ข้ามไปเนื้อหา

เทเบิลเทนนิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
เทเบิลเทนนิส
เทเบิลเทนนิสในการแข่งขันลีกาโปร
สมาพันธ์สูงสุดสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF)
ชื่ออื่นปิงปอง, วิฟฟ์-วัฟฟ์
เล่นครั้งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษ, สหราชอาณาจักร[1][2]
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่
ผู้เล่นในทีมเดี่ยวหรือคู่
หมวดหมู่กีฬาแร็กเกต, ในร่ม
อุปกรณ์โพลี, 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว),
2.7 กรัม (0.095 ออนซ์)
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกตั้งแต่ โอลิมปิกฤดูร้อน 1988
พาราลิมปิกเปิดตัวตั้งแต่ พาราลิมปิกฤดูร้อน 1960

เทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง เป็นกีฬาโดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คน ซึ่งยืนเล่นกันคนละด้านของโต๊ะปิงปอง โดยตีลูกโต้กันให้ข้ามตาข่ายเน็ตกั้นกลางโต๊ะปิงปองไปมา ผู้เล่นมีสิทธิ์ให้ลูกบอลเด้งกระดอนตกพื้นโต๊ะฝั่งตนเองได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น แล้วจึงตีโต้ข้ามฟากให้เด้งกระดอนไปกระทบกับพื้นโต๊ะฝ่ายตรงข้าม ถ้าลูกไม่กระทบกับพื้นโต๊ะของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าเสีย แต่ถ้าเป็นลูกดีฝ่ายตรงข้ามก็จะตีโต้กลับมาฝั่งเรา เทเบิลเทนนิสเป็นเกมที่โต้รับกันอย่างรวดเร็ว ผู้เล่นที่มีฝีมือสามารถตีลูกสปินได้ ทำให้ปิงปองนั้นหมุนเร็ว ซึ่งจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ยากยิ่งขึ้น

เทเบิลเทนนิสเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออก และเมื่อเทียบกันกับกีฬาชนิดอื่นแล้วปิงปองถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

  • พิงพัง ฉิว (จีน: 乒乓球; พินอิน: Pīng Pāng Qiú) : ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า
  • ทักคิว (ญี่ปุ่น: 卓球โรมาจิTakkyu) : ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศญี่ปุ่น
  • ทักกุ (เกาหลี탁구; อาร์อาร์ak-gu) : เป็นชื่อของกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศเกาหลี

ลักษณะทั่วไป

โต๊ะมาตรฐาน พร้อมไม้ตีและลูกบอล

เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาโอลิมปิก โดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คนตีลูกบอลกระทบหน้าไม้หรือหลังไม้ให้ข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของโต๊ะ ซึ่งคล้ายกับกีฬาเทนนิส กฎกติกามีความแตกต่างกันบ้าง แต่มองภาพรวมแล้วเทเบิลเทนนิสกับเทนนิสมีลักษณะคล้ายกัน ในเกมเดียว ไม่จำเป็นต้องตีลูกบอลให้ข้ามไขว้จากฝั่งขวามือของผู้ส่งไปยังฝั่งขวามือของผู้รับ(หรือซ้ายมือผู้ส่ง ไปยังซ้ายมือของผู้รับ)เหมือนกับเทนนิส อย่างไรก็ดี การเสิร์ฟไขว้ในลักษณะนั้นจำเป็นต้องมีในเกมเล่นคู่ ลูกสปิน ลูกเร็ว ลูกหยอด ซึ่งกลยุทธ์และเทคนิคการเล่นก็มีความสำคัญสำหรับเกมแข่งขันที่มีการชิงชัยชนะความเร็วของลูกบอลนั้นเริ่มจากการพุ่งด้วยความเร็วต่ำๆ ไปจนถึงการพุ่งด้วยความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะในลูกสปิน ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ที่ 112.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 69.9 ไมล์ต่อชั่วโมง[3]

กีฬาเทเบิลเทนนิสมักใช้เนื้อที่ในการเล่นทางยาวประมาณ2. เมตร(9ฟุต) ทางกว้างประมาณ 1.525(5ฟุต) เมตร และสูงจากพื้นราวประมาณ 0.76 เมตร(2.6ฟุต) แต่ทางสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล กำหนดไว้ว่าต้องมีเนื้อที่เล่นทางยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร ทางกว้าง 7 เมตร และสูงจากพื้นประมาณ 5 เมตร สำหรับเกมการแข่งขัน ไม้ตีปกติแล้วมีแผ่นยางบางติดอยู่หน้าไม้ ยางมีปุ่มเล็กๆอยู่ด้านหนึ่ง เป็นชั้นบาง ๆอยู่ระหว่างตัวไม้ตีกับผิวหน้าฟองน้ำรองหน้าไม้อีกชั้นหนึ่ง ตั้งแต่การเล่นสปินได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในกีฬาเทเบิลเทนนิสของปัจจุบัน ได้มีการปรับคุณภาพของตัวยาง ฟองน้ำ และวิธีการประกอบยางเข้ากับตัวฟองน้ำ เพื่อเพิ่มความเร็วและอัตราการหมุนของลูกจากปกติ ส่วนเทคนิคการปรับเพิ่มคุณภาพอย่างอื่นได้แก่ การใช้คาร์บอนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นเข้ามาประกอบกัน เพื่อทำให้เพิ่มความแม่นยำในการตีลูกให้มากขึ้นลูกบอลที่ใช้ในกีฬาเทเบิลเทนนิสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 มม. มักทำมาจากเซลลูลอยด์และมีด้านในกลวง ๆ ตราสามดาวที่ติดอยู่บนลูกบอล หมายถึง คุณภาพที่ดีเยี่ยมของลูกนั้นเองเมื่อเปรียบเทียบกับลูกอื่น ๆ ผู้ชนะ คือ คนที่ทำแต้มได้ 11 คะแนนก่อน และมีการเปลี่ยนเสิร์ฟลูกในทุกๆ 2 แต้ม หากมีผลการแข่งกันเป็น 10-10 ผู้เล่นจะสลับกันเสิร์ฟ (และผู้เล่นชนะ คือคนที่ทำคะแนนได้ 2 แต้มติดต่อกัน) เกม 11 คะแนน เป็นเกมการแข่งขันที่ได้มีขึ้นจากสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล (ITTF) การเปลี่ยนแปลงนี้ได้มีขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ทุกเกมที่เล่นกันในระดับชาติหรือระดับทัวร์นาเม้นต์สากลมักเป็นเกม 11 คะแนน ส่วนระดับชิงแชมป์เป็นเกม 7 คะแนน และในระดับที่ย่อมลงมาเป็นเกม 5 คะแนน

อ้างอิง

  1. Hodges 1993, p. 2
  2. Letts, Greg. "A Brief History of Table Tennis/Ping-Pong". About.com. The New York Times Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2011. สืบค้นเมื่อ 29 August 2010.
  3. "Speed of ball article from the International Table Tennis Federation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น