ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง"
ล เคาะวรรค |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{สิทธิ}} |
{{สิทธิ}} |
||
'''สิทธิพลเมือง''' (Civil Rights) หมายถึง การที่[[พลเมือง]]ของ[[รัฐ]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถคนในสังคมไทย |
|||
กระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของ[[สังคม]]นั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับ[[สิทธิทางการเมือง]] (political rights) เนื่องจากใน[[สังคม]] และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น [[เสรีภาพ]]จัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหาก[[พลเมือง]]ทุกคนมี[[เสรีภาพ]]อย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้[[เสรีภาพ]]ของ[[พลเมือง]]คนหนึ่ง ๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมี[[เสรีภาพ]]ของ[[พลเมือง]]คนอื่น ๆ ใน[[รัฐ]]ได้เช่นกัน ดังนั้น [[เสรีภาพ]]ของ[[พลเมือง]]จึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของ[[กฎหมาย]]ที่[[รัฐ]]กำหนดว่า สิ่งใดที่[[พลเมือง]]ไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่[[พลเมือง]]สามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของ[[รัฐ]] เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า [[สิทธิทางการเมือง]] หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235)<ref>Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.</ref> ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่า[[สิทธิมนุษยชน]] (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะ[[พลเมือง]]ของ[[รัฐ]] ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่[[สิทธิมนุษยชน]]นั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือน ๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็น[[พลเมือง]]ของ[[รัฐ]]ใดก็ตาม |
|||
'''สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง''' หรือ '''สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง''' คือ[[ความคุ้มครอง]]และ[[สิทธิประโยชน์]]ที่มอบให้[[พลเมือง]]ทุกคนตามกฎหมาย |
'''สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง''' หรือ '''สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง''' คือ[[ความคุ้มครอง]]และ[[สิทธิประโยชน์]]ที่มอบให้[[พลเมือง]]ทุกคนตามกฎหมาย |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:44, 24 พฤษภาคม 2562
สิทธิ |
---|
ความแตกต่างทางทฤษฎี |
สิทธิมนุษยชน |
สิทธิแบ่งตามผู้รับประโยชน์ |
สิทธิกลุ่มอื่น |
สิทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถคนในสังคมไทย กระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่ง ๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่น ๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235)[1] ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือน ๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาติ
อรรถาธิบาย
แน่นอนว่าแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองนั้นย่อมจะต้องเกิดขึ้นหลังจากที่สถานภาพของมนุษย์ในสังคมการเมืองนั้นได้ถูกแปรเปลี่ยนจาก “ไพร่” (subject) มาเป็น “พลเมือง” (citizen) เสียก่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังการปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ. 1789 ในฝรั่งเศส ที่ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมจากเดิมที่มีสถานภาพเป็นชนชั้น หรือ ฐานันดรต่าง ๆ มาเป็นพลเมือง (citizen) ที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การเกิดขึ้นของพลเมืองนี้ทำให้เกิดสัญญาประชาคมใหม่ที่พันธะของรัฐที่มีต่อพลเมืองเปลี่ยนไปจากเดิม หรือในอีกนัยหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองนั้นได้เปลี่ยนไป
การที่กล่าวว่าพลเมืองฝรั่งเศสในสมัยนั้นมีความเท่าเทียมกันก็เพราะภายหลังที่เกิดการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมได้มีการร่างและการประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” (declaration of the rights of man and of the citizen) ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวนี้เองที่เป็นสิ่งรับประกันในความเท่าเทียมของการมีสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง ของประชาชนฝรั่งเศสทุก ๆ คน และเป็นที่มาของการเกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “พลเมือง” ของรัฐที่เท่าเทียมกันขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกสมัยใหม่
หลักสิทธิพลเมืองที่ปฏิญญาดังกล่าวนี้ได้แถลงไว้ ได้แก่ การมี และใช้เสรีภาพภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล (property rights) สิทธิในการต่อต้านการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐ (rights of resistance) สิทธิในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สิทธิของผู้ต้องหา (rights of the accused) และที่สำคัญที่สุดก็คือ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ (freedom of expression) เป็นต้น
ภายหลังเมื่อรัฐต่าง ๆ ในโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง หรือ สิทธิพื้นฐานทางการเมืองที่พลเมืองทุกๆ คนของรัฐพึงมีนั้นจึงได้แพร่หลายออกไป เพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกๆคนคือที่มาของอำนาจอันชอบธรรมของการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองจึงได้หยั่งรากลึก และขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางกว่าเดิมในสภาวการณ์ของโลกที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย
การขยายตัวดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนในสหรัฐฯ ที่เกิดขบวนการที่รู้จักกันในชื่อ “ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมือง” (civil rights movement) อันเกิดจากปัญหาความขัดแย้งที่มีที่มาจากแนวคิด “แบ่งแยกแต่เท่าเทียม” (Separate but Equal) ของคนที่มีสีผิวแตกต่างในสังคมอเมริกันในช่วงศตวรรษที่ 20 อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของพลเมืองอเมริกันขึ้น โดยมีการกีดกัน (segregation) คนผิวดำ ตั้งแต่การแบ่งแยกการใช้ห้องสุขา การใช้รถสาธารณะ ไปจนถึงการห้ามคนผิวดำพักค้างคืนในเมือง (ภายใต้กฎหมายที่ชื่อ “Sundown Ordinance” ของมลรัฐโอไฮโอ และโอเรกอน) จนกระทั่งเมื่อหญิงสาวผิวดำที่ชื่อ โรซา พาร์ค (Rosa Parks) ได้ปฏิเสธนโยบายการแบ่งแยกสีผิวในรถเมล์ด้วยการเข้าไปนั่งในบริเวณของคนผิวขาวในปี ค.ศ. 1955 ซึ่งได้กลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่เท่าเทียมกันในช่วงทศวรรษ 1950–1980 ขึ้น จนกระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้มีการประกาศรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act of 1875) ขึ้นในปี ค.ศ. 1875 อันทำให้พลเมืองสหรัฐฯ ทุก ๆ คนนั้นมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน ภายใต้หลักการให้ความคุ้มครองอย่างเสมอภาคภายใต้กฎหมาย (equal protection of the laws) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ที่มีมาแต่เดิมนั่นเอง (Wasserman, 2000,123-127)[2]
ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยนั้นกล่าวถึงสิทธิพลเมืองขึ้นครั้งแรกภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้เปลี่ยนสถานภาพคนไทยจาก “ไพร่” มาเป็น “พลเมือง” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อำนาจนั้น “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) เพราะภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานที่มาของความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐได้เปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน คือจากตัวพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นจากเบื้องล่าง คือจากประชาชนชาวไทยทุก ๆ คน ผ่านระบบตัวแทนจากการเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม (free and fair elections) โดยมีการกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของประชาชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนตั้งแต่ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก (คือรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) ดังจะเห็นจากมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า
“...บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือประการอื่นใดก็ดีไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย” หรือในมาตรา 14 ที่ว่า “...บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”
จะเห็นได้ว่าสิทธิพื้นฐานทางการเมืองเหล่านี้ซึ่งได้รับอิทธิพล และแบบอย่างมาจากตะวันตกอย่างชัดเจน ได้กลายมาเป็นมาตรฐานที่รัฐให้การรับรอง และถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุก ๆ ฉบับที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา (โดยไม่นับรวมธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหาร) หรือแม้แต่การบัญญัติสิทธิพลเมืองเพิ่มเติม เช่น สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นต้น ทว่าในทางปฏิบัติ สิทธิพลเมืองบางอย่าง เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี (freedom of expression) ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยว่ายังคงถูกจำกัดภายใต้กรอบคิดบางประการ[3]
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
- ↑ Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.
- ↑ Wasserman, David (2000). The basics of American politics. New York: Long man.
- ↑ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2557), คำและแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่, เข้าถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ใน http://www.fes-thailand.org/wb/media/documents/Democ%20Terms%20and%20Concept%20Handbook_Final28112014_compressed%282%29.pdf