ข้ามไปเนื้อหา

ชาวอเมริกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คนอเมริกัน)
ชาวอเมริกัน
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 308 ล้านคน (ค.ศ. 2008)
ประมาณ 329 ล้านคน (ค.ศ. 2020)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สหรัฐอเมริกา        351,312,000[1]
 เม็กซิโก1,000,000[2]
 แคนาดา688,000[3]
 สหราชอาณาจักร224,000[3]
 ไลบีเรีย159,697[4]
 ออสเตรเลีย118,003[5][6]
 ฟิลิปปินส์105,000[3]
 บราซิลราว 25-50,000[ต้องการอ้างอิง]
 คอสตาริกา40,000[7]
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์50,000[3]
 นิวซีแลนด์17,751[8]
 รัสเซีย60,000[3]
 อินเดีย700,000[3]
 ฝรั่งเศส100,000[3]
 ญี่ปุ่น55,713[3]
 จีน110,000[3]
 อินโดนีเซีย88,950[3]
 ไทย162,090[3]
 เกาหลีใต้158,000
 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)10,649
 ปากีสถาน52,486
 ซาอุดีอาระเบีย49,000
 ฮ่องกง90,000
 เยอรมนี405,800
 กาตาร์15,000
 คูเวต10,000
ภาษา
ส่วนใหญ่อังกฤษอเมริกัน, สเปนอเมริกัน และอื่นๆ
ศาสนา
ส่วนใหญ่โปรเตสแตนต์, โรมันคาทอลิก และ ศาสนายูดาย

ชาวอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐ (อังกฤษ: People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา[9]

การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมาก[10][11] วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเรียกว่าวัฒนธรรมอเมริกันสายกลาง (mainstream American culture) วัฒนธรรมตะวันตกส่วนใหญ่มาจากขนบธรรมเนียมของวัฒนธรรมยุโรปตะวันตกของผู้อพยพที่เริ่มตั้งแต่การอพยพมาตั้งถิ่นฐานในสมัยแรกของชาวอังกฤษและชาวดัตช์ นอกจากนั้นวัฒนธรรมของชาวเยอรมัน, ชาวไอริช และชาวสกอตก็ยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอเมริกันสายกลางด้วย[10] วัฒนธรรมของทาสชาวแมนดี และ ชาวโวลอฟจากแอฟริกาตะวันตกก็ได้รับการผสมผสานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกันสายกลาง วัฒนธรรมของชาวบันตุจากแอฟริกากลางซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมแอฟริกันอเมริกันก็มีอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่มีบทบาทในวัฒนธรรมอเมริกันสายกลาง[12] การขยายตัวไปทางตะวันตกทำให้ได้รับวัฒนธรรมของครีโอลและเคจันของลุยเซียนาเข้ามาด้วย และฮิสปานอสของตะวันตกเฉียงใต้ที่นำวัฒนธรรมเข้ามาติดต่อกับวัฒนธรรมเม็กซิโก การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากยุโรปใต้และยุโรปตะวันออกก็นำวัฒนธรรมใหม่เข้ามา และเมื่อไม่นานมานี้การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของประชากรจากเอเชีย, แอฟริกา และโดยเฉพาะ ลาตินอเมริกาก็ยิ่งทำให้มีส่วนผสมใหม่เพิ่มมากขึ้น การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของประชากรจากส่วนต่างๆ ของโลกที่มีวัฒนธรรมอันแตกต่างกันทำให้สหรัฐกลายเป็นประเทศมีวัฒนธรรมที่เป็นหม้อหลอม (melting pot) หรือ วัฒนธรรมเกาเหลาอย่างแท้จริง หรือ วัฒนธรรมสลัด (salad bowl culture)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "U.S. POPClock Projection". U.S. Census Bureau. Figure updated automatically.
  2. HOW MANY AMERICANS LIVE IN MEXICO?
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 "Record Numbers of Americans Living Abroad". Shelter Offshore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
  4. "Liberia: History, Geography, Government, and Culture". Infoplease. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
  5. Australina Bureau of Statistics - Ethnic Media Kit
  6. "ibid, Ancestry (full classification list) by Sex - Australia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-21.
  7. "Americans living in Costa Rica". Costa-Rica-Life.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
  8. "North Americans: Facts and figures". Te Ara Encyclopedia of New Zealand.
  9. Fiorina, Morris P., and Paul E. Peterson (2000). The New American Democracy. London: Longman, p. 97. ISBN 0-321-07058-5.
  10. 10.0 10.1 10.2 Adams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001). Dealing with Diversity. Chicago: Kendall/Hunt. ISBN 0-7872-8145-X.
  11. Thompson, William, and Joseph Hickey (2005). Society in Focus. Boston: Pearson. ISBN 0-205-41365-X.
  12. Holloway, Joseph E. (2005). Africanisms in American Culture, 2d ed. Bloomington: Indiana University Press, pp. 18–38. ISBN 0-253-34479-4. Johnson, Fern L. (1999). Speaking Culturally: Language Diversity in the United States. Thousand Oaks, Calif., London, and New Delhi: Sage, p. 116. ISBN 0-8039-5912-5.

ดูเพิ่ม

[แก้]