ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รางวัลโนเบลสาขาเคมี"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
เพิ่มผู้ได้รับรางวัลปี 2024 |
||
บรรทัด 9: | บรรทัด 9: | ||
| presenter = ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน |
| presenter = ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน |
||
| location = [[สต็อกโฮล์ม]] |
| location = [[สต็อกโฮล์ม]] |
||
| reward = 11 ล้าน[[ครูนาสวีเดน]] ( |
| reward = 11 ล้าน[[ครูนาสวีเดน]] (2024)<ref>{{Cite web |title=The Nobel Prize amounts |url=https://www.nobelprize.org/prizes/about/the-nobel-prize-amounts/ |access-date=29 September 2023 |publisher=The Nobel Prize}}</ref> |
||
| year = 1901 |
| year = 1901 |
||
| holder = [[ |
| holder = [[เดวิด เบเกอร์]], [[เดมิส ฮัสซาบิส]] และ[[จอห์น เอ็ม. จัมเปอร์]] (2024) |
||
| most_awards = [[เฟรเดอริก แซงเงอร์]] และ[[คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส]] (2) |
| most_awards = [[เฟรเดอริก แซงเงอร์]] และ[[คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส]] (2) |
||
| website = {{URL|http://nobelprize.org}} |
| website = {{URL|http://nobelprize.org}} |
||
บรรทัด 1,247: | บรรทัด 1,247: | ||
| [[อะเลกเซย์ เอคิมอฟ]]</br><small>(Alexei I. Ekimov)</small> |
| [[อะเลกเซย์ เอคิมอฟ]]</br><small>(Alexei I. Ekimov)</small> |
||
| {{RUS}} |
| {{RUS}} |
||
|- |
|||
| rowspan = 3| 2567</br>(2024) |
|||
| [[ไฟล์:DBaker SparkPlugMtn July2013.JPG|80px]] |
|||
|[[เดวิด เบเกอร์]]</br><small>(David Baker)</small> |
|||
|{{USA}} |
|||
| "สำหรับการออกแบบโปรตีนเชิงคำนวณ"<ref name=nobelchem2024> |
|||
{{cite web |
|||
| title = The Nobel Prize in Chemistry 2024 |
|||
| publisher = Nobel Foundation |
|||
| url = https://www.nobelprize.org/prizes/chemistry/2024/summary/ |
|||
| accessdate = 9 October 2024 |
|||
}}</ref> |
|||
|- |
|||
| [[ไฟล์:Demis Hassabis Royal Society.jpg|80px]] |
|||
|[[เดมิส ฮัสซาบิส]]</br><small>(Demis Hassabis)</small> |
|||
|{{UK}} |
|||
| rowspan = 2| "สำหรับการทำนายโครงสร้างโปรตีน"<ref name=nobelchem2024/> |
|||
|- |
|||
| <center>—</center> |
|||
|[[จอห์น เอ็ม. จัมเปอร์]]</br><small>(John M. Jumper)</small> |
|||
|{{USA}}</br>{{UK}} |
|||
|- |
|||
|} |
|} |
||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:12, 9 ตุลาคม 2567
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
รางวัลโนเบลสาขาเคมี | |
---|---|
(สวีเดน: Nobelpriset i kemi) | |
รางวัลสำหรับ | ผลงานที่โดดเด่นในด้านเคมี |
ที่ตั้ง | สต็อกโฮล์ม |
ประเทศ | ประเทศสวีเดน |
จัดโดย | ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน |
รางวัล | 11 ล้านครูนาสวีเดน (2024)[1] |
รางวัลแรก | 1901 |
ผู้รับรางวัล | เดวิด เบเกอร์, เดมิส ฮัสซาบิส และจอห์น เอ็ม. จัมเปอร์ (2024) |
รางวัลมากที่สุด | เฟรเดอริก แซงเงอร์ และคาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส (2) |
เว็บไซต์ | nobelprize |
รางวัลโนเบลสาขาเคมี (สวีเดน: Nobelpriset i kemi, อังกฤษ: Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) เพื่อมอบให้แก่ผู้อุทิศตนอย่างโดดเด่นในสาขาเคมี ฟิสิกส์ วรรณกรรม สันติภาพ และสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มูลนิธิโนเบลเป็นผู้รับผิดชอบรางวัลนี้ และผู้มอบรางวัลคือคณะกรรมการโนเบลอันประกอบด้วยสมาชิก 5 คนที่เลือกโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
รางวัลโนเบลสาขาเคมีครั้งแรกมอบในปี ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444) แก่ยาโกบัส เฮนริกุส ฟานติฮุฟฟ์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบกฎของพลศาสตร์เคมีและแรงดันออสโมติกในสารละลาย" การมอบรางวัลจัดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีที่สต็อกโฮล์มเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล
รายนามผู้ได้รับรางวัล
ตารางดังต่อไปนี้เป็นรายนามผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเรียงตามปีที่มอบรางวัล โดยเริ่มจากปี ค.ศ. 1901 เป็นต้นไป และใช้ข้อมูลพื้นฐานตามคณะกรรมการรางวัลโนเบล
พ.ศ. 2444–2453 (ค.ศ. 1901–1910)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2444 (1901) |
ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์ (Jacobus Henricus van 't Hoff) |
เนเธอร์แลนด์ | "สำหรับการค้นพบกฎพลศาสตร์เคมีและแรงดันออสโมติกในสารละลาย" | |
2445 (1902) |
แฮร์มัน เอมิล ฟิชเชอร์ (Hermann Emil Fischer) |
เยอรมนี | "สำหรับผลงานด้านการสังเคราะห์น้ำตาลและพิวรีน" | |
2446 (1903) |
สวานเต ออกัส อาร์เรเนียส (Svante August Arrhenius) |
สวีเดน | "สำหรับทฤษฎีการแตกตัว (dissociation) ของอิเล็กโทรไลต์" | |
2447 (1904) |
เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์ (Sir William Ramsay) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการค้นพบแก๊สมีสกุลในอากาศ และความพยายามจัดธาตุดังกล่าวลงในตารางธาตุ" | |
2448 (1905) |
โยฮัน ฟรีดริช วิลเฮล์ม อด็อล์ฟ ฟ็อน เบเออร์ (Johann Friedrich Wilhelm Adolf von Baeyer) |
เยอรมนี | "สำหรับความก้าวหน้าด้านเคมีอินทรีย์และอุตสาหกรรมเคมี จากผลงานเรื่องสีย้อมจากวัตถุอินทรีย์และสารประกอบไฮโดรอะโรมาติก" | |
2449 (1906) |
อ็องรี มัวซ็อง (Henri Moissan) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับการวิจัยและแยกธาตุฟลูออรีนออกจากสารประกอบ และสำหรับเตาไฟฟ้า (electric arc furnace, EAF) อันตั้งตามชื่อของท่าน" | |
2450 (1907) |
เอดูอาร์ท บูคเนอร์ (Eduard Buchner) |
เยอรมนี | "สำหรับงานวิจัยทางชีวเคมีและการค้นพบกระบวนการหมักแบบไม่ใช้เซลล์" | |
2451 (1908) |
เออร์เนสต์ รูเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) |
สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ |
"สำหรับการวิจัยการสลายตัวของธาตุเคมี และศาสตร์เคมีด้านสารกัมมันตรังสี" | |
2452 (1909) |
วิลเฮล์ม ออสท์วัลท์ (Wilhelm Ostwald) |
เยอรมนี | "สำหรับผลงานด้านตัวเร่งปฏิกิริยา และการวิจัยที่นำไปสู่หลักการพื้นฐานในเรื่องสมดุลเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี" | |
2453 (1910) |
อ็อทโท วัลลัค (Otto Wallach) |
เยอรมนี | "สำหรับงานริเริ่มเรื่องสารประกอบอะลิไซคลิก (alicyclic compounds) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์เคมีอินทรีย์และอุตสาหกรรมเคมี" |
พ.ศ. 2454–2463 (ค.ศ. 1911–1920)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2454 (1911) |
มารี กูว์รี (Maria Skłodowska-Curie) |
โปแลนด์ ฝรั่งเศส |
"สำหรับการค้นพบธาตุเรเดียมและพอโลเนียม โดยการทำให้เรเดียมแตกสลาย รวมทั้งการศึกษาธรรมชาติและสารประกอบของธาตุดังกล่าว" | |
2455 (1912) |
วิกตอร์ กรีญาร์ (Victor Grignard) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับการค้นพบกริกนาร์ดรีเอเจนต์ (Grignard reagent) ทำให้ศาสตร์เคมีอินทรีย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว" | |
ปอล ซาบัตเย (Paul Sabatier) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับการคิดค้นกระบวนการไฮโดรจีเนชันสารประกอบอินทรีย์จากโลหะที่สลายตัวโดยละเอียด" | ||
2456 (1913) |
อัลเฟรท แวร์เนอร์ (Alfred Werner) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างพันธะของอะตอมในโมเลกุล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์เคมีอนินทรีย์" | |
2457 (1914) |
ธีโอดอร์ วิลเลียม ริชาดส์ (Theodore William Richards) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานการตรวจวัดน้ำหนักอะตอมของธาตุจำนวนมาก" | |
2458 (1915) |
ริชาร์ท มาร์ทีน วิลชเท็ทเทอร์ (Richard Martin Willstätter) |
เยอรมนี | "สำหรับผลงานค้นคว้าด้านรงควัตถุในพืช โดยเฉพาะคลอโรฟิลล์" | |
2459 (1916) |
||||
2460 (1917) |
||||
2461 (1918) |
ฟริทซ์ ฮาเบอร์ (Fritz Haber) |
เยอรมนี | "สำหรับการค้นพบวิธีการสังเคราะห์แอมโมเนีย" | |
2462 (1919) |
||||
2463 (1920) |
วัลเทอร์ แฮร์มัน แนนสท์ (Walther Hermann Nernst) |
เยอรมนี | "สำหรับผลงานด้านอุณหพลศาสตร์" |
พ.ศ. 2464–2473 (ค.ศ. 1921–1930)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2464 (1921) |
เฟรเดอริก ซอดดี (Frederick Soddy) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับผลงานด้านสารกัมมันตรังสีและงานวิจัยเรื่องไอโซโทป" | |
2465 (1922) |
ฟรานซิส วิลเลียม แอสตัน (Francis William Aston) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการค้นพบไอโซโทปของธาตุที่ไม่ใช่ธาตุกัมมันตรังสีจำนวนมาก และการคิดค้นกฎของเลขจำนวนเต็ม" | |
2466 (1923) |
ฟริทซ์ เพรเกิล (Fritz Pregl) |
ออสเตรีย | "สำหรับการคิดค้นวิธีการวิเคราะห์ไมโคร (microanalysis) สำหรับสารอินทรีย์" | |
2467 (1924) |
||||
2468 (1925) |
ริชาร์ด อดอล์ฟ ซิกมอนดี (Richard Adolf Zsigmondy) |
เยอรมนี | "สำหรับการสาธิตเรื่องธรรมชาติของสารละลายคอลลอยด์และวิธีที่ใช้ในการสาธิต อันเป็นรากฐานสำคัญของเคมีคอลลอยด์สมัยใหม่" | |
2469 (1926) |
เทออดอร์ สเวดแบร์ย (Theodor Svedberg) |
สวีเดน | "สำหรับผลงานด้านระบบกระจายตัว (disperse systems) (ประกอบด้วยสารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย)" | |
2470 (1927) |
ไฮน์ริช อ็อทโท วีลันท์ (Heinrich Otto Wieland) |
เยอรมนี | "สำหรับการวิจัยเรื่องกรดน้ำดีและสสารที่เกี่ยวข้อง" | |
2471 (1928) |
อด็อล์ฟ อ็อทโท ไรน์ฮอลท์ วินเดาส์ (Adolf Otto Reinhold Windaus) |
เยอรมนี | "สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับสเตอรอลและความเชื่อมโยงระหว่างสารดังกล่าวกับวิตามิน" | |
2472 (1929) |
อาร์เธอร์ ฮาร์เดน (Arthur Harden) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการศึกษาเรื่องการหมักน้ำตาลและเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการดังกล่าว" | |
ฮันส์ ฟอน ออยเลอร์-เชลปิน (Hans von Euler-Chelpin) |
สวีเดน | |||
2473 (1930) |
ฮันส์ ฟิชเชอร์ (Hans Fischer) |
เยอรมนี | "สำหรับการวิจัยส่วนประกอบของเฮมีน (haemin) และคลอโรฟิลล์ โดยเฉพาะการสังเคราะห์เฮมีน" |
พ.ศ. 2474–2483 (ค.ศ. 1931–1940)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2474 (1931) |
คาร์ล บอช (Carl Bosch) |
เยอรมนี | "สำหรับส่วนร่วมในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการเคมีความดันสูง" | |
ฟรีดริช แบร์กิอุส (Friedrich Bergius) |
เยอรมนี | |||
2475 (1932) |
เออร์วิง แลงมิวร์ | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานในด้านเคมีพื้นผิว (surface chemistry)" | |
2476 (1933) |
||||
2477 (1934) |
แฮโรลด์ เคลย์ตัน ยูเรย์ (Harold Clayton Urey) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบไฮโดรเจนหนัก" (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม) | |
2478 (1935) |
เฟรเดริก ฌอลีโย-กูว์รี (Frédéric Joliot-Curie) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับผลงานการสังเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่" | |
อีแรน ฌอลีโย-กูว์รี (Irène Joliot-Curie) |
ฝรั่งเศส | |||
2479 (1936) |
Petrus (Peter) Josephus Wilhelmus Debye | เนเธอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานเกี่ยวกับโครงสร้างโมเลกุล โดยการศึกษาไดโพลโมเมนต์และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และอิเล็กตรอนในแก๊ส" | |
2480 (1937) |
นอร์แมน ฮาเวิร์ธ (Norman Haworth) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับผลงานด้านการศึกษาคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซี" | |
เพาล์ คาร์เรอร์ (Paul Karrer) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานด้านการศึกษาแคโรทีนอยด์ ฟลาวิน วิตามินเอ และวิตามินบี 2" | ||
2481 (1938) |
ริชาร์ท คูห์น (Richard Kuhn) |
ไรช์เยอรมัน | "สำหรับผลงานด้านการศึกษาแคโรทีนอยด์และวิตามิน" | |
2482 (1939) |
อาด็อล์ฟ บูเทอนันท์ (Adolf Butenandt) |
ไรช์เยอรมัน | "สำหรับผลงานด้านการศึกษาฮอร์โมนเพศ" | |
เลโอพ็อลท์ รูฌิทช์คา (Leopold Ruzicka) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานด้านพอลิเมทิลีนและเทอร์พีนชั้นสูง" | ||
2483 (1940) |
พ.ศ. 2484–2493 (ค.ศ. 1941–1950)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2484 (1941) |
||||
2485 (1942) |
||||
2486 (1943) |
George de Hevesy | ฮังการี | "สำหรับผลงานว่าด้วยการใช้ไอโซโทปเป็นตัวตามรอยเพื่อศึกษากระบวนการทางเคมี" | |
2487 (1944) |
อ็อทโท ฮาน (Otto Hahn) |
ไรช์เยอรมัน | "สำหรับการค้นพบปฏิกิริยาฟิชชันของนิวเคลียสหนัก" | |
2488 (1945) |
อาร์ตตูรี อิลมารี วีร์ตาเนน (Artturi Ilmari Virtanen) |
ฟินแลนด์ | "สำหรับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ในเคมีการเกษตรและเคมีโภชนา โดยเฉพาะวิธีการถนอมอาหารสัตว์" | |
2489 (1946) |
เจมส์ แบตเชลเลอร์ ซัมเนอร์ (James Batcheller Sumner) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบว่าเอนไซม์สามารถตกผลึกได้" | |
จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป (John Howard Northrop) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการเตรียมเอนไซม์และโปรตีนไวรัสในรูปบริสุทธิ์" | ||
เวนเดล เมเรดิธ สแตนลีย์ (Wendell Meredith Stanley) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2490 (1947) |
โรเบิร์ต โรบินสัน (Robert Robinson) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการวิจัยเรื่องความสำคัญเชิงชีวภาพของผลิตภัณฑ์จากพืช โดยเฉพาะแอลคาลอยด์" | |
2491 (1948) |
Arne Wilhelm Kaurin Tiselius | สวีเดน | "สำหรับการวิจัยอิเล็กโตรโฟรีซิสและการวิเคราะห์การดูดซับ โดยเฉพาะการค้นพบเกี่ยวกับธรรมชาติที่ซับซ้อนของโปรตีนในเซรุ่มของเลือด" | |
2492 (1949) |
วิลเลียม ฟรานซิส จีโอก (William Francis Giauque) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับคุณูปการในแวดวงอุณหเคมี โดยเฉพาะการศึกษาพฤติกรรมสสาร ณ อุณหภูมิต่ำสุดขีด" | |
2493 (1950) |
อ็อทโท ดีลส์ (Otto Diels) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับการค้นพบและพัฒนาปฏิกิริยาดีลส์–อัลเดอร์" | |
ควร์ท อัลเดอร์ (Kurt Alder) |
เยอรมนีตะวันตก |
พ.ศ. 2494–2503 (ค.ศ. 1951–1960)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2494 (1951) |
เอดวิน แมตทิสัน แมกมิลลัน (Edwin Mattison McMillan) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบทางเคมีเรื่องธาตุหลังยูเรเนียม" | |
เกลนน์ ธีโอดอร์ ซีบอร์ก (Glenn Theodore Seaborg) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2495 (1952) |
อาร์เชอร์ มาร์ติน (Archer Martin) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการคิดค้นวิธีโครมาโทกราฟีแบบแบ่งส่วน" | |
ริชาร์ด ลอเรนซ์ มิลลิงตัน ซินจ์ (Richard Laurence Millington Synge) |
สหราชอาณาจักร | |||
2496 (1953) |
แฮร์มัน ชเตาดิงเงอร์ (Hermann Staudinger) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับการค้นพบในสาขาเคมีโมเลกุลใหญ่" | |
2497 (1954) |
ไลนัส พอลิง (Linus Pauling) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการวิจัยธรรมชาติของพันธะเคมีและการนำไปประยุกต์ใช้อธิบายโครงสร้างสสารที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจนยิ่ง" | |
2498 (1955) |
Vincent du Vigneaud | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานเกี่ยวกับสารประกอบกำมะถัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์ฮอร์โมนพอลิเพปไทด์ได้เป็นครั้งแรก" | |
2499 (1956) |
เซอร์ไซริล นอร์แมน ฮินเชลวุด (Sir Cyril Normal Hinshelwood) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกของปฏิกิริยาเคมี" | |
นีโคไล นีโคลาเอวิช เซมอนอฟ (Nikolay Nikolaevich Semenov) |
สหภาพโซเวียต | |||
2500 (1957) |
เซอร์อเล็กซานเดอร์ ทอดด์ (Sir Alexander Todd) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับผลงานเกี่ยวกับนิวคลีโอไทด์และโคเอนไซม์นิวคลีโอไทด์" | |
2501 (1958) |
เฟรเดอริก แซงเงอร์ (Frederick Sanger) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับผลงานเรื่องโครงสร้างของโปรตีน โดยเฉพาะอินซูลิน" | |
2502 (1959) |
ยาโรสลัฟ แฮย์โรฟสกี (Jaroslav Heyrovský) |
เชโกสโลวาเกีย | "สำหรับการค้นพบและพัฒนาวิธีวิเคราะห์โพลาโรกราฟี" | |
2503 (1960) |
วิลลาร์ด แฟรงก์ ลิบบี (Willard Frank Libby) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานวิธีการนำคาร์บอน-14 มาใช้ระบุอายุ" |
พ.ศ. 2504–2513 (ค.ศ. 1961–1970)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2504 (1961) |
เมลวิน แคลวิน (Melvin Calvin) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการวิจัยการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพืช" | |
2505 (1962) |
มัคส์ เพอรุทซ์ (Max Perutz) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการศึกษาโครงสร้างของไมโยโกลบิน" | |
จอห์น เคนดรูว์ (John Kendrew) |
สหราชอาณาจักร | |||
2506 (1963) |
คาร์ล ซีเกลอร์ (Karl Ziegler) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับพอลิเมอร์ชั้นสูง" | |
จูลีโย นัตตา (Giulio Natta) |
อิตาลี | |||
2507 (1964) |
โดโรธี ฮอดจ์กิน (Dorothy Hodgkin) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการอธิบายโครงสร้างสารชีวเคมีที่สำคัญด้วยการใช้รังสีเอกซ์" | |
2508 (1965) |
โรเบิร์ต เบินส์ วูดเวิร์ด (Robert Burns Woodward) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับความสำเร็จในด้านการสังเคราะห์อินทรีย์" | |
2509 (1966) |
โรเบิร์ต แซนเดอร์สัน มัลลิเคน (Robert Sanderson Mulliken) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานด้านพันธะเคมีและโครงสร้างอิเล็กตรอนของโมเลกุล" | |
2510 (1967) |
มันเฟรท ไอเกน (Manfred Eigen) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับการศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่เกิดเร็วมากโดยการรบกวนสมดุลด้วยการใส่พลังงานเป็นจังหวะสั้น ๆ" | |
โรนัลด์ จอร์จ เรย์ฟอร์ด นอร์ริช (Ronald George Wreyford Norrish) |
สหราชอาณาจักร | |||
จอร์จ พอร์เทอร์ (George Porter) |
สหราชอาณาจักร | |||
2511 (1968) |
Lars Onsager | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันที่ตั้งชื่อตามชื่อของเขา" | |
2512 (1969) |
เดเรก แฮโรลด์ ริชาร์ด บาร์ตัน (Derek Harold Richard Barton) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวคิดคอมฟอร์เมชัน" | |
Odd Hassel | นอร์เวย์ | |||
2513 (1970) |
ลุยส์ เฟเดริโก เลอลัวร์ (Luis Federico Leloir) |
อาร์เจนตินา | "สำหรับการค้นพบนิวคลีโอไทด์ของน้ำตาลและบทบาทในด้านชีวสังเคราะห์ของคาร์โบไฮเดรต" |
พ.ศ. 2514–2523 (ค.ศ. 1971–1980)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2514 (1971) |
แกร์ฮาร์ท แฮทซ์แบร์ค (Gerhard Herzberg) |
แคนาดา เยอรมนีตะวันตก |
"สำหรับส่วนร่วมในการศึกษาโครงสร้างอิเล็กตรอนและเรขาคณิตของโมเลกุล โดยเฉพาะอนุมูลอิสระ" | |
2515 (1972) |
คริสเตียน บี. แอนฟินเซน (Christian B. Anfinsen) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับงานด้านไรโบนิวคลีเอส โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างลำดับกรดอะมิโนและปฏิกิริยาคอนฟอร์เมชันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ" | |
สแตนฟอร์ด มอร์ (Stanford Moore) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับส่วนร่วมที่มีต่อความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างระหว่างโครงสร้างทางเคมีกับความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของแกนกลางของโมเลกุลไรโบนิวคลีเอส" | ||
วิลเลียม เอช. สไตน์ (William H. Stein) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2516 (1973) |
แอนสท์ อ็อทโท ฟิชเชอร์ (Ernst Otto Fischer) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับผลงานริเริ่มที่ทั้งสองทำแยกกัน ว่าด้วยสมบัติเคมีของสารประกอบโลหอินทรีย์ ที่เรียกว่าสารประกอบแซนด์วิช" | |
เจฟฟรีย์ วิลคินสัน (Geoffrey Wilkinson) |
สหราชอาณาจักร | |||
2517 (1974) |
พอล เจ. ฟลอรี (Paul J. Flory) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานอันเป็นรากฐานทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เกี่ยวกับเคมีเชิงฟิสิกส์ของมาโครโมเลกุล" | |
2518 (1975) |
จอห์น วอร์คัป คอร์นฟอร์ท (John Warcup Cornforth) |
ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร |
"สำหรับผลงานด้านสเตอริโอเคมีของปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง" | |
Vladimir Prelog () |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานด้านสเตอริโอเคมีของโมเลกุลและปฏิกิริยาในเคมีอินทรีย์" | ||
2519 (1976) |
วิลเลียม นันน์ ลิปสกัมบ์ จูเนียร์ (William Nunn Lipscomb, Jr.) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการศึกษาโครงสร้างของสารกลุ่มบอเรนที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับพันธะเคมี" | |
2520 (1977) |
อีลยา ปรีโกจีน (Ilya Pregogine) |
เบลเยียม | "สำหรับส่วนร่วมต่อวิชาอุณหพลวัตศาสตร์ นอกสมดุล โดยเฉพาะทฤษฎีของโครงสร้างกระจาย (dissipative structures)" | |
2521 (1978) |
ปีเตอร์ ดี. มิตเชลล์ (Peter D. Mitchell) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับส่วนร่วมต่อความเข้าใจกระบวนการถ่ายโอนพลังงานทางชีววิทยา ผ่านการคิดค้นทฤษฎีเคมิออสโมซิส" | |
2522 (1979) |
เฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์ (Herbert C. Brown) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการใช้สารประกอบโบรอนและฟอสฟอรัสเป็นตัวทำปฏิกิริยาในการสังเคราะห์ทางอินทรีย์" | |
เกออร์ค วิททิก (Georg Wittig) |
เยอรมนีตะวันตก | |||
2523 (1980) |
พอล เบิร์ก (Paul Berg) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการศึกษาชีวเคมีของกรดนิวคลีอิกในระดับพื้นฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์" | |
วอลเทอร์ กิลเบิร์ต (Walter Gilbert) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับส่วนร่วมเกี่ยวกับวิธีการสืบหาลำดับเบสของกรดนิวคลีอิก" | ||
เฟรเดอริก แซงเงอร์ (Frederick Sanger) |
สหราชอาณาจักร |
พ.ศ. 2524–2533 (ค.ศ. 1981–1990)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2524 (1981) |
เค็งอิจิ ฟูกูอิ (Kenichi Fukui, 福井謙一) |
ญี่ปุ่น | "สำหรับทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการของปฏิกิริยาเคมี" | |
โรอัลด์ ฮ็อฟมัน (Roald Hoffmann) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2525 (1982) |
อารอน คลุก (Aaron Klug) |
แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร |
"สำหรับการพัฒนาผลึกศาสตร์อิเล็กตรอนและการชี้แจงโครงสร้างของสารเชิงซ้อนกรดนิวคลีอิก-โปรตีนที่สำคัญทางชีววิทยา" | |
2526 (1983) |
เฮนรี เทาเบอ (Henry Taube) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานเกี่ยวกับกลไกของปฏิกิริยาถ่ายโอนอิเล็กตรอน โดยเฉพาะในสารเชิงซ้อนโลหะ" | |
2527 (1984) |
โรเบิร์ต บรูซ เมร์ริฟีลด์ (Robert Bruce Merrifield) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาระเบียบวิธีการสังเคราะห์สารเคมีบนเมทริกซ์ที่เป้นของแข็ง" | |
2528 (1985) |
เฮอร์เบิร์ต เอ. เฮาพท์มัน (Herbert A. Hauptman) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการหาโครงสร้างของผลึกโดยตรง" | |
เจอโรม คาร์ล (Jerome Karle) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2529 (1986) |
ดัดลีย์ อาร์ เฮิร์ชบัค (Dudley R. Herschbach) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับส่วนร่วมเกี่ยวกับพลศาสตร์ของกระบวนการเคมีขั้นเบื้องต้น" | |
หลี ยฺเหวี่ยนเจ๋อ (Yuan T. Lee, 李遠哲) |
ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา | |||
จอห์น ซี. โพลานี (John C. Polanyi) |
แคนาดา | |||
2530 (1987) |
ดอนัลด์ เจ. คราม (Donald J. Cram) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาและใช้งานโมเลกุลที่มีปฏิกิริยาอย่างจำเพาะต่อโครงสร้างมาก" | |
ฌ็อง-มารี เลน (Jean-Marie Lehn) |
ฝรั่งเศส | |||
ชาลส์ เจ. เพเดอร์เซน (Charles J. Pedersen) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2531 (1988) |
โยฮัน ไดเซินโฮเฟอร์ (Johann Deisenhofer) |
เยอรมนีตะวันตก | "สำหรับการหาโครงสร้างสามมิติของศูนย์เกิดปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสง" | |
โรแบร์ท ฮูเบอร์ (Robert Huber) |
เยอรมนีตะวันตก | |||
ฮาร์ทมุท มิเชิล (Hartmut Michel) |
เยอรมนีตะวันตก | |||
2532 (1989) |
ซิดนีย์ ออลต์แมน (Sidney Altman) |
แคนาดา สหรัฐอเมริกา |
"สำหรับการค้นพบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของอาร์เอ็นเอ" | |
โทมัส อาร์. เซ็ก (Thomas R. Cech) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2533 (1990) |
อิลยาส เจมส์ คอรีย์ (Elias James Corey) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาทฤษฎีและระเบียบวิธีของการสังเคราะห์สารเคมีอืนทรีย์" |
พ.ศ. 2534–2543 (ค.ศ. 1991–2000)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2534 (1991) |
ริชาร์ด แอนสท์ (Richard R. Ernst) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับส่วนร่วมในการพัฒนานิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโคปีความละเอียดสูง" | |
2535 (1992) |
รูดอล์ฟ เอ. มาร์คัส (Rudolph A. Marcus) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับส่วนร่วมต่อทฤษฎีของปฏิกิริยาถ่ายโอนอิเล็กตรอนในระบบเคมี" | |
2536 (1993) |
คารี บี. มัลลิส (Kary B. Mullis) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการคิดค้นปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส" | |
ไมเคิล สมิท (Michael Smith) |
แคนาดา | "สำหรับส่วนร่วมอันเป็นรากฐานของการก่อตั้งวิธีมิวทาเจเนซิสที่ขึ้นกับโอลิโกนิวคลีโอไทดฺ์และถูกนำสู่เป้าหมาย และการพัฒนาวิธีเพื่อใช้ศึกษาโปรตีน" | ||
2537 (1994) |
จอร์จ โอลาห์ (George A. Olah) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับส่วนร่วมต่อเคมีของคาร์โบแคตไอออน" | |
2538 (1995) |
Paul J. Crutzen | เนเธอร์แลนด์ | "สำหรับผลงานในวิชาเคมีบรรยากาศ โดยเฉพาะการลดลงของโอโซน" | |
มาริโอ เจ. โมลินา (Mario J. Molina) |
เม็กซิโก | |||
เอฟ. เชอร์วูด โรว์แลนด์ (F. Sherwood Rowland) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2539 (1996) |
โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบฟูลเลอรีน" | |
เซอร์แฮโรลด์ โครโต (Sir Harold Kroto) |
สหราชอาณาจักร | |||
ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2540 (1997) |
พอล ดี. บอเยอร์ (Paul D. Boyer) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการอธิบายกลไกของเอนไซม์ที่เป็นพื้นฐานของการสังเคราะห์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต" | |
จอห์น อี. วอล์กเกอร์ (John E. Walker) |
สหราชอาณาจักร | |||
เยนส์ ซี. สกอว์ (Jens C. Skou) |
เดนมาร์ก | "สำหรับการค้นพบ Na+/K+-ATPase ซึ่งเป็นเอนไซม์ขนส่งไอออน" | ||
2541 (1998) |
วัลเทอร์ โคห์น (Walter Kohn) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่น (density functional theory)" | |
จอห์น เอ. โพเพิล (John A. Pople) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการพัฒนาวิธีการคำนวณในเคมีควอนตัม" | ||
2542 (1999) |
Ahmed H. Zewail (أحمد زويل) |
อียิปต์ สหรัฐอเมริกา |
"สำหรับการศึกษาสภาวะทรานซิชันของปฏิกิริยาเคมีโดยสเปกโตรสโกปีเฟมโตวินาที " | |
2543 (2000) |
อลัน เจ. ฮีเกอร์ (Alan J. Heeger) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบและพัฒนาพอลิเมอร์นำไฟฟ้า" | |
อลัน จี. แมกเดอร์มิด (Alan G. MacDiarmid) |
นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา | |||
ฮิเดกิ ชิรากาวะ (白川英樹) |
ญี่ปุ่น |
พ.ศ. 2544–2553 (ค.ศ. 2001–2010)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2544 (2001) |
William S. Knowles | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล" | |
เรียวจิ โนโยริ (野依良治) |
ญี่ปุ่น | |||
K. Barry Sharpless | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล" | ||
2545 (2002) |
John B. Fenn | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาวิธีการ soft desorption ionisation สำหรับการวิเคระห์แมสสเปกโตเมทรีของ มาโครโมเลกุลในชีวเคมี" | |
โคอิจิ ทานากะ (田中耕一) |
ญี่ปุ่น | |||
คัวร์ท วืทริช (Kurt Wüthrich) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับการพัฒนานิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโกปีเพื่อการหาโครงสร้างสามมิติของมาโครโมเลกุลทางชีววิทยาในสารละลาย" | ||
2546 (2003) |
Peter Agre | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบวอเตอร์แชนเนล(water channels)" | |
Roderick MacKinnon | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการศึกษาโครงสร้างและกลศาสตร์ของไอออนแชนเนล" | ||
2547 (2004) |
Aaron Ciechanover | อิสราเอล | "สำหรับการค้นพบกระบวนการสลายโปรตีนโดยมียูบิควิตินเป็นตัวช่วย" | |
Avram Hershko | อิสราเอล | |||
Irwin Rose | สหรัฐอเมริกา | |||
2548 (2005) |
Robert Grubbs | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารเคมีอินทรีย์ด้วยปฏิกิริยาเมตาธีซิส (metathesis)" | |
Richard Schrock | สหรัฐอเมริกา | |||
Yves Chauvin | ฝรั่งเศส | |||
2549 (2006) |
Roger D. Kornberg | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการศึกษารากฐานทางโมเลกุลของการถอดรหัสในยูแคริโอต" | |
2550 (2007) |
แกร์ฮาร์ด แอร์ทึล (Gerhard Ertl) |
เยอรมนี | "สำหรับการศึกษากระบวนการทางเคมีบนพื้นผิวของของแข็ง" | |
2551 (2008) |
Martin Chalfie | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการค้นพบและพัฒนาโปรตีนเรืองแสงสีเขียว จีเอฟพี"[2] | |
โอซามุ ชิโมมูระ | ญี่ปุ่น[3][4][5][6][7] | |||
Roger Y. Tsien | สหรัฐอเมริกา | |||
2552 (2009) |
Venkatraman Ramakrishnan | สหราชอาณาจักร | "สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม"[8] | |
Thomas A. Steitz | สหรัฐอเมริกา | |||
Ada E. Yonath | อิสราเอล | |||
2553 (2010) |
Richard F. Heck | สหรัฐอเมริกา | "สำหรับปฏิกิริยาคู่ควบแบบไขว้ในเคมีอินทรีย์ที่มีแพลเลเดียมเร่งปฏิกิริยา"[9] | |
เออิจิ เนงิชิ | สหรัฐอเมริกา | |||
อากิระ ซูซูกิ | ญี่ปุ่น |
พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน (ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน)
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | ภาพ | ชื่อ | ประเทศ | ได้รับรางวัลในฐานะ |
---|---|---|---|---|
2554 (2011) |
แดน เชชท์มัน (Dan Shechtman) |
อิสราเอล | "สำหรับการค้นพบควอซีคริสตัล (quasicrystal)" [10] | |
2555 (2012) |
โรเบิร์ต เลฟโควิตซ์ (Robert Lefkowitz) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการศึกษาหน่วยรับความรู้สึกคู่จีโปรตีน (G-protein-coupled receptors)"[11] | |
ไบรอัน โคบิลก้า (Brian Kobilka) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2556 (2013) |
มาร์ติน คาร์พลุส (Martin Karplus) |
สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย |
"สำหรับการพัฒนาแบบจำลองมัลติสเกล (multiscale modeling) ของระบบเชิงเคมีที่ซับซ้อน"[12] (พัฒนาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่สามารถอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนได้) | |
ไมเคิล เลวิตต์ (Michael Levitt) |
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล[13] | |||
อารีห์ วอร์เชล (Arieh Warshel) |
สหรัฐอเมริกา อิสราเอล | |||
2557 (2014) |
เอริค เบตซิก (Eric Betzig) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบฟลูออเรสเซนต์ความละเอียดสูง"[14] | |
ชเทฟาน เฮ็ล (Stefan W. Hell) |
เยอรมนี | |||
วิลเลียม อี. มัวร์เนอร์ (William E. Moerner) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2558 (2015) |
โทมัส ลินดาห์ล (Tomas Lindahl) |
สวีเดน สหราชอาณาจักร |
"สำหรับการศึกษากลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอ"[15] | |
พอล แอล. มอดริช (Paul L. Modrich) |
สหรัฐอเมริกา | |||
อะซิซ แซนคาร์ (Aziz Sancar) |
ตุรกี สหรัฐอเมริกา | |||
2559 (2016) |
ฌ็อง-ปีแยร์ ซูวาจ (Jean-Pierre Sauvage) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับการออกแบบและสังเคราะห์จักรกลโมเลกุล"[16] | |
เฟรเซอร์ สท็อดดาร์ท (Fraser Stoddart) |
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา | |||
เบน เฟริงกา (Ben Feringa) |
เนเธอร์แลนด์ | |||
2560 (2017) |
ฌัก ดูบอเชต์ (Jacques Dubochet) |
สวิตเซอร์แลนด์ | "สำหรับการพัฒนาวิธีไครโออิเล็กตรอนไมโครสโคปี (cryo-electron microscopy) เพื่อกำหนดโครงสร้างความละเอียดสูงของสารชีวโมเลกุลในสารละลาย"[17] | |
โยอาคิม ฟรังค์ (Joachim Frank) |
เยอรมนี | |||
ริชาร์ด เฮนเดอร์สัน (Richard Henderson) |
สหราชอาณาจักร | |||
2561 (2018) |
ฟรานเชส อาร์โนลด์ (Frances Arnold) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับวิธีการกำกับวิวัฒนาการของเอนไซม์"[18] | |
เกรกอรี วินเทอร์ (Gregory Winter) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับเทคนิค phage display ของเพปไทด์และแอนติบอดี"[18] | ||
จอร์จ พี. สมิธ (George P. Smith) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2562 (2019) |
จอห์น บี. กูดอีนาฟ (John B. Goodenough) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาแบตเตอรีลิเทียม-ไอออน"[19] | |
เอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม (M. Stanley Whittingham) |
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา | |||
อากิระ โยชิโนะ (Akira Yoshino) |
ญี่ปุ่น | |||
2563 (2020) |
แอมานุแอล ชาร์ป็องตีเย (Emmanuelle Charpentier) |
ฝรั่งเศส | "สำหรับการพัฒนาวิธีสำหรับการปรับแต่งจีโนม"[20] | |
เจนนิเฟอร์ เอ. เดาด์นา (Jennifer A. Doudna) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2564 (2021) |
เบ็นยามีน ลิสท์ (Benjamin List) |
เยอรมนี | "สำหรับการพัฒนาการเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร"[21] | |
เดวิด แมคมิลลัน (David MacMillan) |
สหราชอาณาจักร | |||
2565 (2022) |
แคโรลีน เบอร์ทอซซี (Carolyn R. Bertozzi) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการพัฒนาเคมีคลิกและเคมีไบโอออร์โทโกนอล"[22] | |
ม็อตเติน พี. เมิลดัล (Morten P. Meldal) |
เดนมาร์ก | |||
คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส (Karl Barry Sharpless) |
สหรัฐอเมริกา | |||
2566 (2023) |
มูนกี บาแวนดี (Moungi G. Bawendi) |
ตูนิเซีย ฝรั่งเศส |
"สำหรับการค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอต"[23] | |
หลุยส์ อี. บรูส (Louis E. Brus) |
สหรัฐอเมริกา | |||
อะเลกเซย์ เอคิมอฟ (Alexei I. Ekimov) |
รัสเซีย | |||
2567 (2024) |
เดวิด เบเกอร์ (David Baker) |
สหรัฐอเมริกา | "สำหรับการออกแบบโปรตีนเชิงคำนวณ"[24] | |
เดมิส ฮัสซาบิส (Demis Hassabis) |
สหราชอาณาจักร | "สำหรับการทำนายโครงสร้างโปรตีน"[24] | ||
จอห์น เอ็ม. จัมเปอร์ (John M. Jumper) |
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร |
อ้างอิง
- ↑ "The Nobel Prize amounts". The Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2008". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2008-Press Release". Nobelprize.org. 2008-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ 1 Japanese, 2 Americans win Nobel chemistry prize เก็บถาวร 2008-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press
- ↑ Two Americans, one Japanese win 2008 chemistry Nobel reuters
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2010". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2011". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05.
- ↑ [3]
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2013". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
- ↑ 3 Jewish professors -- two of them Israeli -- share 2013 Nobel Prize in chemistry | The Times of Israel
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2014". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2014-10-08.
- ↑ The Nobel Prize in Chemistry 2015
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 October 2017.
- ↑ 18.0 18.1 "The Nobel Prize in Chemistry 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2019". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 October 2020.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2021". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2022". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2022.
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2023". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2023.
- ↑ 24.0 24.1 "The Nobel Prize in Chemistry 2024". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "The Nobel Prize in Chemistry" เก็บถาวร 2006-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Official site of the Nobel Foundation.