ศาสนาสะมาริตัน
ศาสนาของชาวสะมาริตัน (อังกฤษ: Samaritan religion) หรือ ศาสนาสะมาริตัน (อังกฤษ: Samaritanism) เป็นศาสนาประจำชาติ[1] ของชาวสะมาริตัน (หรือชาวสะมาเรีย)[2][3][4][5][6][7][8][9] นับเป็นวงศ์วานอิสราเอลกลุ่มหนึ่ง แม้ตัวศาสนาจะมีความใกล้เคียงกับศาสนายูดาห์ แต่แตกต่างตรงที่ชาวสะมาริตันจะนับถือคัมภีร์โทราห์เฉพาะห้าเล่มแรกเท่านั้น บางฉบับมีสำนวนเป็นของตนเองต่างจากโทราห์ของชาวยิวเล็กน้อยเรียกว่าโทราห์สะมาริตัน พวกเขาเชื่อว่าเป็นคัมภีร์เก่าแก่ดั้งเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาอย่างโทราห์ของชาวยิว[10] นอกจากโทราห์สะมาเรียแล้ว พวกเขายังเทิดทูนหนังสือโยชูวาฉบับของตนเองและยอมรับบุคคลในไบเบิลเช่นเอลี
ชาวสะมาริตันมีธรรมศาลาและมหาปุโรหิตเป็นของตนเองแยกจากศาสนายูดาห์ พวกเขามักอธิบายว่าสะมาริตันเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นโดยโมเสส และไม่เคยเปลี่ยนแปลงหลักธรรมคำสอนเลยมากว่าพันปี ชาวสะมาริตันเชื่อว่าศาสนายูดาห์และโทราห์ของชาวยิวถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และพวกเขาไม่สามารถปฏิบัติตนตามโองการของพระเป็นเจ้าที่บัญชาไว้บนภูเขาซีนาย ชาวยิวเชื่อว่าเนินพระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ชาวสะมาริตันนับถือภูเขาเกริซิมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใน พ.ศ. 2565 มีผู้นับถือศาสนาสะมาริตันจำนวน 840 คน[11]
อ้างอิง
- ↑ Shulamit Sela, The Head of the Rabbanite, Karaite and Samaritan Jews: On the History of a Title, Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, Vol. 57, No. 2 (1994), pp. 255–267
- ↑ David Noel Freedman, The Anchor Bible Dictionary, 5:941 (New York: Doubleday, 1996, c1992).
- ↑ David Noel Freedman, The Anchor Bible Dictionary, 5:941 (New York: Doubleday, 1996, c1992).
- ↑ Reinhard Pummer (2002). Early Christian Authors on Samaritans and Samaritanism: Texts, Translations and Commentary. Mohr Siebeck. pp. 123, 42, 156. ISBN 978-3-16-147831-4.
- ↑ R. J. Coggins (1975). Samaritans and Jews: the origins of Samaritanism reconsidered. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-8042-0109-4.
- ↑ Saint Epiphanius (Bishop of Constantia in Cyprus) (1 January 1987). The Panarion of Ephiphanius of Salamis: Book I (sects 1–46). BRILL. p. 30. ISBN 978-90-04-07926-7.
- ↑ Paul Keseling (1921). Die chronik des Eusebius in der syrischen ueberlieferung (auszug). Druck von A. Mecke. p. 184.
- ↑ Origen (1896). The Commentary of Origen on S. John's Gospel: The Text Rev. with a Critical Introd. & Indices. The University Press.
- ↑ Grunbaum, M.; Geiger, Rapoport (1862). "mitgetheilten ausfsatze uber die samaritaner". Zeitschrift der Deutschen Morgenländischen Gesellschaft: ZDMG. Vol. 16. Harrassowitz. pp. 389–416.
- ↑ Tsedaka, Benyamim (2013-04-26). The Israelite Samaritan Version of the Torah. ISBN 9780802865199. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ The Samaritan Update Retrieved 28 October 2021
"Total [sic] in 2021 - 840 souls
Total in 2018 – 810 souls
Total number on 1.1.2017 - 796 persons, 381 souls on Mount Gerizim and 415 in the State of Israel, of the 414 males and 382 females."