ข้ามไปเนื้อหา

ภูเขาฟูจิ

พิกัด: 35°21′38″N 138°43′39″E / 35.36056°N 138.72750°E / 35.36056; 138.72750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาไฟฟูจิ)
ภูเขาไฟฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิมองจากโอชิโนะฮักไก
จุดสูงสุด
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
3,776 เมตร (12,388 ฟุต) [1]
พิกัด35°21′38″N 138°43′39″E / 35.36056°N 138.72750°E / 35.36056; 138.72750[2]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟฟูจิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ภูเขาไฟฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิ
ที่ตั้งของภูเขาไฟฟูจิในญี่ปุ่น
ภูเขาไฟฟูจิตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
ภูเขาไฟฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิ (ทวีปเอเชีย)
ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ
ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน100,000 ปี
การปะทุครั้งล่าสุด2251
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกพ.ศ. 1206 โดย En no Odzunu (役行者, En no gyoja, En no Odzuno)
เส้นทางง่ายสุดการเดิน

ภูเขาไฟฟูจิ (Fuji Mountain) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดใน ประเทศญี่ปุ่น ราว 3,776 เมตร (12,388 ฟุต) ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดชิซูโอกะและจังหวัดยามานาชิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของ โตเกียว พื้นที่โดยรอบประกอบด้วย ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ และน้ำตกชิราอิโตะ โดยในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นจากโตเกียวได้ ในปัจจุบันภูเขาได้ถูกจัดโดยนักวิทยาศาสตร์อยู่ในลักษณะของภูเขาไฟที่มีโอกาสปะทุต่ำ ระเบิดครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) ยุคเอโดะ

ภูเขาไฟฟูจิ มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูจิซัง" ซึ่งในหนังสือในสมัยก่อนเรียกว่า "ฟูจิยามะ" เนื่องจากตัวอักษรคันจิตัวที่ 3 (山) สามารถอ่านได้ 2 แบบทั้ง "ยามะ" และ "ซัง"[3]

ประวัติ

[แก้]

เชื่อว่ามีผู้ปีนภูเขาไฟฟูจิครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาไฟฟูจิได้ชื่อว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้น ปัจจุบันภูเขาไฟฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่างๆ โดยเฉพาะภาพวาดของโฮกูไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมายของญี่ปุ่น ในอดีตภูเขาไฟฟูจิเป็นที่ฝึกฝนของฐานทัพซามูไร ซึ่งในปัจจุบันฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูเขาไฟฟูจิ

รูปแบบของภูเขาไฟฟูจิและกิจกรรมที่ต่อเนื่องยาวนานในการเป็นแรงบันดาลใจ ได้กลายเป็นวิถีปฏิบัติทางศาสนาที่เชื่อมโยงผู้คนที่นับถือศาสนาชินโต พุทธศาสนา และธรรมชาติเข้าด้วยกัน ภูเขาไฟฟูจิยังมีอิทธิพลต่อศิลปินในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในการผลิตภาพเขียนที่มีลักษณะทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทั้งนี้ภูเขาไฟฟูจิซึ่งมีความสูง 3,776 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยะมะนะชิและชิซุโอะกะ เป็นหนึ่งในทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น จากการที่เป็นภูเขาไฟที่มีรูปร่างสมมาตรและมีหิมะปกคลุมบริเวณยอดเขาตลอดทั้งปี ทำให้กลายเป็นจุดดึงดูดผู้คนมานานหลายร้อยปี

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ยอดเขาฟูจิมีสภาวะภูมิอากาศแบบทุนดรา (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ET) อุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่มีการบันทึกอยู่ที่ −38.0 องศาเซลเซียส (−36.4 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 และอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 17.8 องศาเซลเซียส (64.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942

ข้อมูลภูมิอากาศของภูเขาฟูจิ (ปกติ ค.ศ. 1991−2020 สูงสุด ค.ศ. 1932−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -1.7
(28.9)
0.0
(32)
1.0
(33.8)
4.7
(40.5)
12.2
(54)
12.3
(54.1)
17.4
(63.3)
17.8
(64)
16.3
(61.3)
14.0
(57.2)
6.9
(44.4)
3.6
(38.5)
17.8
(64)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) -15.3
(4.5)
-14.3
(6.3)
-10.9
(12.4)
-5.9
(21.4)
-0.6
(30.9)
4.0
(39.2)
8.0
(46.4)
9.5
(49.1)
6.5
(43.7)
0.7
(33.3)
-5.9
(21.4)
-12.2
(10)
−3.0
(26.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -18.2
(-0.8)
-17.4
(0.7)
-14.1
(6.6)
-8.8
(16.2)
-3.2
(26.2)
1.4
(34.5)
5.3
(41.5)
6.4
(43.5)
3.5
(38.3)
-2.0
(28.4)
-8.7
(16.3)
-15.1
(4.8)
−5.9
(21.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -21.4
(-6.5)
-21.1
(-6)
-17.7
(0.1)
-12.2
(10)
-6.3
(20.7)
-1.4
(29.5)
2.8
(37)
3.8
(38.8)
0.6
(33.1)
-5.1
(22.8)
-11.8
(10.8)
-18.3
(-0.9)
−9.0
(15.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -37.3
(-35.1)
-38.0
(-36.4)
-33.9
(-29)
-27.8
(-18)
-18.9
(-2)
-13.1
(8.4)
-6.9
(19.6)
-4.3
(24.3)
-10.8
(12.6)
-19.5
(-3.1)
-28.1
(-18.6)
-33.0
(-27.4)
−38
(−36.4)
ความชื้นร้อยละ 53 56 61 63 60 70 79 75 67 53 52 52 61.8
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency[4]

มรดกโลก

[แก้]
ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ภูเขาไฟฟูจิและเจดีย์แดงชูเรโตะ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567
ประเทศจังหวัดชิซูโอกะและจังหวัดยามานาชิ
 ญี่ปุ่น
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii) (iv)
อ้างอิง1418
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ภายใต้ชื่อ "ฟูจิซัง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ" ทำให้ภูเขาไฟฟูจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 13 และเป็นมรดกโลกแห่งที่ 17 ของประเทศญี่ปุ่น โดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "富士山情報コ–ナ–". Sabo Works at Mt.Fuji. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
  2. Triangulation station is 3775.63m. "Information inspection service of the Triangulation station" (ภาษาญี่ปุ่น). Geospatial Information Authority of Japan, (甲府–富士山–富士山). สืบค้นเมื่อ February 8, 2011.
  3. "Value of Mt. Fuji".Fujisan World Cultural Heritage Council. สืบค้นเมื่อ November 14, 2024.
  4. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภูเขาฟูจิ
  • คู่มือการท่องเที่ยว ภูเขาฟูจิ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)