้ป่วย, ตั้งท้อง และให้นมเด็ก คนที่ถือศีลอดไม่ได้จะต้องถือชดในภายหลัง[62]

ซะฮูร

[แก้]
อิฟฏอรที่มัสยิดสุลต่านอาเหม็ดในอิสตันบูล, ประเทศตุรกี

แต่ละวันก่อนรุ่งอรุณ มุสลิมจะกินมื้อก่อนศีลอดที่เรียกว่า ซะฮูร หลังหยุดกินเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนรุ่งอรุณ มุสลิมจะเริ่มละหมาด ซุบฮี[63][64]

การละศีลอด

[แก้]
อิฟฏอรแก่ผู้ละศีลอดที่เทวสถานอิหม่ามเรซา

ตอนพระอาทิตย์ตก ครอบครัวจะละศีลอดด้วย อิฟฎอร ตามธรรมเนียมจะเปิดด้วยอินทผลัมซึ่งเป็นแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัดโดยการกินไปสามลูก[65][66] แล้วเตรียมละหมาด มัฆริบ[67]

มื้อละศีลอดส่วนใหญ่จะเป็นสไตล์บุฟเฟตซึ่งมีทั้งของหวานที่ทำในช่วงเราะมะฎอน เช่น น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่น้ำผลไม้กับนมก็มีขาย เช่นเดียวกันกับน้ำอัดลมกับเครื่องดื่มคาเฟอีน[68]

ในตะวันออกกลาง มื้อ อิฟฏอร จะมีน้ำ น้ำผลไม้ สลัด และอาหารกินเล่น; เมนูหลัก 1 จานหรือมากกว่านั้น และของหวาน โดยถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด[69] ในเมนูหลักได้แก่สตูแกะที่มีเบอร์รี่ข้าวสาลี กะบาบแกะกับผักย่าง และไก่ย่างที่เสริฟด้วย chickpea-studded rice pilaf. ของหวานได้แก่ ลุก็อยมัต, บาคลาวา หรือ คานาเฟ[70]

ตลอดเวลานั้น การละศีลอดอาจรวมคนไปถึงร้อยหรือแม้แต่พันคน[71] ที่มัสยิดเชคซาเยดในอาบูดาบี มัสยิดที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้อาหารคนถึง 30,000 คนทุกคืน[72] ส่วนที่เทวสถานอิหม่ามเรซาในแมชแฮด จุคนถึง 12,000 คน[73]

การกุศล

[แก้]

ละหมาดกลางคืน

[แก้]

ตะรอเวียะฮ์ (อาหรับ: تراويح) เป็นเวลาละหมาดพิเศษในเดือนเราะมะฎอน ตามความเชื่อส่วนใหญ่ ไม่ถือภาคบังคับ[74]

อ่านอัลกุรอาน

[แก้]

มุสลิมตั้งใจที่จะอ่านกุรอานทั้งเล่ม ซึ่งมีถึง 30 ยุซ (ส่วน) ใน 30 วันของเดือนเราะมะฎอนโดยอ่านที่ละ ยุซ ต่อวันในเดือนนี้[75]

ธรรมเนียมปฏิบัติทางวัฒนธรรม

[แก้]

ในประเทศอิสลามบางประเทศ จะมีการแขวนไฟทั่วจัตุรัสและถนน[76][77][78] โดยเชื่อว่าสืบมาตั้งแต่รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อัลมุอิซซ์ ลิดีนัลลอฮ์[79]

บนเกาะชวา มีคนหลายคนอาบน้ำในน้ำซับศักดิ์สิทธิ์ในพิธีที่รู้จักในชื่อ ปาดูซัน[80] ที่เมืองเซอมารังเป็นจุดเริ่มต้นของเราะมะฎอน โดยมีขบวนแห่ดุกเดอรัน และวารักเงินดก สิ่งมีชีวิตผสมระหว่างม้ากับมังกรที่ได้แรงบันดาลใจจากบุร็อก[81] ในจาการ์ตา มีการจุดประทัดในบริเวณที่มีอิทธิพลของจีนอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย[82] ตอนสิ้นสุดเราะมะฎอน คนงานส่วนใหญ่ได้โบนัสหนึ่งเดือนที่เรียกว่า ตุนจางันฮารีรายา[83] อาหารบางชนิดได้รับความนิยมในเดือนนี้ เช่น เนื้อโคหรือควายขนาดใหญ่ในอาเจะฮ์และหอยทากในจังหวัดชวากลาง[84] ในช่วงมื้ออิฟฎอรทุกเย็นจะมีการตีเบอดุก กลองใหญ่ที่มัสยิด[85]

การทักทายหลักในช่วงเราะมะฎอนคือ เราะมะฎอนมุบาร็อก และ เราะมะฎอนกะรีม[86]

คนตีเบอดุกในประเทศอินโดนีเซีย
คนตีเบอดุกในประเทศอินโดนีเซีย 
ดวงจันทร์เสี้ยวที่ถูกประดับอย่างสวยงามในช่วงเราะมะฎอนในประเทศจอร์แดน
ดวงจันทร์เสี้ยวที่ถูกประดับอย่างสวยงามในช่วงเราะมะฎอนในประเทศจอร์แดน 
เราะมะฎอนในเมืองเก่าแห่งเยรูซาเลม
เราะมะฎอนในเมืองเก่าแห่งเยรูซาเลม 
การตกแต่งฟานูสที่ไคโร, ประเทศอียิปต์

กฎหมาย

[แก้]

ในประเทศมุสลิมบางประเทศ การกินตอนกลางวันต่อสาธารณะในช่วงเดือนเราะมะฎอนเป็นอาชญากรรม[87][88][89] การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเดือนเราะมะฎอน เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศอียิปต์[90] บทลงโทษของการกิน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ในที่สาธารณะจะต้องจ่ายค่าปรับ และ/หรือจำคุกในประเทศคูเวต,[91][92] ซาอุดีอาระเบีย,[93][94][95] แอลจีเรีย[96] และมาเลเซีย[97] ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บทลงโทษคือทำงานบริการชุมชน[98]

ในบางประเทศ การสังเกตเดือนเราะมะฎอนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ในสหภาพโซเวียต การฝึกฝนในเราะมะฎอนถูกยกเลิกโดยข้าราชการ[99][100] ในประเทศแอลเบเนีย การฉลองเราะมะฎอนถูกแบนในช่วงสมัยโซเวียต[101] อย่างไรก็ตาม ชาวแอลเบเนียหลายคนแอบถือศีลอดอย่างลับ ๆ ในช่วงนั้น[102] มีการรายงานในจีนว่าได้แบนการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 ที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[103][104] คนที่จับได้ว่าถือศีลอดจะถูกส่งไปยัง "ค่ายปรับทัศนคติ"[105]

บางประเทศได้จัดเวลาทำงานใหม่ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลูกจ้างทำงานไม่มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และ 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประเทศกาตาร์, โอมาน, บาห์เรน และคูเวตก็มีกฎหมายที่คล้าย ๆ กัน[106]

ผลต่อสุขภาพ

[แก้]

มีการรายงานถึงสุขภาพของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอยู่หลายแบบ โดยรายงานหนึ่งกล่าวว่าการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นเรืองที่ปลอดภัยแก่คนที่มีสุขภาพดี นักวิชาการอิสลามส่วนใหญ่ถือว่าคนป่วยไม่จำเป็นต้องถือศีลอด ที่มากไปกว่านั้น คนชราและเด็กก่อนบรรลุนิติภาวะได้รับข้อยกเว้นเช่นกัน[107] เจ้าหน้าที่บางคนรายงานว่าหญิงที่ตั้งท้องหรือให้นมไม่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน[108] ในขณะที่เจ้าหน้าที่อีกกลุ่มกล่าวว่า จะได้รับข้อยกเว้น ถ้าพวกเธอกลัวว่าการถือศีลอดอาจทำอันตรายต่อพวกเธอหรือเด็กทารก[107][109][110]

มีผลทางสุขภาพในช่วงเราะมะฎอน ได้แก่ มีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น และภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง[111] และมีรายงานว่ามีการพัฒนาของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในเวลา 10 ปี และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจไขมัน (lipids profile), ความดันโลหิตซิสโตลิก, น้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ในการตรวจสอบประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในอดีต[112] ช่วงการถือศีลอดมักมีความสัมพันธ์กับการลดน้ำหนักเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นอาจจะกลับมาเป็นน้ำหนักเดิม[113]

การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน มีส่วนในการเปลื่ยนพฤติกรรมการกินแทนแบบเดิม อาจมีผลต่อสุขภาพทั้งด้านการนอนและสุขภาพโดยทั่วไป

การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการนอน[114] และมีความสัมพันธ์กับการผลิตฮอร์โมน

ในศาสนาอิสลาม หญิงที่ตั้งท้องและคนที่ให้นมเด็กทารกถูกยกเว้นจากการถือศีลอด[107] การถือศีลอดอาจเป็นเรื่องอันตรายต่อหญิงที่ตั้งครรภ์เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์และก่อให้เกิดเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏว่ามีผลต่อน้ำหนักของเด็ก แต่เป็นที่แนะนำว่าไม่ควรถือศีลอดถ้ามันทำลายชีวิตของผู้หญิงหรือเด็ก[115][116][117][118][119] ถ้าแม่ถือศีลอดในช่วงที่ตั้งท้อง อาจมีผลให้ลูกมีสติปัญญาน้อยลง, ความสามารถทางการรู้คิดต่ำกว่าเดิม และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2[120] นักวิชาการอิสลามหลายคนโต้แย้งว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่หญิงตั้งท้อง ไม่ควร ถือศีลอดถ้าหมอแนะนำว่าไม่ควรถือศีลอด[121]

การถือศีลอดในเราะมะฎอนที่เรื่องที่ปลอดภัยของคนที่มีสุขภาพดีโดยมีน้ำและอาหารเพียงพอ แต่ผู้ที่ต้องกินยาควรปรึกษาทางการแพทย์ว่าอาจมีปัญหาสุขภาพก่อนหรือระหว่างถือศีลอดหรือไม่[122]

บางศึกษาได้เชื่อมการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนกับการมีปัญหาด้านการนอน ซึ่งทำให้หลับในเวลากลางวันมากขึ้น และลดประสิทธิภาพในการทำงานลง[123] ทางกระทรวงศึกษาธิการเบอร์ลินกับสหราชอาณาจักรพยายามไม่ให้นักศึกษาถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอน โดยอ้างว่าการไม่กินหรือดื่มอาจนำมาสู่ปัญหาด้านสมาธิและได้เกรดแย่[124][125]

นักวิจารณ์วรรณกรรมโดยกลุ่มชาวอิหร่านแนะนำว่า การถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอนอาจก่อให้เกิดไตวายต่อผู้ป่วยระดับปานกลาง (การทำหน้าที่ของไต น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที) หรือเป็นโรคไต แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นปลูกถ่ายไต สำหรับผู้ป่วยที่มีไตที่ทำงานปกติหรือเป็นโรคนิ่วไตส่วนใหญ่[126]

อัตราการก่อเหตุ

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างเดือนเราะมะฎอนกับอัตราการก่อเหตุผสมกัน: สถิติบางอันแสดงว่าอัตราการก่อเหตุลดลงในช่วงเราะมะฎอน ในขณะที่อีกอันแสดงว่าเพิ่มขึ้น การลดลงของอัตราการก่อเหตุถูกรายงานโดยตำรวจในบางเมืองของประเทศตุรกี (อิสตันบูล[127] กับคอนยา[128]) และจังหวัดตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย[129] จากการศึกษาปี 2005 พบว่า การก่อเหตุอาชญากรรมประเภททำร้าย, โจรกรรม และอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงในช่วงเดือนเราะมะฎอนของประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่ความสำคัญของอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงทางสถิติอย่างเห็นได้ชัด[130] มีรายงานอัตราการก่อเหตุในเดือนเราะมะฎอนเพิ่มขึ้นในประเทศตุรกี,[131] จาการ์ตา,[132][133][134] ส่วนหนึ่งของประเทศแอลจีเรีย,[135] เยเมน[136] และอียิปต์[137]

กลไกการเสนอเกี่ยวกับผลของเราะมะฎอนต่อการก่อเหตุอาชญากรรมมีหลายแบบ:

  • หมอสอนศาสนาในอิหร่านโต้แย้งว่าการถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอนทำให้คนก่อเหตุอาชญากรรมน้อยลงด้วยเหตุผลทางจิตวิญญาณ[138] กะมาล อัลบันนา โต้แย้งว่าการถือศีลอดทำให้คนเครียด ซึ่งอาจทำให้พวกเขาก่อเหตุมากขึ้น เขาวิจารณ์มุสลิมที่ก่อเหตุอาชญากรรมในขณะที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนว่า "ปลอมและทำแค่ภายนอก"[137]
  • ตำรวจในประเทศซาอุดีอาระเบีย เชื่อว่าการก่อเหตุอาชญากรรมลดลงเพราะ "ความรู้สึกด้านจิตวิญญาณเป็นที่แพร่หลายในประเทศ"[129]
  • ในจาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย, ตำรวจกล่าวว่าจราจรหนาแน่เพราะมีคนออกจากเมืองถึง 7 ล้านคนเพื่อไปฉลองอีดิลฟิฏร์ ทำให้มีการก่อเหตุบนถนนมากขึ้น และทำให้ตำรวจต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมเพิ่มอีก 7,500 นาย[134]
  • ในช่วงเดือนเราะมะฎอน มีผู้แสวงบุญกว่าล้านคนมาที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อมาเยี่ยมมักกะฮ์ รานงานจาก เยเมนไทม์ ผู้แสวงบุญมักใจบุญ และ ผลที่ตามมาคือการลักลอบค้าเด็กจากเยเมน เพื่อไปเป็นขอทานที่ถนนในซาอุดีอาระเบีย[136]

เราะมะฎอนในแถบขั้วโลก

[แก้]
ในช่วงที่มีการเจรจาระหว่างตะวันออกกลางกับสหรัฐในค.ศ. 2010 ฮุสนี มุบาร็อกกับเบนจามิน เนทันยาฮูตรวจดูนาฬิกาว่าดวงอาทิตย์ตกหรือยัง

ระยะเวลาระหว่างย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกนั้นมีเวลาหลากหลายทั่วโลกตามครีษมายันกับเหมายันของดวงอาทิตย์ มุสลิมส่วนใหญ่ถือศีลอดเป็นเวลา 11 ถึง 16 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในแถบขั้วโลก ระยะเวลาระหว่างย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกอาจยืดถึง 22 ชั่วโมงในฤดูร้อน เช่น ในปีค.ศ. 2014 มุสลิมในเรคยาวิก, ประเทศไอซ์แลนด์ และทร็อนไฮม์, ประเทศนอร์เวย์ ถือศีลอดไปเกือบ 22 ชั่วโมง ในขณะที่มุสลิมในซิดนีย์, ประเทศออสเตรเลีย ถือศีลอดไปประมาณ 11 ชั่วโมง ในบริเวณที่มีกลางคืนหรือกลางวันยาวนาน มุสลิมบางคนถือศีลอดตามเมืองที่ใกล้ที่สุดที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ในขณะที่บางส่วนตามเวลาของมักกะฮ์[14][15][16]

เราะมะฎอนบนวงโคจรโลก

[แก้]

นักบินอวกาศมุสลิมในอวกาศทำพิธีทางศาสนาตามเขตเวลาสุดท้ายบนโลก นั่นหมายความว่า นักบินอวกาศจากประเทศมาเลเซีย ถูกปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา จะตั้งเวลาถือศีลอดตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งรวมไปถึงเวลาละหมาดประจำวัน และช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นและตกสำหรับเดือนเราะมะฎอน[139][140]

การทำงานในเดือนเราะมะฎอน

[แก้]

มุสลิมยังคงทำงานในเดือนเราะมะฎอนต่อ;[141][142] อย่างไรก็ตาม ในประเทศอิสลามบางประเทศ เช่นโอมานกับเลบานอน ได้มีการลดเวลาทำงานลง[143][144] โดยมีการแนะนำว่ามุสลิมควรแจ้งนายจ้างว่าตนถือศีลอด[145]แต่บทความจากอาหรับนิวส์รายงานว่า นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียไม่ค่อยมีความสุขในการทำงานที่สั้นกว่าเดิมในเดือนเราะมะฎอน มีบางคนรายงานว่าได้มีการยกเลิกการผลิตตั้งแต่ 35 ถึง 50%.[146] นักธุรกิจชาวซาอุจะได้เงินเดือนพิเศษถ้าทำงานนานกว่าเดิม[147] ถึงแม้ว่าการผลิตจะลดลง พ่อค้ายังคงได้กำไรสูงในช่วงเราะมะฎอนเพราะความต้องการสูงขึ้น[148]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ตามสัทวิทยาภาษาอาหรับ ขื่อนี้ออกเสียงได้ทั้ง [rɑmɑˈdˤɑːn, ramaˈdˤɑːn, ræmæˈdˤɑːn] ขึ้นอยู่กับท้องที่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Clark, Malcolm (2003). Islam For Dummies (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 978-0764555039.
  2. "The Umm al-Qura Calendar of Saudi Arabia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Ramadan to start May 27 or May 28". aljazeera.com/. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2017.
  4. BBC – Religions เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 25 July 2012
  5. "Ramadan: Fasting and Traditions". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  6. "Ramadan 2020: Date, importance, wishes, quotes, messages, and pictures". India Today.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Schools – Religions". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  8. Bukhari-Ibn-Ismail, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 124". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  9. Muslim-Ibn-Habaj, Abul-Hussain. "Sahih Muslim – Book 006 (The Book of Fasting), Hadith 2378". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  10. Fasting (Al Siyam) – الصيام – p. 18, el Bahay el Kholi, 1998
  11. Islam, Andrew Egan – 2002 – p. 24
  12. Dubai – p. 189, Andrea Schulte-Peevers – 2010
  13. "Ramadan in the Farthest North". Saudi Aramco World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2015.
  14. 14.0 14.1 See article "How Long Muslims Fast For Ramadan Around The World" -Huffpost.com /31 July 2014 and article "Fasting Hours of Ramadan 2014" -Onislam.net / 29 June 2014 and article "The true spirit of Ramadan" -Gulfnews.com /31 July 2014
  15. 15.0 15.1 See article by Imam Mohamad Jebara "The fasting of Ramadan is not meant to punish" https://ottawacitizen.com/opinion/columnists/jebara-the-fasting-of-ramadan-is-not-meant-to-punish เก็บถาวร 7 พฤษภาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. 16.0 16.1 Kassam, Ashifa (3 กรกฎาคม 2016). "Arctic Ramadan: fasting in land of midnight sun comes with a challenge". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2016.
  17. Bukhari-Ibn-Ismail, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 125". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  18. Smith, Jane I. (2010). Islam in America. Columbia University Press. p. 15. ISBN 978-0231147101. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
  19. Hotaling, Edward (2003). Islam Without Illusions: Its Past, Its Present, and Its Challenge for the Future. Syracuse University Press. p. 57. ISBN 978-0815607663. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
  20. Abu Dawud-Ibn-Ash'ath-AsSijisstani, Sulayman. "Sunan Abu-Dawud – (The Book of Prayer) – Detailed Injunctions about Ramadan, Hadith 1370". Center for Muslim-Jewish Engagement of The University of Southern California. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  21. Bukhari-Ibn-Ismail, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 199". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  22. Muslim-Ibn-Habaj, Abul-Hussain. "Sahih Muslim – Book 006 (The Book of Fasting), Hadith 2391". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  23. Al-Bayhaqi, Abu Bakr. Sunnan al-Kubra (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 4, Book 11, Ch. 6, Nu. 7904. قَالَ رَسُولُ اللَّٰهِ صَلَّىٰ اللَّٰهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ» فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  24. Al-Tabari, Muhammad ibn Jarir. Tafsir al-Tabari (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 3, Pg. 187. أَنَّهُ كَرِهَ أَنْ يُقَالُ «رَمَضَانَ»، وَيَقُولُ: لَعَلَّهُ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ، لَٰكِنَّ نَقُولُ كَمَا قَالَ اللَّٰهُ: «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  25. Al-Razi, Fakhr al-Din. Tafsir al-Kabir (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 5, Pg. 251. عَنِ النَّبِيِّ صَلَّىٰ اللَّٰهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ: لَا تَقُولُوا۟ «جَاءَ رَمَضَانُ» وَ«ذَهَبَ رَمَضَانُ» وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «جَاءَ شَهْرُ رَمَضَانَ» وَ«ذَهَبَ شَهْرُ رَمَضَانَ» فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ تَعَالَىٰ.
  26. Ibn al-Jawzi, Abdul Rahman. Al-Mawdu'at (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 2, Pg. 187. قَالَ رَسُولُ اللَّٰهِ صَلَّىٰ اللَّٰهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ» فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمُ اللَّٰهِ، وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  27. Ibn Abu Hatim, Abdul Rahman. Tafsir Ibn Abu Hatim (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 1, Pg. 310, Nu. 1648. لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ»، فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ، وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  28. Al-Dimashqi, Tamam. Fawa'id al-Tamam (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 1, Pg. 104, Nu. 241. قَالَ رَسُولُ اللَّٰهِ صَلَّىٰ اللَّٰهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: لَا يَقُولَنَّ أَحَدُكُمْ «صُمْتُ رَمَضَانَ»، وَ«قُمْتُ رَمَضَانَ»، وَلَا «صَنَعْتُ فِي رَمَضَانَ كَذَا وَكَذَا»، فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ عَزَّ وَجَلَّ الْعِظَامِ، وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ» كَمَا قَالَ رَبُّكُمْ عَزَّ وَجَلَّ فِي كِتَابِهِ
  29. Ibn al-Saqri, Abu Tahir. Mashyakhah (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 1, Pg. 126, Nu. 52. عَائِشَةَ رَضِيَ اللَّٰهُ عَنْهَا قَالَتْ قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّٰهِ مَا مَعْنَىٰ رَمَضَانَ فَقَالَ رَسُولُ اللَّٰهِ صَلَّىٰ اللَّٰهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: يَا حُمَيْرَاءُ لَا تَقُولِي «رَمَضَانُ» فَإِنَّهُ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ وَلَٰكِنْ قُولِي «شَهْرُ رَمَضَانَ» يَعْنِي رَمَضَانَ أَرْمَضَ فِيهِ ذُنُوبَ عِبَادِهِ فَغَفَرَهَا
  30. Al-Kulayni, Muhammad ibn Ya'qub. Al-Kafi (ภาษาอาหรับ). p. Book 14 (the Book of Fasting), Ch. 4. قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ (عَلَيْهِ السَّلَامُ): لَا تَقُولُوا۟ «هَٰذَا رَمَضَانُ» وَلَا «ذَهَبَ رَمَضَانُ» وَلَا «جَاءَ رَمَضَانُ» فَإِنَّ رَمَضَانَ اسْمٌ مِنْ أَسْمَاءِ اللَّٰهِ عَزَّ وَجَلَّ لَا يَجِيءُ وَلَا يَذْهَبُ وَإِنَّمَا يَجِيءُ وَيَذْهَبُ الزَّائِلُ وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ» فَإِنَّ الشَّهْرَ مُضَافٌ إِلَىٰ الْاسْمِ وَالاسْمُ اسْمُ اللَّٰهِ عَزَّ وَجَلَّ
  31. Ibn Babawayh, al-Saduq. Man La Yahduruhu al-Faqih (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 2, Pg. 182. قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ (عَلَيْهِ السَّلَامُ): لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ» وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ «شَهْرُ رَمَضَانَ» فَإِنَّكُمْ لَا تَدْرُونَ مَا رَمَضَانُ
  32. Al-Hurr Al-Amili, Muhammad. Wasa'il al-Shia (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 10, Ch. 19. عَلِيٍّ (عَلَيْهِ السَّلَامُ) قَالَ: لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ» فَإِنَّكُمْ لَا تَدْرُونَ مَا رَمَضَانُ فَمَنْ قَالَهُ فَلْيَتَصَدَّقْ وَلْيَصُمْ كَفَّارَهً لِقَوْلِهِ وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ كَمَا قَالَ اللَّٰهُ عَزَّ وَجَلَّ «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  33. Al-Majlisi, Muhammad-Baqir. Bihar al-Anwar (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 93, Ch. 48.
  34. Ibn Tawus, Sayyid. Al-Iqbal Bil-Amal (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 1, Pg. 29.
  35. Al-Nouri Al-Tabarsi, Husayn. Mustadrak al-Wasa'il (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 7, Ch. 12, Hadith 1, Nu. 8609.
  36. Al-Shajari, Yahya bin Hussein. Al-Amali Al-Khamisiyah (ภาษาอาหรับ). p. Vol. 1, Pg. 380, Nu. 1355. أَنَّ عَلِيًّا عَلَيْهِ السَّلَامُ كَانَ يَقُولُ: لَا تَقُولُوا۟ «رَمَضَانُ» فَإِنَّكُمْ لَا تَدْرُونَ مَا رَمَضَانُ فَمَنْ قَالَهُ فَلْيَتَصَدَّقْ وَلْيَصُمْ كَفَّارَةً لِقَوْلِهِ، وَلَٰكِنْ قُولُوا۟ كَمَا قَالَ اللَّٰهُ عَزَّ وَجَلَّ: «شَهْرُ رَمَضَانَ»
  37. Daniyal, Shoaib (20 June 2015). "Why Indian Muslims are using the Arabic word "Ramadan" instead of the traditional "Ramzan"" (ภาษาอังกฤษ). Quartz. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  38. Aliyev, Rafig Y. (2013). Loud Thoughts on Religion: A Version of the System Study of Religion. Useful Lessons for Everybody. Trafford Publishing. ISBN 978-1490705217.
  39. "An Excerpt from Ma'riful Qur'an" (PDF). Al Qalam. Vol. 1 no. 7. Darul Quran Wassunnah. May 2019. p. 2.
  40. Ad-Dausaree, Mahmood Bin Ahmad Bin Saaleh (2006). The Magnificence of Quran. Darussalam Publishers.
  41. Sayyid Ali Asghar Razwy. A Restatement of the History of Islam and Muslims. The Second Year of the Hijra. Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project.
  42. Quran Chapter 2, Revelation 183
  43. al-Uthaymeen, Shaikh Saalih. Explanation of the Three Fundamental Principles of Islam (Salafi): Sharh Usool ath-Thalatha of Muhammad Ibn Abdul Wahaab. Salafi Books.[ลิงก์เสีย]
  44. "Fasting Before Ramadan Was Ordained". Ebrahim College. 9 October 2017.
  45. Jenkins, Philip (2006). The New Faces of Christianity: Believing the Bible in the Global South. p. 182. Oxford University Press. Kindle Edition.
  46. Chandler, Paul-Gordon (2008). Pilgrims of Christ on the Muslim Road: Exploring a New Path Between Two Faiths (ภาษาอังกฤษ). Cowley Publications. p. 88. ISBN 978-0742566033.
  47. Muhammad Mustafa al-Azami, "The History of The Quranic Text: From Revelation to Compilation: A Comparative Study with the Old and New Testaments", 2nd Edition (2008), Azami Publishing House
  48. Hilal Sighting & Islamic Dates: Issues and Solution Insha'Allaah เก็บถาวร 6 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Hilal Sighting Committee of North America (website เก็บถาวร 31 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน). Retrieved 19 August 2009.
  49. Bukhari-Ibn-Ismail, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 124". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  50. Robinson, Neal (1999). Islam: A Concise Introduction. Washington: Georgetown University Press. ISBN 978-0-87840-224-3.
  51. Ibn-Ismail-Bukhari, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 125". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012.
  52. Ibn-Ismail-Bukhari, AbdAllah-Muhammad. "Sahih Bukhari – Book 032 (Praying at Night during Ramadhan), Hadith 238". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012.
  53. Muslim-Ibn-Habaj, Abul-Hussain. "Sahih Muslim – Book 006 (The Book of Fasting), Hadith 2632". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012.
  54. "Ruling on Voluntary Fasting After The Month of Ramadan: Eid Day(s) And Ash-Shawaal". EsinIslam, Arab News & Information – By Adil Salahi. 11 กันยายน 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2016.
  55. "Ramadan". Britannica.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. "Book of Fasting – Sahih al-Bukhari – Sunnah.com – Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2015.
  57. "Sahih Muslim Book 006, Hadith Number 2361". Hadith Collection. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2015.
  58. "Muslims observe Ramadan, clerics explain significance". Guardian News, Nigeria. 4 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  59. Why Ramadan brings us together เก็บถาวร 30 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; BBC, 1 September 2008
  60. Help for the Heavy at Ramadan เก็บถาวร 20 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Washington Post, 27 September 2008
  61. "Ramzan festival 2020: Know about Baakhabar Saint on Ramadan". SA News Channel. 24 April 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. อัลกุรอาน 2:184
  63. Muslim-Ibn-Habaj, Abul-Hussain (2009). "Sahih Muslim – Book 006 (The Book of Fasting), Hadith 2415". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  64. Ibn-Ismail-Bukhari, AbdAllah-Muhammad (2009). "Sahih Bukhari – Book 031 (The Book of Fasting), Hadith 144". hadithcollection.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  65. Esposito, John L. (2003). The Oxford dictionary of Islam. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-512558-4. OCLC 50280143.
  66. Indrayani, Suharti (2018). "How do Muslims consume dates?" (PDF). Pakistani Journal of Medical and Health Sciences. 12: 1732–1743.
  67. Fletcher Stoeltje, Melissa (22 August 2009). "Muslims fast and feast as Ramadan begins". San Antonio Express-News. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
  68. El-Zibdeh, Dr. Nour. "Understanding Muslim Fasting Practices". todaysdietitian.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012.
  69. Goldstein, Darra (April 2015). The Oxford companion to sugar and sweets. Oxford. ISBN 978-0-19-931361-7. OCLC 905969818.
  70. Levy, Faye; Levy, Yakir (21 กรกฎาคม 2012). "Ramadan's high note is often a dip". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012.
  71. Davis, James D. (8 สิงหาคม 2010). "Ramadan: Muslims feast and fast during holy month". South Florida Sun-Sentinel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012.
  72. "Abu Dhabi's Grand Mosque feeds 30,000 during Ramadan". euronews.com. Euro News. 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  73. Ahmadi, Gisoo Misha (11 July 2015). "Iran's Mashhad hosts biggest "Iftar" in world". presstv.com. Presstv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  74. "Tarawih Prayer a Nafl or Sunnah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2015.
  75. Underst, Huda Huda is the author of "The Everything; Complete, ing Islam Book: A.; Beliefs, Easy to Read Guide to Muslim; Practices; Traditions; Culture.". "How Do Muslims Celebrate Ramadan?". Learn Religions (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-26. {{cite web}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  76. "Muslims begin fasting for Ramadan". ABC News. 18 กรกฎาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2012.
  77. Taryam Al Subaihi (29 กรกฎาคม 2012). "The spirit of Ramadan is here, but why is it still so dark?". The National. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012.
  78. Cochran, Sylvia (8 สิงหาคม 2011). "How to decorate for Ramadan". Yahoo-Shine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2012.
  79. Mahmoud Omar (2013-07-28). "The Fatimid lantern: A Ramadan legacy". Archaeology Culture. Egypt Independent. Al-Masry Al-Youm.
  80. "This Is How Indonesia Welcomes Ramadan". Jakarta Globe. 4 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  81. "Tradisi Dugderan di Kota Semarang". Mata Sejarah (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2017.
  82. Sims, Calvin (19 ธันวาคม 2000). "Jakarta Journal; It's Ramadan. School Is Out. Quick, the Earplugs!". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  83. "Understanding the Religious Holiday Allowance THR in Indonesia". Emerhub. 6 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  84. Maryono, Agus; Endi, Severianus (7 กรกฎาคม 2014). "On the hunt for delectable snacks". The Jakarta Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  85. Saifudeen, Yousuf (12 มิถุนายน 2016). "Diverse traditions that welcome the holy month in Indonesia". Khaleej Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2019.
  86. Ramadan 2015: Facts, History, Dates, Greeting And Rules About The Muslim Fast เก็บถาวร 10 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Huffington Post, 15 June 2015
  87. "Ramadan 2019: 9 questions about the Muslim holy month you were too embarrassed to ask". Vox. 6 June 2016.
  88. "Breaking Pakistan's Ramadan Fasting Laws Has Serious Consequences". NPR.
  89. "Not so fast! Ramadan laws in Arab countries make you think twice before digging in". Albawaba News.
  90. "Egypt's tourism minister 'confirms' alcohol prohibition on Islamic holidays beyond Ramadan เก็บถาวร 11 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน," Al-Ahram, 22 July 2012.
  91. "Press release by Kuwait Ministry Of Interior". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2019.
  92. "Do not eat in public during fast-imprisonment for month and a fine of 100 KD". Arab Times Kuwait. 2020-04-24.
  93. "Ramadan in Saudi Arabia: Taking it to heart". The Economist. 11 มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2016.
  94. Hyslop, Leah (24 กรกฎาคม 2012). "Ramadan warning for expats in Saudi Arabia". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2019.
  95. Ramadan in numbers เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 10 July 2013, The Guardian
  96. "Algerians jailed for breaking Ramadan fast". Al Arabiya News. 7 ตุลาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2008.
  97. "The Hard and Fast Rules of Ramadan". 14 กรกฎาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2019.
  98. Salama, Samir (16 กรกฎาคม 2009). "New penalty for minor offences in UAE". Gulf News. Dubai, UAE: Al Nisr Publishing LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009.
  99. Leo Paul Dana. When Economies Change Paths: Models of Transition in China, the Central Asian Republics, Myanmar & the Nations of Former Indochine Française. p. 162.
  100. James Minahan. The Former Soviet Union's Diverse Peoples: A Reference Sourcebook. p. 133.
  101. Islamic Beliefs, Practices, and Cultures. Marshall Cavendish. p. 165.
  102. "In Albania, Ramadan under lockdown revives memories of communism". Arab News. 2020-04-25.
  103. "China region bans Muslims from fasting during Ramadan". 2012-08-01.
  104. "China bans Muslims from fasting Ramadan in Xinjiang". Al-Jazeera English.
  105. Shohret Hoshur; Joshua Lipes (14 May 2020). "Residents of Uyghur-Majority County in Xinjiang Ordered to Report Others Fasting During Ramadan". Radio Free Asia. แปลโดย Elise Anderson; Alim Seytoff. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  106. Samir Salama, บ.ก. (2014-07-15). "UAE workers: Ramadan should be productive time". Gulf News. Al Nisr Publishing.
  107. 107.0 107.1 107.2 Abolaban, H.; Al-Moujahed, A. (2017). "Muslim patients in Ramadan: A review for primary care physicians". Avicenna J Med. 7 (3): 81–87. doi:10.4103/ajm.AJM_76_17. PMC 5525471. PMID 28791239.
  108. El-Bahay El-Kholi. Al Siyam, "Fasting". The Supreme Council for Islamic Affairs, Arab Republic of Egypt. p. 36.
  109. "Is it better for a pregnant woman to fast or not to fast?".
  110. "Are Pregnant Women Exempt from Fasting in Ramadan?". 8 May 2020.
  111. Shariatpanahi, Z. Vahdat, et al. "Effect of Ramadan fasting on some indices of insulin resistance and components of the metabolic syndrome in healthy male adults." British Journal of Nutrition 100.1 (2008): 147-151.
  112. Nematy, Mohsen, et al. "Effects of Ramadan fasting on cardiovascular risk factors: a prospective observational study." Nutrition journal 11.1 (2012): 69.
  113. Sadeghirad B, Motaghipisheh S, Kolahdooz F, Zahedi MJ, Haghdoost AA (2014). "Islamic fasting and weight loss: a systematic review and meta-analysis". Public Health Nutr. 17 (2): 396–406. doi:10.1017/S1368980012005046. PMID 23182306.
  114. BAHAMMAM, Ahmed (2004). "Effect of fasting during Ramadan on sleep architecture, daytime sleepiness and sleep pattern". Sleep and Biological Rhythms. 2 (2): 135–143. doi:10.1111/j.1479-8425.2004.00135.x. ISSN 1446-9235.
  115. Glazier, JD; Hayes, DJL; Hussain, S; D'Souza, SW; Whitcombe, J; Heazell, AEP; Ashton, N (25 October 2018). "The effect of Ramadan fasting during pregnancy on perinatal outcomes: a systematic review and meta-analysis". BMC Pregnancy and Childbirth. 18 (1): 421. doi:10.1186/s12884-018-2048-y. PMC 6202808. PMID 30359228.
  116. Islamic Studies Maldives
  117. Balani, Jyoti; Hyer, Stephen; Wagner, Marion; Shehata, Hassan (2013). "Obesity, Polycystic Ovaries and Impaired Reproductive Outcome". Obesity. pp. 289–298. doi:10.1016/B978-0-12-416045-3.00022-4. ISBN 978-0-12-416045-3.
  118. Mirghani, HM; Hamud, OA (January 2006). "The effect of maternal diet restriction on pregnancy outcome". American Journal of Perinatology. 23 (1): 21–24. doi:10.1055/s-2005-923435. PMID 16450268.
  119. Faris, Mo'ez Al-Islam E.; Al-Holy, Murad A. (1 April 2014). "Implications of Ramadan intermittent fasting on maternal and fetal health and nutritional status: A review". Mediterranean Journal of Nutrition and Metabolism. 7 (2): 107–118. doi:10.3233/MNM-140011.
  120. https://eprints.lse.ac.uk/28597/1/dp0926.pdf%7Ctitle=Long-Term[ลิงก์เสีย] Health Effects on the Next Generation of Ramadan Fasting During Pregnancy
  121. "If proven harmful to a fetus, then fasting must be abandoned". IslamWeb.
  122. Azizi F (2010). "Islamic fasting and health". Ann. Nutr. Metab. 56 (4): 273–282. doi:10.1159/000295848. PMID 20424438.
  123. Msaad, Sameh; Kotti, Nada (2016). "Influence of Ramadan Observance on Sleep Pattern and Wakefulness at Work among Medical Trainer in Tunisia". Journal of Sleep Disorders & Therapy. 05 (2). doi:10.4172/2167-0277.1000243.
  124. Espinoza, Javier (3 June 2016). "Schools say Muslim students 'should break Ramadan fast' to avoid bad grades". The Telegraph.
  125. Islam und Schule: Handreichung für Lehrerinnen und Lehrer an Berliner Schulen (ภาษาเยอรมัน). Zentral- und Landesbibliothek Berlin ZLB. Senatsbibliothek. 2010. OCLC 824393822.
  126. Emami-Naini A, Roomizadeh P, Baradaran A, Abedini A, Abtahi M (August 2013). "Ramadan fasting and patients with renal diseases: A mini review of the literature". J Res Med Sci. Official Journal of Isfahan University of Medical Sciences. 18 (8): 711–716. ISSN 1735-1995. PMC 3872613. PMID 24379850.
  127. "Crime rate falls during Ramadan". Today's Zaman. 21 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014.
  128. "Crime rate drops over Ramadan". Turkish Daily News. 16 พฤศจิกายน 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2015.
  129. 129.0 129.1 "Eastern Province crime falls 40% during Ramadan". 28 กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014.
  130. "The effect of Ramadan on crime rates in Saudi Arabia, Hattab Ben Thawab Al-Sobaye" (PDF). Naif Arab University for Social Sciences, Thesis publication. 23 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2014.
  131. "129 women killed in six months in Turkey, lawmaker says". Hurriyet Daily News. 11 กรกฎาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014.
  132. "Crime rates increase during Ramadhan". Jakarta Post. 19 สิงหาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014.
  133. "4 Gold Shop Robbers Killed, 2 Caught During Police Raids Across the City". Jakarta Post. 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2010. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  134. 134.0 134.1 "Anticipating Crime, 7,500 Policemen Put on Standby Along Ramadan". Department of Communication, Informatics and Public Relations of Jakarta Capital City. 16 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014.
  135. "Comment le Ramadhan bouleverse la vie des Algériens". El Watan, French. 24 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014.
  136. 136.0 136.1 "Yemen child trafficking to increase during Ramadan". Yemen Times. 20 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2011.
  137. 137.0 137.1 "Ramadan saw rise in violent domestic crimes". Daily News, Egypt. 2 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2011.
  138. "Ramadan and lower crime rates: The Ayatollah says that during Ramadan the number of criminal cases in the Judiciary diminish by a great degree". 11 กรกฎาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014.
  139. A Guideline of Performing Ibadah at the International Space Station (ISS)
  140. Donadio, Rachel (2007-12-09). "Interstellar Ramadan". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
  141. "Ramadan 2019: Why is it so important for Muslims?". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  142. Gilfillan_1, Scott (2019-05-03). "Supporting Muslim colleagues during Ramadan". TUC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  143. "Ramadan working hours announced in Oman". Times of Oman. 22 มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2016.
  144. "Ramadan working hours announced for public and private sectors". Times of Oman. 10 มิถุนายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2016.
  145. "The Working Muslim in Ramadan" (PDF). Working Muslim. 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2016.
  146. Hasan, Rumy (3 July 2015). "The costs of Ramadan need to be counted". The Guardian.
  147. "Businesses want more working hours in Ramadan".
  148. Cook, Erin (19 June 2017). "The Ramadan Productivity Drop And How To Overcome It". Indonesia Expat.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Category:Ramadan