ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอเวสตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
ภาษาอเวสตะ
𐬎𐬞𐬀𐬯𐬙𐬀𐬎𐬎𐬀𐬐𐬀𐬉𐬥𐬀
ภูมิภาคเกรตเตอร์อิหร่าน
ยุคยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย, ยุคเหล็ก
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน
รหัสภาษา
ISO 639-1ae
ISO 639-2ave
ISO 639-3ave
Linguasphere58-ABA-a
Yasna 28.1, Ahunavaiti Gatha (Bodleian MS J2)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอเวสตะ (อังกฤษ: Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์

ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ

  • ภาษาอเวสตะเก่า หรือ อเวสตะคาถิก เป็นภาษาโบราณที่มีไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาพระเวท มีการผันคำนามมาก คาดว่าใช้อยู่ในช่วง 457 ปีก่อนพุทธศักราช
  • ภาษาอเวสตะใหม่ มีสองระบบคือระบบดั้งเดิมและระบบประดิษฐ์ โดยระบบแรกพัฒนามาจากภาษาอเวสตะเก่า และน่าจะใช้เป็นภาษาพูดจนถึง 257 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนระบบประดิษฐ์เป็นระบบที่ไม่ใช้เป็นภาษาพูด แต่ใช้ในการเขียนหนังสือของนักบวช

ไวยากรณ์

คำนาม

การก ปัจจัย "ปกติ" อะ การันต์ : (ปุล., นปุ.)
เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์
กรรตุการก -s -ō (-as), -ā -ō (yasn-ō) -a (vīr-a) -a (-yasna)
อาลปนการก - -ō (-as), -ā -a (ahur-a) -a (vīr-a) -a (yasn-a), -ånghō
กรรมการก -em -ō (-as, -ns), -ā -em (ahur-em) -a (vīr-a) -ą (haom-ą)
กรณการก -byā -bīš -a (ahur-a) -aēibya (vīr-aēibya) -āiš (yasn-āiš)
สัมปทานการก -byā -byō (-byas) -āi (ahur-āi) -aēibya (vīr-aēibya) -aēibyō (yasn-aēibyō)
อปทานการก -at -byā -byō -āt (yasn-āt) -aēibya (vīr-aēibya) -aēibyō (yasn-aēibyō)
สัมพันธการก -ō (-as) -ąm -ahe (ahur-ahe) -ayå (vīr-ayå) -anąm (yasn-anąm)
อธิกรณการก -i -ō, -yō -su, -hu, -šva -e (yesn-e) -ayō (zast-ayō) -aēšu (vīr-aēšu), -aēšva

คำกริยา

ปัจจัยประจำบุรุษสรรพนาม (ปรัสบท)
บุรุษ เอก. ทวิ. พหุ.
1. -mi -vahi -mahi
2. -hi -tha -tha
3. -ti -tō, -thō -ngti

อเวสตะกับสันสกฤต

ภาษาอเวสตะมีความคล้ายกับภาษาสันสกฤตพระเวทอย่างมาก ดังตัวอย่างข้อความนี้:[1][2][a]

ภาษาอเวสตะ tәm amanvantәm yazatәm sūrәm dāmōhu sәvištәm miθrәm yazāi zaoθrābyō
ภาษาพระเวท tám ámanvantam yajatám śū́ram dhā́masu śáviṣṭham mitrám yajāi hótrābhyaḥ
ภาษาอินโด-อิเรเนียนดั้งเดิม *tám ámanvantam yaǰatám *ćū́ram dhā́masu ćávištham *mitrám yǎǰāi jháutrābhyas

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. "This powerful deity; strong, among the living the strongest; Mithra, I honor with libations."

อ้างอิง

  1. Jackson, A V Williams (1892). An Avestan Grammar. pp. xxxii.
  2. Beckwith, Christopher (2009). Empires of the Silk Road. Princeton. p. 368. ISBN 978-0-691-13589-2.

ข้อมูลทั่วไป

  • Beekes, Robert S. P. (1988), A Grammar of Gatha-Avestan, Leiden: Brill, ISBN 90-04-08332-4.
  • Hoffmann, Karl; Forssman, Bernhard (1996), Avestische Laut- und Flexionslehre, Innsbrucker Beiträge zur Sprachwissenschaft 84, Institut fur Sprachwissenschaft der Universität Innsbruck, ISBN 3-85124-652-7.
  • Kellens, Jean (1990), "Avestan syntax", Encyclopedia Iranica, vol. 3/sup, London: Routledge & Kegan Paul
  • Skjærvø, Prod Oktor (2006), Old Avestan, fas.harvard.edu.
  • Skjærvø, Prod Oktor (2006), Introduction to Young Avestan, fas.harvard.edu.
  • Vaan, Michiel (2014), Introduction to Avestan (Brill Introductions to Indo-European Languages, Band 1), Brill, ISBN 978-90-04-25809-9.

แหล่งข้อมูลอื่น