บลูอะเกน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
บลูอะเกน (อังกฤษ: Blue Again) เป็นภาพยนตร์ไทยอิสระแนวดราม่า ความยาว 3 ชั่วโมง 10 นาที เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ โดย ฐาปณี หลูสุวรรณ ได้รับเลือกให้ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 ประเทศเกาหลีใต้ โดยเข้าประกวดในสาย New Currents Award (สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์หน้าใหม่) ซึ่งเป็นสายประกวดหลักของเทศกาลภาพยนตร์นี้ [2]
บลูอะเกน | |
---|---|
กำกับ | ฐาปณี หลูสุวรรณ |
บทภาพยนตร์ | ฐาปณี หลูสุวรรณ |
อำนวยการสร้าง | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต ฐาปณี หลูสุวรรณ สุภัชา ทิพเสนา ธรรศพลฐ์ เอี่ยมรานนท์ |
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต |
ตัดต่อ | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต |
ดนตรีประกอบ | ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล ใจเทพ ร่าเริงใจ |
บริษัทผู้สร้าง | บริษัท ตัดอยู่ จำกัด กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮาส์ แอนด์ สตูดิโอ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 190 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ภาษาไทย |
หลังจากนั้นได้เข้าฉายแบบจำกัดโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย เฉพาะที่โรงภาพยนตร์เฮ้าส์สามย่าน, เอสเอฟ ซีเนม่า(เฉพาะสาขาเซ็นทรัลเวิลด์และเชียงใหม่) [3], โรงภาพยนตร์ลิโด้ และ Doc Club and Pub [4]
เรื่องย่อ
แก้บนโลกที่ไม่ได้ใจดีกับเราเท่าไหร่ ‘เอ’ (ตะวัน จริยาพรรุ่ง) หญิงสาวลูกครึ่งอีสาน-ตะวันตก จากหมู่บ้านคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย เธอดิ้นรนเข้ามาเรียนออกแบบแฟชั่นในกรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตโรงย้อมครามของครอบครัวที่กําลังจะตาย
‘แพร’ (อสมาภรณ์ สมัครพันธ์) เพื่อนสนิทคนแรกในมหาวิทยาลัยถูกดึงดูดเข้ามาอยู่ในวงโคจรของเธอ ด้วยต้นทุนทางสังคมและความฝันที่คล้ายกัน ในขณะที่ เอพยายามปกป้องความฝันของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับถักทอความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเอาไว้ แต่เหมือนเส้นด้ายกลับจะขาดลง
‘สุเมธ’ (ศรัณย์เมศ รัตนพงษ์) เพื่อนรักคนเดียวในวัยเด็กผู้เป็นเซฟโซน ก็ได้กลับมาในวงโคจรของเธออีกครั้งในค่ำคืนวันคริสต์มาสตามสัญญา แต่มันยิ่งกลับทําให้เอตั้งคําถามกับตัวเองว่า ‘บนโลกนี้...ที่ตรงไหนคือที่ของเธอจริงๆ’
รางวัล
แก้ปี | รางวัล | สาขา | เสนอชื่อเข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2565 | เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27 (Busan International Film Festival: BIFF) | New Currents Award | บลูอะเกน | เสนอชื่อเข้าชิง |
เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 15 (15th World Film Festival of Bangkok) [5] | Lotus Award | บลูอะเกน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2566 | 38th edition of Cinema Jove - Valencia International Film Festival [6] | Luna de Valencia Award for Best Feature Film | บลูอะเกน | ชนะ |
CIMA Award for Best Film Directed by Women | บลูอะเกน | ชนะ | ||
20th Asian Film Festival (Rome, Italy) [7] | Most Original Film | บลูอะเกน | ชนะ | |
11th Asian Film Festival Barcelona [8] | NECPAC Section Awards | บลูอะเกน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 [9][10] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ | ชนะ | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | ชนะ | ||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ตะวัน จริยาพรรุ่ง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ | ชนะ | ||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
นักทำหนังหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | ชนะ | ||
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 31 [11][12] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | ชนะ | ||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ตะวัน จริยาพรรุ่ง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล , ใจเทพ ร่าเริงใจ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม | ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ , ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต , One Cool Sound Studio Co., Ltd. | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มอะวอดส์ ครั้งที่ 20 [13] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บริษัท ตัดอยู่ จำกัด และ กรูฟวินแมน โปรดักชั่นเฮ้าส์ แอนด สตูดิโอ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อสมาภรณ์ สมัครพันธ์ | ชนะ | ||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ณพรรธน์ ตรีผลาวิเศษกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ฐาปณี หลูสุวรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล , ใจเทพ ร่าเริงใจ | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "SF Cinema".
- ↑ "ภาพยนตร์ไทย Blue Again กำกับโดย ฐาปณี หลูสุวรรณ ได้เข้าชิงสาขา New Currents เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 27". The Standard. 2022-08-10.
- ↑ "1 เรื่องย่อ กับ 5 ภาพนิ่ง จากภาพยนตร์เรื่อง Blue Again". หน้าเพจเฟซบุ๊คของผู้กำกับฯ. 2022-11-19.
- ↑ "Doc Club and Pub". 2022-11-19.
- ↑ "เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 15 (The 15th World Film Festival of Bangkok) 2-11 ธันวาคม 2565". ryt9.com.
- ↑ "LIST OF WINNERS 38TH EDITION CINEMA JOVE - Cinema Jove" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-07-01.
- ↑ "19° edizione Vincitori - I premi". Asian Film Festival (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Blue Again". Asian Film Festival Barcelona (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "เปิดรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565 One for the Road เข้าชิงมากที่สุด 13 รางวัล". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-06-15.
- ↑ "สรุปผลรางวัล ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565 Blue Again คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยม". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.
- ↑ "เปิดโผ 'สุพรรณหงส์ครั้งที่ 31 ประจำปี 2565…Season Change'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
- ↑ "สรุปผลรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 31 One for the Road คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยม". เดอะสแตนดาร์ด. 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
- ↑ "Starpics Thai Film Critics Choices ครั้งที่ 20". 2023-06-28. สืบค้นเมื่อ 2023-07-03.