ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
'''ฉินสื่อหวงตี้''' หรือ '''จักรพรรดิจิ๋นซี''' (ปี 259 - 210 ก่อนคริสตกาล) ฉินสือหวงตี้เกิดในปี 259 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปลายยุคของสงคราม 7 รัฐ หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า '''ยุคเลียดก๊ก''' (ปี 453 - 221 ก่อนคริสตกาล) ที่ประเทศจีนได้แตกแยกแบ่งออกเป็น 7 รัฐ ได้แก่
'''ฉินสื่อหวงตี้''' หรือ '''จักรพรรดิจิ๋นซี''' (ปี 259 - 210 ก่อนคริสตกาล) ฉินสือหวงตี้เกิดในปี 259 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปลายยุคของสงคราม 7 รัฐ หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า '''ยุคเลียดก๊ก''' (ปี 453 - 221 ก่อนคริสตกาล) ที่ประเทศจีนได้แตกแยกแบ่งออกเป็น 7 รัฐ ได้แก่


# รัฐจ้าว (ZHAO)
# '''รัฐจ้าว''' ''(Zhao)''
# รัฐฉู่ (CHU)
# '''รัฐฉู่''' ''(Chu)''
# รัฐฉี (QI)
# '''รัฐฉี''' ''(Qi)''
# รัฐหาน (HAN)
# '''รัฐหาน''' ''(Han)''
# รัฐเว่ย (WEI)
# '''รัฐเว่ย''' ''(Wei)''
# รัฐเอี้ยน (YAN)
# '''รัฐเอี้ยน''' ''(Yan)''
# รัฐฉิน (QIN)
# '''รัฐฉิน''' ''(Qin)''


ซึ่งในแต่ละยุคนี้แต่ละรัฐต่างทำสงครามเพื่อช่วงชิงอำนาจกันยาวนานถึง 232 ปี
ซึ่งในแต่ละยุคนี้แต่ละรัฐต่างทำสงครามเพื่อช่วงชิงอำนาจกันยาวนานถึง 232 ปี


ฉินสือหวงตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ มีนามเดิมว่า '''อิงเจิ้ง''' ''(YING ZHENG)'' ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันตั้งแต่อายุ 13 ปี แต่ขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์นัก ดังนั้นอำนาจการปกครองในรัฐฉินจึงตกอยู่ในมือของเหลาไอ่ ขุนนางผู้ที่เป็นที่โปรดปรานของพระมารดา และหลี่วปู้เว่ย ที่ครองตำแหน่งสมุหนายก และเชื่อกันว่าหลี่วปู้เว่ยผู้นี้เป็นบิดาของอิงเจิ้ง แทนที่จะเป็นเจ้าแห่งรัฐฉินองค์ก่อน
[[''ฉินสือหวงตี้'']] หรือ [[''จิ๋นซีฮ่องเต้'']] มีพระนามเดิมว่า '''อิงเจิ้ง''' ''(Ying Zheng)'' ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันตั้งแต่พระชนมมายุ 13 พรรษา แต่ขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์นัก ดังนั้นอำนาจการปกครองต่าง ๆ ภายในในรัฐฉินจึงตกอยู่ในมือของ '''เหลาไอ่''' ขุนนางผู้ที่เป็นที่ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระมารดา และ '''หลี่วปู้เว่ย''' ที่ครองตำแหน่งสมุหนายก และเชื่อกันว่าหลี่วปู้เว่ยผู้นี้เป็นบิดาของอิงเจิ้งแทนที่จะเป็นเจ้าแห่งรัฐฉินองค์ก่อน


จนเมื่ออิงเจิ้งมีอายุได้ 22 ปี (ปี 237 ก่อนคริสตกาล) จึงได้ยึดอำนาจการปกครองกลับ และได้ทำการปฏิรูประบบการทหารและการเกษตรอย่างขนานใหญ่ จนทำให้รัฐฉินเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดารัฐทั้ง 7 ในยุคนั้น จากนั้นพระองค์ทรงใช้ระยะเวลาในการปราบปรามรัฐทั้ง 6 ให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉิน โดยใช้ยุทธวิธีทั้งการสงครามและการทูตที่ชาญฉลาดอยู่ถึง 9 ปี (ปี 231-222 ก่อนคริสตกาล) จึงสามารถรวบรวมประเทศจาก7๗ รัฐ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ในปี 221 ก่อนคริสตกาล และสถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้นปกครองประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งสถาปนาตนเองเป็นหวงตี้ หรือจักรพรรดิพระองค์แรกของจีน (และมีต่อเนื่องมาอีกถึงกว่า 2,000 ปี) โดยตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเสียนหยาง
จนกระทั่งเมื่ออิงเจิ้งมีพระชนมมายุได้ 22 พรรษา (ปี 237 ก่อนคริสตกาล) จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองของพระองค์กลับคืนและได้ทำการปฏิรูประบบการทหารและการเกษตรภายในรัฐฉินอย่างขนานใหญ่ จนทำให้รัฐฉินกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดารัฐทั้ง 7 ในยุคนั้น จากนั้นพระองค์ทรงใช้ระยะเวลาในการปราบปรามรัฐทั้ง 6 ให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉินแต่เพียงผู้เดียว โดยใช้ยุทธวิธีทั้งการสงครามและการทูตที่ชาญฉลาดอยู่ถึง 9 ปี (ปี 231-222 ก่อนคริสตกาล) พระองค์จึงสามารถรวบรวมประเทศจาก 7 รัฐ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ในปี 221 ก่อนคริสตกาล และสถาปนา [[ราชวงศ์ฉิน]] ขึ้นปกครองประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งสถาปนาตนเองเป็นหวงตี้ หรือจักรพรรดิพระองค์แรกของจีน (และมีต่อเนื่องมาอีกถึงกว่า 2,000 ปี) โดยตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเสียนหยาง


เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมประเทศและก่อตั้งราชวงศ์ฉินขึ้นแล้ว ทรงยกเลิกระบบทาสที่เคยใช้กันมาในสังคมจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางและโจว แบ่งการปกครองประเทศเป็น 36 เขต แทนระบบรัฐที่ใช้มายาวนาน จัดตั้งกระทรวงขึ้นปกครองประเทศ 12 กระทรวง รายงานตรงต่อองค์จักรพรรดิ และบัดนี้นี่เองที่จักรพรรดิจิ๋นซีทรงมีพระราชอำนาจที่เบ็ดเสร็จโดยสมบูรณ์ทั้งการทหารและการปกครองความสำเร็จในการรวมศูนย์อำนาจของจักรพรรดิจิ๋นซี มาจากการปฏิรูป 3 ระบบหลักของประเทศให้เข้าเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ
เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมประเทศและก่อตั้งราชวงศ์ฉินขึ้นแล้ว ทรงยกเลิกระบบทาสที่เคยใช้กันมาในสังคมจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางและโจว แบ่งการปกครองประเทศเป็น 36 เขต แทนระบบรัฐที่ใช้มายาวนาน จัดตั้งกระทรวงขึ้นปกครองประเทศ 12 กระทรวง รายงานตรงต่อองค์จักรพรรดิ และบัดนี้นี่เองที่จักรพรรดิจิ๋นซีทรงมีพระราชอำนาจที่เบ็ดเสร็จโดยสมบูรณ์ทั้งการทหารและการปกครองความสำเร็จในการรวมศูนย์อำนาจของจักรพรรดิจิ๋นซี มาจากการปฏิรูป 3 ระบบหลักของประเทศให้เข้าเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 28 ธันวาคม 2549

แม่แบบ:ตารางมรดกโลก

สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ คือมหาสุสานของจักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์จิ๋น (ฉินสือหวงตี้) ถูกค้นพบโดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยังชื่อ หยางจื้อฟา ณ เชิงเขาหลีซัน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำในบริเวณเชิงเขาที่ห่างจากตัว เมืองซีอาน ประเทศจีน ไปเป็นระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ในระหว่างที่ขุดก็บังเอิญพบกับซากของทหารดินเผาหัวม้า ที่มีอายุมากกว่า 2 พันปี ซึ่งในการขุดพบโดยบังเอิญของหยางจื้อฟา ถือเป็นการขุดค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ.1974 ในปัจจุบันรัฐบาลจีนมีการขุดค้นพบวัตถุโบราณภายในบริเวณสุสานจิ๋นซี ที่เป็นกองทัพหุ่นทหารดินเผา สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึก จำนวนทั้งสิ้นกว่า 7,400 ชิ้น ในบริเวณพื้นที่หลุมสุสาน 25,000 กว่าตารางเมตร และมีการคาดคะเนว่าอาณาเขตของสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีจะมีพื้นที่กว่า 2,180 ตารางกิโลเมตร โครงสร้างและสถาปัตยกรรมโดยรวมของสุสาน มีขนาดพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกเฉลี่ย 35 เมตร กว้าง 145 เมตร และ ยาว 170 เมตร สำหรับห้องบรรจุพระบรมศพของจักรพรรดิจิ๋นซี อยู่จุดกึ่งกลางของสุสาน มีความสูง 15 เมตร มีขนาดพื้นที่และความใหญ่โตมโหราฬราวกับสนามฟุตบอล

สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ นับเป็น 1 ใน 8 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ถูกคัดให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ. 1987 ตั้งอยู่ตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ประเทศจีน เริ่มก่อสร้างในสมัยจักรพรรดิฉินสือหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 37 ปี ตั้งแต่ปี 246 - 208 ก่อนคริสตกาล มีอาณาเขตพื้นที่ของสุสาน 120,750 ตารางเมตร ห่างจากเมืองซีอานไปในทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งอาณาเขตพื้นที่ของสุสานรวมทั้งสิ้น 2,180 ตารางกิโลเมตร ถูกแบ่งออกเป็นพระราชฐานชั้นในและพระราชฐานชั้นนอก ภายในสุสานใช้บรรจุพระศพของฉินสือหวงตี้ ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ตลอดจนกองกำลังทหาร นางสนมและนางกำนัล รถม้าและขุนพลทหารจำนวนมาก เพื่อเป็นตัวแทนของข้าราชบริพานในการร่วมเดินทางไปยังปรโลกของจักพรรดิจิ๋นซี

โครงสร้างและสถาปัตยกรรมภายในสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้นั้น ในส่วนที่ก่อสร้างจากหินยังคงได้รับการปิดผนึกอย่างดีโดยคงสภาพเดิมเอาไว้ และไม่เคยผ่านการขุดและรื้อทำลายมาก่อน โดยโครงสร้างของสุสานดังกล่าว มีรูปแบบโครงสร้างและการจัดสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ขนาดของสุสานมีขนาดมหึมา ยิ่งใหญ่สมเกียรติของจักรพรรดิจีนผู้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น สมกับที่เป็นมหาสุสานของมหาจักรพรรดิในรอบพันปีแห่งดินแดนที่ได้ชื่อว่ามังกร

ประวัติมหาสุสาน

เมืองซีอาน เป็นนครแห่งวัฒนธรรมอันมีชื่อเสียงลือเลื่องทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจัน ซีอานในประวัติศาสตร์เคยเป็นเมืองหลวงและราชธานีของราชวงศ์จีนมาร่วมกว่า 10 ราชวงศ์ เป็นระยะเวลาพันกว่าปี เคยเป็นแหล่งการต่อสู้ของชาวนาในหลายครั้งในการก่อตั้งอำนาจรัฐ ปัจจุบันเมืองซีอานยังคงหลงเหลือร่องรอยของโบราณสถานและโบราณวัตถุให้พบเห็นได้ทั่วไป และในปี ค.ศ. 1974 หรือประมาณ 32 ปีที่ผ่านมา ได้มีการขุดพบหลุมฝังรูปปั้นดินเผา รูปปั้นทหารและม้าในสมัยราชวงศ์จิ๋นขนาดใหญ่ ภายในหมู่บ้านซีหยาง เชิงเขาหลีซานในอำเภอหลินถง ทางทิศตะวันออกของเมืองซีอาน นับว่าสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางด้านศิลปะที่หาได้ยากและเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของจีน

การขุดค้นพบทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน และยิ่งใหญ่ที่สุดสิ่งหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ ๒๐ และตราบจนทุกวันนี้ทางการรัฐบาลจีนถือว่า ปิงหมาหย่งและมหาสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีที่ยังรอการขุดค้นนั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคโบราณชิ้นที่ 8 กองทัพทหารดินเผาภายในสุสานและรถม้าสมัยราชวงศ์จิ๋น มีขนาดใหญ่โตมโหราฬซุกซ่อนอยู่ภายใต้พื้นดิน ตามบันทึกในประวัติศาสตร์จึนถูกขุดพบโดยบังเอิญจากชาวนาตระกูลหยางจำนวน 7 คน ในหมู่บ้านซีหยาง เมืองหลินถง ในต้นของฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1974 ที่ขุดดินเพื่อหาบ่อน้ำไว้ใช้สำหรับเพาะปลูกของฤดูหนาวที่จะมาถึงภายในหมู่บ้าน ในวันที่ 5 ของการขุดดินเพื่อหาบ่อน้ำ เมื่อขุดดินลึกลงไปเป็นระยะทางประมาณ 4 เมตร ก็พบกับวัตถุที่ทำด้วยดินเผาที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับเหยือกสำหรับใส่น้ำ จึงค่อย ๆ ขุดดินอย่างระมัดระวังเพื่อหวังที่จะนำสิ่งของที่ขุดได้จากใต้ดินไปใช้ในการเก็บรักษาไข่เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร แต่เมื่อยิ่งขุดลึกลงไปสิ่งที่พบกลับกลายเป็นกองทัพทหารดินเผาที่อยู่ในชุดเกราะ คันธนูและลูกธนูทองเหลืองจำนวนหนึ่ง

จากการขุดพบโดยบังเอิญสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ชาวนาตระกูลหยาง ซึ่งคาดการณ์กันว่าวัตถุที่อยู่ภายใต้ดินนี้อาจเป็นวัดหรือโบราณสถานที่พวกเขาได้ล่วงละเมิดขุดดินลงไป ซึ่งอาจจะนำเอาความโชคดีหรือโชคร้ายมาสู่พวกเขาและผู้คนในหมู่บ้าน จึงได้จุดธูปกราบไว้เพื่อขอขมา โดยหลังจากนั้นอีก 2 เดือน เจ้าหน้าที่ของทางการที่รับผิดชอบในการขุดหาแหล่งน้ำของจีน ได้เข้ามาตรวจสอบความคืบหน้าของการขุดหาแหล่งน้ำของชาวบ้าน ก็ได้พบกับสิ่งมหัศจรรย์ที่ชาวนาตระกูลหยางได้ค้นพบ และสังเกตเห็นถึงลักษณะของอิฐและรูปปั้นดินเผาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่สุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี จึงได้รายงานไปยังทางการของมณฑลส่านซี หลังจากนั้นทางรัฐบาลจีนได้เริ่มทำการขุดค้นหาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา ผลของการขุดค้นพบรูปปั้นกองทัพทหารและรถม้าดินเผามากกว่า 8,000 ตัว และรถม้าไม้มากกว่า 100 คัน ในจำนวนหลุมภายในสุสานที่ขุดพบมีอาณาเขตพื้นที่รวมกันถึงกว่า 20,000 ตารางเมตร

หลังจากการขุดพบกองทัพทหารดินเผาจำนวนมาก ต่อมาเจ้าคังหมินซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมประจำอำเภอหลินถง ได้รุดไปตรวจสอบยังบริเวณพื้นที่ที่ชาวนาตระกูลหยางค้นพบ เพื่อทำการกว้านซื้อซากโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าที่ถูกขุดพบ และได้นำออกไปจำหน่ายก่อนหน้านี้ได้ 3 คันรถ เพื่อนำกลับไปยังห้องวิจัยเพื่อทำการศึกษา และต่อมาในต้นเดือนพฤษภาคม เจ้าคังหมินได้จำกัดพื้นที่ในบริเวณอาณาเขตที่ขุดพบจำนวน 120 ตารางเมตร เพื่อทำการขุดหาซากของกองทัพดินเผาเพิ่มเติม รัฐบาลจีนได้เข้ามามีบทบาทในการขุดหาเพิ่มเติมของกองทัพทหารดินเผาซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ลิ่นอันเหวิ่น นักข่าวหนังสือพิมพ์ซินหัว ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติที่อำเภอหลินถงและพบกับสิ่งที่ชาวนาและเจ้าหน้าที่ขุดพบ เมื่อกลับสู่ปักกิ่งได้นำเรื่องกองทัพทหารดินเผาตีพิมพ์ลงในคอลัมน์ "ชุมนุมเหตุการณ์" ซึ่งเป็นของสำนักพิมพ์เหรินหมินยื่อเป้า

ต้นเดือนกรกฎาคม รองนายกรัฐมนตรีหลี่เซียนเนี่ยนได้มีคำสั่งให้กองโบราณคดี และกรรมการมณฑลส่านซีของจีน ร่วมกันหามาตรการในการอนุรักษ์โบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ของจีนนี้ และในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1974 หยวนจงอี้ เจ้าคังหมิน ได้นำทีมนักโบราณคดี เดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านซีหยังอีกครั้งเพื่อทำการตรวจสอบและขุดค้นเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1979 กองทัพทหารดินเผาภายใต้มหาสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ได้เปิดออกให้สาธารณชนได้รู้จักกับสิ่งประวัติศาสตร์ของจีนอย่างเป็นทางการ ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลกในศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 1987 องค์การยูเนสโกได้ลงมติให้สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

ภายในสุสานประกอบไปด้วยหลุมทหารรูปปั้นดินเผาจำนวนมาก แต่ที่ขุดพบแล้วจำนวน 3 หลุมคือ หลุมรูปปั้นกองทัพดินเผาหลุมที่ 1 ถูกขุดพบโดยรัฐบาลจีนประกอบไปด้วยกองทัพทหารติดอาวุธครบมือจำนวนมากกว่า 6,000 ตัว รวมทั้งรถม้าและรถศึก กองทัพทหารดินเผาและม้าศึกที่ถูกขุดพบนั้นมีขนาดใหญ่และเล็กเหมือนกับของจริงทุกประการ หุ่นดินเผาทุกตัวมีโครงหน้า สีหน้าและทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกันแม้แต่ตัวเดียว มีขนาดความสูงราว 5 ฟุต 8 นิ้ว จนถึง 6 ฟุต 5 นิ้ว ยืนตระหง่านเรียงรายอยู่เป็นหมวดหมู่ภายในหลุมที่ 1 ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างประมาณ 197 ฟุต (62 เมตร) ยาว 689 ฟุต (230 เมตร) และลึก 14.8 - 21.3 ฟุต (5 เมตร) ซึ่งนักโบราณคดีของจีนตั้งข้อสังเกตถึงรูปแบบการจัดเรียงของกองทัพทหารดินเผาที่ขุดพบในหลุมที่ 1 มีรูปแบบและแนวการจัดทัพตามบันทึกในตำราพิชัยสงครามซุนวู

หลุมรูปปั้นกองทัพดินเผาหลุมที่ 2 ถูกขุดพบห่างจากหลุมที่ 1 ในปี ค.ศ. 1976 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 20 เมตร ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตร แบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาด 4 ส่วน รัฐบาลจีนทำการขุดค้นหาพบหุ่นทหารดินเผาจำนวนกว่า 1,000 ตัว ม้าศึก 500 ตัวและรถม้าที่ทำจากไม้ 89 คัน เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมและศึกษาเกี่ยวกับโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1995

หลุมรูปปั้นกองทัพดินเผาหลุมที่ 3 ระยะทางห่างจากหลุมที่ 1 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 25 เมตร รัฐบาลจีนขุดค้นพบในปี ค.ศ. 1976 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 520 ตารางเมตร ขุดพบหุ่นทหารดินเผาจำนวน 68 ตัว รถม้า 1 คันและม้าศึก 4 ตัว รวมไปถึงกระดูกสัตว์และเขากวางจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเครื่องที่ใช้ในการประกอบพิธีบูชายัญในพิธีศพ นักโบราณคดีของจีนคาดว่าหลุมที่ 3 ที่ถูกขุดพบนี้อาจเป็นกองบัญชาการกลางของการควบคุมกองกำลังทหาร ตามลักษณะใบหน้าของหุ่นทหารดินเผา เมื่อแรกขุดพบหุ่นทหารดินเผาจำนวนมาก เสื้อเพราะและอาวุธได้ถูกทาสีสันไว้อย่างสวยงาม แต่เมื่อนักโบราณคดีทำการเปิดสุสานเป็นครั้งแรก อากาศภานอกทำให้สีสันสวยงามบนหุ่นทหารดินเผาสลายไปในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งหลุมที่ 3 นี้เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมในปี ค.ศ. 1989 สรุปโดยรวมวัตถุโบราณทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบทั้งที่เป็นหุ่นทหารดินเผา สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึกที่ใช้ในการสงคราม มีจำนวนรวมทั้งสิ้นกว่า 7,400 ชิ้น ในหลุมสุสานที่มีอาณาเขตพื้นที่ 25,000 กว่าตารางเมตร

จักรพรรดิผู้ก่อสร้างสุสาน ฉินสือหวงตี้

ฉินสื่อหวงตี้ หรือ จักรพรรดิจิ๋นซี (ปี 259 - 210 ก่อนคริสตกาล) ฉินสือหวงตี้เกิดในปี 259 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปลายยุคของสงคราม 7 รัฐ หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า ยุคเลียดก๊ก (ปี 453 - 221 ก่อนคริสตกาล) ที่ประเทศจีนได้แตกแยกแบ่งออกเป็น 7 รัฐ ได้แก่

  1. รัฐจ้าว (Zhao)
  2. รัฐฉู่ (Chu)
  3. รัฐฉี (Qi)
  4. รัฐหาน (Han)
  5. รัฐเว่ย (Wei)
  6. รัฐเอี้ยน (Yan)
  7. รัฐฉิน (Qin)

ซึ่งในแต่ละยุคนี้แต่ละรัฐต่างทำสงครามเพื่อช่วงชิงอำนาจกันยาวนานถึง 232 ปี

''ฉินสือหวงตี้'' หรือ ''จิ๋นซีฮ่องเต้'' มีพระนามเดิมว่า อิงเจิ้ง (Ying Zheng) ขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันตั้งแต่พระชนมมายุ 13 พรรษา แต่ขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์นัก ดังนั้นอำนาจการปกครองต่าง ๆ ภายในในรัฐฉินจึงตกอยู่ในมือของ เหลาไอ่ ขุนนางผู้ที่เป็นที่ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระมารดา และ หลี่วปู้เว่ย ที่ครองตำแหน่งสมุหนายก และเชื่อกันว่าหลี่วปู้เว่ยผู้นี้เป็นบิดาของอิงเจิ้งแทนที่จะเป็นเจ้าแห่งรัฐฉินองค์ก่อน

จนกระทั่งเมื่ออิงเจิ้งมีพระชนมมายุได้ 22 พรรษา (ปี 237 ก่อนคริสตกาล) จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองของพระองค์กลับคืนและได้ทำการปฏิรูประบบการทหารและการเกษตรภายในรัฐฉินอย่างขนานใหญ่ จนทำให้รัฐฉินกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดารัฐทั้ง 7 ในยุคนั้น จากนั้นพระองค์ทรงใช้ระยะเวลาในการปราบปรามรัฐทั้ง 6 ให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉินแต่เพียงผู้เดียว โดยใช้ยุทธวิธีทั้งการสงครามและการทูตที่ชาญฉลาดอยู่ถึง 9 ปี (ปี 231-222 ก่อนคริสตกาล) พระองค์จึงสามารถรวบรวมประเทศจาก 7 รัฐ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ในปี 221 ก่อนคริสตกาล และสถาปนา ราชวงศ์ฉิน ขึ้นปกครองประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งสถาปนาตนเองเป็นหวงตี้ หรือจักรพรรดิพระองค์แรกของจีน (และมีต่อเนื่องมาอีกถึงกว่า 2,000 ปี) โดยตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเสียนหยาง

เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมประเทศและก่อตั้งราชวงศ์ฉินขึ้นแล้ว ทรงยกเลิกระบบทาสที่เคยใช้กันมาในสังคมจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางและโจว แบ่งการปกครองประเทศเป็น 36 เขต แทนระบบรัฐที่ใช้มายาวนาน จัดตั้งกระทรวงขึ้นปกครองประเทศ 12 กระทรวง รายงานตรงต่อองค์จักรพรรดิ และบัดนี้นี่เองที่จักรพรรดิจิ๋นซีทรงมีพระราชอำนาจที่เบ็ดเสร็จโดยสมบูรณ์ทั้งการทหารและการปกครองความสำเร็จในการรวมศูนย์อำนาจของจักรพรรดิจิ๋นซี มาจากการปฏิรูป 3 ระบบหลักของประเทศให้เข้าเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ

  1. ระบบการชั่งตวงวัด โดยกำหนดเครื่องตวงเมล็ดพันธุ์ขึ้นใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
  2. ระบบการใช้ตัวอักษรจีนของรัฐฉิน
  3. ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ยกเลิกการแยกใช้ของแต่ละรัฐ มาใช้แบบของรัฐฉิน

ความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจ (การชั่งตวงวัดและเงินตรา) และระบบวัฒนธรรม (ตัวอักษร) นับเป็นก้าวแรกของการวางรากฐานที่สำคัญที่สุดของอารยธรรมจีนที่ได้มีอิทธิพล และแผ่ไพศาลในยุคกาลต่อมาอย่างลึกซึ้ง

จักรพรรดิจิ๋นซี สถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้นมาได้เพียง ๑๑ ปีเท่านั้น พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลงในระหว่างที่ออกตรวจราชการครั้งที่ ๕ ทางภาคตะวันออก ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ฉินเอ้อซื่อ (QIN ER SHI) ราชบุตรองค์รองได้ขึ้นครองราชย์ (โดยการแย่งชิงราชบัลลังก์และสังหารพระเชษฐา) แต่ฉินเอ้อซื่อก็ทรงครองราชย์อยู่ได้เพียง 3 ปี ราชวงศ์ฉินก็ได้ถึงกาลอวสานลง เมื่อได้มีการก่อกบฏขึ้นโดย เฉินเซิ่ง และหูกวง โดยสามารถโค่นล้มอำนาจของราชวงศ์ฉินลงได้

แต่หลังจากนั้น หลิวปัง (LIU BANG) ซึ่งทำสงครามชนะเจ้ารัฐฉู่ ที่มีผู้นำที่เข้มแข็งขึ้นมาในยุคนั้น คือ ฉู่ป้าหวง และได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้น พร้อมปราบดาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น มีพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (HAN GAO ZHU) ในปี 206 ก่อนคริสตกาล เมื่อมาพิเคราะห์ดูแล้ว จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ได้ทำให้ราชวงศ์ฉินเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็วเพียงภายในระยะเวลา ๑๕ ปีเท่านั้น มีสาเหตุมาจาก

  • กฎหมาย และบทลงโทษของราชสำนักฉิน เป็นไปอย่างเฉียบขาดและโหดเหี้ยมรุนแรง ทั้งต่อผู้กระทำความผิดและศัตรูฝ่ายตรงข้าม จึงทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
  • เป็นข้อที่สำคัญมาก กล่าวคือ ในระยะเวลาเพียง ๑๕ ปีนี้ ราชสำนักฉินได้เกณฑ์แรงงานชาวบ้าน และเชลยศึกต่างรัฐเข้ามาใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการรีดเก็บภาษีอากรอย่างเข้มงวดเป็นอย่างยิ่ง

ประมาณการกันว่า ในช่วง 10 ปีแรก ของการรวมแผ่นดินจีนขึ้นเป็นหนึ่งเดียว ได้เกณฑ์แรงงานกว่า 500,000 คน เพื่อไปก่อสร้างกำแพงเมืองจีนที่ยาวหมื่นลี้จากด่านหลินเตา ในภาคตะวันตกไปยาวจรดด่านซานไห่กวน ชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกสุด เพื่อป้องกันการรุกรานของชนเผ่าทางตอนเหนือ กำแพงเมืองจีนนี้ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตมโหฬารที่สุด ที่ได้สร้างขึ้นบนแผ่นดินจีน โดยฝีมือมนุษย์ และนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกในยุคโบราณ ที่ได้มีการสร้างต่อ ๆ กันมาจนถึงราชวงศ์หมิง

นอกจากนี้พระองค์ยังได้เกณฑ์แรงงานอีกกว่า 500,000 คน ลงไปประจำการในเขตภูเขาอันทุรกันดารทางตอนใต้ของจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของชนกลุ่มน้อย และอีก 300,000 คน ขึ้นไปประจำการในเขตทะเลทรายอันเวิ้งว้าง และหนาวเย็นทางตอนเหนือ เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกหั้นฉยุงหนู (HUN XIOUNG NU)และที่สำคัญที่สุดที่จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไปก็คือ การเกณฑ์แรงงานอีกถึงกว่า 700,000 คน เพื่อสร้างพระราชวังอาฝางกง และสร้างมหาสุสานให้กับพระองค์ รวมถึงการสร้างเหล่ากองทัพทหาร และกองทัพม้า (ปิงหมาหย่ง) อันยิ่งใหญ่โอฬาร

เมื่อรวมตัวเลขตามที่ได้ประมาณการมาข้างต้นนี้แล้ว จะได้เห็นว่าพระองค์ได้ใช้แรงงานประชาชนถึงกว่า 2 ล้านคน คือ 10% ของประชากรจีนในยุคนั้น เพื่อมาก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอันมโหฬารพันลึก ที่ยากจะให้ประชาชนทั่วไปในยุคนั้นจะเข้าใจได้ว่าพระองค์จะทรงสร้างไปทำไมกัน? และแรงงานที่ได้เกณฑ์มาเหล่านี้ ล้วนเป็นชายหนุ่มในวัยฉกรรจ์ที่เป็นกำลังสำคัญของแต่ละครอบครัว การที่แต่ละครอบครัวต้องพลัดพรากจากบุตรชาย, พี่, น้อง หรือสามีของตน เพื่อไปใช้แรงงานที่พวกเขาไม่เห็นคุณค่าแล้ว พวกเขาที่ยังอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิม ยังถูกรีดเก็บภาษี เพื่อนำรายได้เข้าสู่รัฐ อันจะนำมาเป็นทุนในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้?

กำเนิดสุสาน กองทัพทหารดินเผา

ปิงหมาย่ง หรือ สุสานกองทัพทหารดินเผาในสุสานใต้เนินดินที่บริเวณเชิงเขาหลี่ซาน ห่างจากตัวเมืองซีอานมาทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กิโลเมตร คือกองทัพม้าและกองทัพทหารดินเผาขนาดเท่าคนจริง ซึ่งถูกชาวนาตระกูลหยางขุดพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1974 สุสานแห่งนี้ถูกสร้างโดยจักรพรรดิฉินสื่อหวงตี้ จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์จิ๋น ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานถึง 36 ปี ใช้แรงงานก่อสร้างจากชาวนาจำนวนกว่า 7 แสนคน และเมื่อก่อสร้างสุสานเสร็จเรียบร้อย ผู้ควบคุมงานและชาวบ้านที่ก่อสร้างถูกฝังทั้งเป็นเอาไว้ภายใต้ดินของสุสานรวมกับกองทัพทหารดินเผาและรถม้าศึก สุสานกองทัพดินเผาแห่งนี้ ฉินสือหวงตี้ ทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บพระศพของพระองค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการและสถาปัตยกรรมโบราณของจีน และศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์จักร พรรดิจีนแทบทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ จะมีความใฝ่ฝันสูงสุดอยู่ 2 ประการที่จะต้องทรงเสาะแสวงหาให้ได้ ก็คือ

  1. ยาอายุวัฒนะ ถ้าหากพระองค์ยังเสาะแสวงหาไม่ได้ สิ่งที่พระองค์จะต้องทำก็คือ
  2. การสร้างมหาสุสานขนาดอันใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเป็นที่ประทับชั่วกาลนิรันดร์

ฉินสือหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ภายหลังที่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี 247 ก่อนคริสตกาล พระองค์ก็ได้เริ่มสร้างมหาสุสานของพระองค์แล้ว จนถึงในปี 210 ก่อนคริสตกาล เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง งานสร้างมหาสุสานก็ยังไม่แล้วเสร็จ จนมาเสร็จสมบูรณ์ในปีที่ 2 ของรัชสมัยฉินเอ้อซื่อ (ปี 208 ก่อนคริสตกาล) สิริรวมระยะเวลาในการก่อสร้างถึง 39 ปี และได้เรียกชื่อมหาสุสานนี้ว่า "หลี่ซานหยวน" หรืออุทยานแห่งเขาหลี่ซาน ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างสุสานตั้งแต่ปี 246 - 208 ก่อนปีคริตศักราช เพราะมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายของพระองค์ ทรงสร้างหุ่นทหารดินเผาจำนวนมากรวมทั้งรถม้าและม้าศึก เพื่อให้ทั้งหมดนี้ติดตามไปรับใช้และอารักขาพระองค์ในปรโลก และเนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้หุ่นทหารดินเผา ม้าศึกและรถม้าจำนวนมากที่ถูกฝังอยู่ภายในสุสาน ล้วนแต่มีขนาดเท่าของจริงทุกประการ รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ของหุ่นทหารดินเผาและการจัดทัพ ซึ่งเป็นการจัดตำแหน่งตามกระบวนทัพโดยแบ่งออกเป็น 11 แถว ประกอบไปด้วย

  • แม่ทัพฝ่ายบู๊
  • แม่ทัพฝ่ายบุ๋น
  • พลหอก
  • พลดาบ (ซึ่งอาวุธในมือส่วนใหญ่คืออาวุธจริง)
  • สารถถีประจำรถม้า
  • ม้าศึก

หุ่นทหารดินเผาภายในสุสานมีขนาดรูปร่างที่แตกต่างกัน มีความสูงประมาณ 1.8 เมตร ลักษณะหน้าตา กริยาท่าทาง เครื่องแต่งกายไม่เหมือนกันแม้แต่ตัวเดียว รัฐบาลจีนที่รับผิดชอบในการขุดค้นสุสานประวัติศาสตร์นี้ เชื่อกันว่าหลุมกองทัพดินเผาของฉินสือหวงตี้ มีด้วยกันทั้งหมด 8 หลุม แต่ในปัจจุบันมีการขุดค้นเพียงแค่ 3 หลุมเท่านั้น เพราะรัฐบาลจีนยังไม่ต้องการทำการขุดค้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเกรงว่าสีของหุ่นทหารดินเผาที่ขุดพบนั้นจะหายไป ในอดีตเริ่มแรกของการขุดพบกองทัพทหารดินเผาจากสุสานใต้ดินนั้น หุ่นทหารเหล่านี้มีแก้มเป็นสีชมพู สวมเครื่องแต่งกายที่มีสีสันสดใสที่ทาสีเอาไว้อย่างสวยงาม โดยส่วนใหญ่จะสวมเสื้อสีชมพู กางเกงสีเขียวและฟ้า แต่ทว่าเมื่อหุ่นทหารดินเผาถูกอากาศและแสงแดด เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้สีของหุ่นทหารดินเผาลอกหายไป เปลี่ยนเป็นสีดำอย่างน่าเสียดาย

จากการตรวจสอบขนาดของมหาสุสานนี้ในปัจจุบันพบว่า สุสานตั้งอยู่บนเนินดินที่เคยสูงประมาณ 115 เมตร มีขนาดคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสเมื่อแรกสร้าง คือ จากทิศเหนือไปใต้ยาวประมาณ 350 เมตร จากทิศตะวันออกไปตะวันตกยาวประมาณ 345 เมตร ตัวสุสานเป็นหลุมขนาดใหญ่ มีความลึกกว่า 30 เมตร นักโบราณคดีประเมินคร่าวๆ ว่าขนาดของพระราชวังใต้ดินถูกสร้างขึ้นในระดับที่ลึกที่สุดของหลุม มีขนาด 120 x 160 เมตร หรือเทียบเท่าขนาดของสนามบาสเกตบอล 40 สนามรวมกัน และจากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ยืนยันได้ว่า ภายในสุสานมีสารปรอทจำนวนมากผิดปกติ คือ สูงกว่าระดับปกติถึงกว่า 100 เท่า จึงไม่ผิดกับที่ ซือหม่าเซียน ได้บันทึกในปูมประวัติศาสตร์มากว่า 2,000 ปีที่แล้วว่า "...ภายในมีสารปรอทไหลเวียนดุจแม่น้ำและทะเล..."

โครงสร้างและสถาปัตยกรรม

ชาวจีนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่ามนุษย์นั้นมี 2 วิญญาณ วิญญาณแรกคือโป (Po) ซึ่งจะจุติมาพร้อมกับการเกิดของทารก อีกวิญญาณหนึ่งเรียกว่าฮั่น (Han) เป็นวิญญาณที่สวรรค์ส่งมารวมกับวิญญาณแรกพร้อมกันตั้งแต่เกิด และเมื่อเจ้าของร่างตายลง วิญญาณแรกหรือโปจะคงอยู่ในร่างนั้น ส่วนฮั่นจะออกจากร่างกลับคืนสู่สวรรค์ไป ถ้าผู้ตายไม่ได้รับการฝังอย่างถูกต้องตามประเพณี โปจะอยู่อย่างไม่มีความสุข เที่ยวเร่ร่อนกลายเป็นกุย (Gui) หรือปีศาจชั่วร้าย ชาวจีนทุกคนจึงต้องได้รับการฝังเมื่อถึงแก่กรรม โดยจะถูกบรรจุร่างไว้ในสุสานตามฐานะของผู้ตาย

สุสานของฮ่องเต้จักรพรรดิจีนโบราณ มักจะขุดลึกลงไปใต้ดินที่เป็นเนินเขาทำเป็นอุโมงค์ทางเดินไปสู่ห้องเก็บศพ พร้อมกับสมบัติ ข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์นานาชนิด เพื่อไว้สำหรับใช้สอยหลังจากพระองค์สิ้นชีพไปแล้ว ส่วนด้านบนพื้นดินเหนืออุโมงค์สุสาน มีธรรมเนียมสร้างถนนแห่งวิญญาณจากทิศใต้มุ่งสู่ประตูอุโมงค์สุสานทางทิศเหนือ โดยวางรูปสลักเทวดาคน สัตว์ต่างสองข้างทางจนถึงปากอุโมงค์ซึ่งจะจัดตั้งหลักศิลาขนาดใหญ่ไว้ให้เป็นที่สังเกต

สภาพของสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ที่ถูกขุดค้นพบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังคงเก็บรักษาไว้ดังเดิม ในรูปและลักษณะของสุสานมูลดินทรงพีระมิดมีความสูงประมาณ 70 กว่าเมตร ก่อสร้างบนฐานกว้างยาวประมาณ 8 เมตร พื้นที่บริเวณโดยรอบของสุสานถูกล้อมรั้วห้ามเข้าเนื่องจากเป็นเขตต้องห้ามที่นักโบราณคดีทำการขุดค้น ในพื้นที่บริเวณนี้เมื่อระยะเวลาเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้เคยเสด็จมาเลือกพื้นที่สำหรับก่อสร้างสุสานด้วยพระองค์เอง ตรงบริเวณเชิงเขาหลี่ ซึ่งมีภูมิประเทศสวยงาม อุดมไปด้วยสินแร่ ทั้งแหล่งผลิตทองคำทางตอนใต้และแหล่งผลิตหยกทางตอนเหนือซึ่งอยู่ติดริมแม่น้ำเว่ย

นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรด ฯ ให้สร้างสุสานของพระองค์ทันทีตามโบราณราชประเพณี และอีกสิ่งหนึ่งที่พระองค์ทรงใส่พระทัยเป็นพิเศษก็คือ ทรงมีพระราชบัญชาให้นักพรตสีฝู่นำตัวเด็กหญิงและเด็กชายพรหมจรรย์นับพันคน ลงเรือเดินทะเลเดินทางไปทางตะวันออกเพื่อแสวงหาเกาะเผิงไหล เกาะฟางเจ้าและเกาะอิ๋งโจว ทรงเชื่อว่าเป็นดินแดนหวงห้ามของมนุษย์เนื่องจากเป็นที่พำนักของเซียนที่จะมอบยาอายุวัฒนะให้พระองค์ทรงมีชีวิตเป็นอมตะ แต่ทว่าตลอดพระชนม์ชีพไม่เคยทรงได้ยินข่าวคราวชะตากรรมของคณะเดินทางที่ทรงมอบภารกิจเสี่ยงตายนี้อีกเลย

จากการตรวจสอบประวัติของมหาสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ บันทึกทางประว้ติศาสตร์ระบุว่าสุสานแห่งนี้ได้จำลองเอาลักษณะของประเทศจีนทั้งหมด ย่อส่วนลงจากจีนแผ่นดินใหญ่ให้กลายเป็นแผ่นดินจีนขนาดย่อส่วน ภายใต้พื้นดินที่มีความสูงถึง 47 เมตร ลักษณะของสุสานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่กว่า 56 ตารางกิโลเมตร แต่ละส่วนแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ บริเวณกลางสุสานเชื่อกันว่าคือสถานที่สำหรับฝังพระศพของฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ และตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่า เพดานของสุสานนั้นมีการประดับด้วยเพชรพลอยจำนวนมากเป็นรูปท้องฟ้าในยามค่ำคืน และมีการสูบเอาปรอทมาจำลองเป็นกระแสลำธารในแม่น้ำใหญ่หรือแม่น้ำหวงเหอ

และเมื่อรัฐบาลจีนได้นำดินในพื้นที่บริเวณของมหาสุสานไปทำการตรวจสอบ พบว่าในดินนั้นมีสารปรอทจำนวนมากเจือปนอยู่ ซึ่งในปัจจุบันทางรัฐบาลจีนก็ยังไม่สามารถที่จะค้นหาประตูทางเข้าที่แท้จริงของมหาสุสานพบ ซึ่งในอดีตกาลนั้นฮ่องเต้เกือบจะทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์จีน มักจะทรงใส่พระทัยเป็นกรณีพิเศษอยู่กับพระราชกิจเพียง 2 อย่าง คือจะทรงทำทุกวิถีทางให้พระองค์ทรงมีชีวิตเป็นอมตะ ส่วนอีกสิ่งหนึ่งก็คือการสร้างสุสานของพระองค์เตรียมไว้ล่วงหน้า ฮวงซุ้ยหรือสุสานของฮ่องเต้จักรพรรดิจีนหลายราชวงศ์ ถูกสร้างขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน ซึ่งเคยเป็นราชธานีเก่าแก่ของแผ่นดินจีนมาหลายราชวงศ์

ฮวงซุ้ยหลายแห่งภายในประเทศจีนได้รับการขุดค้นพบและตกแต่งเพื่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งปรับภูมิทัศน์และเส้นทางคมนาคมภายในจีนให้สะดวกแก่การเดินทางยิ่งขึ้นกว่าเดิม จนสุสานจักรพรรดิจีนเหล่านี้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิผู้รวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่น ไม่เพียงแต่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของทางการเท่านั้น แต่ยังได้รับการขึ้นทะเบียนตามบัญชีมรดกโลกขององค์การยูเนสโกในปี 1978 อีกด้วย

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของ ซื่อหม่า เสียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (135-145 ปีก่อนคริสตกาล) ระบุว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงเริ่มก่อสร้างสุสานของพระองค์ทันทีที่เสด็จขึ้นครองราชย์ มีทาสและชาวนาประชาชนจำนวนกว่า 700,000 คนถูกส่งมาใช้แรงงานก่อสร้างสุสาน โดยระดมกันขุดผิวดินให้ลึกลงไปจากชั้นดินดาลถึง 3 ชั้น เพื่อก่อสร้างเป็นพระราชวังใต้ดิน ที่ตั้งพระศพของพระองค์ห่อหุ้มด้วยทองแดง เป็นการจำลองแผ่นดินจีนทั้งหมดย่อส่วนเอาไว้ภายในต้น จำลองสวรรค์และโลกไว้ในห้องโถงใหญ่ เพดานห้องโถงประดับประดาด้วยมุกและอัญมณีประหนึ่งเพดานภายในสุสานนั้นคือดวงดาวบนฟากฟ้าเจิดจ้าทั้งยามกลางวันและยามราตรี ภายใต้แสงสว่างจากไขปลาวาฬที่ลุกโชติช่วงตลาดกาล พื้นห้องแสดงความหมายถึงพื้นโลกที่จำลองเอาภูมิประเทศของรัฐฉินอันประกอบด้วยแม่น้ำร้อยสายทั้งแยงซีและฮวงโฮ บ้านเรือนประชาชน และหุ่นจำลองของปราสาทราชวังอันวิจิตรตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดาล้ำค่าสุด จัดวางไว้เต็มพื้นที่ ช่างฝีมือได้ซ่อนค่ายกลป้องกันพวกลักขโมย เมื่อเข้าใกล้สุสานเกาฑัณฑ์ก็จะพุ่งเข้าใส่ดังห่าฝนในทันที

ถ้าพิจารณาดูจากซากของสุสานจิ๋นซีฮ่อเต้ที่คงหลงเหลืออยู่บนดิน ตามข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดีมีความน่าเชื่อถือได้ว่า สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ นั้นแต่เดิมมีรูปพรรณสันฐานเป็นพื้นที่หมวกสี่เหลี่ยมหัวกลับ มีความสูงถึง 115 เมตร ตั้งอยู่บนฐานกว้างราว 345 เมตรคูณ 350 เมตร จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกและทิศเหนือมายังทิศใต้ บริเวณสุสานมีการก่อสร้างเป็นกำแพงล้อม 2 ชั้น คือกำแพงชั้นนอกและกำแพงชั้นใน กำแพงชั้นในมีความยาวจากเหนือจรดใต้ถึง 1,355 เมตร และจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกความยาว 580 เมตร มีประตูสุสานอยู่ทางด้านทิศเหนือ ส่วนบริเวณกำแพงชั้นนอกมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 2,165 เมตร ทางด้านตะวันออกจรดตะวันตก มีความยาว 940 เมตร มีประตูทางออกพร้อมหอคอยรักษาการณ์ทั้งสี่มุม ในระหว่างกำแพงชั้นนอกกับกำแพงชั้นในมีซากปรักหักพังหลงเหลือแสดงถึงร่องรอยที่ตั้งศาลาพิธีการและจวนที่พำนักของเจ้าพนักงานเฝ้าสุสาน

จากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณพื้นดินส่วนกลางของสุสานจิ๋นซี มีรังสีจากสารปรอทปริมาณมากที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สารปรอทนั้นแผ่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของ ซื่อหม่าเสี่ยน ตอนหนึ่งที่ว่า ปรอทใช้บรรจุไว้แทนทะเลและแม่น้ำ เป็นเหตุให้ทางรัฐบาลจีนต้องปิดประกาศเป็นเขตหวงห้าม ยกเว้นสุสานบริวาร 400 แห่งโดยรอบบริเวณกว่า 50 ตารางเมตร ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีการสำรวจขุดค้น ตลอดเวลา 1 ปีเต็มๆ ทำให้นักโบราณคดีพบหลักฐานต่างๆ อีกมากมายจนสามารถ เขียนแผนผังสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งก็ปรากฏที่ตั้งพระศพจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นเพียงจุดเล็กๆจุดหนึ่งของสุสาน

ส่วนโบราณวัตถุที่ขุดภายในสุสานจิ๋นซีพบกว่า 50,000 ชิ้น ในบางหลุมกองทัพทหารดินเผามีรถเทียมม้า บางหลุมมีตุ๊กตานกและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึงอุปนิสัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ที่ทรงโปรดการเสด็จประพาสป่าล่าสัตว์ แต่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือบริเวณที่ตั้งกองทัพทหารดินเผาและเหล่าม้าศึกอันเกรียงไกรที่เฝ้าคอยติดตามถวายอารักขาพระองค์หลังเสด็จสู่สวรรคาลัย บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนขององค์ฮ่องเต้ ไม่ว่าในยามที่วิญญาณโปจะยังประทับอยู่ในร่างของพระองค์ขณะทรงมีพระชนม์ชีพหรือ ยามที่ลาลับโลก วิญญาณฮั่นได้นำเสด็จขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ความตายไม่อาจหยุดพระองค์ได้จากชีวิตหรูหราและผู้ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้บัญชาการกองทัพที่มีแสนยานุภาพที่สุดในโลก

กองทัพทหารดินเผา

สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลินถง (临通 LIN TONG) ห่างจากเมืองซีอานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ กิโลเมตร โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่อิงเขาหลี่ซาน บริเวณด้านหน้าของสุสานหันไปทางแม่น้ำเว่ยเหอ โดยเฉพาะทางทิศใต้ของเขาหลี่ซานอุดมไปด้วยสินแร่ทองคำ ส่วนทางทิศเหนือก็สมบูรณ์ด้วยแร่หยก ดังนั้นฉินสือหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จึงเลือกชัยภูมิที่มีฮวงจุ้ยอันดีเลิศนี้ เป็นสุสานที่ฝังพระองค์ให้คงอยู่ชั่วนิรันดร์กาล

หลุมรูปปั้นกองทัพทหารดินเผา หลุมที่ 1

หลุมรูปปั้นกองทัพทหารดินเผา หลุมที่ 2

หลุมรูปปั้นกองทัพทหารดินเผา หลุมที่ 3

ปิงหมาหย่ง 1 ใน 8 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

มรดกโลกของจีน

แหล่งข้อมูลอื่น