ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุคฮอย ซู-27"
บรรทัด 22: | บรรทัด 22: | ||
== การพัฒนา == |
== การพัฒนา == |
||
=== เบื้องหลัง === |
=== เบื้องหลัง === |
||
ในปีพ.ศ. 2512 [[สหภาพโซเวียต]]ได้รับข่าวเกี่ยวกับ[[แมคดอนเนลล์ ดักลาส]]โครงการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของ[[กองทัพอากาศสหรัฐ]] (ซึ่งก่อให้เกิด[[เอฟ-15 อีเกิล]]) เพื่อที่ตอบโต้ภัยคุกคามใหม่ทางโซเวียตจึงเริ่มโครงการ'''พีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''perspektivnyi frontovoy istrebitel'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำ) สำหรับเครื่องบินที่สามารถเทียบชั้นกับของอเมริกาได้ |
ในปีพ.ศ. 2512 [[สหภาพโซเวียต]]ได้รับข่าวเกี่ยวกับการออกแบบครื่องบินแบบใหม่โดย[[แมคดอนเนลล์ ดักลาส]]โครงการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของ[[กองทัพอากาศสหรัฐ]] (ซึ่งก่อให้เกิด[[เอฟ-15 อีเกิล]]) เพื่อที่ตอบโต้ภัยคุกคามใหม่ทางโซเวียตจึงเริ่มโครงการ'''พีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''perspektivnyi frontovoy istrebitel'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำ) สำหรับเครื่องบินที่สามารถเทียบชั้นกับของอเมริกาได้ |
||
เมื่อข้อกำหนดถูกมองว่าท้าทายและแพงเกินไปสำหรับเครื่องบินขับไล่ลำเดียว ข้อระบุของพีเอฟไอจึงถูกแบ่งออกเป็นสอง คือ '''แอลพีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''Lyogkyi PFI'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) และ'''ทีพีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''Tyazholyi PFI'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) โครงการแรกทำให้เกิด[[มิโคยัน มิก-29|มิก-29]] ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีพิสัยใกล้ ในขณะที่โครงการที่สองถูกมอบหมายให้กับบริษัทซุคฮอย ซึ่งได้สร้างซู-27 และแบบต่างๆ ออกมา โครงการทีพีเอฟไอนั้นคล้ายคลึงกับ[[เอฟ-15 อีเกิล#โครงการเอฟ-เอกซ์|โครงการเอฟ-เอกซ์]] ซึ่งทำให้เกิด[[เอฟ-15 อีเกิล]] ในขณะที่โครงการแอลพีเอฟไอคล้ายกับโครงการเครื่องบินขบไล่ขนาดเบาที่สร้าง[[เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน]]และ[[นอร์ธทรอป วายเอฟ-17]]ที่กลายมาเป็น[[เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท]] |
เมื่อข้อกำหนดถูกมองว่าท้าทายและแพงเกินไปสำหรับเครื่องบินขับไล่ลำเดียว ข้อระบุของพีเอฟไอจึงถูกแบ่งออกเป็นสอง คือ '''แอลพีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''Lyogkyi PFI'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) และ'''ทีพีเอฟไอ''' (ย่อมาจาก ''Tyazholyi PFI'' หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) โครงการแรกทำให้เกิด[[มิโคยัน มิก-29|มิก-29]] ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีพิสัยใกล้ ในขณะที่โครงการที่สองถูกมอบหมายให้กับบริษัทซุคฮอย ซึ่งได้สร้างซู-27 และแบบต่างๆ ออกมา โครงการทีพีเอฟไอนั้นคล้ายคลึงกับ[[เอฟ-15 อีเกิล#โครงการเอฟ-เอกซ์|โครงการเอฟ-เอกซ์]] ซึ่งทำให้เกิด[[เอฟ-15 อีเกิล]] ในขณะที่โครงการแอลพีเอฟไอคล้ายกับโครงการเครื่องบินขบไล่ขนาดเบาที่สร้าง[[เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน]]และ[[นอร์ธทรอป วายเอฟ-17]]ที่กลายมาเป็น[[เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:46, 3 มีนาคม 2553
ซู-27 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ |
ชาติกำเนิด | สหภาพโซเวียต |
บริษัทผู้ผลิต | ซุคฮอย |
สถานะ | อยู่ในการผลิตและประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศรัสเซีย กองทัพอากาศจีน กองทัพอากาศยูเครน ผู้ใช้รายอื่นดูที่นี่ |
จำนวนที่ผลิต | 680 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2527-ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | เดือนธันวาคม พ.ศ. 2527 |
เที่ยวบินแรก | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 |
สายการผลิต | ซู-30 ซู-33 ซู-34 ซู-35 ซู-37 เช็งยาง เจ-11 |
ซุคฮอย ซู-27 (อังกฤษ: Sukhoi Su-27) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าแฟลงเกอร์) เป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นหนึ่งและสองที่นั่ง ซึ่งเดิมผลิตโดยสหภาพโซเวียต และออกแบบโดยซุคฮอย มันเปรียบได้กับเครื่องบินรุ่นที่สี่ของสหรัฐอเมริกา พร้อมพิสัย 3,530 กิโลเมตร อาวุธขนาดหนัก ระบบอิเลคทรอกนิกอากาศที่ยอดเยี่ยม และความคล่องแคล่ว ซู-27 มักทำภารกิจความได้เปรียบทางอากาศ แต่มันก็สามารถปฏิบัติภารกิจรบอื่นๆ ได้เช่นกัน มันมีรูปร่างคล้ายคลึงกับมิก-29 ที่เล็กกว่า และมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับเอฟ-15 อีเกิลของอเมริกาแต่มีความคล่องตัวเหนือกว่า
มีการพัฒนามากมายของซู-27 ซู-30 เป็นแบบสองที่นั่งทำหน้าที่ทุกสภาพอากาศ ทำการขัดขวางทางอากาศและพื้นดินในระยะใกล้ เทียบได้กับเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล ซู-33 แฟลงเกอร์-ดีเป็นแบบสำหรับการป้องกันในกองทัพเรือซึ่งใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เทียบได้กับเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท รุ่นนอกเหนือจากนั้นยังมีทั้งซู-34 ฟุลแบ็คสองที่นั่งคู่และซู-35 แฟลงเกอร์-อีสำหรับการป้องกันทางอากาศ
การพัฒนา
เบื้องหลัง
ในปีพ.ศ. 2512 สหภาพโซเวียตได้รับข่าวเกี่ยวกับการออกแบบครื่องบินแบบใหม่โดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสโครงการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศสหรัฐ (ซึ่งก่อให้เกิดเอฟ-15 อีเกิล) เพื่อที่ตอบโต้ภัยคุกคามใหม่ทางโซเวียตจึงเริ่มโครงการพีเอฟไอ (ย่อมาจาก perspektivnyi frontovoy istrebitel หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำ) สำหรับเครื่องบินที่สามารถเทียบชั้นกับของอเมริกาได้
เมื่อข้อกำหนดถูกมองว่าท้าทายและแพงเกินไปสำหรับเครื่องบินขับไล่ลำเดียว ข้อระบุของพีเอฟไอจึงถูกแบ่งออกเป็นสอง คือ แอลพีเอฟไอ (ย่อมาจาก Lyogkyi PFI หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) และทีพีเอฟไอ (ย่อมาจาก Tyazholyi PFI หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) โครงการแรกทำให้เกิดมิก-29 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีพิสัยใกล้ ในขณะที่โครงการที่สองถูกมอบหมายให้กับบริษัทซุคฮอย ซึ่งได้สร้างซู-27 และแบบต่างๆ ออกมา โครงการทีพีเอฟไอนั้นคล้ายคลึงกับโครงการเอฟ-เอกซ์ ซึ่งทำให้เกิดเอฟ-15 อีเกิล ในขณะที่โครงการแอลพีเอฟไอคล้ายกับโครงการเครื่องบินขบไล่ขนาดเบาที่สร้างเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและนอร์ธทรอป วายเอฟ-17ที่กลายมาเป็นเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
การออกแบบ
การออกแบบของซู-27 มีพื้นฐานอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับมิก-29 เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า มันเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่มากและเพื่อลดน้ำหนักโครงสร้างของมันจึงต้องใช้ไทเทเนียมในสัดส่วนที่สูง (ประมาณ 30% ซึ่งมากกว่าเครื่องบินลำใดๆ ในสมัยเดียวกัน) และมันไม่ใช้วัสดุผสม มีปีกลู่กลมกลืนเข้ากับลำตัวที่โคนปีกและเป็นแบบปีกสามเหลี่ยม แม้ว่าที่ปลายปีกถูกตัดให้สั้นเพื่อติดตั้งขีปนาวุธหรือกระเปาะตอบโต้อิเลคทรอนิก ซู-27 นั้นไม่ใช่เครื่องบินปีกสามเหลี่ยมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเพราะว่ามันมีส่วนหางคู่ที่ตั้งอยู่นอกเครื่องยนต์
เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนไลยูก้า เอแอล-31เอฟของซู-27 มีพื้นที่มากนั่นก็เพื่อทั้งความปลอดภัยและเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขัดขวางอากาศที่ไหลผ่านเข้าช่องรับลม พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์ยังเพิ่มแรงยกและลดน้ำหนักที่ปีกต้องรับ กังหันที่เคลื่อนที่ได้ในช่องรับลมทำให้มันทำความเร็วได้ถึง 2 มัคและช่วยการไหลเวียนของอากาศในเครื่องยนต์ในมุมปะทะระดับสูง ตะแกรงเหรือช่องรับลมมีเพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษวัสดุถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ขณะบินขึ้น
ซู-27 เป็นการใช้ระบบฟลาย-บาย-ไวร์ครั้งแรกของสหภาพโซเวียต มันพัฒนามาจากโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดซุคฮอย ที-4 ของซุคฮอย ด้วยการผสมกับน้ำหนักบนปีกที่น้อยและการควบคุมที่ทรงพลัง มันทำให้เครื่องบินมีความว่องไวและควบคุมได้ในความเร็วต่ำและมุมปะทะระดับสูง ในงานแสดงทางอากาศมันได้แสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วโดยทำมุมปะทะ 120° แรงขับของมันทำให้เครื่องบินเลี้ยวได้แคบจนแทบไม่มีรัศมี
สำหรับรุ่นกองทัพเรือ ซู-27เค (หรือซู-33) มีการติดตั้งปีกเสริมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดระยะที่ใช้บินขึ้น ปีกเสริมเหล่านี้ยังมีในซู-30 ซู-35 และซู-37 บางรุ่น
นอกจากความว่องไวของมันแล้วซู-27 ยังใช้พื้นที่ของมันเพิ่มความได้เปรียบในการบรรจุเชื้อเพลิงภายใน เพื่อเพิ่มพิสัยให้ได้มากที่สุดมันสามารถจุเชื้อเพลิง 9,400 กิโลกรัมไว้ภายในได้ แม้ว่าจะเป็นข้อจำกัดในความคล่องตัวของมัน และมักจุ 5,270 กิโลกรัมโดยปกติ
ซู-27 มีอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศเกรยาเซฟ-ชิปูนอฟ จีเอสเอช-30-1 หนึ่งกระบอกที่โคนปีก และมีจุดติดตั้งอาวุธ 10 จุดสำหรับขีปนาวุธและอาวุธอื่นๆ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่มักใช้คือวิมเปล อาร์-73 วิมเปล อาร์-27 ในรุ่นที่ก้าวหน้ากว่าอย่างซู-30 -35 -37 ยังสามารถใช้วิมเปล อาร์-77 ได้อีกด้วย
ซู-27 มีจอฮัดและหมวกติดกล้อง ซึ่งจะคู่กับอาร์-77 และความว่องไวของเครื่องบินทำให้มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินที่ทำการรบแบบชุลมุนได้ดีที่สุดในโลก
ซู-27 ได้รับการติดตั้งระบบเรดาร์ของฟาโซตรอนรุ่น N001ซุค ซึ่งเป็นเฟสดอปเลอร์เรดาร์ที่ก้าวหน้ามาก สามารถตรวจจับวัตถุขนาด 3 ตารางเมตรได้ในระยะกว่า 100 กิโลเมตรในแนวรัศมีครึ่งวงกลมด้านหน้าและ 40 กิโลเมตรในแนวรัศมีครึ่งวงกลมทางด้านหลัง เรดาร์นี้มีความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตี 2 - 4 เป้าหมายนั้นได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถประเมินระดับของภัยคุกคามได้โดยอัตโนมัติ
ในรุ่นหลังๆของซู-27 ได้มีการติดตั้งเรดาร์และระบบเตือนภัยแบบเอสพีโอ-15 (แอล-006) เบอร์โยซา เอาไว้ที่หางทางด้านหลัง พร้อมด้วยแฟลร์ลวงขีปนาวุธ 32 ชุด นอกจากนี้ยั้งมีการติดตั้งระบบลวงพรางทางสงครามอิเลคโทรนิคส์เอาไว้อีกด้วย
ซู-27 มีระบบติดตามและตรวจหาแบบอินฟราเรดหรือไออาร์เอสที (infrared search and track, IRST) ที่ติดตั้งอยู่บนส่วนจมูกเครื่องบินด้านหน้าห้องนักบิน ซึ่งทำงานร่วมกับตัวหาระยะแบบเลเซอร์ ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับเรดาร์, หมวกติดกล้อง หรือใช้แบบแยกต่างหากสำหรับการโจมตีแบบ"ล่องหน"โดยใช้ขีปนาวุธอินฟราเรด มันยังทำหน้าที่ควบคุมปืนเพื่อเพิ่มความแม่นยำ
ในขณะที่ซู-27 และแบบต่อจากมัน (ซู-35 และ ซู-37) มีความคล่องตัวและการทำงานที่ยอดเยี่ยม แต่ขนาดที่ใหญ่โตของมันก็ทำให้อาจถูกตรวจจับโดยเรดาร์ได้ค่อนข้างง่ายเช่นเดียวกันกับ เอฟ-15
ในปีพศ. 2545 วารสาร Journal of Electronic Defense รายงานว่า ทางรัสเซียประสบผลสำเร็จในการพัฒนาระบบล่องหนพลาสมา (plasma-cloud-generation technology for stealth applications) และได้ทำการทดสอบกับซู-27ไอบี และสามารถลดขนาดที่สามารถถูกตรวจจับโดยเรดาร์ลงได้ถึงร้อยเท่า [1] ปัจจุบัน จำนวนเครื่องซู-27 ที่ได้รับการติดตั้งระบบนี้ยังเป็นความลับอยู่
การใช้ระบบล่องหนพลาสมา จะทำให้สามารถล่องหนจากเรดาร์ไปพร้อมกับรักษาความคล่องตัวในการบินเอาไว้ได้ในขณะเดียวกัน ทำให้เหนือกว่าเครื่องบินที่ต้องพึ่งพาวัสดุพรางเรดาร์ ซึ่งมักจะมีความแข็งแรงต่ำ ทำให้ความคล่องตัวต่ำลงอีกด้วย
ประวัติการใช้งาน
ซู-27 ทำหน้าที่น้อยมากตั้งแต่ที่มันเข้าประจำการ แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่น่าเกรงขามที่สุดในโลก
ซู-27 ของเอธิโอเปียได้รายงานว่ายิงมิก-29 ห้าลำของเอริเทียตก[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และอีกครั้งในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2543[3][4] ซู-27 ยังถูกใช้ในภารกิจการบินรบรักษาเขต การกดดันการป้องกันทางอากาศ และคุ้มกันภารกิจทิ้งระเบิดหรือสอดแนม[5] ในสงครามโซมาเลียกองทัพอากาศเอริเทียใช้ซู-27 ได้อย่างร้ายกาจด้วยการทิ้งระเบิดใส่กองประจำการของอิสลามและบินลาดตระเวน ซู-27 เข้าประจำการในแอนโกลันเมื่อปีพ.ศ. 2543 มีการรายงานว่าซู-27 ลำหนึ่งถูกลอบยิงโดยขีปนาวุธประทับบ่าเอสเอ-14 ขณะทำการลงจอด โดยฝ่ายยูนิต้าในวันที่ 19 พฤษจิกายน พ.ศ. 2543[2][6]
ในปีพศ. 2547 กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่ง เอฟ-15ซี/ดี เข้าร่วมซ้อมรบกับกองทัพอากาศอินเดีย ในปฏิบัติการ Cope-India 04 ซึ่งทางอินเดียได้ใช้ Sukhoi Su-30MKI เป็นเครื่องครองอากาศ ผลปรากฎว่าชัยชนะเป็นของฝ่ายอินเดียในการประลอง [7]
ล่าสุดในสงครามออสเซเทียใต้ รัสเซียได้ใช้ซู-27 เพื่อครองอากาศเหนือทซฮินวาลีเมืองหลวงของออสเซเทียใต้[8][9]
พัฒนาการของระบบเรดาร์และปัญหาที่ประสพ
ในช่วงแรกๆ ซู-27 เคยมีปัญหาใหญ่กับการพัฒนาระบบเรดาร์ ซึ่งเดิมนั้น โซเวียตต้องการให้มันดีมาก ปะทะได้หลายเป้าหมายพร้อมกัน และมีพิสัย 200 กิโลเมตรต่อเครื่องบินทิ้งระเบิด มันเป็นอะไรที่เหนือกว่าเรดาร์เอพีจี-63 ของเอฟ-15 อย่างมาก
เพื่อทำให้มันเป็นไปได้โดยที่ต้องไม่มีน้ำหนักมากเกินไป ทีมออกแบบจึงสร้างเรดาร์ที่ใช้การตรวจจับแบบอิเลคทรอนิกและแบบกลไกขึ้นมา โชคร้ายที่มันเป็นสิ่งที่ยากเกินไปที่อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกของโซเวียตในทศวรรษที่ 1970 จะทำได้ และเมื่อถึงปีพ.ศ. 2525 โครงการมีสค์เดิมก็ถูกละทิ้งและเรดาร์ที่ด้อยกว่าก็ถูกเลือกใช้แทน เพื่อทดแทนเวลาที่เสียไปเทคโนโลยีมากมายจากเรดาร์เอ็น019 โทปาซจึงถูกนำมาใช้ รวมทั้งเสาสัญญาณที่ใช้กับมิก-29 ซึ่งถูกทำใหญ่ขึ้น และผลที่ได้คือเรดาร์เอ็น001 ที่ใช้ตัวประมวลสัญาณทีเอส100 ที่ใช้กับเรดาร์เอ็น019 โทปาซ ในขณะที่เรดาร์เอ็น001วีใช้ตัวประมวลสัญญาฯทีเอส101เอ็ม ในเวลานั้นเรดาร์มีพิสัยตรวจจับประมาณ 140 กิโลเมตรเมื่อเจอกับตู-16 และสามารถปะทะได้ทีละเป้าหมายเท่านั้น ในตอนแรกเรดาร์มีปัญหาที่ยังต้องแก้ไขอีกหลายอย่าง และทำให้เอ็น001 ถูกเลือกใช้ประจำการในปีพ.ศ. 2534 ห้าปีหลังจากที่ซู-27 เข้าประจำการครั้งแรกในปีพ.ศ. 2529
เรดาร์ตระกูลเอ็น001 แบบแรกเป็นเรดาร์คลื่นพัลส์ที่มีความสามารถในการติดตามพร้อมตรวจจับ แต่ตัวประมวลผลของมันนั้นเป็นแบบดั้งเดิม ทำให้มันเกิดความผิดพลาดได้เป็นบางครั้ง เช่นเดียวกับความยากในการใช้งาน แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปีเรดาร์เอ็น001 ก็ได้รับการพัฒนามากมายจนทำให้เกิดเอ็น001วี เอ็น001วีอี เอ็น001 วีอีพี ซึ่งทั้งหมดถูกนำเข้าประจำการ รวมทั้งซู-27 ที่ส่งออกด้วย หัวหน้าผู้ออกแบบซัลซัน เอส-800 ให้กับมิก-31 และผู้เชี่ยวชาญได้เสริมการออกแบบเพื่อแทนที่เรดาร์ตระกูลเอ็น001
ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าการพัฒนาเรดาร์ตระกูลเอ็น001 นั้นไปถึงขีดจำกัดแล้ว ทำให้เครื่องบินรุ่นใหม่ขึ้น เช่นซู-30 และซู-35/37 ใช้เรดาร์ทิโคมิรอฟ เอ็น011เอ็มพร้อมกับพีอีเอสเอ พิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการจัดการได้หลายเป้าหมาย และการตอบสนองไว เรดาร์ดังกล่าวถูกกำหนดให้ถูกแทนที่โดยเรดาร์ไอร์บริส-อีในอนาคต คู่แข่งของทิโคมิรอฟ ฟาโซตรอน ยังได้เสนอเรดาร์ที่คล้ายคลึงกับพีอีเอสเอ
แบบต่างๆ
ในยุตโซเวียต
- ที10 ("แฟลงเกอร์-เอ") : เป็นต้นแบบแรก
- ที10เอส: เป็นต้นแบบที่ได้รับการพัฒนา คล้ายกับแบบที่ผลิต
- พี-42: เป็นรุ่นพิเศษที่สร้างเพื่อทำลายสถิติการไต่ระดับ มันถูกนำเอาอาวุธทั้งหมด เรดาร์ และสีออกเพื่อลดน้ำหนักจนเหลือ 14,100 กิโลกรัม มันมีเครื่องยนต์พิเศษที่พัฒนาเพิ่ม
- ซู-27: เป็นซีรีส์สที่สร้างออกมาก่อนการผลิตในจำนวนน้อยพร้อมกับเครื่องยนต์เอแอล-31
- ซู-27เอส (ซู-27 / "แฟลงเกอร์-บี") : เป็นแบบหนึ่งที่นั่งในการผลิตแรกๆ พร้อมกับเครื่องยนต์เอแอล-31เอฟ
- ซู-27ยูบี ("แฟลงเกอร์-ซี") : เป็นแบบสองที่นั่งในการผลิตแรกๆ โดยสร้างมาเพื่อใช้ในการฝึก
- ซู-27เอสเค: เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งเพื่อการส่งออก
- ซู-27ยูบีเค: เป็นรุ่นสองที่นั่งเพื่อการส่งออก
- ซู-27เค (ซู-33 / "แฟลงเกอร์-ดี") : เป็นรุ่นทีหนึ่งที่นั่งที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน มีจำนวนน้อย พวกมันคล้ายกับต้นแบบ"ที10เอ"
หลังยุคโซเวียต
- ซู-27พีดี: เป็นแบบที่นั่งเดียวพร้อมกับการพัฒนาอย่างระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
- ซู-27พียู (ซู-30) : เป็นรุ่นสองที่นั่งที่ผลิตออกมาอย่างจำกัด มันมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ระบบอิเลคทรอนิกอากาศพิเศษ ระบบควบคุมการบินแบบใหม่
- ซู-30เอ็ม / ซู-30เอ็มเค: เป็นรุ่นสองที่นั่งหลากบทบาท ซู-30เอ็มถูกสร้างออกมาน้อยมากในปีพ.ศ. 2534 รุ่นส่งออกของซู-30เอ็มเคจะมีความสามารถที่แตกต่างออกไป
- ซู-30เอ็มเคเอ: เป็รรุ่นสองออกสำหรับแอลจีเรีย
- ซู-30เอ็มเคไอ (แฟลงเกอร์-เอช): ซู-30เอ็มเคที่ได้รับการพัฒนาให้กับกองทัพอากาศอินเดีย มันมีปีกปลอม เครื่องยนต์แรงขับสูง ระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ และหลากบทบาท
- ซู-30เอ็มเคเค (แฟลงเกอร์-จี): เป็นซู-30เอ็มเคสำหรับกองทัพอากาศจีน พร้อมกับความสามารถในหลากบทบาทและระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ แต่ไม่มีเครื่องยนต์ใหม่หรือปีกปลอม กองทัพเรือจีนยังได้ซื้อ"ซู-30เอ็มเค2" อีกด้วย
- ซู-30เอ็มเคเอ็ม: เป็นแบบลอกมาจากซู-30เอ็มเคไอพร้อมกับข้อแตกต่างอีกเล็กน้อย มันสร้างมาให้กับกับมาเลเซีย
- ซู-30เคเอ็น (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 2) : เป็นแบบที่นั่งเดียวที่มีระบบอิเลคทรอกนิกอากาศแบบใหม่ที่ทำให้ซู-30เคเอ็นทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- ซู-30เคไอ (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 2) : เป็นแบบที่นั่งเดียวที่มีจุดเด่นของซู-30เอ็มเคโดยสร้างให้กับอินโดนีเซีย
- ซู-27เอ็ม (ซู-35 / -37, แฟลงเกอร์-อี/เอฟ) : เป็นการพัฒนาสู่การเป็นเครื่องบินซู-27 แบบหลากบทบาทที่มีหนึ่งที่นั่ง มันยังรวมทั้ง"ซู-35ยูบี"แบบสองที่นั่งอีกด้วย
- ซู-27เอมเอ็ม (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 1) : เป็นซู-27เอสที่พัฒนาแล้วของรัสเซีย โดยมีจุดเด่นของซู-27เอ็ม
- ซู-27เอสเคเอ็ม: เป็นเครื่องบินขับไล่หนึ่งที่นั่งหลากบทบาทสำหรับการส่งออก มันดัดแปลงมาจากซู-27เอสเคแต่รวมทั้งการพัฒนาของห้องนักบิน ระบบป้องกันอิเลคทรอนิก และระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[10]
- ซู-27ยูบีเอ็ม: เป็นซู-27ยูบีสองที่นั่งที่ได้รับการพัฒนา
- ซู-32 (ซู-27ไอบี) : เป็นแบบโจมตีสองที่นั่งพิสัยไกล โดยเป็นที่นั่งคู่ มันเป็นต้นแบบของซู-32เอฟเอ็นและซู-34 ฟุลแบ็ค
- ซู-27เคยูบี: เป็นซู-27เคหนึ่งที่นั่งที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมกับที่นั่งคู่สำหรับฝึก
- ซู-27บีเอ็ม (ซู-35): มันถูกขนานนามว่า"แฟลงเกอร์รุ่นสุดท้าย" มันเป็นการพัฒนาล่าสุดจากตระกูลแฟลงเกอร์ของซุคฮอย มันมีทั้งเรดาร์และระบบอิเลคทรอนิกใหม่
ประเทศผู้ใช้งาน
มีซู-27 ประมาณ 680 ลำที่ผลิตออกมาโดยสหภาพโซเวียตและรัสเซีย ในจำนวนนี้รวมซู-27 เท่านั้นและไม่ได้รวมรุ่นที่ดัดแปลงในเวลาต่อๆ มา
- แองโกลา
- กองกำลังป้องกันทางอากาศแอนโกลามีซู-27 และซู-27ยูบีทั้งหมด 8 ลำ[11]
- เบลารุส
- กองทัพอากาศเบลารุสได้รับซู-27 23 ลำจากสหภาพโซเวียต[11] ในปีพ.ศ. 2551 เบลารุสมีในประจำการอยู่ 23 ลำ[11]
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
- กองทัพอากาศจีนมีซู-27 76 ลำที่รัสเซียให้ก่อนทำสัญญาในปีพ.ศ. 2541 เพื่อออกแบบใหม่ให้กับจีนโดยเฉพาะอย่างเช็งยาง เจ-11 (สร้างออกมาประมาณ 100 ลำในปีพ.ศ. 2547)
- เอริเทรีย
- กองทัพอากาศเอริเทียมีซู-27เอสเค/-27ยูบี 8 ลำในปีพ.ศ. 2546[11]
- เอธิโอเปีย
- กองทัพอากาศเอธิโปเปียมีซู-27เอสเค 11 ลำ ซู-27พี 3 ลำ และซู-27ยูบี 4 ลำ[11]
- อินโดนีเซีย
- กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีซู-27เอสเค 2 ลำเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552 ในปีพ.ศ. 2553 จะได้รับซู-27เอสเคเอ็มอีก 3 ลำ[11]
- คาซัคสถาน
- มีประมาณ 30 ลำและจะมีมาเพิ่มอีก 12 ลำตามข้อตกลง[11]
- รัสเซีย
- กองทัพอากาศรัสเซียมี 449 ลำในประจำการ[12] ปัจจุบันรัสเซียวางแผนที่จะพัฒนาให้เป็นซู-27เอสเอ็ม ซึ่งจะรวมทั้งการเปลี่ยนกระจกห้องนักบินและเปลี่ยนเป็นระบบฟลาย-บาย-ไวร์ เรดาร์ก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน ระบบป้องกันตัวและการนำร่องของมันจะได้รับการพัฒนาเช่นกัน พวกเขาหวังว่าการพัฒนาเหล่านี้จะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2552
- ยูเครน
- กองทัพอากาศยูเครนมี 74 ลำในประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[13]
- อุซเบกิสถาน
- มี 25 ลำในประจำการ[11]
- เวียดนาม
- กองทัพอากาศเวียดนามมีซู-27เอสเค 36 ลำ[14]
- สหรัฐ
- สหรัฐอเมริกาได้นับซู-27 สองลำในปีพ.ศ. 2538 อาจใช้ในการผึกรบ[11][15] อีกสองลำถูกซื้อมาจากยูเครนในปีพ.ศ. 2552[16]
อดีตผู้ใช้งาน
รายละเอียด ซู-27
- ลูกเรือ 1 หรือ 2 นาย
- ความยาว 21.9 เมตร
- ระยะระหว่างปลายปีทั้งสอง 14.7 เมตร
- ความสูง 5.92 เมตร
- พื้นที่ปีก 62 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 16,380 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 23,430 กิโลเมตร
- น้ำหนักสิ่งขึ้นสูงสุด 30,450 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแซทเทิร์น/ไลยูก้า เอแอล-31เอฟสองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ
- ความเร็วสูงสุด 2.35 มัค (2,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) บนระดับสูง
- พิสัย 3,530 กิโมตรบนระดับสูง (1,340 กิโลเมตรในระดับทะเล)
- เพดานบินทำการ 62,523 ฟุต
- อัตราการไต่ระดับ 64,000 ฟุตต่อนาที
- น้ำหนักที่ปีกรับได้ 371 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อัตราแรงจับต่อน้ำหนัก 1.09
- อาวุธ
- ปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม. หนึ่งกระบอก พร้อมระสุน 275 นัด
- ติดตั้งอาวุธได้ 10 ตำแหน่ง (8,000 กิโลกรัม)
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางอาร์-27 6 ลูก ขีปนาวุธอากาศสู่อากาสติดตามความร้อนพิสัยใกล้อาร์-73 2 ลูก
- ซู-27เอสเอ็มสามารถใช้อาร์-77 แทนอาร์-27 ได้
อุบัติเหตุ
- ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2534 ในงานแสดงทางอากาศที่อิตาลี มีผู้เสียชีวิตสองคนคือนักบินและผู้ชม
- เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ในอุบัติเหตุที่ยูเครนมีผู้ชมถูกสังหาร 85 คน[20](Video)
- เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เครื่องบินเกิดตกขณะทำการฝึกในรัสเซีย นักบินเสียชีวิตหนึ่งนาย[21]
ดูเพิ่ม
การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
เครื่องบินที่เทียบเท่า
อ้างอิง
- ↑ "Russia Working on Stealth Plasma", by Michal Fiszer and Jerzy Gruszczynski, Journal of Electronic Defense, June 2002
- ↑ 2.0 2.1 "Su-27 operations". Milavia.
- ↑ "Air Aces".
- ↑ Claims with No Names, Air Aces page.
- ↑ "ke bahru be chilfa" (Ethiopian Air Force 2007 graduation publication, May 2007), pp. 72–3
- ↑ "Moscow Defense Brief".
- ↑ Russian fighters superior, says Pentagon
- ↑ Lenta.Ru: Georgian army forces falling back from Tskhinvali (รัสเซีย)
- ↑ Lenta.Ru: Russian airplanes are bombing Georgian army positions (รัสเซีย)
- ↑ KNAAPO - Production - Defense - Su-27SKM
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 Niels Hillebrand (2008-10-11). "Su-27 Flanker Operators List". MILAVIA. สืบค้นเมื่อ 2008-10-12.
- ↑ SU-27 Flanker air superiority fighter, warfare.ru
- ↑ "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.
- ↑ http://www.milaviapress.com/orbat/vietnam/index.php
- ↑ Gordon and Davison 2006. p. 101.
- ↑ http://en.rian.ru/world/20090512/121553649.html
- ↑ Sukhoi Su-27SK. KNAAPO.
- ↑ Su-27SK Aircraft performance page. Sukhoi.
- ↑ Gordon and Davison 2006, pp. 92, 95-96.
- ↑ "Pilots blamed for air show crash". CNN. 7 August 2002.
- ↑ "Su-27 Flanker fighter crashes in Russia's Far East, 1 pilot dead". RIA Novosti. July 29, 2008.