ไดโอรามา (อัลบั้ม)
ไดโอรามา | ||||
---|---|---|---|---|
ภาพปกอัลบั้ม ไดโอรามา | ||||
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 | |||
บันทึกเสียง | บ้านดาเนียล จอห์นส, สตูดิโอ 301 และสตูดิโอแมนโกรฟ ประเทศออสเตรเลีย เดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2544 | |||
แนวเพลง | อัลเทอร์เนทีฟร็อก, อาร์ตร็อก | |||
ความยาว | 57:13 | |||
ค่ายเพลง | อีเลเว็น/ เวอร์จิน(ออสเตรเลีย) แอตแลนติก (สหรัฐอเมริกา) | |||
โปรดิวเซอร์ | เดวิด บอตทริลล์, ดาเนียล จอห์นส | |||
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี | ||||
| ||||
ลำดับอัลบั้มของซิลเวอร์แชร์ | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากไดโอรามา | ||||
|
ไดโอรามา (อังกฤษ: Diorama) คือสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 4 ของซิลเวอร์แชร์ วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากออสเตรเลีย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยค่ายอีเลเว็น อัลบั้มนี้เป็นผลงานการโปรดิวซ์ร่วมกันของดาเนียล จอห์นส และเดวิด บอตทริลล์ ในขณะที่เดวิดทำงานให้กับอัลบั้มต่าง ๆ ของวงดนตรีอื่น ๆ ทำให้ ไดโอรามา สร้างชื่อเสียงการเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับจอห์นส นักร้องนำของวงเป็นครั้งแรก
จอห์นสประพันธ์บทเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มนี้โดยใช้เปียโน แทนที่ปกติเขาจะใช้กีตาร์ ในระหว่างที่วงพักร้อนยาว 12 เดือนภายหลังการออกอัลบั้ม นีออนบอลรูม อัลบั้มสตูดิโอชุดล่าสุดของพวกเขาในขณะนั้น ซิลเวอร์แชร์ทำงานร่วมกับแวน ไดก์ พาร์กสในอัลบั้ม ไดโอรามา อัลบั้มนี้บรรจุเพลงที่ใช้ดนตรีออร์เคสตรา และแนวเพาเวอร์บัลลาด ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงงานด้านดนตรีของพวกเขาในอดีตซึ่งใช้กีตาร์เป็น เครื่องดนตรีหลัก ชื่ออัลบั้มนี้ต้องการสื่อถึงความหมายว่า "โลกซึ่งอยู่ภายในโลก"[11] โดยมีซิงเกิลจากอัลบั้มนี้กว่า 5 ซิงเกิล ประกอบไปด้วย "เดอะเกรเทสวิว", "วิทเอาต์ยู", "เลิฟยัวร์ไลฟ์", "อะครอสเดอะไนต์", และ "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" โดยมีเพียงเพลง "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" เท่านั้นที่ออกเผยแพร่ในรูปแบบซิงเกิลวิทยุ โดยเพลงนี้ขึ้นลำดับในชาร์ตเออาร์ไอเอ
ไดโอรามา ประสบความสำเร็จในอันดับบนชาร์ต แต่การวิพากษ์วิจารณ์กลับเป็นไปในทางตรงข้าม ไม่เหมือนกับอัลบั้มก่อน ๆ ของพวกเขา อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอัลบั้มของสมาพันธ์อุตสาหกรรมดนตรีแห่งออสเตรเลีย อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 3 แผ่นจากเออาร์ไอเอ สำหรับยอดขายกว่า 210,000 ชุด และได้รับรางวัลเออาร์ไอเอกว่า 5 รางวัล ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเออาร์ไอเอในปี พ.ศ. 2546 สาขา "อัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดแห่งปี" และมีเพลงจากอัลบั้มนี้ 3 เพลงที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลกว่าอีก 2 ปี
การผลิตและบันทึกเสียง
[แก้]ในอัลบั้ม ไดโอรามา ซิลเวอร์แชร์ทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์คนใหม่คือ เดวิด บอตทริลล์ ซึ่งมาแทนนิก ลอเนย์ แม้ว่านิกจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับซิลเวอร์แชร์ใน 3 อัลบั้มก่อนหน้านี้ จอห์นส นักร้องนำของวงเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว และกล่าวว่าเขาต้องการ "คนที่เข้าใจว่าเขาต้องการไปในทิศทางใด"[12] จอห์นสเชื่อว่าอัลบั้ม ไดโอรามา จะเป็นอัลบั้มที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังทั่วไปหรือไม่ก็เป็นอัลบั้มที่เกลียดไปเลย"[12] และต้องการโปรดิวเซอร์ที่เข้าใจทิศทางใหม่ของวง เขาสัมภาษณ์ผู้สมัครหลายคน และท้ายที่สุดก็เลือกเดวิดมาร่วมงานโปรดิวซ์ให้กับเขา[12]
จอห์นสเริ่มต้นการบันทึกเสียง 8 เพลง ลบไฟล์เพลงที่พวกเขาคิดว่าคล้ายกับเพลงของอัลบั้มก่อน ๆ อย่าง นีออนบอลรูม เขาทิ้งทั้งความมั่นคงและด้านมืดจากอัลบั้มก่อน ๆ ของเขาออกไป แล้วเริ่มต้นสร้างสรรค์ดนตรีที่ดีขึ้นใหม่อีกครั้ง[13] ไดโอรามา แสดงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ อิทธิพลเพลงโพสต์-กรันจ์หนัก ๆ ในอัลบั้มก่อนๆ กลายเป็นเพลงแนวสตริง และฮอร์นทั้งหมด และเพิ่มความซับซ้อนในโครงสร้างดนตรี จอห์นสรู้สึกดีที่จะเปลี่ยนแนวดนตรีทั้งอัลบั้ม มากกว่าที่จะเปลี่ยนในแค่บางเพลง การค้นหาช่วยให้เขาได้รับความรักในดนตรีกลับคืนมา ซึ่งความรู้สึกนี้ลดลงในวันที่ผ่านมาของเขาที่ทำเพลงแนวกรันจ์[12] จอห์นประพันธ์เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มด้วยเปียโน โดยเป็นครั้งแรกที่เขาใช้เครื่องดนตรีดังกล่าวในการประพันธ์เพลง และสร้างดนตรีในอัลบั้ม ไดโอรามา การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคนิคการประพันธ์เพลงครั้งนี้มีผลกระทบที่สำคัญมาก ในส่วนของดนตรีของอัลบั้ม จอห์นสให้ความเห็นเรื่องความแตกต่างเรื่องความกังวาลของเสียงเขาเมื่อเล่น กับเปียโนเปรียบเทียบกับกีตาร์[13] เขายังทำงานร่วมกับผู้พัฒนาอัลบั้มอื่น ๆ อาทิ แวน ไดก์ พาร์กส (เดอะบีชบอยส์, ยูทู) ร่วมทำงานในด้านการเรียบเรียงดนตรีออร์เครสตรา ทั้งสองใช้เวลาส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงในการอธิบายดนตรีในเชิงอุปมาอุปไมย จอห์นสอธิบายให้ปาร์กสว่าเสียงดนตรีออร์เคสตราที่ค่อย ๆ ดังขึ้นเปรียบ เสมือน"คลื่นทะเล" และเสียงของไวโอลินเปรียบเสมือน "ฝูงนก"[14] ทั้งสองอุปมาประสบการณ์การทำงานร่วมของพวกเขาว่า "ตื่นเต้นมาก"[14] โดยดีวีดี ใช้ชื่อว่า อะครอสส์เดอะไนต์: เดอะครีเอชันออฟไดโอรามา ซึ่งออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2545 นำโดยบทสัมภาษณ์ของจอห์นสและปาร์กส[15]
มีหลายเพลงใน ไดโอรามา ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟนในขณะนั้นของจอห์นส นาตาลี อิมบรูเลีย แต่เขาก็ระมัดระวังที่อาจตีความผิดเกี่ยวกับเพลง เขาพูดว่า "ทุกคนจะคิดว่าเนื้อเพลงเกี่ยวกับใครบางคนในด้านสว่าง จะเป็นเธอ" และก็เอ่ยอีกว่ามีคนอื่นที่เขาใส่ใจและเขียนลงในเพลง[16] จอห์นสปฏิเสธข่าวลือว่าเขาตั้งใจเขียนเพลงให้อิมบลูเลียร้อง[15]
ซิลเวอร์แชร์ตั้งใจจะออกทัวร์เพื่อสนับสนุนการออกอัลบั้ม ไดโอรามา แต่แผนก็ถูกหยุดไปเมื่อจอห์นเกิดอาการปวดข้อ เป็นเหตุให้ช่วงต่อบวมและทำให้เขาเล่นกีตาร์และร้องเพลงอย่างเจ็บปวดอย่างมาก[17][18] หลังจากที่วงแสดงเพลง "เดอะเกรเทสวิว" ที่งานแจกรางวัลแอเรียปี 2002 จอห์นสพูดว่าเขาต้องการ "ที่จะแสดง 11 เพลงจาก ไดโอรามา ซักครั้งหนึ่งต่อหน้าคนดู" ก่อนที่อัลบั้มจะหยุดไป[15] เขาเดินทางไปแคลิฟอร์เนียไปรับการรักษาอาการปวดข้อ รวมทั้งการกายภาพบำบัดรายวัน[18]
การออกจำหน่ายอัลบั้มและซิงเกิล
[แก้]อัลบั้ม ไดโอรามา ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยค่ายอีเลฟเว็น[6] ไดโอรามา ขึ้นสู่ชาร์ตอัลบั้มเออาร์ไอ อันดับที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 14 เมษายน ปีเดียวกัน ทำให้ซิลเวอร์แชร์มีอัลบั้มขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งเป็นอัลบั้มที่ 4[19] อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 3 แผ่นโดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมดนตรีแห่งออสเตรเลีย[20] สำหรับยอดขายกว่า 210,000 ชุด[21] อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดในอันดับที่ 7 ในนิวซีแลนด์, อันดับที่ 13 ในออสเตรีย, อันดับที่ 40 ในสวิตเซอร์แลนด์ และอันดับที่ 116 ในฝรั่งเศส[19] ไดโอรามา ขึ้นอันดับสูงสุดของชาร์ต บิลบอร์ด 200 ของสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 91[22]
"เดอะเกรเทสวิว" (The Greatest View) เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ โดยออกจำหน่ายล่วงหน้าก่อนออกจำหน่ายอัลบั้มเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2545 ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 3 ในออสเตรเลีย ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ[23] และขึ้นอันดับสูงสุดที่ 4 ในนิวซีแลนด์ และแคนาดา[24] ต่อมาเพลงนี้ได้นำมาออกจำหน่ายใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม ยังโมเดิร์น[25] อัลบั้มต่อมาของวงนี้เพลงนี้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 36 ในชาร์ตฮอตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในนิตยสารบิลบอร์ด ในปี พ.ศ. 2550[22] จอห์นสประพันธ์เพลง "เดอะเกรเทสวิว" เป็นตัวแทนทัศนคติของเขาต่อสื่อในแง่มุมต่าง ๆ[26] เพลงนี้ไม่ได้มีเจตนาในการแสดงออกถึงความก้าวร้าว แต่เป็นความตรงไปตรงมาในความเห็นเกี่ยวกับความบ้าของสื่อรอบ ๆ วงของเขาตลอดหลายปีที่ผ่านมา[26]
ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เพลง "วิทเอาต์ยู" ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบั้ม ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 8 ในออสเตรเลีย แต่ตกลงมาที่อันดับ 29 ในสัปดาห์ต่อมา และอยู่บนชาร์ตนาน 5 สัปดาห์[28] เพลงนี้ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกโดยคริส โจนนาว มือเบสของวง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เมื่อเขาประกาศกับแฟนเพลงว่าทางวง "มีที่เก็บเพลงเพียงเล็กน้อย" หนึ่งในนั้นคือเพลง "วิทเอาต์ยู"[29] หลังจากนั้นก็ได้ออกซิงเกิล "เลิฟยัวร์ไลฟ์" (Luv Your Life) ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 20 ในออสเตรเลียหลังการออกจำหน่ายในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545[30] แรงบันดาลใจในบทเพลงนี้มาจากช่วงการบำบัดของจอห์นส โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิด "มันมีคนในโลกที่ต้องการการบำบัดแต่ไม่สามารถทนการบำบัดได้"[16] จอห์นสประพันธ์เพลงนี้ระหว่างที่เขาฟังนักบำบัด[16] ในระหว่างการแสดงเชปเพิร์ดสบุชเอมไพร์ที่ลอนดอน จอห์นสพูดหยอกล้อว่าเพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" เขามอบให้แก่ "หญิงทุกคนของเขา"[27]
"อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" ออกเผยแพร่ต่อจากเพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" ในรูปแบบซิงเกิลวิทยุ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในชาร์ต เพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายจากอัลบั้ม ไดโอรามา อันเป็นเพลงที่มีความยาวมากที่สุดถึง 9:53 นาที[19] ซิงเกิลสุดท้าย "อะครอสเดอะไนต์" ออกจำหน่ายในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในเวลากว่า 9 ชั่วโมงในคืนที่จอห์นสนอนไม่หลับ[26] ขึ้นอันดับสูงสุดที่ 24 ในชาร์ตของออสเตรเลีย[31] ปาร์กดำเนินการเรียบเรียงดนตรี นำโดยคีย์บอร์ดแฝดและกลุ่มดนตรีเครื่องสาย[26][32] หลังจากนั้นทางวงได้เริ่มต้นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ อะครอสเดอะไนต์ เพื่อสนับสนุนอัลบั้มดังกล่าว[33]
การตอบรับ
[แก้]ไดโอรามา ได้คะแนนร้อยละ 71 จากเว็บไซต์เมตาคริติกจากผู้วิจารณ์ 9 คน[34] ผู้ฟังสถานีวิทยุทริเปิลเจ (Triple J) คลื่นวิทยุในประเทศออสเตรเลียลงคะแนนให้อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งใน 10 อันดับอัลบั้มแห่งปี 2002 ขณะที่โรซี บีตัน และแกบี บราวน์เจ้าหน้าที่ของทริเปิลเจให้อันดับอัลบั้มนี้ในอันดับที่ 3 และ 5 ตามลำดับ[35]
โรลลิงสโตน นิตยสารดนตรีให้ดาวแก่อัลบั้ม ไดโอรามา 3 จาก 5 ดาว และ มาร์ก เคมป์ นักวิจารณ์ได้ยกย่องพัฒนาการทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ กล่าวว่าวงนี้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก มีความอิสระทางดนตรี แตกต่างจากผลงานอัลบั้ม ฟรอกสตอมป์ อัลบั้มแรกของพวกเขา มาร์กกล่าวชมถึงการ "เรียบเรียงดนตรีในแบบวงออร์เคสตรา, การเปลี่ยนช่วงทำนองเพลงอย่างที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และเป็นเพลงป็อปที่ให้ความรู้สึกประหลาด" เช่นเดียวกับปาร์กส ผู้เรียบเรียงดนตรีที่ตั้งใจให้ดนตรีของอัลบั้มนี้ "กว้างและหนาขึ้น" เขาโต้แย้งว่าความแข็งแกร่งของอัลบั้มเกิดขึ้นมาพร้อมกับความมั่นใจของจอห์น ส ผลลัพธ์คือผลงานคุณภาพในเพลง "เวิลด์อัปพอนยัวร์โชวเดอร์" "ทูนาอินเดอะไบรน" และ "อาฟเตอร์ออลดีสเยียร์ส" อย่างไรก็ตามเพลง "วิทเอาต์ยู" แสดงให้เห็นถึงแนวเพลงเดิมของซิลเวอร์แชร์ จากบทวิจารณ์ของมาร์ก ยังระบุว่า "เป็นท่อนฮุกอย่างเอ็มทีวีชอบ"[8]
แบรดลีย์ ทอร์รีโน นักวิจารณ์จากเว็บไซต์ออลมิวสิกให้ดาวแก่อัลบั้ม ไดโอรามา 4 ดวง และให้เป็นอัลบั้มคัดสรรของออลมิวสิก เขาเริ่มต้นบทวิจารณ์ด้วยพัฒนาการทางดนตรีของซิลเวอร์แชร์ที่พัฒนาขึ้นจากอัลบั้ม ฟรอกสตอมป์ ว่าน่าประทับใจ และอัลบั้ม ไดโอรามา ทำให้เห็นว่าวงนี้ในที่สุดก็เติบโตได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง ในการนี้งานสร้างของบอตทริลล์ ก็ได้รับการยกย่องเทียบกับผลงานของบิกคันทรีและยูทู ขณะที่จอห์นส "เสียงอันอวบอิ่มและสำเนียงติดหูอย่างน่าตกใจ ที่ขาดความเพลิดเพลินไปในผลงานชุดแรก ๆ ของพวกเขา" สำหรับคำวิจารณ์โดยทอร์รีโนกับ 2 เพลงในอัลบั้ม เขาอธิบายว่า ได้รับอิทธิพลจากกูกูดอลส์ ในเพลง "วิทเอาต์ยู" แต่เป็นการหักมุมที่ไม่น่าต้อนรับ และรู้สึกว่าในเพลง "วันเวย์มูล" วงจะกลับไปสู่ดนตรีกรันจ์ของพวกเขา[5]
เจมส์ แจม จากนิตยสาร เอ็นเอ็มอี วิจารณ์อัลบั้ม ไดโอรามา ว่าเป็น "ผลผลิตเพลงร็อกออสเตรเลียที่เหนือความคาดหมาย" เจมส์เปรียบเทียบซิลเวอร์แชร์กับไบรอัน อดัมส์ ในความพยายาม "ความเสี่ยงในการเสนอแนวดนตรีใหม่" "ทูนาอินไบรน์" ที่ "ดูเสแสร้งและอวดเบ่ง" ขณะที่เขามองภาพรวมอัลบั้มว่า "ไม่น่าเกลียด" โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมาของวง เจมส์ยังกล่าวต่อไปว่า "วงนี้ไม่พยายามที่มีสาระดนตรีให้ดูเป็นผู้ใหญ่ แต่แค่ต้องการให้ผู้ใหญ่ประทับใจมากกว่า"[5]
นิกกิ ทรานเตอร์ จากเว็บไซต์เพลงป็อป ป็อปแมตเตอร์ส กล่าวว่าอัลบั้มมีความเป็นผู้ใหญ่ และยกย่องทุกอย่างตั้งแต่ปกอัลบั้มไปถึงเมโลดี้เพลงป็อปที่ละเมียดละไม" ทรานเตอร์กล่าวยกย่องอัลบั้ม ไดโอรามา ที่แตกต่างจากภาพดนตรีออสเตรเลียที่ "คล้ายคลึงกันมาก" เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเป็นเพลงในขั้นดี เธอคือว่าเพลง "เดอะเกรเทสวิว" เป็นเพลงที่อิสระจาก "เสียงอู้อี้ของวงออเคสตรา" และเพลง "อาฟเตอร์ออฟดีสเยียรส์" ปกคลุมไปด้วยเสียงของฮอร์น เนื้อเพลงที่ใคร่ครวญและนุ่มนวล และเสียงขับร้องที่ไม่อาจลืมเลือนได้"[6]
ร็อบ โอ'คอนเนอร์ จากเว็บไซต์ ยาฮู! วิจารณ์อัลบั้ม ไดโอรามา ในเชิงบวก กล่าวว่าอัลบั้มนี้มีพัฒนาการขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับอัลบั้มที่พวกเขาออก ในสมัยมัธยม เพลงป็อปในอัลบั้มได้แก่เพลง "เลิฟยัวร์ไลฟ์" และ "ทูมัชออฟนอตอีนาฟ" เป็นเพลงที่ลื่นไหล และร็อบก็ยกย่องจอห์นสสำหรับ "การกระซิบเนื้อเพลงที่สง่าและบอบบาง" ซึ่งในอดีตจะเป็นการ "ตะโกนในความกังวล" นอกจากนั้นยังเปรียบเทียบดนตรีคล้ายกับเอลเลียต สมิธ คำวิจารณ์หลักของอัลบั้มนี้ยังคง "พยายามผูกพันกับกรันจ์" เขารู้สึกว่าการละทิ้งความรู้สึกจะทำให้วงพัฒนาได้อย่างเต็มที่[10]
ชาร์ตและรางวัล
[แก้]ไดโอรามา ขึ้นชาร์ตในอันดับสูงสุดของชาร์ตออสเตรเลีย อยู่บนชาร์ตอัลบั้มเออาร์ไอเอนาน ประมาณ 50 สัปดาห์ โดยอยู่อันดับที่ 1 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่อัลบั้มอยู่บนชาร์ตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 สัปดาห์ แม้จะขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดที่ 7 ในนิวซีแลนด์
ชาร์ต | อันดับ สูงสุด |
รางวัล |
---|---|---|
ออสเตรเลีย | 1[19] | |
นิวซีแลนด์ | 7[19] | |
ออสเตรีย | 13[19] | |
สวิตเซอร์แลนด์ | 40[19] | |
ฝรั่งเศส | 116[19] | |
บิลบอร์ด 200 | 91[22] |
รายชื่อเพลง
[แก้]- "Across the Night" – 5:37
- "The Greatest View" – 4:06
- "Without You" – 5:17
- "World Upon Your Shoulders" – 4:37
- "One Way Mule" – 4:15
- "Tuna in the Brine" – 5:40
- "Too Much of Not Enough" – 4:43
- "Luv Your Life" – 4:29
- "The Lever" – 4:22
- "My Favourite Thing" – 4:14
- "After All These Years" – 9:53
คณะผู้สร้างอัลบั้ม
[แก้]- ดาเนียล จอห์นส – ร้อง กีตาร์ เปียโน ฮาร์ปซิคอร์ด เรียงเรียงออร์เครสตรา (ในเพลงที่ 2, 4, 10)
- เบ็น กิลไลส์ – กลอง, เพอร์คัชชัน
- คริส โจนนาว – กีตาร์เบส
บุคคลสนับสนุน
- เดวิด บอตทริลล์ – งานผลิต
- แวน ไดค์ ปาร์กส – เรียงเรียงออร์เครสตรา (ในเพลงที่ 1, 6, 8)
- ลาร์รี มูโฮเบแร็ก – เรียงเรียงออร์เครสตรา (ในเพลงที่ 2, 4, 10)
- ร็อบ วูลฟ์ – แฮมมอนด์ออร์แกน (ในเพลงที่ 3, 10)
- ไมเคิล โรส – พีดัลสตีล (ในเพลงที่ 7)
- พอล แม็ก – เปียโน (ในเพลงที่ 1, 4, 6, 7, 8, 10)
- จิม โมจินี – คีย์บอร์ด (ในเพลงที่ 2, 5 , เปียโน ในเพลงที่ 5)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bradley Torreano. "Diorama > Overview". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
- ↑ "Silverchair: Diorama". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Darryl Sterdan. "Silverchair: Diorama". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
- ↑ Russell Baillie. "Silverchair: Diorama". New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 James Jam (9 August 2002). "Over-produced Aussie rock". NME. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Nikki Tranter (6 September 2002). "Silverchair: Diorama". PopMatters. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
- ↑ "Review: Diorama". Q (August 2002): 133.
- ↑ 8.0 8.1 Mark Kemp (8 August 2002). "Silverchair: Diorama". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
- ↑ "Silverchair: Diorama". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 10.0 10.1 Rob O'Connor (8 June 2002). "Diorama". Yahoo! Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
- ↑ "Silverchair - Biography". Chairpage.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-31. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 David John Farinella (1 January 2003). "Silverchair's Diorama". Mix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 2008-03-21.
- ↑ 13.0 13.1 Mark Neilsen (23 April 2002). "Another Point of View". Drum Media.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "Coming of Age". Guitar Player. August 2002.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 David Anderson (21 October 2002). "Silver lining". The Sun-Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-05-10.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Kathy McCabe. "Daniel Johns' debt to Natalie". The Daily Telegraph.
- ↑ "Dr Kerryn Phelps, Health Editor, with Steve Leibmann, Channel Nine, 'Today'". Australian Medical Association. 6 May 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
- ↑ 18.0 18.1 Patrick Donovan (17 October 2002). "Guitarist takes life as it comes". Music Writer.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 "Silverchair - Diorama". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ 20.0 20.1 "ARIA Charts - Accreditations - 2002 Albums". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ "Accreditations". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "Diorama > Charts & Awards > Billboard Albums". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ "ARIA Charts - Accreditations - 2002 Singles". ARIA. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
- ↑ "Silverchair - The Greatest View". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Singles". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 26.5 Jennifer Weir. "Silverchair - Luving life at last". Rock Sound.
- ↑ 27.0 27.1 "Silver Side Up". Kerrang!. 21 June 2003.
- ↑ "Silverchair - Without You". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ Sorelle Saidman (14 December 1999). "Silverchair Plays Last Gig Before Its 2000 Time-Out". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
- ↑ "Silverchair - Luv Your Life". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ "Silverchair - Across The Night". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ David Fricke (20 May 2003). "Silverchair See Past Tomorrow". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
- ↑ Robyn Doreian. "Silverchair Live! - Rock Sound". Rock Sound.
- ↑ "Silverchair: Diorama (2002)". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16.
- ↑ "Best Albums of 2002". Triple J. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
ก่อนหน้า | ไดโอรามา (อัลบั้ม) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อะนิวเดย์แฮสคัม โดย เซลีน ดิออน | ชาร์ตอัลบั้มเออาร์ไอเอ อัลบั้มอันดับหนึ่ง (8 - 14 เมษายน พ.ศ. 2545) |
ลันดรีเซอร์วิส โดย ชากิรา |