ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการเสาร์น้อย
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่สตาลินกราดบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

การรุกของโซเวียตในช่วงระหว่างปฏิบัติการยูเรนัส, มาร์ส และเสาร์.
วันที่12 ธันาวาคม ค.ศ. 1942 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943
สถานที่
ตอนเหนือเทือกเขาคอเคซัส และ Donets Basin
ผล โซเวียตได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี เยอรมนี
ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ฮังการี
โรมาเนีย โรมาเนีย
สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นาซีเยอรมนี แอริช ฟอน มันชไตน์
นาซีเยอรมนี Erhard Raus
นาซีเยอรมนี เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์
ราชอาณาจักรอิตาลี Italo Gariboldi
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) Gusztáv Jány
โรมาเนีย Petre Dumitrescu
สหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน
สหภาพโซเวียต Fyodor Kuznetsov
สหภาพโซเวียต Dmitri Lelyushenko
สหภาพโซเวียต Vasyl Herasimenko
สหภาพโซเวียต Filipp Golikov

ปฏิบัติการดาวเสาร์ (Operation Saturn),ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็ก (Operation Little Saturn) เป็นการรุกของกองทัพแดงบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สองที่นำไปสู่การสู้รบในภูมิภาคแม่น้ำดอนและเชียร์(Chir) ในดินแดนสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมันยึดครองในวันที่ 16 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1942

ความสำเร็จของปฏิบัติการยูเรนัส ซึ่งได้ถูกเปิดฉากขึ้น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ได้ดักล้อมกองทหาร 250,000 นายของกองทัพเยอรมันที่ 6 ของนายพลฟรีดริช เพาลุส และส่วนหนึ่งของกองทัพยานเกราะที่ 4 ของนายพลโฮทในสตาลินกราด เพื่อใช้ประโยชน์จากชัยชนะครั้งนี้ ฝ่ายเสนาธิการโซเวียตได้วางแผนการรุกที่ยากโดยรอสตอฟ-ออน-ดอนเป็นเป้าหมายสุดท้าย รหัสนามว่า "ดาวเสาร์"(Saturn) ต่อมาโจเซฟ สตาลินได้ลดแผนการที่ยากให้กลายเป็นปฏิบัติการที่ค่อนข้างเล็ก รหัสนามว่า ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็ก (Operation Little Saturn) การรุกได้ประสบผลสำเร็จในการทำลายกองทหารฝ่ายอักษะและใช้แรงกดดันต่อกองกำลังเยอรมันที่แผ่ขยายมากเกินไปในยูเครนตะวันออก อีกการรุกตอบโต้ทางตอนใต้ของแม่น้ำดอนได้ขัดขวางการรุกคืบที่มากขึ้นของเยอรมันเพื่อปลดปล่อยกองกำลังที่ติดอยู่ในสตาลินกราด

ด้วยปฏิบัติการต่อมา ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ในที่สุดกองทัพโซเวียตได้ไปถึงและเข้ายึดรอสตอฟตามแผนที่ได้วางเอาไว้แต่แรกใน "ดาวเสาร์" แม้ว่าชัยชนะเหล่านี้ โซเวียตเองได้ยืดขยายออกที่มากเกินไป การเตรียมการสำหรับการรุกของเยอรมันในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 และยุทธการที่คูสค์

เบื้องหลัง

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพเยอรมันกลุ่มเอและบีได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับต่อการรุกของกองทัพโซเวียตบริเวณรอบ ๆ เมืองฮาร์คอฟ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 2 ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ยืดขยายออกไปในวันที่ 28 มิถุนายนจนนำไปสู่กรณีสีน้ำเงิน ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่การเข้ายึดครองบ่อน้ำมันบนเทือกเขาคอเคซัส วันที่ 6 กรกฎาคม กองทัพยานเกราะที่สี่ของนายพลแฮร์มันน์ โฮทได้เข้ายึดเมืองโวโรเนซ โดยข่มขู่ว่าจะทำลายการต่อต้านของกองทัพแดง ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม กองทัพยานเกราะที่หนึ่งของเพาล์ ลูทวิช เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ได้เดินทางมาถึงศูนย์บ่อน้ำมันของไมคอฟ เพียงระยะทาง 500 กิโลเมตร(310 ไมล์) ทางตอนใต้ของเมืองรอสตอฟ ซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพยานเกราะที่สี่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม การรุกอย่างรวดเร็วของเยอรมันได้คุกคามเพื่อตัดขาดสหภาพโซเวียตออกจากดินแดนทางตอนใต้ ในขณะเดียวกันก็ข่มขู่ว่าจะตัดสายส่งเสบียงในโครงการให้ยืม-เช่าจากเปอร์เซีย อย่างไรก็ตาม การรุกนั้นเริ่มที่จะค่อยๆ หยุดลง ในขณะที่ขบวนขนส่งเสบียงของฝ่ายรุกได้พยายามอย่างเร่งรีบเพื่อไปให้ทันกับแนวหน้า และหน่วยรบหัวหอกเริ่มที่จะใช้เชื้อเพลิงและกำลังคนที่น้อยลง ตัวอย่างเช่น กองพลยานเกราะบางกองพลมีจำนวนรถถังเหลือเพียง 54 คัน ในท้ายที่สุด เยอรมันได้เปลี่ยนมุ่งเป้าไปที่สตาลินกราดในความพยายามยับยั้งการขนส่งเสบียงทางเรือบนแม่น้ำโวลก้า การเข้ายึดครองเมืองที่มีชื่อเดียวกันกับสตาลินนั้นยังหมายถึงการส่งเสริมทางจิตวิทยาสำหรับเยอรมัน และในทางกลับกัน เป็นการทำลายโซเวียตด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหลายเดือนของการสู้รบอย่างดุเดือดซึ่งมากกว่า 90% ของเมืองถูกยึดครองโดยเยอรมัน จนในที่สุด เมืองแห่งนี้ก็ได้ทำลายกองทัพเยอรมันจนหมดสิ้น - กองทัพที่ 6 และหน่วยทหารจากกองทัพยานเกราะที่สี่ - พวกเขาได้พยายามซึ่งไม่ประสบความสำเร็จและเหน็ดเหนื่อยในการขับไล่กองกำลังป้องกันของโซเวียตที่หลงเหลืออยู่ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความสูญเสียอย่างสาหัสจากสู้รบครั้งนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับผลลัพธ์ช่วงสุดท้ายคือ เยอรมันได้หมดกำลังพลอย่างสาหัสสากรรจ์ ทำให้พวกเขาต้องถอดปีกกองกำลังออกมาเรื่อย ๆ โดยปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ไปอยู่ในมือของกองกำลังที่เกินความสามารถและขาดแคลนอุปกรณ์ของประเทศพันธมิตรอย่างอิตาลี ฮังการี และโรมาเนีย สถานการณ์อันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้น ในขณะที่ได้มีการพูดถึงอยู่หลายครั้งโดยความวิตกกังวลของเหล่านายพลเยอรมันซึ่งถูกเพิกเฉย และด้วยเหตุนี้จึงได้มีการกำหนดสถานการณ์สำหรับหายนะครั้งสุดท้ายสำหรับเยอรมันและประเทศพันธมิตร

ปฏิบัติการยูเรนัส

[แก้]

ปฏิบัติการยูเรนัสเป็นรหัสนามของปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่การโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่หก กองทัพโรมาเนียที่สามและสี่ และบางส่วนของกองทัพยานเกราะเยอรมันที่สี่ ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่สตาลินกราดที่ต่อเนื่อง และเป็นการมุ่งเป้าไปที่การทำลายกองทัพเยอรมันทั้งภายในและบริเวณรอบสตาลินกราด การวางแผนปฏิบัติการยูเรนัสได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1942 และได้ถูกพัฒนาในเวลาเดียวกันกับแผนของการโอบล้อมและทำลายกองทัพกลุ่มกลางและกองกำลังเยอรมันในคอเคซัส กองทัพแดงได้ใช้ประโยชน์ของข้อเท็จจริงที่ว่ากองกำลังเยอรมันในทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียตได้ถูกยืดขยายที่มากเกินไปบริเวณรอบสตาลินกราด โดยใช้กองทัพโรมาเนียที่อ่อนแอกว่าในการคุ้มกันปีกด้านข้างของพวกเขา จุดเริ่มต้นของการรุกได้ถูกก่อตัวไว้ตามส่วนของแนวหน้าโดยตรงกับกองทัพโรมาเนียที่เป็นฝ่ายข้าศึก กองทัพฝ่ายอักษะเหล่านี้ได้ถูกนำเข้าประจำการในตำแหน่งที่เปิดโล่งบนทุ่งหญ้าสเตปป์และขาดแคลนยุทโธปกรณ์หนักเพื่อต่อกรกับยานเกราะโซเวียต

ความพยายามของเยอรมันในการปลดปล่อยสตาลินกราด

[แก้]

ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว (Unternehmen Wintergewitter) ได้ถูกดำเนินระหว่างวันที่ 12-23 ธันวาคม ค.ศ. 1942 เป็นความพยายามของกองทัพยานเกราะเยอรมันที่สี่ในการช่วยเหลือกองกำลังฝ่ายอักษะที่ถูกโอบล้อมในช่วงยุทธการที่สตาลินกราด ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน กองทัพแดงได้ดำเนินปฏิบัติการยูเรนัสอย่างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการโอบล้อมเจ้าหน้าที่นายทหารฝ่ายอักษะที่อยู่ภายในและบริเวณรอบเมืองสตาลินกราด กองทัพเยอรมันในวงล้อมสตาลินกราดและภายนอกโดยตรงได้ถูกจัดระเบียบใหม่ภายใต้กองทัพกลุ่มดอน ภายใต้บัญชาการโดยจอมพลไรช์ เอริช ฟ็อน มันชไตน์ ในขณะที่กองทัพแดงยังคงสร้างความแข็งแกร่ง ในความพยายามที่จะจัดสรรทรัพยาการจำนวนมากเท่าที่จะเป็นไปได้ในการเปิดฉากปฏิบัติการดาวเสาร์ที่ได้ถูกวางแผนเอาไว้ในที่สุด ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแยกกองทัพกลุ่มเอออกจากส่วนที่เหลือของกองทัพเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอได้เริ่มต้นความพยายามในการส่งเสบียงไปยังกองกำลังเยอรมันในสตาลินกราดผ่านทางสะพานทางอากาศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลุฟท์วัฟเฟอได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของตนได้ และเห็นได้ชัดว่า การตีฝ่าวงล้อมที่ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเปิดฉากเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันชไตน์ได้ตัดสินใจวางแผนและพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะ

ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น

[แก้]

แผนแต่เดิม: แซเทิร์น

[แก้]

ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพโรมาเนียบริเวณรอบสตาลินกราดและประสบความสำเร็จในการโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่หก สตาลินได้เริ่มวางแผนปฏิบัติการการรุกตอบโต้กลับที่มีรหัสนามว่า "ดาวเสาร์" ในคำสั่งเพื่อขยายพื้นที่ควบคุมโดยกองทัพโซเวียต โดยรอสตอฟ-ออน-ดอนเป็นเป้าหมายสุดท้าย กองทหารฝ่ายอักษะที่ถูกโอบล้อมอยู่ในวงล้อมสตาลินกราดควรจะถูกทำลายให้หมดสิ้นภายในไม่กี่วัน อย่างไรก็ตามแผนการนี้ ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ที่ไม่ถูกต้องโดยหน่วยข่าวกรองโซเวียตเกี่ยวกับจำนวนกองทหารฝ่ายข้าศึกที่ถูกโอบล้อมที่แท้จริง(คาดคะเนว่า มีเพียง 80,000 นาย แทนที่จะเป็นจำนวนที่แท้จริงที่มีมากกว่า 250, 000 นาย) ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถทำได้และดูไม่สมจริง เนื่องจากขาดแคลนการส่งกำลังบำรุงและยานพาหนะของกองทัพแดง

ลิตเติลแซเทิร์น

[แก้]

ในปฏิบัติการรูปแบบใหม่ที่ถูกลดขนาดลง รหัสนามว่า "ดาวเสาร์เล็ก" การรุกของโซเวียตยังคงโจมตีกองทหารฝ่ายอักษะที่แม่น้ำดอนและเชียร์ ภายหลังการทำลายกองกำลังฝ่ายข้าศึก กองกำลังยานยนต์ก็จะดำเนินอย่างรวดเร็วในสองทิศทาง: ทางตะวันตก ไปยังศูนย์การสื่อสารของเมือง Millerovo และทางใต้ เข้าโจมตีสนามบินทัตซินสกายา ซึ่งเครื่องบินของลุฟท์วัฟเฟอได้บินขาออกเพื่อส่งเสบียงไปยังวงล้อมสตาลินกราด นอกจากนี้ แนวรบตะวันตกเฉียงใต้ยังได้มอบหมายภารกิจให้แก่กองทัพองครักษ์ที่ 1 และ 3 และกองทัพรถถังที่ 5 เข้าโจมตีในทิศทางทั่วไปของเมือง Morozovsk ใกล้กับทัตซินสกายา และทำลายข้าศึกที่รวมตัวในเขตนั้น พวกเขาจะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพที่ 6 ของแนวรบโวโรเนซ แผนการรุกเพิ่มเติมใด ๆ ที่มุ่งตรงไปยังรอสตอฟได้ถูกล้มเลิกไป

กองกำลังโซเวียตในช่วงปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942

ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็กได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม กองทัพองค์รักษ์ที่ 1 ของนายพล Fyodor Isidorovich Kuznetsov และกองทัพองค์รักษ์ที่ 3 ของนายพล Dmitry Danilovich Lelyushenko เข้าโจมตีจากทางเหนือ ทำการโอบล้อมทหาร 130,000 นายของกองทัพอิตาลีที่ 8 บนแม่น้ำดอนและรุกคืบไปยังเมือง Millerovo อิตาลีได้ต่อต้านการโจมตีของโซเวียต แม้ว่าจะมีจำนวนมากกว่า 9 ต่อ 1 ในบางเขต แต่ก็มีการสูญเสียจำนวนมากมาย มันชไตน์ได้ส่งกองพลยานเกราะที่ 6 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่อิตาลี กองทหารที่ถูกโอบล้อม 130,000 นาย มีผู้รอดชีวิตเพียง 45,000 นาย ภายหลังการสู้รบที่นองเลือด ได้เข้าร่วมกับหน่วยยานเกราะที่ Chertkovo

ทางใต้ การรุกคืบของกองทัพที่ 28 ของนายพล Gerasimenko ได้เข้าคุกคามเพื่อโอบล้อมกองทัพยานเกราะที่ 1 ของเยอรมัน และกองทัพที่ 51 ของนายพล Trufanov ได้เข้าโจมตีขบวนความช่วยเหลือโดยตรง วันที่ 24 ธันวาคม รถถังของกองทัพน้อยรถถังที่ 24 ได้มาถึงและบุกเข้าจู่โจมสนามบินทัตซินสกายา ทำลายเครื่องบินขนส่งของเยอรมันและการโจมตีโฉบฉวยได้เสร็จสิ้นในเวลาไม่กี่วัน

ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็กพร้อมกับอีกการรุกตอบโต้กลับทางตอนใต้ของแม่น้ำดอน ซึ่งได้ขัดขวางไม่ให้เยอรมันรุกคืบต่อไปได้เพื่อเข้าช่วยเหลือกองกำลังที่ถูกโอบล้อม เนื่องจากขบวนความช่วยเหลือตกอยู่ภายใต้การคุกคามของการโอบล้อม มันชไตน์จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องล่าถอยกลับไปยัง Kotelnikovo เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปล่อยให้ทหารเยอรมันที่ถูกโอมล้อมอยู่ในสตาลินกราดที่พวกเขาต้องเผชิญกับชะตากรรม ทหารจำนวน 250,000 นาย ที่ถูกโอบล้อม มีผู้รอดชีวิตจำนวน 90,000 นาย ที่ถูกจับเป็นเชลย มีเพียง 5,000 นายที่มีชีวิตอยู่ได้เดินทางกลับไปยังเยอรมนี โอกาสที่จำกัดของการรุกของโซเวียตยังได้ให้เวลาแก่นายพล เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ ในการถอนกองทัพกลุ่มเอในทิศทางของคูบัน โดยยกเว้นกองทัพยานเกราะที่ 1 ซึ่งได้เข้าร่วมกองทัพกลุ่มดอนผ่านทางรอสตอฟ-ออน-ดอน

ปฏิบัติการที่ตามมา

[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 กองทัพโซเวียตได้เริ่มต้นการรุกโวโรเนซ-ฮาร์คอฟซึ่งส่งผลทำให้กองทหารโซเวียตได้รุกคืบระหว่าง 360-520 กิโลเมตร ได้เข้าปะทะกับกองทหารฝ่ายอักษะ กองทัพอิตาลีที่ 8 และกองทัพฮังการีที่ 2 ถูกทำลายเกือบหมดสิ้น กองทัพกลุ่มบีได้ประสบความพ่ายแพ้จากโซเวียตซึ่งตอนนี้ได้บุกเข้าสู่ยูเครนตะวันออก

ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพโซเวียตได้มาถึงและเข้ายึดรอสตอฟในที่สุด โดยเป้าหมายได้บรรลุผลตามที่วางแผนไว้แต่แรกใน "ปฏิบัติการดาวเสาร์"