ข้ามไปเนื้อหา

คลองคีล

พิกัด: 53°53′N 9°08′E / 53.883°N 9.133°E / 53.883; 9.133
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
คลองทะเลเหนือ-ทะเลบอลติก
แผนที่ปัจจุบันของคลองคีลในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว98.26 km (61.06 ไมล์)
ความยาวเรือสูงสุด235 เมตร (771 ฟุต)
ความกว้างเรือสูงสุด32.5 เมตร (107 ฟุต)
ความลึกเรือสูงสุด9.5 เมตร (31 ฟุต)
ประวัติ
เริ่มก่อสร้างค.ศ. 1887
วันที่แล้วเสร็จค.ศ. 1895 (1895)
วันที่ขยายออกค.ศ. 1907–1914
ข้อมูลภูมิศาสตร์
จุดเริ่มต้นบรุนส์บึทเทิล (ทะเลเหนือ)
จุดสิ้นสุดคีล (ทะเลบอลติก)

คลองคีล (อังกฤษ: Kiel Canal) หรือ คลองทะเลเหนือ-ทะเลบอลติก (เยอรมัน: Nord-Ostsee-Kanal) หรือก่อน ค.ศ. 1948 มีชื่อว่า คลองไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม เป็นคลองน้ำจืดยาวประมาณ 98 กิโลเมตรในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ประเทศเยอรมนี การแล่นเรือผ่านคลองคีลย่นระยะทางอ้อมคาบสมุทรจัตแลนด์เฉลี่ย 250 ไมล์ทะเล (460 กิโลเมตร) คลองคีลไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดเวลาแต่ยังช่วยเลี่ยงทะเลที่เสี่ยงเกิดพายุอันตรายด้วย

คลองคีลเป็นทางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มีเรือแวะเวียนมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนเฉลี่ยรายปีที่ 32,000 ลำ (90 ลำต่อวัน) ที่ขนส่งสินค้าประมาณ 100 ล้านตัน[1] มีทางเข้าทะเลสองทาง และเชื่อมกับแม่น้ำไอเดอร์โดยคลองกีเซอเลาที่อ็อลเดินบึทเทิล[2]

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงคลองคีลเพื่อทอดพระเนตรถึงความเปลี่ยนแปลงของคลองหลังจากที่พระองค์เคยเสด็จมาแล้วเมื่อปี 2440 ในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 และหลังจากนั้นพระองค์ได้กล่าวถึงคลองคีลไว้ในพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2450 ว่า คลองคีลแตกต่างจากคลองสุเอซ ที่ถูกขุดขึ้นเพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก

อ้างอิง

  1. "Nord-Ostsee-Kanal" (ภาษาเยอรมัน). Wasserstraßen- und Schifffahrtsverwaltung des Bundes. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
  2. Sheffield, Barry (1995). Inland Waterways of Germany. St Ives: Imray Laurie Norie & Wilson. ISBN 0-85288-283-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

53°53′N 9°08′E / 53.883°N 9.133°E / 53.883; 9.133