อู่ฮั่น
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อู่ฮั่น 武汉市 | |
---|---|
ตามเข็มจากบน: ทิวนครอู่ฮั่นจากสะพานอู่ฮั่นแยงซี, หอโทรทัศน์เขาเต่า, ทางถนนบนทะเลสาบตะวันออก, วัดกุยหยวน, หอคอยกระเรียนเหลือง | |
สมญา: | |
คำขวัญ: 武汉, 每天不一样 ("อู่ฮั่น ทุกวันไม่เหมือนกัน") | |
ที่ตั้งของนครอู่ฮั่นในมณฑลหูเป่ย์ | |
พิกัด: 30°35′14″N 114°17′17″E / 30.58722°N 114.28806°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | หูเป่ย์ |
ตั้งถิ่นฐาน | 1,500 ปีก่อนคริสตกาล |
รวมเป็นเมืองเดียว | 1 มกราคม ค.ศ. 1927[7] |
เขตการปกครอง[7][8] ระดับอำเภอ ระดับตำบล | 13 เขต 156 แขวง, 1 เมือง, 3 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | Ma Guoqiang |
• ผู้ว่าการนคร | Zhou Xianwang (周先旺)[9] |
พื้นที่[10] | |
• ทั้งจังหวัด | 8,494.41 ตร.กม. (3,279.71 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[11] | 1,528 ตร.กม. (590 ตร.ไมล์) |
ความสูง[ต้องการอ้างอิง] | 37 เมตร (121 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2018) | |
• ทั้งจังหวัด | 11,081,000[6] คน |
• เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[11] | 8,896,900[6] คน |
• รวมปริมณฑล[12] | 19 ล้าน คน |
• เชื้อชาติส่วนใหญ่ | ชาวฮั่น |
• ภาษา | ภาษาอู่ฮั่น, ภาษาจีนมาตรฐาน |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 430000–430400 |
รหัสพื้นที่ | 0027 |
รหัส ISO 3166 | CN-HB-01 |
จีดีพี (ค.ศ. 2018)[13] | 2018 |
• รวม | 1.485 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 8) |
• ต่อหัว | 138,759 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 11) |
• ความเติบโต | 8% (ค.ศ. 2018) |
ต้นไม้ประจำนคร | Metasequoia[14] |
ดอกไม้ประจำนคร | Prunus mume[15] |
ป้ายทะเบียนรถ | 鄂A 鄂O (ตำรวจและหน่วยงานรัฐ) |
เว็บไซต์ | www |
อู่ฮั่น (จีนตัวย่อ: 武汉; จีนตัวเต็ม: 武漢) เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน[16] เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีประชากรกว่า 11 ล้านคน ทำให้เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในภาคกลางของประเทศจีน[17] และเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในนครศูนย์กลางแห่งชาติทั้งเก้าแห่งของประเทศจีน[18]
ชื่อ "อู่ฮั่น" มาจากการรวมกันของเมืองในประวัติศาสตร์ ได้แก่ เมืองอู่ชาง ฮั่นโข่ว และฮั่นหยาง ซึ่งทั้งสามเมืองรู้จักกันในชื่อ "เมืองทั้งสามของอู่ฮั่น" (武汉三镇) นครอู่ฮั่นตั้งอยู่ในทางตะวันออกของที่ราบเจียงฮั่น ซึ่งเป็นที่บรรจบของแม่น้ำแยงซี กับลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำแยงซีซึ่งก็คือแม่น้ำฮั่น และนครอู่ฮั่นรู้จักกันในชื่อ "ทางสู่มณฑลทั้งเก้า" (九省通衢)[1]
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในอู่ฮั่น เช่น การก่อการกำเริบอู่ชาง ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ชิงและการสถาปนาสาธารณรัฐจีน[19] อู่ฮั่นเป็นเมืองหลวงของประเทศจีนเป็นเวลาสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1927 ภายใต้ฝ่ายซ้ายของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ที่นำโดยวาง จิงเว่ย[20] ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองหลวงในยามสงครามของจีนเป็นเวลาสิบเดือน[21][22] ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วถูกพบในนครอู่ฮั่นเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019[23][24]
ทุกวันนี้อู่ฮั่นถือเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน การค้า วัฒนธรรม และการศึกษา ของภาคกลางของประเทศจีน[17] เป็นศูนย์กลางการขนส่งขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทางรถไฟ ถนน และทางด่วนจำนวนมากที่ผ่านตัวเมืองและเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่อื่น ๆ[25] เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการขนส่งภายในประเทศ ทำให้บางครั้งอู่ฮั่นถูกเรียกว่า "ชิคาโกของจีน" ในแหล่งข้อมูลต่างประเทศ[3][4][5] "แม่น้ำสายทองคำ" อย่างแม่น้ำแยงซี และลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดซึ่งก็คือแม่น้ำฮั่น ไหลผ่านตัวเมืองและแบ่งอู่ฮั่นออกเป็น 3 เขต ได้แก่ อู่ชาง ฮั่นโข่ว และฮั่นหยาง มีสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีภายในตัวเมือง และห่างออกไปทางตะวันตกของมณฑลหูเป่ย์ จะมีเขื่อนซานเสียต้าป้า ซึ่งเป็นสถานีพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของกำลังผลิตติดตั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง
ในปัจจุบัน นครอู่ฮั่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 เขต[26] ตามข้อมูลจากสำมะโนประชากรครั้งที่ 6 ของจีนในปี ค.ศ. 2010 ทั้ง 13 เขตนี้ประกอบด้วยเขตการปกครองระดับตำบล 160 แห่ง เป็นแขวง 156 แห่ง เมือง 3 แห่ง และตำบล 1 แห่ง[7][8]
แผนที่ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1
3
เขตฮั่นหยาง
เขตอู่ชาง
เขตชิงชาน
เขตหงชาน
เขตตงซีหู
เขตฮั่นหนาน
เขตไช่เตี้ยน
เขตเจียงเซี่ย
เขตฮฺหวางผี
เขตซินโจว
เขตในฮั่นโข่ว
1. เขตเจียงอ้าน
2. เขตเจียงฮั่น
3. เขตเฉียวโข่ว
| |||||||||||||||||
เขต | ภาษาจีน (ตัวย่อ) | พินอิน | ประชากร (สำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010)[27][7][8] |
พื้นที่ (ตร.กม.)[10] | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) | ||||||||||||
เขตในตัวเมือง | 6,434,373 | 888.42 | 7,242 | ||||||||||||||
เขตเจียงอ้าน | 江岸区 | Jiāng'àn Qū | 895,635 | 64.24 | 13,942 | ||||||||||||
เขตเจียงฮั่น | 江汉区 | Jiānghàn Qū | 683,492 | 33.43 | 20,445 | ||||||||||||
เขตเฉียวโข่ว | 硚口区 | Qiáokǒu Qū | 828,644 | 46.39 | 17,863 | ||||||||||||
เขตฮั่นหยาง | 汉阳区 | Hànyáng Qū | 792,183[28] | 108.34 | 7,312 | ||||||||||||
เขตอู่ชาง | 武昌区 | Wǔchāng Qū | 1,199,127 | 87.42 | 13,717 | ||||||||||||
เขตชิงชาน | 青山区 | Qīngshān Qū | 485,375 | 68.40 | 7,096 | ||||||||||||
เขตหงชาน | 洪山区 | Hóngshān Qū | 1,549,917[29] | 480.20 | 3,228 | ||||||||||||
เขตในชานเมืองและชนบท | 3,346,271 | 7,605.99 | 440 | ||||||||||||||
เขตตงซีหู | 东西湖区 | Dōngxīhú Qū | 451,880 | 439.19 | 1,029 | ||||||||||||
เขตฮั่นหนาน | 汉南区 | Hànnán Qū | 114,970 | 287.70 | 400 | ||||||||||||
เขตไช่เตี้ยน | 蔡甸区 | Càidiàn Qū | 410,888 | 1,108.10 | 371 | ||||||||||||
เขตเจียงเซี่ย | 江夏区 | Jiāngxià Qū | 644,835 | 2,010.00 | 321 | ||||||||||||
เขตฮฺหวางผี | 黄陂区 | Huángpí Qū | 874,938 | 2,261.00 | 387 | ||||||||||||
เขตซินโจว | 新洲区 | Xīnzhōu Qū | 848,760 | 1,500.00 | 566 | ||||||||||||
พื้นที่น้ำ (水上地区) | 4,748 | - | - | ||||||||||||||
รวม | 9,785,392 | 8,494.41 | 1,152 |
การขนส่ง
ทางรถไฟ
กลุ่มรถไฟจีนอู่ฮั่นเป็นบริษัทที่บริหารจัดการศูนย์กลางการขนส่งทางรางของอู่ฮั่น โดยศูนย์กลางนี้ถือเป็นหนึ่งในสี่ศูนย์กลางการขนส่งทางรางที่สำคัญของจีน[30] นครอู่ฮั่นมีสถานีรถไฟหลักสามแห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟฮั่นโข่ว ในเขตฮั่นโข่ว, สถานีรถไฟอู่ชาง ในเขตอู่ชาง, และสถานีรถไฟอู่ฮั่น ในพื้นที่ที่พัฒนาขึ้นใหม่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบตงหู (ทะเลสาบตะวันออก) ในเขตหงชาน
สถานีฮั่นโข่ว (เดิม) เป็นปลายทางของทางรถไฟสายปักกิ่ง–ฮั่นโข่ว ในขณะที่สถานีอู่ชางเป็นปลายทางของทางรถไฟสายกว่างโจว–ฮั่นโข่ว ตั้งแต่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งแรกและเชื่อมทางรถไฟสองสายเข้าด้วยกันเป็นทางรถไฟสายปักกิ่ง–กว่างโจว ทั้งสถานีฮั่นโข่วและอู่ชางมีรถไฟให้บริการไปยังทุกทิศทาง
เมื่อมีการเปิดใช้งานของรถไฟความเร็วสูงสายเหอเฝย์–อู่ฮั่นในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009[31] อู่ฮั่นเริ่มให้บริการรถไฟความเร็วสูงระหว่างเหอเฝย์ หนานจิง และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งปัจจุบันสายไปเซี่ยงไฮ้ให้บริการหลายขบวนต่อวัน ใช้เวลาเดินทางภายใน 6 ชั่วโมง และในต้นปี ค.ศ. 2010 รถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่ออกจากสถานีรถไฟฮั่นโข่ว
ใน ค.ศ. 2006 การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่จำนวน 11 ชานชลา ตั้งอยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง โดยสถานีนี้ได้เปิดใช้งานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 เนื่องจากจีนเริ่มเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงสายที่สอง (สายอู่ฮั่น–กว่างโจว) โดยมีตารางวิ่งจากกว่างโจวถึงอู่ฮั่น ถือว่าเป็นรถไฟที่เร็วที่สุดในโลก โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 394 km/h (244.82 mph) ทำให้เวลาเดินทางระหว่างสองเมืองลดลงจากสิบชั่วโมงครึ่งเหลือเพียงสามชั่วโมง และต่อมาได้ต่อขยายไปทางเหนือถึงปักกิ่ง[32]
เมื่อถึงปี ค.ศ. 2011 สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่มีรถไฟความเร็วสูงสายอู่ฮั่น–กว่างโจวให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่รถไฟธรรมดาส่วนใหญ่ที่ไปยังจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ยังคงใช้สถานีฮั่นโข่วและอู่ชาง
ท่าเรือ
เส้นขนส่งทางน้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในมณฑลหูเป่ย์ เนื่องจาก มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และแม่น้ำฮั่นเจียง เป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำสายหลัก ทั้งนี้เมืองและอำเภอต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย์ยังใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ดังนั้นมณฑลนี้จึงมีการอุตสาหกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศเมืองท่าต่าง ๆ อาทิ อู่ฮั่น หวงสือ ซาซื่อ อี๋ชัง มีการเปิดเส้นทางติดต่อกับต่างประเทศมานาน โดยมีท่าเรืออู่ฮั่นเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของแม่น้ำฉางเจียงตอนล่าง และเป็นท่าเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากเป็น 1 ใน 8 ท่าเรือที่เปิดใช้ในช่วงจีนปฏิรูปอุตสาหกรรมและเปิดประเทศราวปี 1980 และในปีถัดมาก็เปิดเส้นทางเดินเรือ ขนส่งสินค้าไปฮ่องกง ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ สำหรับแม่น้ำฮั่นเจียงนั้น เป็นเส้นทางติดต่อไปยังถิ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล บนที่ราบเจียงฮั่น โดยมีท่าเรือเซียงฝันและท่าเรือเหล่าเหอโข่ว เป็นท่าเรือที่สำคัญ
สนามบิน
สถิติเมื่อปี 2000 หูเป่ย์มีบริษัทเดินอากาศ 4 แห่ง สนามบินพลเรือน 5 แห่ง สนามบินกองทัพอากาศ 1 แห่ง เปิดเส้นทางบินทั้งในและนอกประเทศ 107 เส้นทาง บินตรงสู่เมืองต่าง ๆ ในประเทศ 57 เมือง สนามบินเทียนเหอที่เมืองอู่ฮั่น ยังเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของประเทศ
- ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ฮั่นเทียนเหอ (Wuhan Tianhe International Airport, จีน: 武汉天河国际机场)
ทางหลวงและทางด่วน
มีทางหลวงสายหลักและทางด่วนหลายสายที่ผ่านอู่ฮั่น ได้แก่
- ทางหลวงจีนหมายเลข 107
- ทางหลวงจีนหมายเลข 316
- ทางหลวงจีนหมายเลข 318
- ทางด่วนจี 42 สายเซี่ยงไฮ้–เฉิงตู
- ทางด่วนจี 0422 สายอู่ฮั่น–เชินเจิ้น
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Archived copy" 图文:"黄金十字架"写就第一笔. Sina. มีนาคม 30, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 4, 2016. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2018.
武汉历史上就是"九省通衢",在中央促进中部崛起战略中被定位为"全国性综合交通运输枢纽"。
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 九省通衢. The government of Wuhan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "Foreign News: On To Chicago". Time. มิถุนายน 13, 1938. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 5, 2012. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 20, 2011.
- ↑ 4.0 4.1 Jacob, Mark (พฤษภาคม 13, 2012). "Chicago is all over the place". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 11, 2013. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 22, 2012.
- ↑ 5.0 5.1 水野幸吉 (Mizuno Kokichi) (2014). 中国中部事情:汉口 [Central China: Hankou]. Wuhan Press. p. 3. ISBN 9787543084612.
- ↑ 6.0 6.1 武汉常住人口突破1100万 城市吸引力稳步提升. Xinhua Hubei 长江日报. 26 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2019. สืบค้นเมื่อ 17 August 2019.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Archived copy" 武汉市历史沿革 (ภาษาจีนตัวย่อ). www.XZQH.org. สิงหาคม 6, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2018. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 8.2 "Archived copy" 行政建置 (ภาษาจีนตัวย่อ). Wuhan Municipal People's Government. มกราคม 8, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 17, 2018. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 17, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" 武汉市信息公开. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 6, 2018. สืบค้นเมื่อ เมษายน 5, 2018.
2017年2月19日,在武汉市第十四届人民代表大会第一次会议上当选为武汉市政府市长。
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 "Wuhan Statistical Yearbook 2010" (PDF). Wuhan Statistics Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ พฤศจิกายน 5, 2011. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 31, 2011.p. 15
- ↑ 11.0 11.1 Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ พฤษภาคม 3, 2018. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 15, 2018.
- ↑ OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. เมษายน 18, 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 27, 2017. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 8, 2017. Linked from the OECD here เก็บถาวร ธันวาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 武汉市2010年国民经济和社会发展统计公报. Wuhan Statistics Bureau. พฤษภาคม 10, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 23, 2012. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 31, 2011.
- ↑ "THE CHRONOLOGY OF THE "LIVING FOSSIL" METASEQUOIA GLYPTOSTROBOIDES (TAXODIACEAE): A REVIEW (1943–2003)" (PDF). Harvard College. 2003. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ มีนาคม 6, 2016. สืบค้นเมื่อ มกราคม 25, 2018.
1984 In the spring, Metasequoia was chosen as the "City Tree" of Wuhan, the capital of Hubei.
- ↑ 北京奥运会火炬境内传递城市 [Beijing Olympic torch relay city within the city]. blog.sina.com.cn. มีนาคม 26, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 18, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 18, 2018.
- ↑ "Illuminating China's Provinces, Municipalities and Autonomous Regions". PRC Central Government Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 19, 2014. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2018.
- ↑ 17.0 17.1 "Focus on Wuhan, China". The Canadian Trade Commissioner Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 12, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2013.
- ↑ Zhao Manfeng (赵满丰). "Archived copy" 国家中心城市 [National central cities]. usa.chinadaily.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 20, 2018. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "The Wuchang Uprising on Double Ten (10/10/1911) | Britannica Blog". blogs.britannica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.
- ↑ Stephen R. MacKinnon (2002). Remaking the Chinese City: Modernity and National Identity, 1900-1950. University of Hawaii Press. p. 161. ISBN 978-0824825188.
- ↑ "AN AMERICAN IN CHINA: 1936-39 A Memoir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 12, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2013.
- ↑ Stephen R. MacKinnon (2008-05-21). Wuhan, 1938: War, Refugees, and the Making of Modern China. University of California Press. p. 12. ISBN 978-0520254459.
- ↑ "The Coronavirus: What Scientists Have Learned So Far". The New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease (COVID-19) – Research and Statistics". Our World in Data. Oxford University. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
- ↑ 武汉获批全国首个交通枢纽研究试点城市. Ministry of Commerce of the People's Republic of China. 2009-06-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2012.
- ↑ "Archived copy" 2016年统计用区划代码和城乡划分代码:武汉市 (ภาษาจีนตัวย่อ). National Bureau of Statistics of the People's Republic of China. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 30, 2018. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 30, 2018.
统计用区划代码 名称 420101000000 市辖区 420102000000 江岸区 420103000000 江汉区 420104000000 硚口区 420105000000 汉阳区 420106000000 武昌区 420107000000 青山区 420111000000 洪山区 420112000000 东西湖区 420113000000 汉南区 420114000000 蔡甸区 420115000000 江夏区 420116000000 黄陂区 420117000000 新洲区
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 武汉市2010年第六次全国人口普查主要数据公报. Wuhan Statistics Bureau. พฤษภาคม 10, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 25, 2011. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 31, 2011.
- ↑ includes 208,106 in Wuhan Economic Development Zone (武汉经济技术开发区)
- ↑ includes 396,597 in Donghu New Technology Development Zone (东湖新技术开发区), 67,641 in Donghu Scenic Travel Zone (东湖生态旅游风景区), and 36,245 in Wuhan Chemical Industry Zone (武汉化学工业区)
- ↑ 铁道部规划建设北京上海广州武汉四大铁路枢纽. Sina News. มีนาคม 18, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 16, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2018.
- ↑ "Two high-speed rail links start April 1". www2.chinadaily.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 27, 2009. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2010.
- ↑ [Source: Beijing (AFP, Sat December 26, 7:54 am ET]