ข้ามไปเนื้อหา

ละหุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ละหุ่ง
ใบและดอกละหุ่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
วงศ์ย่อย: Acalyphoideae
เผ่า: Acalypheae
เผ่าย่อย: Ricininae[1]
สกุล: Ricinus
L.
สปีชีส์: R.  communis
ชื่อทวินาม
Ricinus communis
L.

ละหุ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis) เป็นพืชในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) และเป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Ricinus มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาตะวันออก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ละหุ่งเป็นไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 6 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบหยักเป็นแฉกแบบนิ้วมือ 5-12 แฉก เนื้อใบค่อนข้างบาง สีเขียว หรือสีเขียวแกมแดง หรือสีแดงเข้ม ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง ดอกย่อยสีเขียวอมเหลืองหรือสีม่วงแดง แยกเพศแต่อยู่บนช่อเดียวกัน โดยดอกตัวผู้อยู่ส่วนบน ส่วนดอกตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ผลรูปไข่มี 3 พู เมื่ออ่อนมีสีเขียวหรือสีเขียวแกมม่วง มีหนามอ่อน ๆ คลุม เมื่อแก่จะแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด[2]

การนำไปใช้

[แก้]

เมื่อสกัดเมล็ดละหุ่งโดยไม่ใช้ความร้อน (หากใช้ความร้อนจะได้โปรตีนที่มีพิษร้ายแรงคือ ไรซิน)[3] จะได้น้ำมันละหุ่ง (castor oil) ที่มีสารสำคัญคือ กรดริซิโนเลอิก 85-95% ใช้รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์คินสัน ข้ออักเสบ และแก้อาการผมร่วงได้[4] นอกจากนี้ น้ำมันละหุ่งยังใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน[5] และใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและรถยนต์อย่างแพร่หลาย[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rizzardo, RA; Milfont, MO; Silva, EM; Freitas, BM (December 2012). "Apis mellifera pollination improves agronomic productivity of anemophilous castor bean (Ricinus communis)". Anais da Academia Brasileira de Ciencias. 84 (4): 1137–45. doi:10.1590/s0001-37652012005000057. PMID 22990600.
  2. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 594-596, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  3. "สารพิษจากเมล็ดละหุ่ง - ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา - กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  4. Health Benefits of Castor Oil - Home Remedies Web
  5. ยาถ่ายและยาระบาย | ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  6. Mutlu, H; Meier, MAR (January 2010). "Castor oil as a renewable resource for the chemical industry". European Journal of Lipid Science and Technology. 112 (1): 10–30. doi:10.1002/ejlt.200900138.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ละหุ่ง
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ricinus communis ที่วิกิสปีชีส์