ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซนต์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัด 28: | บรรทัด 28: | ||
[[da:Helgen]] |
[[da:Helgen]] |
||
[[de:Heiliger]] |
[[de:Heiliger]] |
||
[[en:Saint]] |
|||
[[et:Pühak]] |
[[et:Pühak]] |
||
[[es:Santo]] |
[[es:Santo]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:55, 12 ธันวาคม 2554
เซนต์ (อังกฤษ: saint) ชาวคาทอลิกเรียกว่า นักบุญ หรือ ผู้บริสุทธิ์ ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า ธรรมิกชน [1] ใช้หมายถึงผู้ศักดิ์สิทธิ์[2] ในคริสต์ศาสนาแต่ละนิกายอธิบายลักษณะของเซนต์แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะถือตามคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่าเซนต์หมายถึงบุคคลใด ๆ ไม่ว่าบนโลกมนุษย์หรือบนสวรรค์ ที่มีชีวิตอยู่ในพระคริสต์ และเป็นผู้ที่พระคริสต์ทรงประทับอยู่[3][4] ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์และโรมันคาทอลิกถือว่าคริสตศาสนิกชนทั้งหมดที่อยู่บนสวรรค์เป็นนักบุญ แต่แต่ละองค์จะได้รับเกียรติ ถูกถือเป็นแบบอย่าง และรับความเคารพไม่เท่ากัน
ในคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงเซนต์อย่างชัดเจนเพียงคนเดียวว่า “เมื่อคนในค่ายริษยาโมเสส และอาโรน คนบริสุทธิ์ของพระเจ้า” [5] ในพระธรรมเอเฟซัสเปาโลอัครทูตประกาศว่าตนเองเป็น “คนเล็กน้อยกว่าคนเล็กน้อยที่สุดในพวกธรรมิกชนทั้งหมด”[6]
คริสตจักรโรมันคาทอลิก
ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก นักบุญหมายถึงบุคคลที่เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ กรณีที่บุคคลนั้นมีความดีโดดเด่น ในการปฏิบัติตามพระทัยพระเจ้า คริสตจักรจพยกย่องบุคคลนั้นเป็นพิเศษเพื่อเป็นแบบอย่างและกำลังใจแต่คริสตชนอื่น ๆ [7] ตามกระบวนการประกาศเป็นนักบุญ (canonization) ในคริสตจักรคาทอลิก จะมีการสอบสวนและให้พระสันตะปาปาประกาศสถาปนาเป็นลำดับขั้นดังนี้
- ผู้รับใช้พระเจ้า (The Servant of God)
- ผู้น่าเคารพ (The Venerable)
- บุญราศี (The Blessed)
- นักบุญ (The Saint)
เมื่อได้รับประกาศสถาปนาเป็นนักบุญแล้วจึงถือว่าสิ้นสุดกระบวนการสอบสวน[8]
อ้างอิง
- ↑ เอเฟซัส 1:18
- ↑ Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church . . . Other references in the NT equate Christians in general with 'saints' . . . All these are identified as saints because they are in Christ Jesus."
- ↑ 2 โครินธ์ 5:17
- ↑ 2 โครินธ์ 13:5
- ↑ สดุดี 106:16
- ↑ เอเฟซัส 3:8
- ↑ โรแบร์ โกสเต, บาทหลวง, คำสอนคริสตชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2550, หน้า 194
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 475-6