ข้ามไปเนื้อหา

ศกุนตลา เทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
ศกุนตลา เทวี
เกิด04 พฤศจิกายน ค.ศ. 1929(1929-11-04)
บังกาลอร์, รัฐมหาราชาไมซอร์, บริทิชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต21 เมษายน ค.ศ. 2013(2013-04-21) (83 ปี)
บังกาลอร์ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่น“มนุษย์เครื่องคิดเลข”
อาชีพ
คู่สมรสParitosh Banerji (สมรส 1964; หย่า 1979)
บุตร1

ศกุนตลา เทวี (เบงกอล: শকুন্তলা দেবী; Shakuntala Devi) (4 พฤศจิกายน 1929 – 21 เมษายน 2013) เป็นนักคณิตศาสตร์ผู้เป็นนักคำนวณในใจชาวอินเดีย เธอเป็นที่รู้จักในชื่อ "มนุษย์เครื่องคิดเลข" (Human Computer) เธอได้พยายามในการสร้างให้การคำนวณเลขคณิตเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กนักเรียน[1][2][3][4][5] ด้วยความสามารถของเธอ ทำให้เธอมีรายชื่อปรากฏใน กินเนสส์เวิลด์เรเคิดส์ ฉบับปี 1982[6][2][3][7] เทวีเป็นเด็กที่ฉลาดกว่าเด็กในรุ่นวัยเดียวกัน และเธอได้สาธิตความสามารถทางการคำนวณของเธอที่มหาวิทยาลัยไมซอร์ ทั้ง ๆ ที่เธอไม่เคยได้รับการศึกษาในระบบมาก่อน[6][3]

เธอเป็นผู้แต่งหนังสือจำนวนหนึ่ง มีเนื้อหาทั้งคณิตศาสตร์ เชาวน์ปัญหา และดาราศาสตร์ นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้เขียน The World of Homosexuals (โลกของชาวรักร่วมเพศ) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นงานศึกษาเกี่ยวกับรักร่วมเพศในอินเดียชิ้นแรก[8][9]

ชีวิตช่วงต้น

ศกุนตลา เทวี เกิดที่เบงคลูรู รัฐกรณาฏกะ[2][3] ในตระกูลพราหมณ์กันนาดา[10][7] บิดาของเธอ C V Sundararaja Rao[11] ประกอบอาชีพทำราวห้อยโหน, ฝึกสิงโต และแสดงเดินบนเชือกและเป็นนักมายากลในคณะละครสัตว์[2][3][12][6][5][13] เขาค้นพบว่าลูกสาวของเธอมีความสามารถในการจดจำตัวเลขขณะที่เขาสอนการเล่นไพ่ตอนเธออายุเพียง 3 ขวบ[6][2][5] บิดาของเธอลาออกจากคณะละครสัตว์และพาเธอเดินสายโรดโชว์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคำนวณของเธอ[2] เรามีความสามารถนี้ทั้งที่ไม่เคยศึกษาในระบบ[6][3] ต่อมาเมื่อเธออายุ 6 ปี เธอได้แสดงถึงความสามารถในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไมซอร์[2][3]

ค.ศ. 1944 เทวีได้ย้ายไปลอนดอน[14][15]

อ้างอิง

  1. "Shakuntala Devi strove to simplify maths for students". The Hindu. 21 April 2013. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Pandya, Haresh (21 April 2013). "Shakuntala Devi, 'Human Computer' Who Bested the Machines, Dies at 83". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "Obituary: Shakuntala Devi". The Telegraph. 22 April 2013. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  4. Jensen, Arthur R. (July–September 1990). "Speed of information processing in a calculating prodigy". Intelligence. University of California, Berkeley, United States. 14 (3): 259–274. doi:10.1016/0160-2896(90)90019-P. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Obituary: India's 'human computer' Shakuntala Devi". BBC News. 22 April 2013. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Shakuntala Devi strove to simplify maths for students". The Hindu. 21 April 2013. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  7. 7.0 7.1 "'Human computer' Shakuntala Devi dies in Bangalore". Times of India. 21 April 2013. สืบค้นเมื่อ 16 December 2018.
  8. Subir K Kole (11 July 2007). "Globalizing queer? AIDS, homophobia and the politics of sexual identity in India". Globalization and Health. 3: 8. doi:10.1186/1744-8603-3-8. PMC 2018684. PMID 17623106.: "The first academic book on Indian homosexuals appeared in 1977 (The World of Homosexuals) written by Shakuntala Devi, the mathematics wiz kid who was internationally known as the human computer. This book saw homosexuality in a positive light and reviewed the socio-cultural and legal situation of homosexuality in India and contrasted that with the gay liberation movement then taking place in the USA."
  9. Mubarak, Salva (13 May 2019). "Get to know Shakuntala Devi, the woman known as the 'human computer'". Vogue India. Mumbai, India: Dilshad Arora. สืบค้นเมื่อ 2 August 2019. In 1970s, she wrote The World of Homosexuals, a book that went disappointingly unnoticed at that time, but gained popularity over the years for being one of the earliest studies of our society's understanding of homosexuality.
  10. Closed access "Science: Numbers Game". Time. 14 July 1952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-21. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  11. "Why Shakuntala's siblings gave up on maths". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). 8 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  12. IBTimes Staff Reporter (22 April 2013). "Math Genius and Guinness Record Holder Shakuntala Devi Passes Away at Age 83". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  13. Aditi Mishra; Siddarth Kumar Jain (22 April 2013). "She made learning maths as thrilling as magic". The Bangalore Mirror. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  14. "Remembering Shakuntala Devi, India's 'human computer'". Mid Day. Mumbai, India. 4 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  15. Lohana, Avinash (29 January 2019). "Sanya Malhotra to play Vidya Balan's daughter in Shakuntala". Mumbai Mirror. Mumbai, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.