ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความจำสั้น แต่รักฉันยาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JasperBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ {lang-??} ด้วย {langx|??}
 
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
}}
}}


'''ความจำสั้น แต่รักฉันยาว''' ({{lang-en|Best of Times}}) เป็น[[ภาพยนตร์ไทย]]แนวโรแมนติก/ดราม่า มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]] กำกับโดย [[ยงยุทธ ทองกองทุน]] โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก[[ภาพยนตร์สั้น]]เรื่อง ''เวลา…รัก'' โดย ขนิษฐา ขวัญอยู่<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105578|title=‘อาบัติ’ กับตัวอย่างแรกสุดหลอนสะท้อนความจริงสังคม|date=18 September 2015|accessdate=19 September 2015|publisher=ผู้จัดการออนไลน์|archive-date=2015-09-18|archive-url=https://web.archive.org/web/20150918141132/http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105578|url-status=dead}}</ref> ภาพยนตร์ทำรายได้ 49.1 ล้านบาท<ref>[http://www.deknang.com/index.php?option=content&task=view&id=898 หนังไทยไตรมาสสี่] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20091021031011/http://www.deknang.com/index.php?option=content&task=view&id=898 |date=2009-10-21 }} deknang.com</ref>
'''ความจำสั้น แต่รักฉันยาว''' ({{langx|en|Best of Times}}) เป็น[[ภาพยนตร์ไทย]]แนวโรแมนติก/ดราม่า มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2552]] กำกับโดย [[ยงยุทธ ทองกองทุน]] โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก[[ภาพยนตร์สั้น]]เรื่อง ''เวลา…รัก'' โดย ขนิษฐา ขวัญอยู่<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105578|title=‘อาบัติ’ กับตัวอย่างแรกสุดหลอนสะท้อนความจริงสังคม|date=18 September 2015|accessdate=19 September 2015|publisher=ผู้จัดการออนไลน์|archive-date=2015-09-18|archive-url=https://web.archive.org/web/20150918141132/http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105578|url-status=dead}}</ref> ภาพยนตร์ทำรายได้ 49.1 ล้านบาท<ref>[http://www.deknang.com/index.php?option=content&task=view&id=898 หนังไทยไตรมาสสี่] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20091021031011/http://www.deknang.com/index.php?option=content&task=view&id=898 |date=2009-10-21 }} deknang.com</ref>


== นักแสดง ==
== นักแสดง ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 05:22, 17 พฤศจิกายน 2567

ความจำสั้น แต่รักฉันยาว
กำกับยงยุทธ ทองกองทุน
บทภาพยนตร์อมราพร แผ่นดินทอง
นนตรา คุ้มวงศ์
อำนวยการสร้างฝ่ายงานสร้าง
ยงยุทธ ทองกองทุน
เช่นชนนี สุนทรศารทูล
สุวิมล เตชะสุปินัน
ฝ่ายบริหาร
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
บุษบา ดาวเรือง
วิสูตร พูลวรลักษณ์
จินา โอสถศิลป์
นักแสดงนำ
บริษัทผู้สร้าง
จอกว้าง ฟิล์ม
ผู้จัดจำหน่ายจีทีเอช
วันฉาย5 มีนาคม พ.ศ. 2552
ความยาว112 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน49.1 ล้านบาท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

ความจำสั้น แต่รักฉันยาว (อังกฤษ: Best of Times) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก/ดราม่า มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 กำกับโดย ยงยุทธ ทองกองทุน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์สั้นเรื่อง เวลา…รัก โดย ขนิษฐา ขวัญอยู่[1] ภาพยนตร์ทำรายได้ 49.1 ล้านบาท[2]

นักแสดง

[แก้]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

8 ปีก่อน เก่ง (อารักษ์ อมรศุภศิริ) ขอร้องให้โอม (เจมส์ อเล็กซานเดอร์ แม็คกี้) ช่วยแต่งเพลงให้กับหญิงสาวที่ชอบในขณะที่เรียนกวดวิชาโดยที่ไม่รู้ว่าหญิงสาวที่ตนแอบชอบมาตลอดนั้นคือ ฝ้าย (ญารินดา บุนนาค) แฟนของโอมเพื่อนสนิทของเขา เก่งเลยผิดหวังในความรักครั้งแรก 8 ปีต่อมา เก่งกับโอมไปเที่ยวสังสรรค์ที่ผับจนเมาและโดนข้อหาเมาแล้วขับ ทั้งคู่ติดคุกโอมโทรให้ฝ้ายมาประกันตัว เก่งจึงได้พบฝ้ายอีกครั้ง ระหว่างเดินทางกลับฝ้ายขับรถไปชนสุนัขตัวหนึ่งที่อยู่ข้างทาง ฝ้ายสงสารมากจึงเก็บมาเลี้ยงที่คลินิกของเก่งซึ่งเป็นสัตวแพทย์อยู่ โดยตั้งชื่อให้สุนัขตัวนั้นว่าสะพานลอย เก่งถูกให้มาบำเพ็ญประโยชน์โดยการสอนคอมพิวเตอร์ผู้สูงอายุแทนครูคนเก่าที่ตั้งท้องอยู่ เก่งได้พบเจอกับความรักของป้าสมพิศ (ศันสนีย์ วัฒนานุกูล) และลุงจำรัส (กฤษณ์ เศรษฐธำรงค์) หญิงชายสูงอายุที่พบรักกันในห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยเก่งได้รู้ภายหลังว่าครอบครัวของทั้งสองฝ่ายไม่พอใจที่ทั้งสองคบกัน วันหนึ่งป้าสมพิศได้ออกจากบ้านไปเที่ยวชุมพรซึ่งเป็นบ้านของลุงจำรัสโดยที่ไม่ได้บอกทางครอบครัว ทำให้ทางครอบครัวของป้าสมพิศเป็นห่วงอย่างมาก เก่งเลยโกหกทางครอบครัวของป้าสมพิศ ว่ากลุ่มนักเรียนของตนได้จัดทัวร์ไปเที่ยวเกาะและจะไปชุมพร ฝ้ายเมื่อรู้ว่าเก่งมีความจำเป็นที่ต้องไปชุมพรมากเลยอาสาขับรถไปให้ เมื่อทั้งคู่ถึงบ้านสวนของลุงจำรัสก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีโดยการได้กินผลไม้จากสวน ทั้งคู่ได้พูดคุยกับป้าสมพิศ คืนหนึ่ง ลุงจำรัสออกไปหาผลไม้มาให้รับประทาน ตอนกลับลุงลืมว่าเดินมาทางไหน จนกว่าจะกลับมาได้ก็ใช้เวลานานหลายชั่วโมง วันต่อมาลุงจำรัสได้แนะนำให้เก่งกับฝ้ายรู้จักกับต้นชมพู่มะเหมี่ยวที่เปรียบเหมือนแรงบันดาลใจให้ลุงจำรัสมีกำลังได้สู้ต่อไป คืนนั้นเก่งกับฝ้ายไปขึ้นเรือหมึกด้วยกัน เก่งจึงได้รู้ว่าโอมกำลังจะแต่งงานใหม่ ฝ้ายจึงโทรไปต่อว่าโอมอย่างรุนแรง เก่งกับฝ้ายจึงถกเถียงกันในเรื่องความรักในสมัยก่อน ฝ้ายจึงรู้ว่าเก่งแอบชอบตนมาโดยตลอดโดยไม่มีวันลืม ด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทำให้ฝ้ายเกิดจูบเก่งขึ้นมา วันรุ่งขึ้นเก่ง ฝ้ายและป้าสมพิศเดินทางกลับกรุงเทพ พอส่งป้าสมพิศที่บ้านเสร็จ เก่งกับฝ้ายก็ถกเถียงกันเรื่องความรักระหว่างโอมกับฝ้าย ทำให้ฝ้ายเสียใจเป็นอย่างมาก เก่งกับโอมพ้นโทษจากบำเพ็ญประโยชน์ เก่งได้พูดคุยกับโอมทำให้รู้ว่าโอมนั้นแต่งงานกับคนอื่น เพราะว่าโอมคิดว่าฝ้ายนั้นยังไม่ใช่สำหรับตน ในระหว่างที่เขากำลังพูดคุยกับนักเรียนคนอื่นๆ ป้าสมพิศได้เดินเข้ามาถามถึงลุงจำรัส เมื่อไม่พบเก่งจึงตัดสินใจประกาศหาคนหาย สุดท้ายก็พบลุงซึ่งตอนนี้ลุงป่วยเป็นอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ป้าสมพิศเมื่อรู้ก็ตกใจและเสียใจมาก เมื่อบ้านสวนของลุงจำรัสกำลังจะถูกขาย เก่งยังอยากให้เหลือสิ่งที่ลุงจำรัสรักไว้ จึงร่วมมือกับฝ้ายตัดต้นชมพู่มะเหมี่ยวแล้วขนย้ายจากชุมพรมาที่บ้านของลุงจำรัส ลุงจำรัสมาเห็นก็รู้สึกดีใจ ป้าสมพิศกับลุงจำรัสมีโอกาสได้คุยกัน เพราะป้าสมพิศกำลังจะเดินทางไปอเมริกาเพื่อไปอยู่กับลูกที่นั่นอย่างถาวร ลุงจำรัสบอกว่าป้าสมพิศไปอเมริกา และบอกว่าสักวันคนเราก็ลืมกันได้ ป้าสมพิศจึงตัดสินใจเดินทางไปอเมริกา ลุงจำรัสไดัติดต่อกับป้าสมพิศทาง msn ทำให้เขาทั้งคู่ได้มีความสุขกันอีกครั้ง ทางเก่งกับฝ้ายก็ตกลงเป็นแฟนกัน ทั้งคู่ลงความเห็นว่า ในเมื่อประกาศหาเจ้าของ สะพานลอย ไม่พบก็ตัดสินเลี้ยงเองเลยแล้วกัน เพราะยังไงสะพานลอยก็คงลืมเจ้าของของมันแล้ว

เพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'อาบัติ' กับตัวอย่างแรกสุดหลอนสะท้อนความจริงสังคม". ผู้จัดการออนไลน์. 18 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 19 September 2015.
  2. หนังไทยไตรมาสสี่ เก็บถาวร 2009-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน deknang.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]