ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมดีชี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: hu:Medici család
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: en:House of Medici
บรรทัด 113: บรรทัด 113:
[[de:Medici]]
[[de:Medici]]
[[el:Μέδικοι]]
[[el:Μέδικοι]]
[[en:Medici]]
[[en:House of Medici]]
[[eo:Mediĉoj]]
[[eo:Mediĉoj]]
[[es:Médici]]
[[es:Médici]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:46, 18 กรกฎาคม 2552

ตราประจำตระกูลเมดิชิ

ตระกูลเมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะลอเรนโซ เดอ เมดิชิ ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดิชิก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ

ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดิชิสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดิชิและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

ธนาคารเมดิชิเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดิชิเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดิชิเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system)

ประวัติ

ครอบครัวเปียโร ดิ โคสิโม เดอ เมดิชิ (Piero di Cosimo de Medici) โดย ซานโดร บอตติเซลลี ในภาพ “Madonna del Magnificat”

ตระกูลเมดิชิเดิมมาจากชาวกสิกรในบริเวณมูเกลโล (Mugello) ทางตอนเหนือของฟลอเรนซ์ หลักฐานครั้งแรกที่กล่าวถึงครอบครัวนี้ก็มาจากเอกสารที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1260

ที่มาของชื่อ “เมดิชิ” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่คำว่า “เมดิชิ” ในภาษาอิตาลีหมายถึง “หมอยา” สมาชิกตระกูลเมดิชิเริ่มมามีตำแหน่งสำคัญๆ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในกิจการค้าขายขนแกะ โดยเฉพาะกับประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศสเปน ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีชื่อเสียงทางการปกครองในบางเมืองแต่ก็ยังไม่มีความสำคัญมากเท่าตระกูลใหญ่ๆ เช่นตระกูลอัลบิซซิ (Albizzi) หรือ ตระกูลสโตรซซิ (Strozzi) สมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งที่น่าจะกล่าวถึงในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็คือซาลเวสโตร เดอ เมดิชิ (Salvestro de Medici) ผู้เป็นวาทกรของ สมาคมพ่อค้าขนแกะระหว่างการปฏิวัติชิออมปิ (Ciompi) จนถูกเนรเทศเมื่อปี ค.ศ. 1382 การที่ตระกูลเมดิชิเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติอึกครั้งหนึ่งเมื่อปีค.ศ. 1400 ทำให้ทั้งตระกูลถูกห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครองของเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาราว 20 ปี ยกเว้นเมื่ออาเวราร์โด (Averardo (Bicci) de Medici) ก่อตั้งวงศ์เมดิชิ (Medici dynasty)

จิโอวานนิ ดิ บิชชิ (Giovanni di Bicci de Medici) ผู้เป็นลูกชายของอาเวราร์โด สร้างความร่ำรวยให้แก่ครอบครัวเมดิชิเพิ่มขึ้นอีกโดยการก่อตั้ง “ธนาคารเมดิชิ” และกลายเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในฟลอเรนซ์ ถึงแม้ว่าจิโอวานนี ดิ บิชชิจะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแต่ก็ได้รับการสนับสนุนเมื่อจิโอวานนิเสนอวิธีเก็บภาษีแบบสัดส่วน (proportional taxing system) โคสิโม เดอ เมดิชิ หรือที่รู้จักกันในนาม “โคสิโมผู้อาวุโส” ผู้เป็นลูกชายของจิโอวานนิดำเนินกิจการต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1434 ในฐานะ “gran maestro” หรือ “grand master” ในภาษาอังกฤษและได้รับตำแหน่งประมุขของรัฐฟลอเรนซ์อย่างไม่เป็นทางการ

ตระกูลเมดิชิ สาย “อาวุโส” ที่สืบสายมาจาก “โคสิโมผู้อาวุโส” ปกครองรัฐฟลอเรนซ์มาจนเมื่อ อเลสซานโดร เดอ เมดิชิผู้เป็นดยุคคนแรกของฟลอเรนซ์ถูกลอบสังหารเมื่อปี ค.ศ. 1537 การปกครองของตระกูลเมดิชิถูกขัดจังหวะลงสองหน (ระหว่างปี ค.ศ. 1494 ถึงปี ค.ศ. 1512 และ ระหว่างปี ค.ศ. 1527 ถึงปี ค.ศ. 1530) เมื่อมีการปฏิวัติจากประชาชนขับตระกูลเมดิชิออกจากเมือง

อำนาจของตระกูลเมดิชิจึงผ่านไปยังสาย “เล็ก” ที่สืบสายมาจากลอเรนโซ ดิ โคสิโม เดอ เมดิชิ หรือที่รู้จักกันในนาม “ลอเร็นโซผู้พ่อ” ผู้เป็นลูกคนเล็กของจิโอวานนี ดิ บิชชิ โดยเริ่มจากโคสิโมที่ 1 เดอ เมดิชิ หรือ “Cosimo the Great” การขยายอำนาจของตระกูลเมดิชิบรรยายไว้อย่างละเอียดโดยเบเนเด็ตโต เดอื (Benedetto Dei)

โคสิโมที่ 1 และพ่อเริ่มวางรากฐานตระกูลเมดิชิในทางการธนาคาร การผลิต (รวมทั้งการให้สัมปทานทางธุรกิจ) ทางฐานะทางการเงิน ทางศิลปะ ทางการอุปถัมภ์ศิลปิน และทางศาสนาเพื่อที่จะให้ตระกูลนี้มีอำนาจเป็นเวลานานหลายชั่วคนต่อมา ว่ากันว่าในสมัยของโคสิโม ครึ่งหนี่งของประชากรชาวฟลอเรนซ์เองก็ทำงานให้กับตระกูลเมดิชิในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ภาพเหมือน ลอเรนโซ เดอ เมดิชิ โดย จิโรลาโม มาชิเอตตี (Girolamo Macchietti)
ภาพสมาชิกตระกูลเมดิชิภายในขบวนแมไจ 3 คนที่เดินทางมาถวายของขวัญให้พระเยซูเมื่อทรงสมภพ โดยมีฉากหลังเป็นทิวทัศน์ของแคว้นทัสเคนี เป็นจิตรกรรมฝาผนังโดยเบนนอซโซ กอซโซลิ ปี ค. ศ. 1459

เปียโร ดิ โคสิโม เดอ เมดิชิ (Piero di Cosimo de Medici) (ค.ศ. 1416-ค.ศ. 1469) ผู้เป็นลูกชายของโคสิโมที่ 1 มีอำนาจอยู่เพียง 5 ปี (ค.ศ. 1464-ค.ศ. 1469) จนลอเรนโซ เดอ เมดิชิ ผู้เป็นหลานปู่ที่จักกันในนาม “Lorenzo the Magnificent”--ลอเร็นโซผู้ปรีชา (ค.ศ. 1449-ค.ศ. 1492) มาดำเนินกิจการและการปกครองอย่างมีความสามารถต่อ แต่ความจริงแล้วตำแหน่ง “the Magnificent” เป็นตำแหน่งท้ายชื่อที่ใช้กันบ่อยและมิได้มีความหมายสมกับความหมายของคำ

ลอเร็นโซ เดอ เมดิชิก็เช่นเดียวกับสมาชิกตระกูลเมดิชิคนอื่นที่พยายามรักษาความสำคัญของตระกูลไว้โดยการวางอนาคตและอาชีพให้ลูกๆ ลอเร็นโซสอนให้ เปียโรที่ 2 มีความแข็งแกร่ง ให้จิโอวานนี เป็นผู้คงแก่เรียน และจุยเลียโน (คนละคนกัยจุยเลียโนผู้เป็นพี่ของลอเร็นโซ) เป็นคนดี จุยเลียโนผู้เป็นพี่ของลอเร็นโซถูกลอบสังหารในวัดเมื่อวันอีสเตอร์เมื่อปีค.ศ. 1478 ลอเร็นโซจึงรับเลี้ยง จุยลิโอ ลูกชายของจุยเลียโนเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (ค.ศ. 1478-ค.ศ. 1535) เปียโรที่ 2 ผู้เป็นลูกของลอเร็นโซ เดอ เมดิชิเองได้เป็นประมุขของฟลอเรนซ์ต่อมาหลังจากที่ลอเร็นโซเสียชีวิตแต่เปียโรไม่มีความสามารถเหมือนพ่อ จึงมีส่วนที่ทำให้ครอบครัวเมดิชิถูกไล่ออกจากเมือง

ตระกูลเมดิชิมีอำนาจมากที่สุดในอิตาลีในสมัยนั้นจากการที่มีสมาชิกในตระกูลได้เป็นพระสันตะปาปาสององค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 -- สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 และ สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 -- ซึ่งทำให้เมดิชิกลายเป็นผู้ปกครองโรม และ ฟลอเรนซ์โดยปริยาย พระสันตะปาปาทั้งสององค์เป็นผู้มีบทบาทในการอุปถัมภ์ศิลปะ ตระกูลเมดิชิอึกคนหนึ่งที่ได้เป็นพระสันตะปาคืออเลสซานโดร อ็อตาวิอาโน (Alessandro Ottaviano de' Medici) ผู้ต่อมาเป็น สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11

สมาชิกที่สำคัญที่สุดในตระกูลเมดิชิ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 คือ โคสิโมที่ 1 (Cosimo I de Medici) ผู้ที่กลับมาจากการปลดเกษียณที่มูเกลโลมาเป็นประมุขสูงสุดของแคว้นทัสเคนี ได้ชัยชนะในการรบกับรัฐเซึยนนาเมืองคู่ปรับ และเป็นผู้ก่อตั้ง ราชอาณาจักรฟลอเรนซ์ (Grand Duchy of Tuscany)

ศิลปะและสถาปัตยกรรม

สิ่งที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดของตระกูลเมดิชิคือการอุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในสมัยศิลปะและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ตอนต้นและตอนที่รุ่งเรืองที่สุด งานศิลปะของฟลอเรนซ์เกือบทั้งหมดในสมัยนั้นเป็นอิทธิพลของครอบครัวนี้ ฉะนั้นงบประมาณที่ใช้ก็คงเป็นจำนวนมหาศาลเพราะศิลปินยุคนั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาและเงินล่วงหน้า

จิโอวานนี ดิ บิชชิผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนแรกของตระกูลเมดิชิช่วย มาซาชิโอ (Masaccio) และจ้างฟีลิปโป บรูเนลเลสกีให้บูรณะบาซิลิกาซานโลเร็นโซที่ฟลอเรนซ์เมื่อปี ค. ศ. 1419 โคสิโม เดอ เมดิชิเป็นผู้อุปถัมภ์งานของ โดนาเทลโล และ ฟราแอนเจลิโค แต่ศิลปินคนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับตระกูลเมดิชิคือมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี ซึ่งทำงานให้กับสมาชิกในตระกูลนี้หลายคนเริ่มด้วย ลอเร็นโซผู้ปรีชา ตั้งแต่ลอเร็นโซยังเป็นเด็ก ลอเร็นโซจ้างเลโอนาร์โด ดา วินชี่ทั้งหมดด้วยกัน 7 ปี ลอเร็นโซเองก็เป็นนักกวีและแต่งเพลง ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10ก็อุปถัมภ์ราฟาเอล ผู้ที่เรียกกันว่า “Prince of Painters” สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 จ้างมีเกลันเจโลเขียนผนังหลังแท่นบูชาของชาเปลซิสติน ตระกูลเมดิชิเองก็มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างชาเปลซิสทีนด้วย

เมื่อจิโรลาโม ซาโวนาโรลา (Girolamo Savonarola) ผู้เป็นพระลัทธิโดมินิคันพยายามปฏิรูปศาสนาโดยการเทศนาให้ทำลายหนังสือและภาพเขียนที่ท่านเชื่อว่าขาดคุณธรรมโดยการเผาสิ่งของเหล่านี้ที่เรียกว่า “Bonfire of the Vanities” เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค. ศ. 1497 อึกปีหนึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค. ศ. 1498 ซาโวนาโรลากับลูกศิษย์อึกสองคนก็ถูกแขวนคอที่จตุรัสกลางเมืองที่เดียวกับที่เป็นที่ใช้เผาหนังสือ

นอกจากจะให้การสนับสนุนทางศิลปะและสถาปัตยกรรมแล้วตระกูลเมดิชิยังเป็นนักสะสมอีกด้วย ปัจจุบันเราจะเห็นสิ่งที่ตระกูลเมดิชิสะสมไว้ได้ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเรนซ์

ทางสถาปัตยกรรมตระกูลเมดิชิมีอิทธิพลต่อสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในฟลอเรนซ์รวมทั้งพิพิธภัณฑ์อุฟฟิซิ, วังพิตติ, สวนโบโบลิ (Boboli Gardens), ป้อมเบลเวเดเร (Belvedere) และวังเมดิชิเอง

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครในตระกูลเมดิชิที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ตระกูลเมดิชิมีชื่อเสียงในการเป็นผู้อุปถัมภ์นักดาราศาสตร์คนสำคัญคือ กาลิเลโอ กาลิเลอีผู้เป็นครูลูกหลานในตระกูลเมดิชิหลายคน แต่มาหยุดการสนับสนุนเอาในสมัยเฟอร์ดินานโดที่ 2 (Ferdinando II de Medici) เมื่อกาลิเลโอถูกกล่าวหาโดยศาลศาสนาโรมัน (Roman Inquisition) ว่าคำสอนของกาลิเลโอเป็นคำสอนนอกรีต แต่ตระกูลเมดิชิก็ปกป้องกาลิเลโออยู่หลายปีจนกาลิเลโอตั้งชื่อพระจันทร์สี่ดวงของดาวพฤหัสบดีตามชื่อของลูกหลานตระกูลเมดิชิ

เกร็ดย่อย

คนสำคัญในตระกูลเมดิชิ

โคสิโม เดอ เมดิชิ หรือ
“โคสิโมผู้พ่อ”
แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ พระราชินีแห่งฝรั่งเศส
แอนนา มาเรีย หลุยซา เดอ เมดิชิ
  • ซาลเวสโตร เดอ เมดิชิ (ค.ศ. 1331-ค.ศ. 1388) นำการปฏิวัติชิออมปิและมาเป็นผู้เผด็จการของฟลอเรนซ์ก่อนที่จะถูกเนรเทศเมื่อ ปี ค.ศ. 1382
  • จิโอวานนี ดิ บิชชิ (ค.ศ. 1360-ค.ศ. 1429) สร้างฐานะตระกูลเมดิชิจนเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรป
  • โคสิโม เดอ เมดิชิ หรือ “โคสิโมผู้พ่อ” (ค.ศ. 1389-ค.ศ. 1464) วางรากฐานทางการเมือง
  • ลอเร็นโซผู้ปรีชา (ค.ศ. 1449-ค.ศ. 1492) ประมุขระหว่างยุคทองของ ฟลอเรนซ์ -- ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
  • สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 (ค.ศ. 1475-ค.ศ. 1523)
  • สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (ค.ศ. 1478-ค.ศ. 1534)
  • โคสิโมที่ 1 หรือ “Cosimo I the Great” (ค.ศ. 1519-ค.ศ. 1574) เป็นดยุคคนแรกของแคว้นทัสเคนี
  • แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (Catherine de Medici) (ค.ศ. 1519-ค.ศ. 1589) พระราชินีแห่งฝรั่งเศส
  • สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11 (ค.ศ. 1535-ค.ศ. 1605)
  • มาเรีย เดอ เมดิชิ (Maria de Medici) (ค.ศ. 1575-ค.ศ. 1642) พระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระราชินีผู้สำเร็จราชการแห่งฝรั่งเศส

โคสิโมที่3ดยุคแห่งทัศคานี

อ้างอิง

  • Christopher Hibbert, The House of Medici: Its Rise and Fall (Morrow, 1975)
  • Ferdinand Schevill, History of Florence: From the Founding of the City Through the Renaissance (Frederick Ungar, 1936)
  • Paul Strathern, The Medici - Godfathers of the Renaissance (Pimlico, 2005)
  • Lauro Martines, "April Blood - Florence and the Plot Against the Medici" (Oxford University Press 2003)
  • Accounting in Italy
  • Herbert Millingchamp Vaughan, The Medici Popes. New York: G.P. Putnam’s Sons, 1908
  • Jonathan Zophy, A Short History of Renaissance and Reformation Europe, Dances over Fire and Water. 1996. 3rd ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall, 2003
  • PBS/Justin Hardy, Medici: Godfathers of the Renaissance
  • TLC/Peter Spry-Leverton.PSL, The Mummy Detectives: The Crypt Of The Medici

ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น