ข้ามไปเนื้อหา

คาร์ล กุสทัฟ ยาค็อพ ยาโคบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
คาร์ล กุสทัฟ ยาค็อพ ยาโคบี
เกิด10 ธันวาคม ค.ศ. 1804(1804-12-10)
พ็อทซ์ดัม, ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เสียชีวิต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1851(1851-02-18) (46 ปี)
เบอร์ลิน, ราชอาณาจักรปรัสเซีย
สัญชาติเยอรมัน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาคณิตศาสตร์

คาร์ล กุสทัฟ ยาค็อพ ยาโคบี (เยอรมัน: Carl Gustav Jacob Jacobi) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1804 เขาเป็นผู้คิดค้นฟังก์ชันอิลลิปติก (elliptic function) สมการเชิงอนุพันธ์ และทฤษฎีจำนวน การอลุส กุสตาวุส ยากอบุส ยากอบี (ละติน: Carolus Gustavus Iacobus Iacobi) เป็นอีกชื่อหนึ่งในหนังสือที่เขาเขียนเป็นภาษาละติน นอกจากนี้เขายังเป็นนักคณิตศาสตร์ยิวคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยในเยอรมนีอีกด้วย[1]

ประวัติ

[แก้]

ยาโคบีเกิดในตระกูลชาวยิวอัชเคนาซิในเมืองพ็อทซ์ดัมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1804 เขาเป็นลูกคนที่สองจากในสี่คนของซีม็อน ยาโคบี พี่ชายของเขา โมริทซ์ ฟ็อน ยาโคบี กลายเป็นที่รู้จักในภายหลังในฐานะวิศวกรและนักฟิสิกส์ ในขณะที่เขาเป็นคนแรกที่ได้รับการศึกษาที่บ้าน (home education) โดยเลมัน ลุงของเขาผู้สอนเขาในเรื่อง classical languages and elements of mathematics ในปี ค.ศ. 1816 ยาโคบี อายุ 12 ปี เขาได้เดินทางไปที่ Potsdam Gymnasium ซึ่งเป็นที่ที่นักเรียนเรียนเกี่ยวกับภาษาคลาสสิก ประวัติศาสตร์เยอรมันและคณิตศาสตร์ เนื่องจากยาโคบีได้รับการศึกษาที่ดีจากลุงของเขา ประกอบกับความสามารถพิเศษของตัวเขาเอง หลังจากนั้นไม่ถึงครึ่งปี เขาถูกย้ายไปเป็น senior ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยไม่สามารถรับนักเรียนที่อายุต่ำกว่า 16 ปีอย่างเขาเข้ามาเรียนได้ เขาจึงต้องอยู่ในชั้นเรียนนั้นจนกระทั่ง ค.ศ. 1821 เขาใช้เวลานี้ในการพัฒนาความรู้ของเขา และแสดงความสนใจในทุก ๆ วิชา รวมทั้งภาษาละตินและภาษากรีก ประวัติศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ที่เขาพยายามในการแก้สมการพหุนามเอกพันธุ์หลายตัวแปร (quantic) โดยใช้กรณฑ์อันดับสอง (radicals)[2]

ในปี ค.ศ. 1821 ยาโคบีได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ซึ่งเป็นที่แรกที่เขาให้ความสนใจกับการเรียนภาษาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ยาโคบีไม่ได้ให้ความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์มากนักในการเรียนอยู่ที่นี่ เนื่องจากคณิตศาสตร์ในประเทศเยอรมนีขณะนั้นอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับเขามากเกินไป อย่างไรก็ตามเขายังคงศึกษาผลงานของออยเลอร์, ลากร็องฌ์ และลาปลัสด้วยตนเองอยู่ ในปี ค.ศ. 1823 เขาจำเป็นต้องตัดสินใจระหว่างความสนใจของเขาในการแข่งขัน หรือเลือกที่จะทุ่มเทความสนใจทั้งหมดให้กับคณิตศาสตร์[3] ในปีเดียวกันนี้ เขาก็มีสิทธิเข้าสอนในโรงเรียนมัธยมและได้รับการเสนอตำแหน่งที่ Joachimsthal Gymnasium ในกรุงเบอร์ลิน แต่เขาตัดสินใจที่จะทำงานต่อไปในมหาวิทยาลัยอยู่ ในปี ค.ศ. 1825 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต และมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการแยกเศษส่วนออกเป็นเศษส่วนย่อย (The partial fraction decomposition of rational fractions) และเขาได้ทำงานวิจัยทันทีหลังจากเรียนจบปริญญาเอก (Habilitation) ในเวลาเดียวกันเขาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ตอนนี้เขามีคุณสมบัติเพียงพอเพื่อสอนในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งทำให้เขาได้เข้าบรรยายเรื่องทฤษฎีเส้นโค้งและพื้นผิว (Theory of curves and surfaces) ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ในวัย 21 ปีเท่านั้น[3][4]

ในปี ค.ศ. 1827 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ และในปี ค.ศ. 1829 ยังดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์คจนถึง ค.ศ. 1842 ยาโคบีทำงานหนักมากเกินไป ทำให้ในปี ค.ศ. 1843 เขาจึงเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศอิตาลีเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ เมื่อเขากลับมาเขาย้ายไปอยู่เบอร์ลินซึ่งเขาอาศัยอยู่ในฐานะผู้รับบำนาญหลวงจนกระทั่งเสียชีวิต ยาโคบีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1851 จากการติดเชื้อไข้ทรพิษ หลุมฝังศพของเขาถูกเก็บรักษาไว้ที่สุสาน Friedhof I der Dreifaltigkeits-Kirchengemeinde ในย่านคร็อยทซ์แบร์คของเบอร์ลิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Setting the record straight about Jewish mathematicians in Nazi Germany, Haaretz
  2. Koenigsberger, Leo (1904), Carl Gustav Jacob Jacobi, Festschrift zur Feier der hundertsten Wiederkehr seines Geburtstages (ภาษาเยอรมัน), Leipzig, B.G. Teubner, Review by Pierpont
  3. 3.0 3.1 Dirichlet, P. G. Lejeune (1855), "Gedächtnißrede auf Carl Gustav Jacob Jacobi", Journal für die reine und angewandte Mathematik, 52: 193–217, ISSN 0075-4102, MR 1104895
  4. James, Ioan Mackenzie (2003). Remarkable Mathematicians: From Euler to von Neumann. Cambridge University Press. pp. 69–74. ISBN 978-0-521-52094-2.