ราชอาณาจักรไมสูรุ
ราชอาณาจักรไมสูรุ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1399–1948 | |||||||||
รัฐสุลต่านไมสูรุในสมัยตีปูสุลต่าน ค.ศ. 1784 (สมัยที่อาณาเขตใหญ่สุด) | |||||||||
สถานะ | ราชอาณาจักร (ในสังกัดจักรวรรดิวิชัยนครถึงปี 1565) ภายใต้ความร่วมมืออังกฤษ ตั้งแต่ปี 1799 รัฐมหาราชาภายใต้อังกฤษ ตั้งแต่ปี 1831 | ||||||||
เมืองหลวง | ไมสูรุ, ศรีรังคัม | ||||||||
ภาษาราชการ | กันนาดา | ||||||||
ศาสนา | ฮินดู, อิสลาม | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
มหาราชา | |||||||||
• 1399–1423 (แรก) | ยทุรยรุรุ โอเฑยัร | ||||||||
• 1940–1950 (ท้าย) | ชยจามราเชนทระ โอเฑยัร | ||||||||
ดีวัน | |||||||||
• 1782– 1811 (แรก) | ปูรณัยยะ | ||||||||
• 1946-1949 (ท้าย) | อารกาฏ รามสามี มุทลิยาร์ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้ง | 1399 | ||||||||
• ปรากฏหลักฐานแรก | 1551 | ||||||||
1767–1799 | |||||||||
1785–1787 | |||||||||
• สิ้นสุด | 1948 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินเดีย |
ราชอาณาจักรไมสูรุ หรือ ไมซอร์ (อักษรโรมัน: Mysore) เป็นอาณาจักรในอินเดียใต้ เชื่อกันว่าตั้งขึ้นในปี 1399 ในพื้นที่แถบที่ปัจจุบันคือนครไมสูรุ ในปี 1799 ถึง 1950 กลายมาเป็นรัฐมหาราชาภายใต้บริติชราชซึ่งเข้ามามีอำนาจบริหารโดยตรงนับตั้งแต่ปี 1831[1] จากนั้นกลายมาเป็นรัฐไมสูรุ (ต่อมาขยับขยายอาณาเขตและเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฏกะในปัจจุบัน) โดยมีมหาราชาคงอยู่เป็นราชประมุขถึงปี 1956 ที่ซึ่งเปลี่ยนผ่านเป็นผู้ว่าการรัฐที่พึ่งตั้งขึ้นใหม่นี้แทน
ราชอาณาจักรปกครองโดยราชวงศ์โอเฑยัรซึ่งเป็นฮินดู แรกเริ่มเป็นรัฐขุนนางในจักรวรรดิวิชัยนคร และในศตวรรษที่ 17 ราชอาณาจักรได้ขยายอาณาเขตครั้งใหญ่ ในสมัยของราชากัณฐีรวะ นรสราชะ โอเฑยัรที่หนึ่ง และ จิกกะ เทวราชะ โอเฑยัร อาณาจักรได้ผนวกรวมดินแดนขนาดใหญ่ที่ในปัจจุบันเป็นภูมิภาคตอนใต้ของรัฐกรณาฏกะและบางส่วนของรัฐทมิฬนาฑู กลายมาเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในเดกกันใต้ ในช่วงสั้น ๆ รัฐอยู่ภายใต้ปกครองของผู้นำมุสลิม และเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐสุลต่าน[2][3] ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ รัฐได้เกิดข้อพิพาทกับมราฐา, นิซามแห่งไฮเดอราบาด, อาณาจักรติรุวิตางกูร์ และอังกฤษ ซึ่งรัฐได้มีสงครามกับอังกฤษสี่ครั้ง โดยชนะในสงครามกับอังกฤษครั้งแรก, เสมอกันในครั้งที่สอง และพ่ายแพ้ในครั้งที่สาม และสี่ หลังติปูสุลต่านเสียชีวิตในสงครามครั้งที่สี่ ระหว่างเกิดการยึดนครศรีรังคปัฏฏนัม อาณาเขตส่วนใหญ่ของรัฐถูกผนวกเข้ากับอังกฤษ อังกฤษฟื้นฟูราชบัลลังก์ให้แก่ราชวงศ์โวเฑยัรอีกครั้งภายใต้เงื่อนที่รัฐต้องอยู่ภายใต้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกับอังกฤษ และต่อมากลายเป็นรัฐมหาราชาภายใต้บริติชราช ราชสกุลโวเฑยัรยังคงปกครองไมสูรุเรื่อยมากระทั่งอินเดียได้เอกราชในปี 1947 และไมสูรุควบรวมกับอินเดีย
แม้ในสมัยเป็นรัฐมหาราชาภายใต้เจ้าอาณานิคมอังกฤษ ไมสูรุยังคงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการกลายเป็นเมืองและพัฒนาสูงสุดในอินเดีย รวมถึงยังมีความสำเร็จมากมายภายใต้การสนับสนุนของมหาราชา ทั้งในทางศิลปกรรม ดนตรี ไปจนถึงวิทยาศาสตร์จรวด[4] ที่ซึ่งอาวุธจรวดเครื่องสูบเคลือบโลหะแรกพัฒนาขึ้นโดยติปูสุลต่าน และบิดา ไฮเดอร์ อะลี ในทศวรรษ 1780 จรวดเหล่านี้ถูกนำมาใช้รบกับบริษัทอังกฤษในสงครามกับอังกฤษทั้งสี่ครั้ง ในเวลานั้นเป็นจรวดที่มีอานุภาพรุนแรงกว่าที่กองทัพอังกฤษเคยพบมา จรวดเหล่านี้ตกอยู่ในมือของอังกฤษหลังไมสูรุแพ้ในสงครามครั้งที่สี่ และกลายมามีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาจรวดของอังกฤษ จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นจรวดคองกรีฟที่ต่อมาเอาไปใช้ในการรบในสงครามนโปเลียน[5]
อ้างอิง
- ↑ Rajakaryaprasakta Rao Bahadur (1936), p383
- ↑ Yazdani, Kaveh (2017), India, Modernity and the Great Divergence: Mysore and Gujarat (17th to 19th C.), Brill Publisher, p. 115, ISBN 9789004330795
- ↑ Simmons, Caleb (2020), Devotional Sovereignty: Kingship and Religion in India, Oxford University Press, pp. 10–12, ISBN 9780190088897
- ↑ Roddam Narasimha (1985). Rockets in Mysore and Britain, 1750–1850 A.D. เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Roddam Narasimha (1985). Rockets in Mysore and Britain, 1750–1850 A.D. เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Aeronautical Laboratory and Indian Institute of Science.