ข้ามไปเนื้อหา

ฮากานะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮากานะห์
הַהֲגָנָה
ปีที่ปฏิบัติการค.ศ. 1920–1948
ยุบเลิก28 พฤษภาคม ค.ศ. 1948
รวมเข้าเป็นกองกำลังป้องกันอิสราเอล
ประเทศ อิสราเอล (14–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1948)
ภักดีต่อ ยีชูฟ (ค.ศ. 1920–1948)
องค์กรตัวแทนชาวยิวเพื่ออิสราเอล
เป้าหมายปกป้องชาวยิวปาเลสไตน์ในปาเลสไตน์ในอาณัติ
สถานะกำลังกึ่งทหาร
ขนาด21,000 (โดยเฉลี่ย)[1]
การต่อสู้และสงคราม

ฮากานะห์ (ฮีบรู: הַהֲגָנָה ha-Haganah, แปลว่า การป้องกัน)[a] เป็นองค์การกำลังกึ่งทหารไซออนิสต์หลักที่ปฏิบัติการในยีชูฟ (นิคมชาวยิว) ในปาเลสไตน์ในอาณัติ[2] ฮากานะห์ก่อตั้งใน ค.ศ. 1920 เพื่อปกป้องยีชูฟก่อนจะสลายตัวใน ค.ศ. 1948 เมื่อรวมเข้ากับกองกำลังป้องกันอิสราเอล ไม่นานหลังอิสราเอลประกาศอิสรภาพ

ฮากานะห์เป็นกองกำลังที่พัฒนาจากกำลังกึ่งทหารชาวยิวที่มีอยู่ก่อนแล้วอย่างบาร์-กีโอรา (בר גיורא, Bar-Giora) และฮาโชเมอร์ (השומר, Hashomer)[3] บาร์-กีโอราเป็นกำลังกึ่งทหารสมัยอาลียะห์ครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการอพยพของชาวยิวจากยุโรปตะวันออกเข้าสู่ปาเลสไตน์ของจักรวรรดิออตโตมันระหว่าง ค.ศ. 1904–1914[4] บาร์-กีโอรากลืนเข้ากับฮาโชเมอร์ใน ค.ศ. 1909 ฮาโชเมอร์เป็นความพยายามในการสร้างกองกำลังคุ้มครองชุมชนชาวยิวทั้งหมดในปาเลสไตน์[5] เป้าหมายเดิมของฮากานะห์ คือ การปกป้องนิคมชาวยิวจากการโจมตีของชาวอาหรับ อาทิ การจลาจลนบีมูซา ค.ศ. 1920, การจลาจลยัฟโฟ ค.ศ. 1921, การจลาจลปาเลสไตน์ ค.ศ. 1929, การจลาจลยัฟโฟ ค.ศ. 1936 และการก่อการกำเริบของชาวอาหรับในปาเลสไตน์ ค.ศ. 1936–1939 ฮากานะห์อยู่ใต้อำนาจขององค์กรตัวแทนชาวยิวเพื่ออิสราเอล (הסוכנות היהודית לארץ ישראל, HaSochnut HaYehudit L'Eretz Yisra'el) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลชุมชนชาวยิวในปาเลสไตน์สมัยที่ปกครองโดยบริเตน ฮากานะห์ปฏิบัติการปานกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตามยุทธศาสตร์ "ฮัฟลากะห์" (הַהַבְלָגָה, ha-Havlagah, "การอดกลั้น")[6] ส่งผลให้กลุ่มหัวรุนแรงอย่างอิร์กุนและเลคีแยกตัวออกไป[7] ฮากานะห์ได้รับการสนับสนุนทางการทหารจากโปแลนด์อย่างลับ ๆ[8] และร่วมมือกับสหราชอาณาจักรในการสกัดกั้นการบุกครองปาเลสไตน์ผ่านแอฟริกาเหนือของฝ่ายอักษะ นำไปสู่การก่อตั้งหน่วยรบพิเศษปัลมัค (פלמ"ח‎, Palmach) ใน ค.ศ. 1941[9]

ช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่สอง บริเตนปฏิเสธที่จะยกเลิกการจำกัดการอพยพของชาวยิวตามที่ระบุในสมุดปกขาว ค.ศ. 1939 ฮากานะห์จึงก่อการกำเริบต่อบริเตนในปาเลสไตน์โดยใช้วิธีระเบิดสะพาน ทางรถไฟและเรือที่ใช้เนรเทศผู้อพยพชาวยิวที่ผิดกฎหมาย[10] รวมถึงลักลอบนำชาวยิวพลัดถิ่นเข้ามาในปาเลสไตน์เพื่อขัดขืนนโยบายของบริเตน เมื่อสหประชาชาติรับข้อมติแผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1947 ฮากานะห์เป็นกำลังรบสำคัญของฝ่ายชาวยิวและบดขยี้ฝ่ายอาหรับในสงครามกลางเมืองปาเลสไตน์[11] ฮากานะห์สิ้นสุดลงเมื่อรวมกับกำลังกึ่งทหารอื่น ๆ จนกลายเป็นกองทัพอิสราเอล ก่อนสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 อุบัติขึ้น[12]

เชิงอรรถ

หมายเหตุ

  1. บางครั้งสะกด Hagana

อ้างอิง

  1. Johnson, Paul (May 1998). "The Miracle". Commentary. 105: 21–28.
  2. Washington Robnett, George (1976). Zionist Rape of the Holy Land!: How Zionism Turned Palestine Into a Jewish State. Crown City Publishing Company, p. 169.
  3. The Grandfather of the IDF - Ha'Shomer เก็บถาวร กรกฎาคม 22, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. אלרואי, גור. "ההרכב הדמוגרפי של 'העליה השנייה' [The Demographic Make-Up of the Second Aliya]" (PDF). ישראל: כתב עת לחקר הציונות ומדינת ישראל היסטוריה, תרבות, חברה. 2: 33–55. ISSN 2415-5756. สืบค้นเมื่อ 2023-02-03.
  5. "The Origins of the Israel Defense Forces". Israel Defense Forces. May 26, 2021. สืบค้นเมื่อ November 26, 2024.
  6. Shapira 1999, p. 250.
  7. Kessler, Oren (2023). Palestine 1936: The Great Revolt and the Roots of the Middle East Conflict. Lanham Boulder New York London: Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-5381-4881-5.
  8. Korab-Karpowicz, Włodzimierz Julian (March 19, 2018). "Poland's contribution to building Israel". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ November 26, 2024.
  9. Yigal Allon, Sword of Zion. ISBN 978-0-297-00133-1. pp. 116, 117.
  10. "The Story of the S/S Patria". Eva Feld. Jewish Magazine. August 2001. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
  11. Henry Laurens, Paix et guerre au Moyen-Orient, Armand Colin, Paris, 2005, ISBN 2-200-26977-3
  12. Bell, Bowyer J.: Terror out of Zion

แหล่งข้อมูลอื่น