ข้ามไปเนื้อหา

ทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1
กษัตริย์แห่งอัสซีเรีย
ภาพสลักบนหินของพระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1
ครองราชย์1114–1076 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนหน้าอาชูร์-เรช-อีชีที่ 1
ถัดไปอาชูริด-อะพัล-อีคูร์
ภาษาแอกแคดTukultī-apil-Ešarra

ทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 (อังกฤษ: Tiglath-Pileser I; แอกแคด: Tukultī-apil-Ešarra, "ความไว้วางใจของข้าพเจ้าอยู่ในตัวบุตรแห่งเอสฮาร์รา"; ครองราชย์ 1114–1076 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอัสซีเรียช่วงจักรวรรดิอัสซีเรียกลาง รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่อัสซีเรียเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อาณาจักรของพระองค์มีพื้นที่ถึงอนาโตเลีย ซีเรียและชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน[1] ฌอร์ฌ รูซ์ (Georges Roux) นักเขียนแนวประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวถึงพระองค์ว่า "ทรงเป็นหนึ่งในสองหรือสามกษัตริย์อัสซีเรียผู้ยิ่งใหญ่นับตั้งแต่พระเจ้าชัมชี-อะดัดที่ 1"[2]

พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา พระเจ้าอาชูร์-เรช-อีชีที่ 1 (Ashur-resh-ishi I) ในปีที่ 1115 ก่อนคริสต์ศักราช การทัพแรกของพระองค์คือทำสงครามกับชาวมัสกู (Mushku) ที่ยึดครองพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำยูเฟรทีสในปีที่ 1112 ก่อนคริสต์ศักราชและขับไล่ชาวฮิตไทต์จากเมืองซูบาร์ตู (Subartu) บนคาบสมุทรอนาโตเลีย[3] ก่อนจะเดินทัพผ่านทางใต้ของทะเลสาบแวนเพื่อยึดมาลาเทีย (Malatia) หลังครองราชย์ได้ 5 ปี พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ได้โจมตีภูมิภาคโคมานาและแคปพาโดเชีย เป้าหมายต่อไปของพระองค์คือดินแดนของชาวอาราเมียน (Arameans) ที่อยู่ทางตอนเหนือของซีเรีย[4] พระองค์สามารถยึดดินแดนได้ไกลถึงต้นแม่น้ำไทกริสและหลายเมืองที่อยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ในช่วงท้ายรัชกาล พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ทรงเน้นการป้องกันดินแดนจากชาวอาราเมียน พระองค์สวรรคตในปีที่ 1076 ก่อนคริสต์ศักราช โอรสองค์หนึ่งของพระองค์ อาชูริด-อะพัล-อีคูร์ (Asharid-apal-Ekur) ขึ้นครองราชย์ต่อ[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 'The Collins Encyclopedia of Military History', Dupuy & Dupuy, 1993, p. 9
  2. Roux, Georges. Ancient Iraq. Third edition. Penguin Books, 1992 (paperback, ISBN 0-14-012523-X).
  3. Tiglath-pileser I | king of Assyria | Britannica.com[ลิงก์เสีย]
  4. Canaan in the 2nd Millennium B.C.E. by Nadav Naʼaman
  5. Mesopotamia and the Bible by Mark W. Chavalas,K. Lawson Younger, Jr.