ข้ามไปเนื้อหา

เรือศพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
เรือดี “จีนี จอห์นสัน” ที่แล่นรับส่งผู้อพยพระหว่างวิกฤติการณ์ความอดอยากครั้งใหญ่ขณะที่ “เรือศพ” แล่นรับส่งกันอย่างแพร่หลาย ไม่มีผู้ในเสียชีวิตบนเรือดี

เรือศพ (อังกฤษ: Coffin ship) เป็นชื่อที่ใช้กับเรือที่ทำการประกันอย่างหนัก ฉะนั้นจึงทำให้มีมูลค่าสูงเมื่อจมลงกว่าเมื่อลอยตัว การเดินเรือในช่วงระยะที่ยังไม่มีกฎหมายเพื่อการรักษาความปลอดภัยต่างเป็นงานที่เสี่ยงต่ออันตรายเป็นอันมาก แต่ระบบนี้ก็เลิกกันไปราวคริสต์ทศวรรษ 1870 เมื่อสมาชิกรัฐสภาบริติชซามูเอล พลิมโซลล์ (Samuel Plimsoll) รณรงค์ปฏิรูปจนสำเร็จ

นอกจากนั้นแล้ว “เรือศพ” ก็ยังหมายถึงเรือที่รับส่งผู้อพยพชาวไอร์แลนด์ผู้หนีวิกฤติการณ์ความอดอยากครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และชาวสกอตที่หนีจากวิกฤติการณ์การไล่ที่ในสกอตแลนด์ (Highland Clearances) เรือเหล่านี้บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยโรคร้าย และขาดน้ำขาดอาหารซึ่งเป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้เป็นเจ้าของเรือให้น้ำและอาหาร และที่หลับที่นอน แก่ผู้โดยสารเป็นจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามที่กฎหมายระบุ – ถ้ายังคงเชื่อฟังอยู่

การข้ามมหาสมุทรด้วยเรือศพเป็นวิธีที่ถูกที่สุดแต่อัตราการเสียชีวิตก็กล่าวกันว่าสูงถึง 30% เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ[1] กล่าวกันว่าเมื่อเรือศพแล่นก็จะเห็นฉลามว่ายตามเรือ เพราะเมื่อผู้โดยสารเสียชีวิตเจ้าของเรือก็จะโยนร่างผู้เสียชีวิตลงทะเล[2][3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Early Emigrant Letter Stories
  2. Hickey, D.J. (1980). A dictionary of Irish history since 1800. Barnes & Noble. p. 80. ISBN 978-0389201601. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Wakin, Edward (2001). Enter the Irish-American. iUniverse. p. 29. ISBN 978-0595227303.
  4. Davis, John H (1992). The Kennedys: dynasty and disaster. S.P.I. Books. p. 11. ISBN 978-1561710607.

ดูเพิ่ม

[แก้]