วงศ์เสือและแมว
วงศ์เสือและแมว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน - ปัจจุบัน 25–0Ma | |
---|---|
สิงโตเอเชีย (Panthera leo persica) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Pantherinae พบในประเทศอินเดีย | |
จากัวรันดี (Puma yagouaroundi) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Felinae พบในทวีปอเมริกาใต้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
อันดับย่อย: | Feliformia |
วงศ์: | Felidae G. Fischer de Waldheim, 1817 |
วงศ์ย่อย | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
วงศ์เสือและแมว[3] (อังกฤษ: Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae[4]
ลักษณะ
ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ ตามลำดับตัวประกอบไปด้วยมัดกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นและแข็งแรง หัวกลม ฟันพัฒนามาเพื่อเหมาะแก่การกัดกินเนื้อสัตว์ มีเขี้ยวขนาดใหญ่ยาวและแหลมคม 2 คู่ ใช้กัดสังหารเหยื่อ ส่วนฟันกรามมีลักษณะคมล้ายใบมีดใช้สำหรับกัดฉีกเนื้อ สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า มีเล็บแหลมคมทุกนิ้ว ปกติเล็บจะถูกเก็บไว้ในซองเล็บ เวลาเดินเล็บจึงไม่สัมผัสกับพื้นดิน ครั้นเวลาจะใช้ต่อสู้หรือล่าเหยื่อ เล็บจะกางออกเป็นกรงเล็บได้ โดยอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อที่นิ้วเท้า ทำให้เล็บมีความแหลมคมใช้เป็นอาวุธได้ดีมาก ส่วนของเท้ามีการพัฒนา เพื่อการเดินด้วยปลายนิ้ว คล้ายกับการเต้นบัลเลต์ นิ้วเท้าและฝ่าเท้าเปลี่ยนรูปร่างเป็นปุ่มนิ้วและปุ่มฝ่าเท้า ซึ่งจะมีแผ่นหนังหนา ๆ หุ้มรองอยู่ ใช้สำหรับรับน้ำหนักตัว ส่วนส้นเท้าและข้อเท้ายกสูงเหนือพื้น เท้าหน้ามี 5 นิ้ว แต่นิ้วโป้งสั้นแบะแยกสูงกว่าอีก 4 นิ้ว คล้ายมือ จึงเหมาะต่อการตะปบคว้าเหยื่อ เท้าหลังมี 4 นิ้ว ขนาดเท่าๆ กัน รอยเท้าของสัตว์ในวงศ์นี้จึงปรากฏให้เห็นแต่รอยปุ่มนิ้ว และปุ่มกลม ๆ ข้างละ 4 นิ้วคล้ายกันเท้าหน้าและเท้าหลัง นอกจากนี้ใต้ฝ่าเท้า และร่องนิ้ว จะมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและเงียบ ตามีขนาดใหญ่ ตำแหน่งของตาอยู่ด้านหน้าและใกล้กัน ทำให้การมองภาพ มีประสิทธิภาพสูง และการกะระยะแม่นยำ ใบหูกลมมีกล้ามเนื้อสำหรับขยับใบหู เพื่อปรับทิศทาง รับเสียงได้ และมีประสาทรับฟังเสียงดีมากการดำรงชีวิตของสัตว์วงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงอาศัยตากับหู เป็นสำคัญมากกว่าใช้จมูกดมกลิ่นอย่างสัตว์กินเนื้อประเภทอื่น นอกจากนี้ยังมีขนหนวดยาว และขนยาวที่ฝ่าเท้า ซึ่งเป็นเส้นขนที่มีเส้นประสาทควบคุม จึงรับความรู้สึกสัมผัสได้ดี ใช้ในการหาทิศทางในที่มืดได้เป็นอย่างดี [4]
การอนุกรมวิธานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (บางข้อมูลแบ่งเป็น 3)[4] โดยแบ่งออกได้เป็น เสือขนาดเล็ก (Felinae) และเสือขนาดใหญ่ (Pantherinae) โดยแบ่งตามกล่องเสียงในลำคอ ซึ่งสามารถใช้เปล่งเสียงดังที่เรียกว่า คำราม ได้ และแรกเริ่มสัตว์ในวงศ์นี้ จะใช้สกุล Felis เป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่จะแตกแขนงออกไปเป็นสกุลใหม่ตามการศึกษาเพิ่มเติม[4]
อนุกรมวิธาน
- วงศ์เสือและแมว Felidae[5]
- วงศ์ย่อย Felinae
- สกุล Felis
- แมวภูเขาจีน, แมวทะเลทรายจีน (Felis bieti)
- แมวบ้าน (Felis catus)
- แมวป่า, เสือบอง, เสือกระต่าย (Felis chaus)
- แมวทราย (Felis margarita)
- แมวตีนดำ (Felis nigripes)
- แมวป่ายุโรป, แมวป่าแอฟริกา, แมวป่าอียิปต์ (Felis silvestris)
- สกุล Otocolobus
- สกุล Prionailurus
- สกุล Acinonyx
- สกุล Puma
- เสือคูการ์, เสือพูม่า, สิงโตภูเขา (Puma concolor)
- จากัวรันดี (Puma yagouaroundi)
- สกุล Lynx
- สกุล Leopardus
- สกุล Leptailurus
- สกุล Caracal
- สกุล Profelis
- เสือไฟแอฟริกา, แมวทองแอฟริกา (Profelis aurata)
- สกุล Catopuma
- แมวแดงบอร์เนียว, แมวเบย์ (Catopuma badia)
- เสือไฟ, แมวทองเอเชีย (Catopuma temminckii)
- สกุล Pardofelis
- สกุล Felis
- วงศ์ย่อย Pantherinae
- วงศ์ย่อย †Machairodontinae (เสือเขี้ยวดาบ)
- วงศ์ย่อย †Proailurinae[1]
- วงศ์ย่อย Felinae
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 McKenna, Malcolm C.; Susan K. Bell (2000-02-15). Classification of Mammals. Columbia University Press. pp. 631. ISBN 978-0-231-11013-6.
- ↑ Mammal Species of the World, A Taxonomic and Geographic Reference, 3rd edition, 2005 ISBN 0801882214
- ↑ บัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 แมวลายหินอ่อน
- ↑ ชื่อไทยบางส่วนจาก รายชื่อเสือและแมว