ข้ามไปเนื้อหา

เซ็กซ์ทัวร์เด็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซ็กซ์ทัวร์เด็ก เป็นเซ็กซ์ทัวร์ที่มีจุดหมายเพื่อใช้บริการในการค้าประเวณีเด็ก ซึ่งเป็นรูปแบบของการทารุณเด็กทางเพศที่อำนวยโดยระบบการค้า[1] เซ็กซ์ทัวร์เด็กอาจมีผลทั้งทางกายและใจต่อเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ รวมทั้ง "โรค (รวมทั้งเอชไอวีหรือเอดส์) การติดสารเสพติด การตั้งครรภ์ ทุพโภชนาการ รอยด่างทางสังคม และอาจถึงตาย"[1] เซ็กซ์ทัวร์เด็กเป็นส่วนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีค่าหลายหมื่นล้านบาท เป็นการค้าประเวณีเด็กซึ่งเป็นส่วนของปัญหาการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (CSEC) ที่กว้างขวางครอบคลุมกว่า โดยมีเด็กเป็นเหยื่อจากเซ็กซ์ทัวร์ประมาณ 2 ล้านคนทั่วโลก[1][2][3][4] เด็กโสเภณีในทัวร์เซ็กซ์บ่อยครั้งถูกหลอกหรือถูกลักพาตัวบังคับให้กลายเป็นทาสทางเพศ[5][6][7]

คนใช้บริการทางเพศจากเด็กสามารถจัดประเภทได้โดยแรงจูงใจ และผิดจากความเชื่อที่แพร่หลาย คนใคร่เด็กโดยมากไม่ใช่คนใช้บริการ มีคนที่ชอบใจทารุณเด็ก เพราะอาจจะรู้สึกว่า โอกาสเสี่ยงต่อกามโรคจะต่ำกว่า และก็มีคนที่ใช้ตามโอกาส คือคนที่ไม่ได้แสวงหาเด็กโดยตรง แต่ว่าทำไปตามโอกาสที่มี และอาจจะไม่สนใจอายุของโสเภณีก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมทางเพศ เด็กโดยมากที่ถูกฉวยประโยชน์มีอายุต่ำกว่า 12 ขวบ[4]

ส่วนคนใคร่เด็กอาจจะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวางแผนการเดินทาง โดยสืบหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบริการเซ็กทัวร์เด็ก และว่าเด็กที่ไหนสามารถหาได้ง่ายที่สุด ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะเป็นเขตที่มีรายได้ต่ำ[4] มีรัฐบาลบางประเทศที่ออกฎหมายให้สามารถดำเนินคดีต่อประชาชนของตนเนื่องจากการทารุณเด็กทางเพศที่ทำนอกประเทศ แต่ว่า แม้ว่ากฎหมายต่อต้านทัวร์เซ็กซ์เด็กอาจจะปรามคนทำผิดแบบตามโอกาสที่ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ คนใคร่เด็กที่เดินทางเฉพาะเจาะจงเพื่อฉวยประโยชน์จากเด็กจะห้ามไม่ได้อย่างง่าย ๆ[4]

พื้นเพ

[แก้]

ทัวร์เซ็กซ์เด็กสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความยากจน ภาวะสงคราม การปรับเศรษฐกิจให้เป็นแบบอุตสาหกรรมอย่างสายฟ้าแลบ และการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว[8] ยกตัวอย่างเช่น ในลาตินอเมริกาและเอเชียอาคเนย์ เด็กจรจัดบ่อยครั้งเริ่มค้าประเวณีเพราะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากนั้นแล้ว เด็กที่มีจุดอ่อนก็ยังเป็นเป้าหมายที่ง่ายในการฉวยประโยชน์ของคนค้าเด็ก[8]

เซ็กซ์ทัวร์เด็กเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยากเพราะว่าประเทศต่าง ๆ มีอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ต่าง ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีกำหนดที่ 13 ปี และบาห์เรนกำหนดที่ 21 ปี

ประเทศไทย กัมพูชา อินเดีย บราซิล และเม็กซิโก เป็นเขตที่มีการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กมากที่สุด[9] ในประเทศไทย จำนวนเด็กโสเภณีไม่แน่นอน แต่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) รายงานว่า มีเด็ก 40% ในบรรดาโสเภณีที่มีอยู่ในประเทศ[10] ในกัมพูชา ประเมินว่า 1/3 ของโสเภณีทั้งหมดอายุต่ำกว่า 18 ปี[11][12] ในอินเดีย ตำรวจรัฐบาลกลางกล่าวว่า เชื่อว่ามีเด็กประมาณ 1.2 ล้านคนที่ค้าประเวณี[13] จนกระทั่งถึงเร็ว ๆ นี้ พิจารณากันว่าบราซิลมีประวัติแย่ที่สุดในการค้าประเวณีเด็กต่อจากประเทศไทย[14] แต่ตามรายงานข่าวของบีบีซี เวิลด์นิวส์[15] "ปัจจุบัน บราซิลกำลังแซงประเทศไทยโดยเป็นศูนย์ทัวร์เซ็กซ์เด็กที่นิยมที่สุดในโลก" ส่วนอีกสำนักข่าวหนึ่งรายงานว่า "บราซิลในปัจจุบันมีแนวโน้มเอียงสูงเรื่องทัวร์เซ็กซ์เด็กที่พร้อมจะกลายเป็นที่หนึ่งแซงประเทศไทย"[16]

ทัวร์เซ็กซ์ที่ตั้งเป้าหมายที่เด็ก เป็นแรงจูงใจทางการเงินระดับสูงต่อผู้ค้าเด็ก การค้ามนุษย์ทุกอย่างมีผลกระทบต่อเด็กประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี[17][18] สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) กล่าวในปี 2552 ว่า การค้ามนุษย์ 79% ทั่วโลกเป็นไปเพื่อการฉวยประโยชน์ทางเพศ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่เติบโตเร็วที่สุดอย่างหนึ่งของโลก[18]

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ให้ข้อสังเกตว่า กิจกรรมทางเพศบ่อยครั้งมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ทำให้ชุมชนไม่อยากจะเข้าไปแซกแทรงในกรณีฉวยประโยชน์ทางเพศ[18] แต่ทัศนคติเช่นนี้ทำให้เด็กมีจุดอ่อนเพิ่มขึ้นในการถูกฉวยประโยชน์ ทั้งคนในพื้นที่และผู้ท่องเที่ยวเซ็กซ์ ฉวยประโยน์ทางเพศจากเด็กผู้ที่ถูกสูบเข้าไปในการค้าทางเพศของผู้ใหญ่[18] และอินเทอร์เน็ตก็เป็นอุปกรณ์การติดต่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่จะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางและการหาซื้อเด็ก[18]

ในกรณีที่เกี่ยวกับเด็ก สหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่เข้มงวดสำหรับทั้งประชาชนและผู้ที่ถือใบเขียวที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะประพฤติผิดต่อเด็ก[19] ถึงกระนั้น ทั้งสื่อลามกอนาจารเด็ก เซ็กซ์ทัวร์ และการค้ามนุษย์ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุด[19] มีกฎหมายสหรัฐที่กำลังพิจารณาในสภาสมาชิกผู้แทนราษฎร ที่จะบังคับให้เตือนเจ้าหน้าที่ในประเทศที่เป็นเป้าหมายว่า ผู้ทำผิดทางเพศในสหรัฐตั้งใจที่จะเดินทางไป และสนับสนุนให้ประเทศอื่นเก็บรายชื่อของผู้ทำผิดทางเพศ แล้วแจ้งสหรัฐเมื่อผู้ทำผิดนั้นอาจเดินทางไปยังสหรัฐเพื่อเซ็กซ์ทัวร์[19] แม้ว่าจะมีปัญหาหนักเกี่ยวกับทะเบียนผู้ทำผิดทางเพศของสหรัฐ กลุ่มสิทธิมนุษยชนเช่น ECPAT และ UNICEF เชื่อว่านี้เป็นแนวทางที่ถูกต้อง[19]

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้บราซิลแซงหน้าประเทศอื่น ๆ ก็คือมีการใช้อุตสาหกรรมกีฬาตกปลาในเขตแอมะซอนเป็นตัวบังหน้า กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐรายงานในปี 2551 ว่า[20] "เมื่อกลางปีนี้ ตำรวจของรัฐบาลกลางในเมืองมาเนาส์ได้เริ่มการสืบสวนข้อหาว่า บริษัทท่องเที่ยวที่มีคนต่างชาติเป็นเจ้าของจัดทัวร์ตกปลาเข้าไปในเขตแอมะซอน ที่จริง ๆ แล้วเป็นเซ็กซ์ทัวร์สำหรับคนใคร่เด็กชาวอเมริกันและยุโรป จนกระทั่งถึงสิ้นปี การสืบสวนก็ยังเป็นไปประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างชาติ"

เว็บแคมและทัวร์เซ็กซ์เด็ก

[แก้]

ตามสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีคนล่าเด็กประมาณ 750,000 คนในห้องแช็ต 40,000 ห้องที่เปิดให้ทุกคน ในการสืบสวนเป็นระยะเวลา 10 อาทิตย์ที่ทำโดยองค์กรการกุศลเพื่อสิทธิเด็กในอัมสเตอร์ดัม ที่ใช้รูปจำลองเด็กคอมพิวเตอร์ 3 มิติ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 21,000 คนได้เสนอจ่ายให้ทำการแสดงทางเพศผ่านเว็บแคม ในบรรดาผู้ทำผิด 21,000 คนเหล่านั้น มี 1,000 คนที่ระบุได้จากประเทศออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี กานา อินเดีย อิตาลี มอริเชียส เนเธอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยมี 110 คนที่พบในสหราชอาณาจักร และ 254 คนในสหรัฐอเมริกา[21] ดังนั้น องค์กรจึงร่วมมือกับองค์กรอื่นต่อมาเพื่อสร้างคำร้องทุกข์ออนไลน์ กดดันให้รัฐบาลใช้นโยบายเชิงรุกในการสืบสวน เพื่อป้องกันทัวร์เซ็กซ์เด็กโดยเว็บแคม

การตอบสนองทั่วโลก

[แก้]

ในปีที่ผ่าน ๆ มา มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็กเพิ่มขึ้น มีประเทศอย่างน้อย 38 ประเทศที่มีกฎหมายนอกอาณาเขตที่สามารถให้ดำเนินคดีประชาชนของตน โดยเฉพาะในเรื่องการทารุณเด็กทางเพศที่ทำเมื่ออยู่นอกประเทศ และก็มีอีก 31 ประเทศอื่นอีกที่มีกฎหมายนอกอาณาเขต ที่สามารถให้ดำเนินคดีสำหรับอาชญากรรมที่ทำระหว่างทัวร์เซ็กซ์[1] เพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ องค์การนอกภาครัฐ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และรัฐบาลต่าง ๆ ได้เริ่มที่จะแก้ปัญหานี้ องค์การท่องเที่ยวแห่งโลก (World Tourism Organization) ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหานี้ และองค์การการค้าโลก, องค์การต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็ก ECPAT, และกลุ่มจัดการท่องเที่ยวในยุโรปเหนือได้ตั้ง “จรรยาบรรณเพื่อป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์ทางเพศในการเดินทางและการท่องเที่ยว (Code of Conduct for the protection of children from sexual exploitation in travel and tourism)" ขึ้นในปี 2539 โดยเดือนเมษายน 2556 มีบริษัททราเวลเอเจนซี่กว่า 1,200 บริษัทใน 40 ประเทศที่ได้ลงนามใช้จรรยาบรรณชุดนี้[22]

การบังคับใช้กฎหมาย

[แก้]

หน่วยตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐ (ICE) มีหน้าที่สืบสวนและจับกุมคนใช้บริการเซ็กซ์ทัวร์เด็ก ในปี 2546 ICE ได้ปฏิบัติการจับกุมผู้ทารุณเด็กทางเพศกว่า 11,000 คนรวมทั้ง 1,100 คนนอกสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการ สื่อรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ปลอมตัวล่อจับทางอินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้านำสมัย มีเจ้าหน้าที่ของ ICE ในกรุงเทพฯ ได้กล่าวว่า หน่วยมักจะได้ข้อมูลจากองค์การนอกภาครัฐในพื้นที่เกี่ยวกับคนต่างชาติในประเทศไทย ที่สงสัยว่ามีส่วนร่วมทารุณเด็กทางเพศ และบางครั้งก็ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมจากสหรัฐอเมริกาว่า มีคนที่ทำผิดทางเพศกำลังเดินทางเข้ามาในเขต ในกรณีทั้งสอง เจ้าหน้าที่ของ ICE ในพื้นที่จะทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยเมื่ออยู่ในประเทศไทย[23]

ทัวร์เซ็กซ์เด็กในที่ต่าง ๆ

[แก้]

เอเชีย

[แก้]

กัมพูชา

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า การขายเด็กหญิงพรหมจรรย์ยังเป็นปัญหาหนักในประเทศกัมพูชา และมีชายชาวเอเชียและต่างชาติอื่น ๆ ที่เดินทางไปกัมพูชาเพื่อเที่ยวทัวร์เซ็กซ์เด็ก[24] กฎหมายปราบปรามการลักพาตัว การค้า และการฉวยประโยชน์ของมนุษย์ปี 2539 ของกัมพูชา มีมาตราต่อต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก และแม้ว่ากฎหมายจะพุ่งความสนใจไปที่การค้ามนุษย์ แต่ก็ยังมีกฎเกี่ยวกับการค้าประเวณีด้วย[25] อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ในกัมพูชาอยู่ที่ 15 ปี แต่ว่าไม่ได้กำหนดหรือห้ามการค้าประเวณีเด็กเป็นพิเศษ[25] มีการประเมินว่า 1/3 ของโสเภณีในกัมพูชาเป็นเด็ก[26]

จีน

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ทำการเพียงพอที่จะลดความต้องการของการใช้แรงงานบังคับ กิจกรรมทางเพศเพื่อการค้า และทัวร์เซ็กซ์เด็ก[24]

อินโดนีเซีย

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กมีอย่างแพร่หลายทั่วไปในเมืองและในเขตท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะบาหลี หมู่เกาะเรียว[24] คือในเร็ว ๆ นี้เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซียได้กลายเป็นแหล่งทัวร์เซ็กซ์เด็ก และเป็นแหล่งการค้ามนุษย์ทางเพศด้วย[25] ตามกฎหมายอาญาของประเทศ ชาวอินโดนีเซียสามารถต้องโทษฐานผิดกฎหมายป้องกันเด็กหรือกฎหมายอาญา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ[25] โดยมีกฎหมายป้องกันเด็กที่ 28 เป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อป้องกันสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก[25] มีบางมาตราที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดทางเพศต่อเด็ก เช่นมาตราหนึ่งแสดงว่า ผิดกฎหมายที่จะใช้เด็กเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ทางการค้า[25] ถ้าไม่ทำตามกฎหมายนี้ บทลงโทษรวมทั้งการจำถึง 10 ปี หรือการปรับเป็นเงิน 200 ล้านรูเปียห์ (531,000 บาทต้นปี 2559)[25]

เกาหลีใต้

[แก้]

ชายชาวเกาหลีใต้ได้เป็นต้นเหตุสำคัญของทัวร์เซ็กซ์เด็กในเอเชียเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในปี 2548 หนังสือพิมพ์ The Korea Times รายงานว่า มีการประชุมเอกสารัตถ์นานาชาติเรื่องกลยุทธ์ในการลดนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กชาวเกาหลีที่เดินทางไปยังเอเชียอาคเนย์ เป็นงานประชุมที่มื่ชื่อว่า "สถานะและการป้องกันเซ็กซ์ทัวร์เด็กและเยาวชนในต่างประเทศของชายชาวเกาหลี" ที่กล่าวถึงประเด็นที่ชายชาวเกาหลีเป็นเหตุการค้าประเวณีเด็กทั่วเอเชีย โดยมีกัมพูชาและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุด ผู้ร่วมประชุมกล่าวว่า เชื่อว่า นักท่องเที่ยวชายชาวเกาหลีทารุณเด็กยากจนชาวกัมพูชาโดยฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ทางครอบครัวที่ไม่ดี เป็นเด็กผู้ถูกบังคับให้ขายเซ็กซ์เพื่อช่วยครอบครัว[27] ส่วนสำหรับฟิลิปปินส์ รายงานให้ข้อสังเกตว่า "คนเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซื้อเซ็กซ์ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยบางครั้งทารุณหญิงโสเภณี รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กระตุ้นให้รัฐบาลเกาหลีทำการให้เข้มแข็งในเรื่องชาวเกาหลีจัดหาโสเภณี โดยเฉพาะการซื้อเซ็กซ์จากเด็ก"[27]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า ชายเกาหลีสร้างความต้องการทางตลาดสำหรับทัวร์เซ็กซ์เด็กในประเทศรอบข้าง รวมทั้งเอเชียอาคเนย์ เขตแปซิฟิกใต้ และมองโกเลีย[24] เทคโนโลยีรวมทั้งอินเทอร์เน็ตช่วยให้เข้าถึงทัวร์เซ็กซ์เด็กได้ง่ายขึ้นสำหรับคนเกาหลี โดยเฉพาะเด็กจากฟิลิปปินส์ ไทย และจีน[24]

สถาบันอาชญาวิทยาเกาหลีพิมพ์งานศึกษาในเดือนมกราคม 2556 ที่แสดงว่า ชายเกาหลีใต้เป็นตลาดหลักของเซ็กซ์ทัวร์เด็กในเอเชียอาคเนย์ คือ "ในบรรดาชาวต่างชาติที่ไปเยี่ยมเอเชียอาคเนย์ คนเกาหลีใต้เป็นกลุ่มหลักที่เพิ่มความต้องการของการค้าประเวณีเด็กทั้งเขต"[28] บทความกล่าวต่อไปอีกว่า "รายงานการค้าบุคคลปี 2551 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐพรรณนาเกาหลีใต้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของความต้องการทัวร์เซ็กซ์เด็กในเอเชียอาคเนย์และในหมู่เกาะแปซิฟิก" โดยมีหัวหน้าองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์ในกรุงโซลที่อ้างว่า "ถ้าคุณไปเที่ยวซ่องในเวียดนามหรือกัมพูชาจะเป็นซ่องไหนก็ได้ คุณจะเห็นใบปลิวที่เขียนเป็นภาษาเกาหลี"[28]

มองโกเลีย

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 รายงานว่านักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่นใช้บริการทัวร์เซ็กซ์เด็กในประเทศมองโกเลีย[24] จนกระทั่งรัฐบาลมองโกเลียได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก คือกฎหมายอาญาห้ามการค้าประเวณีแบบทำเป็นองค์กรสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 16 ซึ่งเป็นอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ในมองโกเลีย[25] คือไม่ใช่การร่วมเพศกับโสเภณีอายุน้อยเกินไปเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย แต่กับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีทั้งหมดก็ผิดกฎหมายด้วย การไม่ทำตามกฎหมายนี้มีโทษจำขังมากถึง 3 ปี หรือการรับใช้ชุมชนเป็นเวลา 18 เดือน การข่มขืนในมองโกเลียมีโทษจำขัง 2-6 ปี และถ้าทำผิดซ้ำหรือเหยื่อได้รับบาดเจ็บ โทษก็จะหนักขึ้น[25]

ฟิลิปปินส์

[แก้]

ทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาหนักของประเทศฟิลิปปินส์ รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่ามีนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือเพื่อจะมีเซ็กซ์กับเด็ก และด้วยเทคโนโลยีเช่นอินเทอร์เน็ต เด็กบางคนมีความสัมพันธ์แบบไซเบอร์กับชายจากประเทศอื่น ๆ และได้รายได้อาศัยการส่งภาพอนาจารทางเน็ต[29]

ไทย

[แก้]

ในประเทศไทย ทั้งองค์กรของรัฐและนอกภาครัฐได้ทำงานร่วมกันเพื่อปิดซ่อง และได้พยายามเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็กแล้วพยายามระงับมัน[24] ในปี 2551 มีรายงานสูงเป็นประวัติของเด็กและหญิง 27,000 คน ที่ต้องไปหาแพทย์เนื่องจากความบาดเจ็บที่เกิดจากทารุณกรรมทางเพศ[29] เด็กจำนวนมากไม่ได้ลงทะเบียนเกิด ทำให้ง่ายขึ้นที่จะส่งไปค้านอกประเทศ หรือถูกบังคับให้ทำงาน รวมทั้งการค้าเซ็กซ์[29]

อเมริกาเหนือ

[แก้]

บาร์เบโดส

[แก้]

รัฐบาลบาร์เบโดสได้พยายามทำการเพื่อลดความต้องการของเซ็กซ์เพื่อการค้า แม้ว่าการวิจารณ์ของสังคมเกี่ยวกับปัญหาทัวร์เซ็กซ์ รวมทั้งของเด็ก ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[24]

สาธารณรัฐโดมินิกัน

[แก้]

มีรายงานที่แสดงว่าทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันในสาธารณรัฐโดมินิกัน โดยเฉพาะในเขตท่องเที่ยวชายทะเล โดยมีนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กที่มาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งปี[24] นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานด้วยว่า กฎหมายปัจจุบันไม่สอดคล้องกันและมีจุดบกพร่อง ที่อาจจะทำให้ยากที่จะตีความและประยุกต์ใช้[25] กฎหมายป้องกันสิทธิของเด็กและวัยรุ่นทำการใช้เด็กและวัยรุ่นในกิจกรรมทางเพศเพื่อการค้าให้เป็นอาชญากรรม[25] แต่ว่ามีรูปแบบการผลิตและการเผยแพร่สื่อลามกบางอย่างเท่านั้นที่จัดว่าเป็นอาชญากรรม และการมีสื่อลามกก็ไม่ผิดกฎหมาย[25]

คิวบา

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า รัฐบาลคิวบาไม่มีปฏิบัติการเพื่อลดความต้องการของการค้าทางเพศ[24] นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานด้วยว่า รัฐบาลไม่ยอมรับว่ามีปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็กแม้ว่าจะได้ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีจากไนต์คลับเมื่อไม่นานมานี้[24] แต่ตามเอกสารของรัฐบาล มีการฝึกบุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้ระบุและรายงานบุคคลที่อาจจะเป็นนักท่องเที่ยวเพื่อเซ็กซ์[24]

เอลซัลวาดอร์

[แก้]

1/3 ของเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศอายุระหว่าง 14-17 ปีในประเทศเอลซัลวาดอร์เป็นผู้ชาย อายุมัธยฐานที่เริ่มขายประเวณีของเด็กที่สัมภาษณ์อยู่ที่ 13 ปี และทำงานโดยเฉลี่ย 5 วันต่ออาทิตย์ แต่มีเกือบ 10% ที่แจ้งว่าทำงานทั้งอาทิตย์ เร็ว ๆ นี้ ปัญหาเริ่มร้ายแรงขึ้น เพราะเหตุของการย้ายถิ่นฐาน คือเด็กจะถูกหลอกว่ามีงาน แล้วถูกลักพาตัวและส่งไปในประเทศในอเมริกาเหนือ โดยชาวต่างชาติจากเม็กซิโกหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน เหยื่อเด็กชาวเอลซัลวาดอร์โดยมากมาจากเขตชนบทแล้ว ถูกฉวยผลประโยชน์การค้าทางเพศในเมือง

แม้ว่ารัฐบาลเอลซัลวาดอร์จะไม่ทำการในระดับมาตรฐานต่ำสุดเพื่อกำจัดการค้าเด็ก แต่ก็ยังทำการในระดับที่สำคัญ ในช่วงที่ทำรายงาน รัฐบาลได้พยายามบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้าเด็กโดยตลอด และได้ให้บริการต่าง ๆ กับเด็กที่ถูกค้าทางเพศ และก็ได้พยายามป้องกันการค้าเด็กโดยตลอดด้วย รัฐบาลได้เริ่มหรือธำรงการร่วมมือกับองค์การนอกภาครัฐ (NGO) องค์การนานาชาติ และรัฐบาลต่างประเทศในการต่อต้านการค้าเด็ก ในเดือนพฤษภาคม 2552 รัฐบาลร่วมมือกับ NGO องค์กรหนึ่งทำการรณรงค์มีเป้าหมายโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงปัญหาการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก โดยเข้าถึงเด็กและผู้ใหญ่ได้ประมาณ 4,500 คน รัฐบาลได้ให้ข้อมูลต่อต้านการค้าเด็กในการฝึกหัดทหารก่อนที่จะส่งไปรักษาสันติภาพนอกประเทศ[30]

จาเมกา

[แก้]

รายงานการค้าบุคคลปี 2553 แสดงว่า ทั้ง NGO และผู้สังเกตการณ์ในพื้นที่กล่าวว่า มีปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็กในเขตท่องเที่ยวของประเทศจาเมกา[24]

ตรินิแดดและโตเบโก

[แก้]

ตามคำของรัฐบาลตรินิแดดและโตเบโก ไม่มีรายงานและไม่มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็ก[24]

อเมริกาใต้

[แก้]

อาร์เจนตินา

[แก้]

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรายงานว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในประเทศอาร์เจนตินา โดยเฉพาะที่ชายแดนและในกรุงบัวโนสไอเรส กฎหมายอาญาของประเทศก็ไม่ได้ห้ามทัวร์เซ็กซ์เด็กไว้โดยเฉพาะ[25][24] และไม่มีการดำเนินคดีเซ็กซ์กับเด็กในระหว่างปี 2552-2553 แต่ว่าโดยหวังที่จะลดทัวร์เซ็กซ์เด็ก หน่วยงานของรัฐได้ออกกฎหมายบังคับให้ตำรวจปิดซ่องทุกแห่งที่ NGO รายงาน แต่เป็นวิธีที่ไม่ได้ผลเพราะตำรวจมักจะบอกซ่องล่วงหน้าก่อนที่ตำรวจจะเข้าไปดำเนินการจับกุม[24] การมีสื่อลามกอนาจารเด็กโดยจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ และการทำสื่อลามกเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมาย[31]

บราซิล

[แก้]

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรายงานว่า ทัวร์เซ็กซ์เด็กยังเป็นปัญหาหนักอย่างหนึ่งในประเทศบราซิล โดยเฉพาะเขตท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กโดยมากมาจากยุโรป และบางพวกมาจากสหรัฐ เจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงกับการดำเนินคดีนักท่องเที่ยวเซ็กซ์ และอนุญาตให้ NGO ดำเนินคดีแทน[24] โดยมีกฎหมายที่พึ่งออกใหม่เมื่อปี 2543 ที่กำหนดว่า "การให้เด็กหรือวัยรุ่น ดังที่กำหนดในมาตรา 2 (คือเด็กมีอายุต่ำกว่า 12 ขวบ วัยรุ่นหระว่าง 12-18) ร่วมในการค้าประเวณีหรือการฉวยประโยชน์ทางเพศมีโทษจำคุก 4-10 ปีและโทษปรับ"[25]

โคลอมเบีย

[แก้]

กฎหมายอาญาของประเทศโคลอมเบียกำหนดห้าม "การจัดหรืออำนวยเซ็กซ์ทัวร์และมีกำหนดโทษจำคุก 3-8 ปี" แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีการดำเนินคดีหรือตัดสินความผิดของนักท่องเที่ยวทัวร์เซ็กซ์เด็ก[24] ในปีที่ผ่าน ๆ มา โคลอมเบียได้เพิ่มกำหนดกฎหมายเพื่อควบคุมการค้าเด็ก แต่ว่าก็ยังมีกฎหมายหนึ่งที่รอการพิจารณาเกี่ยวกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งกำหนดสิทธิของเด็กและวัยรุ่นที่ตกเป็นเหยื่อการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศ[25]

เอกวาดอร์

[แก้]

ในประเทศเอกวาดอร์ ทัวร์เซ็กซ์เด็กมักจะเกิดในเมือง และในแหล่งท่องเที่ยวเช่นหมู่เกาะกาลาปาโกส[24]

เปรู

[แก้]

ในประเทศเปรู ทัวร์เซ็กซ์เด็กมีแหล่งในเมืองอีกีโตส และ Madre de Dios และการค้าเด็กก็มีรายงานในเขตที่รัฐบาลไม่มีกำลังคุ้มครอง[24] แม้ว่าจะมีแหล่งต่าง ๆ ในประเทศที่เป็นที่นิยมของทัวร์เซ็กซ์เด็ก และกฎหมายของเปรูก็ห้ามการกระทำดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีการตัดสินลงโทษนักท่องเที่ยวทัวร์เซ็กซ์ รัฐบาลได้ฝึกเจ้าหน้าที่ 710 คนและผู้ที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็ก ได้รณรงค์ให้ประชาชนรับรู้ในประเด็นปัญหา และได้พยายามติดต่อให้ข้อมูลกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรื่องปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็ก จนกระทั่งปี 2553 มีธุรกิจ 60 แห่งทั่วประเทศที่ได้เซ็นหนังสือจรรยาบรรณ[24]

อุรุกวัย

[แก้]

รัฐบาลอุรุกวัยได้พยายามติดต่อให้ข้อมูลกับคนทำงานในโรงแรมและบุคคลอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเซ็กซ์ทัวร์เด็กและการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก ระบบการศึกษาของประเทศให้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์กับเด็กจนกระทั่งถึงมัธยมปลาย[24]

การลงโทษนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็ก

[แก้]

มีประเทศจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะในการดำเนินคดีประชาชนของตนถ้ามีการทำผิดทางเพศต่อเด็กในต่างประเทศ แต่รายการต่อไปนี้ไม่ได้รวมทุกประเทศ

ออสเตรเลีย

[แก้]

ออสเตรเลียเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีกฎหมายลงโทษจำคุกแก่ประชาชนและผู้อยู่อาศัยที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกันเด็กนอกประเทศ เป็นกฎหมายที่บังคับใช้เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2537[32] ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายด้วยที่จะสนับสนุน ได้ประโยชน์ หรือได้กำไรจากกิจกรรมทุกอย่างที่โปรโหมตกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก โทษจำคุกสูงสุดอยู่ที่ 20 ปี (25 ปีถ้าเด็กมีอายุต่ำกว่า 12 ขวบ และ/หรือเป็นเด็กมีปัญหาพัฒนาการทางจิตใจ) รวมกับโทษปรับที่ 500,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับบุคคล (ประมาณ 13 ล้านบาท) หรือ 5,000,000 ดอลลาร์สำหรับบริษัท (ประมาณ 130 ล้านบาท)

แคนาดา

[แก้]

แคนาดามีกฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถจับและดำเนินคดีคนแคนาดาในประเทศแคนาดา เนื่องจากการทำผิดที่ทำต่างประเทศเกี่ยวกับทัวร์เซ็กซ์เด็ก เช่นการค้าประเวณีเด็ก การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เช่นการกระทำอนาจาร สื่อลามกอนาจารเด็ก และการร่วมประเวณีกับญาติสนิท[33] โดยมีบทลงโทษจำคุกถึง 20 ปี

ฮ่องกง

[แก้]

กฎหมายที่ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2546 มีกำหนดความผิดเกี่ยวกับทัวร์เซ็กเด็ก รวมทั้งการทำผิดทางเพศนอกประเทศ 24 อย่าง ซึ่งทำให้การกระทำต่อเด็กนอกฮ่องกงผิดกฎหมาย ถ้าจำเลยหรือเด็กเกี่ยวข้องกับฮ่องกง และทำการว่าจ้างเพื่อการกระทำต่อเด็กและการโฆษณาการกระทำเช่นนั้น ให้ผิดกฎหมายด้วย[34]

เกาหลีใต้

[แก้]

รัฐบาลเกาหลีใต้ยังไม่ได้ทำการใด ๆ เพื่อลงโทษชายเกาหลีใต้ที่ว่าจ้างโสเภณีเด็กในประเทศอื่น แม้ว่า ปัญหาทัวร์เซ็กซ์เด็กกับชายเกาหลีจะเป็นปัญหาที่รู้จักกันดีนอกประเทศ[28]

สหราชอาณาจักร

[แก้]

กฎหมายปี 2546 ทำให้สามารถดำเนินคดีประชาชนและผู้อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักร ที่ทำผิดทางเพศต่อเด็กนอกราชอาณาจักร[35][36] และมีกฎหมายอย่างเดียวกันในประเทศสกอตแลนด์ปี 2538 ด้วย[37] การทำผิดบางอย่างมีโทษจำคุกตลอดชีวิต และคนที่ถูกตัดสินว่าผิดจะต้องลงทะเบียนของผู้ทำผิดทางเพศ เจ้าหน้าที่ตำรวจของสหราชอาณาจักร ศูนย์การฉวยประโยชน์จากเด็กและการป้องกันออนไลน์ (CEOP) และองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) ต่างตรวจเช็คนักท่องเที่ยวเซ็กซ์เด็กและดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านั้น ในปี 2556 มีประชาชนชาวอังกฤษ 2 คนที่ถูกจำคุกเนื่องด้วยกฎหมายฉบับนี้[38]

สหรัฐอเมริกา

[แก้]

ภายใต้กฎหมายที่ออกเมื่อปี 2546 เป็นความผิดทางอาญาของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับคนอเมริกันหรือคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่อย่างถาวร ที่จะมีกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมายในต่างประเทศร่วมกับบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ไม่ว่าจะตั้งใจจะทำเช่นนั้นก่อนที่จะออกเดินทางไปหรือไม่ กิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมายรวมทั้งที่ทำเพื่อการค้า ซึ่งหมายถึงมีการให้สิ่งมีค่าแก่บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี[39] ก่อนกฎหมายฉบับนี้ ผู้ดำเนินคดีต้องพิสูจน์ว่า นักท่องเที่ยวทัวร์เซ็กซ์ไปต่างประเทศตั้งใจที่จะประทุษร้ายเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยากมาก แต่กฎหมายนี้ได้เปลี่ยนสถานการณ์เช่นนี้ โดยกำหนดโทษต่อการกระทำแม้จะไม่ได้ตั้งใจตั้งแต่ต้น นอกจากนั้นแล้ว ยังเพิ่มโทษจำคุกทวีคูณจาก 15 ปีเป็น 30 ปี[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "The Facts About Child Sex Tourism". Fact Sheet. US Dept of State, Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons. 2008-02-29.
  2. Klain (1999). Prostitution of Children and Child-Sex Tourism: An Analysis of Domestic and International Responses. ABA Center on Children and the Law. p. 33. cited in Song, Susan. "Global Child Sex Tourism: Children as Tourist Attractions" (PDF). Youth Advocate Program International Resource Paper. Youth Advocate Program International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  3. Farrell, Michael B (2004-04-22). "Global campaign to police child sex tourism". Christian Science Monitor.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Bacon, Brittainy (2007-07-27). "Stolen Innocence: Inside the Shady World of Child Sex Tourism". ABC News.
  5. FLOWERS, R. BARRI (2001). "The Sex Trade Industry's Worldwide Exploitation of Children". The ANNALS of the American Academy of Political and Social Science. 575 (1): 147–157. doi:10.1177/000271620157500109.
  6. 6.0 6.1 Gerson, Michael (2007-08-24). "No More Pedophile Tourists". The Washington Post. p. A15.
  7. Clift, Stephen; Simon Carter (2000). Tourism and Sex. Cengage Learning EMEA. pp. 75–78, 85. ISBN 1-85567-636-2.
  8. 8.0 8.1 Eirienne, Arielle K. (2009). "Child Sex Tourism: 'Us' and 'Them' in a Globalized World". Student Pulse.
  9. "16,000 Victims of Child Sexual Exploitation". Inter Press Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  10. "Trafficking in Minors for Commercial Sexual Exploitation - Thailand" (PDF). UN Interregional Crime and Justice Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-12. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  11. "The Swallow's Nest". 2008-02-14.
  12. "Facts about child prostitution in Cambodia…". Friends International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-09. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  13. "Official: More than 1M child prostitutes in India". CNN. 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2010-04-28.
  14. "The Crisis of Child Sexual Exploitation in Brazil". libertadlatina.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  15. "Brazil's sex tourism boom". BBC News. 2010-07-30.
  16. "World Tourism Day Darker Sides Tourism". 2010-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  17. "Child protection from violence, exploitation and abuse". UNICEF. 2010-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09. Some estimates have as many as 1.2 million children being trafficked every year.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 Guzder, Deena. "UNICEF: Protecting Children from Commercial Sexual Exploitation". Pulitzer Center on Crisis Reporting.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Guzder, Deena. "Local Thai NGOs Discuss Efforts to End Commercial Sexual Exploitation". Pulitzer Center on Crisis Reporting.
  20. "2008 Human Rights Report: Brazil". U.S. State Department Report. 2008.
  21. "Britons among 1,000 snared in webcam child sex sting". The Guardian. 2013-11-04.
  22. "Code of Conduct (CC)". TheCode.org.
  23. "Sex Laws in Thailand Part 3". Civil Society and Law Enforcement.
  24. 24.00 24.01 24.02 24.03 24.04 24.05 24.06 24.07 24.08 24.09 24.10 24.11 24.12 24.13 24.14 24.15 24.16 24.17 24.18 24.19 24.20 24.21 "Trafficking in Persons Report". US Department of State. 2010-06-14.
  25. 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 25.10 25.11 25.12 25.13 25.14 "ECPAT World Database". ECPAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-22. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  26. ""The Child Sex Tourism Prevention Project"". World Vision. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-20. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  27. 27.0 27.1 "Korea: More Koreans go abroad for sex tourism". Stop Demand Foundation. 2005-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Koreans drive demand for child prostitution in Southeast Asia". Korean Times. 2013-01-11.
  29. 29.0 29.1 29.2 "UNICEF". UNICEF. 2010.
  30. "Facts on commercial sexual exploitation of children". ILO. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  31. "Argentina | South America". www.fosigrid.org. สืบค้นเมื่อ 2015-12-22.[ลิงก์เสีย]
  32. "Helping to Fight Child Sex Crimes Abroad - Australian Department of Foreign Affairs and Trade Travel Bulletin". Australian Department of Foreign Affairs and Trade Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
  33. "Child Sex Tourism: It's a Crime".
  34. "LC Paper No. CB(2)1311/08-09(06)" (PDF). Legislative Council (Hong Kong). 2009. สืบค้นเมื่อ 2016-03-08.
  35. "Travelling Child Sex Offenders Foreign & Commonwealth Office".
  36. "Sexual Offences Act 2003". Legislation.gov.uk. section 72.
  37. "Criminal Law (Consolidation) (Scotland) Act 1995". legislation.gov.uk. 1995. Part I - Miscellaneous - Section 16B.
  38. "David Graham Jailed Under 'Sex Tourism' Law". Skynews. 2013-05-20.
  39. "Country Specific Information Criminal Penalties". United States Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]