ข้ามไปเนื้อหา

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การสมสู่ร่วมสายโลหิต)

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท[note 1] หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต[note 2] (อังกฤษ: Incest)[1] หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน[2] ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน[3]

ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว[4] อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ[5][6][7] การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง[8][9] นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี[10] ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20%[11]

ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ[12][13] ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม [14]แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ[15] บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี

ประวัติ

[แก้]

การร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันเชื่อว่าเป็นที่ยอมรับและเกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องปกติตลอดช่วงการวิวัฒนาการของมนุษย์ ต่อเนื่องตลอดยุคหิน จนถึงยุคสำริด และยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันในบางส่วนของโลกเช่นในกลุ่มประเทศหมู่เกาะโพลีนีเซีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รู้จักแพร่หลายมาจากประเทศอียิปต์ ที่ฟาโรห์แต่งงานกับพี่สาวน้องสาวหรือแม้แต่ลูกสาวของพระองค์เอง หลังจากพ้นยุคสำริดแล้วการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันเป็นที่ยอมรับน้อยลงเนื่องมาจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะกลุ่มศาสนายิว คริสต์ อิสลาม ที่มีบทบัญญัติห้ามการร่วมประเวณีของคนในครอบครัว

ข้อห้ามการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันเกิดมาเมื่อใดไม่มีใครทราบ รู้แต่ว่าหลักฐานที่มีที่เก่าแก่ที่สุดมาจากคัมภีร์ไบเบิล เมื่อโมเสสบอกว่าไม่ให้มีการสมสู่ระหว่างบิดาต่อลูก พี่ต่อน้อง ซึ่งถือเป็นการลบหลู่เกียรติของพระเจ้าสูงที่สุด และต้องถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย[16]

อย่างในก็ตามในคัมภีร์ปฐมกาลก็ได้มีเรื่องราวของการร่วมประเวณีกับญาติสนิทอยู่เช่นกัน ในเรื่องราวกำเนิดคนโมอับและคนอัมโนนนั้น ลูกสาวสองคนของโลทซึ่งรอดจากพระพิโรธของพระเจ้าที่ทำลายเมืองโสโดมจนสิ้นนั้นได้หลับนอนกับโลทผู้เป็นบิดา และให้กำเนิดลูกชื่อโมอับและเบนอัมมี[17]

ในปัจจุบันการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวเดียวกันกลับมาเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ จุดย้อนกลับเริ่มหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีความพยายามขจัดอิทธิพลของศาสนจักรออกไปจากการปกครอง ในหลายประเทศที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสได้ยกเลิกกฎหมายต่างๆที่ถูกตราขึ้นเพื่อรองรับอำนาจของศาสนจักร รวมทั้งกฎหมายห้ามการร่วมประเวณีของคนในครอบครัวซึ่งถูกมองว่าเป็นข้อห้ามทางศาสนาได้ถูกยกเลิกไปในตอนนั้น อย่างไรก็ตามหลังยุคปฏิวัติฝรั่งเศสหลายประเทศได้มีการรื้อฟื้นตรากฎหมายเหล่านั้นกลับขึ้นมาในลักษณะที่ผ่อนปรนมากกว่าเดิม โดยส่วนใหญ่เป็นการบัญญัติเงื่อนไขข้อห้ามของการแต่งงานเท่านั้น แต่มักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ศัพท์ทางนิติศาสตร์
  2. ศัพท์ทางแพทยศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ruth K. Westheimer. (1994). Dr. Ruth's Encyclopedia of Sex. The Jerusalem Publishing Herese. และ เอนก อารีพรรค, สุวัทนา อารีพรรค. (2525) เรียนรู้เรื่องเพศ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Incest /เพศสัมพันธ์ในเครือญาติ
  2. Summers, Dellar. Longman Dictionary of Contemporary English. 4th ed. (Italy: Pearson Education Limited, 2005)
  3. Elementary Structures Of Kinship, by Claude Lévi-Strauss. (tr.1971).
  4. Herman, Judith (1981). Father-Daughter Incest. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 282. ISBN 0-674-29506-4.
  5. Goldman, R., & Goldman, J. (1988). The prevalence and nature of child sexual abuse in Australia. Australian Journal of Sex, Marriage and Family, 9 (2), 94-106.
  6. Finkelhor, D. (1979). Sexually victimised children. New York: Free Press.
  7. Rayment-McHugh, Sue and Ian Nesbit. 2003. Sibling Incest Offenders As A Subset of Adolescent Sex Offenders. Paper presented at the Child Sexual Abuse: Justice Response or Alternative Resolution Conference convened by the Australian Institute of Criminology and held in Adelaide, 1-2 May 2003
  8. Kathleen C. Faller (1993), Child Sexual Abuse: Intervention and Treatment Issues, DIANE Publishing, p. 64, ISBN 9780788116698. {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |separator= ถูกละเว้น (help)
  9. Diane H. Schetky; Arthur H. Green (1988), Child Sexual Abuse: A Handbook for Health Care and Legal Professionals, Psychology Press, p. 128, ISBN http://books.google.com/books?id=QYyzGgZbllYC. {{citation}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |isbn= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |separator= ถูกละเว้น (help)
  10. Nemeroff, Charles B.; Craighead, W. Edward (2001). The Corsini encyclopedia of psychology and behavioral science. New York: Wiley. ISBN 0-471-24096-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Courtois, Christine A. (1988). Healing the Incest Wound: Adult Survivors in Therapy. W. W. Norton & Company. pp. p208. ISBN 0393313565. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  12. Brown, Donald E., Human Universals. New York: McGraw-Hill, 1991, p. 118-29
  13. Turner, Jeffrey S. (1996). Encyclopedia of Relationships Across the Lifespan. Greenwood Publishing Group. pp. p92. ISBN 031329576X. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  14. Incest: The Nature and Origin of the Taboo, by Emile Durkheim (tr.1963)
  15. Kinship, Incest, and the Dictates of Law, by Henry A. Kelly, 14 Am. J. Juris. 69
  16. สมาคมพระคริสตธรรมไทย. "พระคริสตธรรมคัมภีร์" เลวีนิติ 18:6-18. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสตธรรมไทย, 1995.
  17. ปฐมกาล 19 | THSV11 พระคัมภีร์ | YouVersion.