เอ็ดมันด์ เบิร์ก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เดอะไรต์ออนะระเบิล เอ็ดมันด์ เบิร์ก | |
---|---|
ภาพวาดของเอ็ดมันด์ เบิร์ก โดยโจชัว เรย์โนลด์ส | |
เกิด | 12 มกราคม ค.ศ. 1729 ดับลิน, ไอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1797 บักกิงแฮมเชอร์, บริเตนใหญ่ | (68 ปี)
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยทรินิตี ดับลิน |
ยุค | ยุคเรืองปัญญา |
ความสนใจหลัก | สังคมและปรัชญาตะวันตก |
เป็นอิทธิพลต่อ | |
ศาสนา | คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ |
เอ็ดมันด์ เบิร์ก (อังกฤษ: Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์[1] และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์[2]
เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม
ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม่[3][4]
ประวัติ
[แก้]เบิร์กเกิดในดับลิน ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยมีบิดาเป็นนักสังคมที่ประสบความสำเร็จสูงและบิดายังเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ โดยตระกูลเบิร์กเป็นตระกูลที่มีเชื้อชายอัศวินชาวอังกฤษ-นอร์มันที่ใช้นามสกุลว่า de Burgh ซึ่งได้มายังไอร์แลนด์ในปี 1185 ภายหลังการรุกรานไอร์แลนด์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษในปี 1171[5]
เบิร์กได้เจริญรอยตามบิดา โดยการยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักนิกายแองกลิคันตลอดชีวิตของเขา ไม่เหมือนกับน้องสาวซึ่งนับถือโรมันคาทอลิก[6] ภายหลังเขาได้ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหยิบยกประเด็นที่ว่า เขาเคยเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยแช็งออแมร์ของคณะเยสุอิต ใกล้กับเมืองกาแลในฝรั่งเศส ซึ่งการนับถือในคาทอลิกจะทำให้เขาถูกตัดสิทธิ์จากตำแหน่งทางการเมือง แต่เบิร์กก็สามารถรอดพ้นประเด็นดังกล่าวมาได้ โดยเขาสาบานที่จะปฏิเสธความเชื่อแปรสารจากขนมปังและเหล้าองุ่น (Transubstantiation) ของนิกายคาทอลิก[7] แต่แม้ว่าเขาจะไม่เคยปฏิเสธเชื้อสายไอร์แลนด์ แต่เขาก็ระบุว่าตนเองนั้นเป็น "ชาวอังกฤษ"[8]
สงครามปฏิวัติอเมริกา
[แก้]เอ็ดมันด์ เบิร์ก ในฐานะสมาชิกสภาสามัญชน ได้สนับสนุนความคับแค้นใจของพลเมืองอาณานิคมอเมริกาของสหราชอาณาจักรภายใต้รัฐบาลของพระเจ้าจอร์จที่ 3 โดยเขาได้เสนอทางออก 6 ประการที่จะยุติความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ คือ:
- ยินยอมให้ประชากรในนิคมอเมริกาได้เลือกผู้แทนของเขาเอง แล้วระงับข้อพิพาทเรื่องการจัดเก็บภาษีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง;
- ยอมรอบการกระทำที่ผิดพลาดนี้และขออภัยต่อเหตุข้องใจต่างๆ;
- จัดให้มีวิธีการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพและส่งผู้แทนเหล่านี้ไป;
- จัดตั้งสมัชชาใหญ่ในอเมริกาเอง โดยมีอำนาจวางระเบียบภาษี;
- ยุติการจัดเก็บภาษีโดยข้อบัญญัติ (หรือโดยกฎหมาย) และเริ่มต้นจัดเก็บภาษาเฉพาะเมื่อยามต้องการ; และ
- ให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นต่อบรรดานิคม
โชคร้ายที่เบิร์กได้แถลงทางออกเหล่านี้เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนที่วิกฤตจะปะทุขึ้น[9] และข้อเสนอเหล่านี้จึงไม่เคยได้ออกเป็นกฎหมาย
มรดก
[แก้]นักประวัติศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่ในโลกภาษาอังกฤษถือว่าเบิร์กเป็นนักอนุรักษนิยมเสรี (liberal conservative)[10] และบิดาของอนุรักษนิยมบริติช[11][12][13] เบิร์กเป็นนักประโยชน์นิยมและให้เหตุผลแบบเชิงประจักษ์[14]
เบิร์กเชื่อว่าทรัพย์สินมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากเขามีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าประชาชนปรารถนาถูกปกครองและควบคุม การแบ่งแยกทรัพย์สินจึงเป็นรากฐานของโครงสร้างทางสังคม ช่วยให้เกิดการควบคุมภายในลำดับชั้นที่อาศัยทรัพย์สิน เขามองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากทรัพย์สินเป็นลำดับตามธรรมชาติของเหตุการณ์ซึ่งควรเกิดขึ้นเมื่อมนุษยชาติก้าวหน้าไปอยู่แล้ว ด้วยการแบ่งแยกทรัพย์สินและระบบชนชั้น เขายังเชื่อว่าระบบนี้สามารถควบคุมพระมหากษัตริย์ต้องใส่พระทัยต่อความต้องการของชนชั้นใต้ปกครอง เนื่องจากทรัพย์สินสอดคล้องหรือนิยามการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมเป็นส่วนใหญ่ กับชนชั้นก็ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงทางสังคมที่จัดแบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นต่าง ๆ ด้วย จึงเป็นประโยชน์ร่วมกันของคนในบังคับทุกคน นอกเหนอจากข้อกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สินแล้ว คริสโตเฟอร์ ฮิชเชนส์สรุปใจความไว้ดังนี้ "หากอนุรักษนิยมสมัยใหม่อาจถือว่ามาจากเบิร์ก จะต้องไม่ใช่เพราะเขาให้ท้ายเจ้าของทรัพย์สินในนามของเสถียรภาพเท่านั้น เพราะเขายังโน้มน้าวประโยชน์ประจำวันในการรักษาสิ่งตกทอดและบรรพกาลด้วย"[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hitchens, Christopher (April 2004). "Reactionary Prophet". The Atlantic. Washington.
Edmund Burke was neither an Englishman nor a Tory. He was an Irishman, probably a Catholic Irishman at that (even if perhaps a secret sympathiser), and for the greater part of his life he upheld the more liberal principles of the Whig faction.
- ↑ Burke lived before the terms "conservative" and "liberal" were used to describe political ideologies, cf. J. C. D. Clark, English Society, 1660–1832 (Cambridge University Press, 2000), p. 5, p. 301.
- ↑ Andrew Heywood, Political Ideologies: An Introduction. Third Edition (Palgrave Macmillan, 2003), p. 74.
- ↑ F. P. Lock, Edmund Burke. Volume II: 1784–1797 (Clarendon Press, 2006), p. 585.
- ↑ James Prior, Life of the Right Honourable Edmund Burke. Fifth Edition (London: Henry G. Bohn, 1854), p. 1.
- ↑ O'Brien, Connor Cruise (1993). The Great Melody. p. 10.
- ↑ Clark, p. 26.
- ↑ Clark, p. 25.
- ↑ "Lexington and Concord". USHistory.org. Independence Hall Association in Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
- ↑ Lakoff, Sandoff (1998). "Tocqueville, Burke, and the Origins of Liberal Conservatism". The Review of Politics. 60(3): 435–464. doi:10.1017/S003467050002742X
- ↑ Christian D. Von Dehsen (21 October 1999). Philosophers and Religious Leaders. Greenwood Publishing Group. pp. 36–. ISBN 978-1-57356-152-5. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
- ↑ Robert Eccleshall (1990). English Conservatism Since the Restoration: An Introduction & Anthology. Routledge. pp. 39–. ISBN 978-0-04-445773-2. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
- ↑ Andrew Dobson (19 November 2009). An Introduction to the Politics and Philosophy of José Ortega Y Gasset. Cambridge University Press. pp. 73–. ISBN 978-0-521-12331-0. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
- ↑ Richard Lebrun (8 October 2001). Joseph de Maistre's Life, Thought, and Influence: Selected Studies. McGill-Queen's Press – MQUP. pp. 164–. ISBN 978-0-7735-2288-6. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
- ↑ Hitchens, Christopher (April 2004). "Reactionary Prophet". www.theatlantic.com. The Atlantic Magazine. สืบค้นเมื่อ 24 December 2014.