ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเทียมไทยคม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 127: บรรทัด 127:
[[ไฟล์:IPSTAR.jpg|60px|left]]
[[ไฟล์:IPSTAR.jpg|60px|left]]
'''ไทยคม 4''' หรือ '''[[ไอพีสตาร์]]''' เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral [[พาโล อัลโต]] [[สหรัฐอเมริกา]]
'''ไทยคม 4''' หรือ '''[[ไอพีสตาร์]]''' เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral [[พาโล อัลโต]] [[สหรัฐอเมริกา]]
เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง90000000000000000000000000000000000000 กม.
เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6,805 กม.

=== ไทยคม 5 ===
=== ไทยคม 5 ===
'''ไทยคม 5''' เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space [[ประเทศฝรั่งเศส]] มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม
'''ไทยคม 5''' เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space [[ประเทศฝรั่งเศส]] มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:42, 27 เมษายน 2562

ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ลักษณะและการใช้งาน

ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารภายใต้ชื่อ ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 8 ดวง ใช้งานได้จริง 5 ดวง ดังนี้

ภาพรวม

ดาวเทียมไทยคม
ดาวเทียม ผู้ผลิต วันขึ้นสู่อวกาศ
(UTC)
จรวด สถานที่ปล่อยจรวด ผู้รับจ้าง ลองจิจูด สถานะ อ้างอิง
ไทยคม 1 Hughes Space Aircraft 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สหภาพยุโรป Ariane 4 (44L) ฝรั่งเศส Kourou ELA-2 ฝรั่งเศส Arianespace 120° ตะวันออก ปลดระวาง
ไทยคม 2 Hughes Space Aircraft 8 ตุลาคม พ.ศ. 2537 สหภาพยุโรป Ariane 4 (44L) ฝรั่งเศส Kourou ELA-2 ฝรั่งเศส Arianespace 78.5° ตะวันออก ปลดระวาง
ไทยคม 3 อาเอร็อสปาซียาล,
now Thales Alenia Space
16 เมษายน พ.ศ. 2540 สหภาพยุโรป Ariane 4 (44LP) ฝรั่งเศส Kourou ELA-2 ฝรั่งเศส Arianespace ปลดระวาง
(ออกจากวงโคจร 2 ตุลาคม 2006)
ไทยคม 4 (IPSTAR) Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 สหภาพยุโรป Ariane 5 EGS ฝรั่งเศส Kourou ELA-3 ฝรั่งเศส Arianespace 119.5° ตะวันออก ปฏิบัติการ [1]
ไทยคม 5 Alcatel Alenia Space ฝรั่งเศส 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สหภาพยุโรป Ariane 5 ECA ฝรั่งเศส Kourou ELA-3 ฝรั่งเศส Arianespace 78.5° ตะวันออก ปฏิบัติการ [2]
ไทยคม 6 Orbital Sciences Corporation 6 มกราคม พ.ศ. 2557 สหรัฐอเมริกา Falcon 9 v1.1 สหรัฐอเมริกา Cape Canaveral SLC-40 สหรัฐอเมริกา สเปซเอ็กซ์ 78.5° ตะวันออก ปฏิบัติการ [3]
ไทยคม 7 Space Systems/Loral สหรัฐอเมริกา 7 กันยายน พ.ศ. 2557 สหรัฐอเมริกา Falcon 9 v1.1 สหรัฐอเมริกา Cape Canaveral SLC-40 สหรัฐอเมริกา สเปซเอ็กซ์ 120° ตะวันออก ปฏิบัติการ [4]
ไทยคม 8 Orbital Sciences Corporation 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สหรัฐอเมริกา Falcon 9 v1.2 สหรัฐอเมริกา Cape Canaveral SLC-40 สหรัฐอเมริกา สเปซเอ็กซ์ 78.5° ตะวันออก ปฏิบัติการ

ไทยคม 1

ไฟล์:Thaicom1.jpg

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)

เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
  • ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E / 0.000°N 120.000°E / 0.000; 120.000

ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 104°24'57.7 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี ก่อนที่จะตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ 2562

ไทยคม 3

ไฟล์:Thaicom3.jpg

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ

ไทยคม 4

ไฟล์:IPSTAR.jpg

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6,805 กม.

ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี และครอบคลุม 18 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [5]

) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3

ไทยคม 6

ไฟล์:Thaicom 6.jpg

ไทยคม6 เป็นดาวเทียม สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation แต่ขนส่งโดยบริษัท SpaceX เนื่องจากดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักถึง 3,000 กิโลกรัม จรวจของ Orbital Sciences Corporation ไม่สามารถขนส่งได้ ชื่อของจรวจของ SpaceX ที่ส่งดาวเทียม "ไทยคม 6" คือ "Falcon 9" มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)

ไทยคม 7

ดาวเทียมไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน รุ่น FS1300 ผลิตโดย บริษัท สเปซ สิสเต็มส์/ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา มวลในวงโคจร ประมาณ 3,700 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี ประกอบด้วยย่านความถี่ ซี-แบนด์ จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการกว้างครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ อินโดจีน รวมถึงออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ภายในบีมเดียวกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อข้ามภูมิภาคได้ ดาวเทียมไทยคม 7 จะจัดสร้างแล้วเสร็จและจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกได้ในปี 2557.

ไทยคม 8

ไทยคม8 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง ทั้ง (High Definition TV) และ (Ultra High Definition TV)

พื้นที่ให้บริการ

ไฟล์:Thaicom1a-2-footprint.jpg
พื้นที่การให้บริการของไทยคม 1A (120°E) และไทยคม 2 (78.5°E)
ไฟล์:Thaicom5-footprint.gif
พื้นที่การให้บริการของไทยคม 5 และไทยคม 3 (78.5°E)


ดาวเทียมไทยคม 1A และ 2

พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band

ดาวเทียมไทยคม 3

สถานะ : ปลดระวาง

ดาวเทียมไทยคม 5

  • ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
  • ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน[7]

ดาวเทียมไทยคม 6

  • ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
  • ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
    • ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน[8]

ดาวเทียมไทยคม 7

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา เวลา 01.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ด้วยจรวดขนส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (Space Exploration Technologies Corporation- SPACE X) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสิทธิในวงโคจรของไทย พร้อมช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย ด้วยการเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณเพื่อรองรับความต้องการใช้งานและการเติบโตของโทรคมนาคมในประเทศ พร้อมขยายศักยภาพในฐานะบริษัทดาวเทียมไทยเพื่อให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั้งในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลีย

การส่งดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ ให้ไทยคมมีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของไทย โดยเฉพาะทีวีดิจิตอล โดยเสริมช่องสัญญาณบนดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ที่ให้บริการเต็มในปัจจุบัน การมีดาวเทียมเพิ่มเติมอีกดวงหนึ่งนี้ จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการให้บริการและช่วยขยายตลาดของไทยคมในต่างประเทศด้วย

ดาวเทียมไทยคม 8

  • ย่านความถี่ Ku-Band : 24 ทรานสพอนเดอร์

ข้อถกเถียงการถือกรรมสิทธิ์ดาวเทียมและวงโคจร

กิจการดาวเทียมเป็นกิจการสัมปทานที่ได้รับการอนุญาตโดยการทำสัญญาจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้มีสิทธิให้อนุญาตและเพิกถอนสัญญาเรียกคืนสัมปทาน แต่เช่นเดียวกับการถือสัมปทานอื่น ผู้ให้สัมปทาน (หน่วยงานของรัฐ) ไม่สามารถบริหารดาวเทียม คงจะเป็นผู้กำกับและเป็นเจ้าของทรัพย์สินและคลื่นความถี่เท่านั้น แต่เป็นบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ที่บริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียมได้เอง หากไม่ขัดกับเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน

เดิมทีบริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียม แม้ว่าไม่ใช่โดยหน่วยงานของรัฐ แต่ก็ยังถือว่าโดยบริษัทของชาวไทย (มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) แต่เมื่อ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขายหุ้นครั้งใหญ่ สายการบริหารจึงดำเนินการโดยบริษัทของชาวสิงคโปร์ (ชาวสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่)

อย่างไรก็ตาม มีกระแสความเห็นว่า ยังไม่ใช่การครอบครองโดยเบ็ดเสร็จ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังเป็นผู้พิจารณาให้สัมปทาน จึงอาจกล่าวโดยมุมมองที่ต่างกันไปว่า เจ้าของที่แท้จริงยังเป็นคนไทย เพียงแต่ให้ชาวต่างชาติเช่าเพื่อดูแลและใช้งานในธุรกิจ อีกทั้งยังอาจมีวิธียึดคืนสัมปทานได้ ถ้าค้นคว้าได้ว่าผิดสัญญา [10]

ทั้งนี้ ข้อกฎหมายตั้งเงื่อนไข ห้ามมิให้บริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้นรายใหญ่ในสัมปทาน เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจคนต่างด้าว และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ถือรายหุ้นใหญ่ใน บริษัท ไทยคม จำกัด) ได้ขายหุ้นให้ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิงส์ จำกัด ซึ่งบริษัทนี้ แม้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิงส์ จำกัด [11] (สรุปให้ง่ายว่า ขณะนี้ บริษัทไทยคม เป็นบริษัทลูกของ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทซีดาร์โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์)

ดังนั้นถ้าพิจารณาโดยเบื้องต้น จึงไม่ขัดกับข้อกฎหมาย เพราะ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นไม่ใช่บริษัทต่างชาติโดยตรง ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เป็นบริษัทลูกอีกชั้นหนึ่ง) ทั้งนี้ถือเป็นการเลี่ยงโดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย ซึ่งถ้าพิจารณาตามสายการบริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากบริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์ สามารถล็อบบี้และควบคุมการบริหารและดำเนินนโยบายใน กิจการดาวเทียมไทยคม โดยลำดับเป็นทอดๆ [12]

ปัญหาเรื่องการจัดสร้างดาวเทียมทดแทน

ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2553 จะเป็นช่วงหมดอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 2 ดวง ได้แก่ ดาวเที่ยมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ซึ่งในสัญญาสัมปทานระบุให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากภาครัฐ ต้องทำการจัดสร้างดาวเทียมและส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้บริการทดแทนตลอดอายุสัมปทาน แต่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอระงับการจัดสร้างดาวเทียมใหม่ทดแทน โดยเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เป็นการเช่าดาวเทียมของประเทศอื่นแทนการสร้างใหม่ โดยอ้างเรื่องการลงทุนที่สูง [13] แม้กระทรวงไอซีทีไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่เมื่อดาวเทียมใกล้หมดอายุใช้งานจึงจำเป็นต้องอนุญาตเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ดาวเทียม [14] โดยให้เป็นการเช่าชั่วคราวและยืนยันให้ผู้รับสัมปทานยังต้องทำแผนจัดสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 6 ตามสัญญาสัมปทาน

ปัญหาการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5

นับแต่เริ่มใช้งานเป็นต้นมา มีบันทึกว่าดาวเทียมไทยคม 5 ประสบปัญหาทางเทคนิค จนไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ มาแล้วสองครั้งคือ เมื่อเวลาประมาณ 16:10 น.ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 อีกครั้ง เมื่อเวลาประมาณ 23:25 น.ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสายเคเบิลใยแก้ว ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสถานีดาวเทียมไทยคม กับสถานีโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกทรูวิชันส์ (Fiber link) เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคบางส่วน จนส่งผลให้บางช่องรายการของทรูวิชันส์ ไม่สามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ในขณะนั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

การครอบครองทรัพย์สิน

ผู้เช่าสัมปทานและคลื่นความถี่

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและคลื่นความถี่

อ้างอิง

  1. "Thaicom 4". Satellites. Thaicom Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  2. "Thaicom 5". Satellites. Thaicom Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  3. "Thaicom 6". Satellites. Thaicom Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  4. "Thaicom 7". Satellites. Thaicom Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
  5. http://www.ipstar.com/en/tech_space_key.htm
  6. http://www.thaicom.net/thai/satellite_thaicom2.aspx
  7. http://www.thaicom.net/thai/satellite_thaicom5.aspx
  8. http://www.spacenews.com/satellite_telecom/110531-thaicom-order-sat-orbital-launch-spacex.html
  9. THCOM จับมือทรูวิชั่นส์ เซ็นสัญญาระยะยาวใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
  10. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=4235 หนังสือพิมพ์ OK nation
  11. http://www.thaicom.net/thai/ir_shareholder.aspx เว็บไซต์ของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้น
  12. http://news.utcc.ac.th/content/view/390/16/ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยหอการค้า อ้างเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ อธิบายข้อกฎหมาย
  13. http://manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099079
  14. http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000107265