ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศศรีลังกา

พิกัด: 7°N 81°E / 7°N 81°E / 7; 81
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซีลอน)

7°N 81°E / 7°N 81°E / 7; 81

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජය (สิงหล)
இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு (ทมิฬ)
ที่ตั้งของศรีลังกา
เมืองหลวงศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ (นิติบัญญัติ)[1]
โคลัมโบ (บริหารและตุลาการ)[2]
6°56′N 79°52′E / 6.933°N 79.867°E / 6.933; 79.867
เมืองใหญ่สุดโคลัมโบ
ภาษาราชการสิงหล
ทมิฬ[3]
ภาษาที่ได้รับการรับรองอังกฤษ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2012[4])
74.9% สิงหล
11.2% ศรีลังกาเชื้อสายทมิฬ
9.2% ศรีลังกาเชื้อสายมัวร์
4.2% อินเดียเชื้อสายทมิฬ
0.5% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2012)
70.2% พุทธ (ศาสนาประจำชาติ)[5]
12.6% ฮินดู
9.7% อิสลาม
7.4% คริสต์
0.1% อื่น ๆ/ไม่มี
เดมะนิมชาวศรีลังกา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
อนุระ กุมาระ ทิสานายกะ
หรินี อมรสุริยะ
มหินทะ ยาปา อเพวรรธนะ[6]
ชยันตะ ชยสูริยะ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช 
• ก่อตั้งอาณาจักร[7]
543 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• ก่อตั้งราชรัฐ[8]
437 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ค.ศ. 1796
ค.ศ. 1815
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1972
7 กันยายน ค.ศ. 1978
พื้นที่
• รวม
65,610 ตารางกิโลเมตร (25,330 ตารางไมล์) (อันดับที่ 120)
4.4
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้น22,156,000[9] (อันดับที่ 57)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2012
20,277,597[10]
337.7 ต่อตารางกิโลเมตร (874.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 24)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 306,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 56)
เพิ่มขึ้น 13,909 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 88)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 84,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 64)
เพิ่มขึ้น 3,830 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 113)
จีนี (ค.ศ. 2016)39.8[12]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.782[13]
สูง · อันดับที่ 72
สกุลเงินรูปีศรีลังกา (Rs) (LKR)
เขตเวลาUTC+5:30 (เวลามาตรฐานศรีลังกา)
รูปแบบวันที่
  • วว-ดด-ปปปป
  • ปปปป-ดด-วว
ไฟบ้าน230 โวลต์–50 เฮิรตซ์
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+94
รหัส ISO 3166LK
โดเมนบนสุด
เว็บไซต์
www.gov.lk

ศรีลังกา (สิงหล: ශ්‍රී ලංකා, ออกเสียง [ʃriː laŋkaː]; ทมิฬ: இலங்கை, ออกเสียง [ilaŋɡaj]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (สิงหล: ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในเอเชียใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอลและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลอาหรับ โดยมีอ่าวมันนาร์และช่องแคบพอล์กคั่นเกาะออกจากอนุทวีปอินเดีย ศรีลังกามีพรมแดนทางทะเลร่วมกับอินเดียและมัลดีฟส์ ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏเป็นเมืองหลวงทางกฎหมาย ส่วนโคลัมโบเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางการเงิน

ศรีลังกามีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน (ค.ศ. 2020) และเป็นรัฐหลายชนชาติซึ่งเป็นถิ่นฐานของวัฒนธรรม ภาษา และชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ชาวสิงหลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวทมิฬซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเกาะเช่นกัน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ปักหลักอยู่ที่นี่มาอย่างยาวนาน ได้แก่ ชาวมัวร์ ชาวเบอร์เกอร์ (Burgher) ชาวมลายู ชาวจีน และชนพื้นเมืองแว็ททา[14]

ประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ของศรีลังกามีอายุย้อนไปถึง 3,000 ปี โดยปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุอย่างน้อย 125,000 ปี[15] งานเขียนทางศาสนาพุทธที่เก่าแก่ที่สุดของศรีลังกาซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีมีอายุย้อนไปถึงการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 29 ปีก่อนคริสต์ศักราช[16][17] ศรีลังกายังได้รับสมญานามว่า "หยดน้ำตาของอินเดีย" และ "ยุ้งฉางตะวันออก" โดยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาทำให้เกาะนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของเส้นทางสายไหมโบราณมาจนถึงเส้นทางสายไหมทางทะเลในปัจจุบัน[18][19][20] เนื่องจากทำเลที่ตั้งได้ส่งผลให้ศรีลังกากลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ทั้งชาวตะวันออกไกลและชาวยุโรปจึงรู้จักเกาะแห่งนี้มานานแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรอนุราธปุระ (377 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 1017) ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ในอาณาจักรโกฏเฏ โปรตุเกสได้เดินทางมาถึงศรีลังกาและพยายามที่จะควบคุมการค้าทางทะเลของเกาะ โดยส่วนหนึ่งของศรีลังกาตกอยู่ในความครอบครองของโปรตุเกสในเวลาต่อมา ภายหลังสงครามสิงหล–โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์และอาณาจักรกัณฏิได้เข้าควบคุมพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นดินแดนในความครอบครองของเนเธอร์แลนด์ก็ตกไปอยู่ในมือของบริเตนซึ่งต่อมาขยายอำนาจควบคุมไปทั่วทั้งเกาะและตั้งเป็นอาณานิคมซีลอนตั้งแต่ ค.ศ. 1815 ถึง ค.ศ. 1948 ขบวนการเรียกร้องเอกราชทางการเมืองระดับชาติเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และใน ค.ศ. 1948 ซีลอนก็กลายเป็นประเทศในเครือจักรภพ ประเทศในเครือจักรภพนี้มีรัฐสืบเนื่องต่อมาคือสาธารณรัฐนามว่าศรีลังกาตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ประวัติศาสตร์ศรีลังกาในสมัยหลังมานี้แปดเปื้อนไปด้วยสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลานาน 26 ปี โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1983 และสิ้นสุดลงอย่างเด็ดขาดเมื่อกองทัพศรีลังกาเอาชนะกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมได้ใน ค.ศ. 2009[21]

ศรีลังกาเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยอยู่อันดับที่ 72 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นประเทศในเอเชียใต้ที่มีอันดับสูงสุดในแง่การพัฒนาและมีรายได้ต่อหัวที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของสกุลเงิน อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมอันเนื่องมาจากการขาดแคลนสิ่งของจำเป็นอย่างรุนแรง วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจยังนำไปสู่การปะทุของการประท้วงตามท้องถนน โดยประชาชนได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีและรัฐบาลลาออกจากตำแหน่งจนเป็นผลสำเร็จ[22] เกาะนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการมีส่วนร่วมกับกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในสมัยใหม่ โดยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (ซาร์ก) และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ กลุ่ม 77 และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ภูมิศาสตร์

[แก้]
เมืองกัณฏิล้อมรอบด้วยป่าไม้และแหล่งน้ำ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย

ภูมิอากาศ

[แก้]

อากาศช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค.

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]

ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากประเทศอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมืองโปลอนนารุวาเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรแจฟฟ์นาทางคาบสมุทรแจฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศ ส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรกัณฏิ ซึ่งมีกัณฏิเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฏเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15

ยุคโบราณ

[แก้]

อาณานิคม

[แก้]

อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญากัณฏิ รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างประเทศหลายศตวรรษ และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)

การเมืองการปกครอง

[แก้]

นิติบัญญัติ

[แก้]

รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

พรรคการเมือง

[แก้]

ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่

  • พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP)
  • พรรค United National Party (UNP)
  • พรรค Tamil United Liberation Front (TULF)
  • พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC)
  • พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP)
  • พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation
  • พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC)

การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน

[แก้]

ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
จังหวัดในศรีลังกา

ศรีลังกาประกอบด้วย 9 จังหวัด (สิงหล: පළාත; ทมิฬ: மாகாணம்) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลักของจังหวัดอยู่ในวงเล็บ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sri Jayewardenepura Kotte". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  2. "Colombo". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  3. "Official Languages Policy". languagesdept.gov.lk. Department of Official Languages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
  4. "South Asia: Sri Lanka". CIA. 22 September 2021.
  5. https://www.state.gov/reports/2018-report-on-international-religious-freedom/sri-lanka/
  6. "Hon. Mahinda Yapa Abeywardena elected as the New Speaker". Parliament of Sri Lanka. 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  7. De Silva, K. M. (1981). A History of Sri Lanka. University of California Press. ISBN 978-0-19-561655-2. A History of Sri Lanka.
  8. Nicholas, C. W.; Paranavitana, S. (1961). A Concise History of Ceylon. Colombo University Press.
  9. "Mid‐year Population Estimates by District & Sex, 2016 ‐ 2021". statistics.gov.lk. Department of Census and Statistics. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
  10. "Census of Population and Housing 2011 Enumeration Stage February–March 2012" (PDF). Department of Census and Statistics – Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  12. "Gini Index". World Bank.
  13. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  14. "Vedda". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  15. Roberts, Brian (2006). "Sri Lanka: Introduction". Urbanization and sustainability in Asia: case studies of good practice. ISBN 978-971-561-607-2.
  16. Jack Maguire (2001). Essential Buddhism: A Complete Guide to Beliefs and Practices. Simon and Schuster. p. 69. ISBN 978-0-671-04188-5. ... the Pali canon of Theravada is the earliest known collection of Buddhist writings ...
  17. "Religions – Buddhism: Theravada Buddhism". BBC. 2 October 2002.
  18. Bandaranayake, Senake (1990). "Sri Lankan Role in the Maritime Silk Route". Sri Lanka and the silk road of the sea. p. 21. ISBN 978-955-9043-02-7.
  19. British Prime Minister Winston Churchill described the moment a Japanese fleet prepared to invade Sri Lanka as "the most dangerous and distressing moment of the entire conflict". – Commonwealth Air Training Program Museum, The Saviour of Ceylon เก็บถาวร 22 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. "A Brief History of Sri Lanka". localhistories.org. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
  21. Reuters Sri Lanka wins civil war, says kills rebel leader เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters (18 May 2009). Retrieved 18 November 2012.
  22. Ellis-Petersen, Hannah (9 April 2022). "'We're finished': Sri Lankans pushed to the brink by financial crisis". The Observer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.

หมายเหตุ

[แก้]
ข้อมูลและอ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

ภาพรวมและข้อมูล

ประวัติศาสตร์

แผนที่

Wikimedia Atlas of Sri Lanka

การค้า